Bio-Ethylene จากเอทานอล โอกาสใหม่ของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย
อัปเดตวันที่ 8 ส.ค. 2567
Krungthai Compass
Bio-Ethylene จากเอทานอล โอกาสใหม่ของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย
Key Highlights
- ในระยะยาว ปริมาณการใช้เอทานอลในภาคการขนส่งของไทยมีแนวโน้มลดลง จากการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ภาครัฐจึงส่งเสริมการนำเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยเศรษฐกิจ BCG Economy
- Krungthai COMPASS ประเมินว่า การนำเอทานอลไปใช้ผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอ้อยและมันสำปะหลังสูงถึง 4-5 เท่า นอกจากนี้ หากภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันในการปรับกระบวนการผลิตเป็นเม็ดพลาสติกชีวภาพได้ทั้งหมด 100% หรือราว 5 ล้านตันต่อปี คาดว่าจะช่วยสนับสนุนความต้องการใช้เอทานอลมากกว่า 10,000 ล้านลิตรต่อปี และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 15 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หรือราว 25% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย
- Krungthai COMPASS แนะนำเกษตรกรควรปรับเปลี่ยนกระบวนการเพาะปลูกอ้อยและมันสำปะหลังที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่ผู้ประกอบการควรร่วมมือกันในการจัดหาแหล่งวัตถุดิบ และอาจร่วมทุนกับพันธมิตรต่างประเทศ ขณะที่ภาครัฐควรมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต Bio-Ethylene จากเอทานอล รวมทั้งเร่งออกมาตรการส่งเสริมการลงทุน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการผลิต และการใช้เม็ดพลาสติกชีวภาพจากเอทานอลมากขึ้น
ทีม Marketing Strategy
8 สิงหาคม 2567
ดาวน์โหลด
Bio-Ethylene จากเอทานอล โอกาสใหม่ของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย
(1.51 MB) PDF
แนะนำสำหรับคุณ