เงินกู้ยืม กยศ สำหรับนักเรียน นักศึกษา

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กยศ.

แอปฯ เป๋าตัง รู้ทุกความเคลื่อนไหว ของบัญชี กยศ.

จุดเด่นผลิตภัณฑ์

checkimg
รองรับทั้งลูกค้ากยศ. ที่อยู่ระหว่างเรียน และลูกค้ากยศ. ที่ถึงกำหนดชำระหนี้แล้ว
checkimg
ฟีเจอร์ใหม่!! เรียกดูข้อมูลบัญชีเงินกู้ กยศ.
  • ข้อมูลรายการเงินเข้า-ออก กยศ.
  • ยอดเงินกู้ พร้อมกำหนดชำระ
  • ข้อมูลการชำระเงิน
checkimg
ช่วยให้ดำเนินการเกี่ยวกับบัญชี กยศ. ด้วยตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงิน และการชำระหนี้ปิดบัญชี

ฟีเจอร์สำหรับบัญชีเช็คยอด  กยศ

รายละเอียดสินเชื่อ “กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

รายละเอียดและเงื่อนไข

ฟรี! เช็คยอดหนี้ กยศ./กรอ./กรอ. ปี 2555 ผ่านเครื่อง ATM/ADM

       ผู้กู้ยืมหรือผู้ชําระแทนสามารถเช็คยอดจ่ายเงินกู้ กยศ./กรอ./กรอ. ปี 2555 ได้สะดวกกว่าเดิม หลังเช็คยอดหนี้สามารถทํารายการชําระหนี้ต่อเนื่องได้ทันที

ข้อควรรู้

  • สามารถเช็คยอดหนี้ที่เครื่อง ATM/ADM ของกรุงไทยและใช้บัตร ATM ของกรุงไทยเท่านั้น
  • ผู้ใช้บริการจําเป็นต้องใส่หมายเลขบัตรประชาชน และเลขที่บัญชีเงินกู้ของผู้กู้ยืม ในการทำรายการ
  • ค่าธรรมเนียมการชําระหนี้ผ่านเครื่อง ATM/ADM รายการละ 10 บาท

รายละเอียดของบริการ

  • ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจะดำเนินการให้กู้ยืมเงินกับนักเรียน นักศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายถึงระดับปริญญาโทครบทั้ง 4 ลักษณะ ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาพ.ศ.2560 ดังนี้
    ลักษณะที่ 1 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
    ลักษณะที่ 2 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
    ลักษณะที่ 3 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลน หรือที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ
    ลักษณะที่ 4 นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ โดยให้กู้ในระดับปริญญาโท
  • โดยกองทุนจะนำระบบการจัดการให้กู้ยืมเงิน Loan Origination System (LOS) ซึ่งเป็นระบบงานหนึ่งของระบบกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาแบบดิจิตอล Digital student loan fund system : DSL มาใช้ดำเนินการให้กู้ยืมเงินกับนักเรียน นักศึกษาผู้ขอกู้ยืมเงินแทนระบบ e-Studentloanที่สิ้นสุดลงในปีการศึกษา 2563

ขั้นตอนการกู้ยืมเงิน กยศ. รูปแบบดิจิทัล

ระบบกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาแบบดิจิทัล (Digital Student Loan Fund System : DSL) ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

  1. การเตรียมการให้กู้ยืมเงิน
    • สถานศึกษาเป็นผู้ที่ดำเนินการบันทึกปฏิทินการศึกษา และบันทึกค่าใช้จ่ายตามหลักสูตรประจำปีการศึกษา
  2. การรายงานสถานภาพการศึกษา
    • สถานศึกษาเป็นผู้ดำเนินการรายงานสถานภาพการศึกษาให้กับผู้กู้ยืมเงินรายเก่า เช่น ศึกษาต่อจบการศึกษาพ้นสภาพการศึกษา เป็นต้น พร้อมทั้งตรวจสอบและยืนยันคุณสมบัติ เช่น เป็นผู้ที่มีความประพฤดี เป็นผู้ที่มีผลการเรียนดี เป็นที่ผู้ทำกิจกรรมจิตอาสา เป็นต้น
    • ผู้กู้ยืมเงินเป็นผู้ดำเนินการรายงานสถานภาพการศึกษาด้วยตนเอง กรณีที่เปลี่ยนระดับการศึกษา ย้ายสถานศึกษา และหรือยังไม่สำเร็จการศึกษาแต่ไม่ประสงค์ที่จะกู้ยืมเงินต่อหรือไม่ได้รับการรายงานสถานภาพจากสถานศึกษา (แล้วแต่กรณี)
  3. .การยื่นคำขอกู้ยืมเงิน
    • นักเรียน นักศึกษาผู้ขอกู้ยืมเงินลงทะเบียนขอรับรหัส และยื่นคำขอกู้ยืมเงินพร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอกู้ยืมเงิน
    • ผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเปลี่ยนระดับการศึกษา ย้ายสถานศึกษาหรือเปลี่ยนหลักสูตร/สาขาวิชายื่นคำขอกู้ยืมเงินพร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอกู้ยืมเงิน
  4. การอนุมัติคำขอกู้ยืมเงิน
    • อนุมัติโดยระบบ กรณีที่ระบบตรวจสอบพบข้อมูลรายได้จากหน่วยงานภายนอก/ตรวจสอบพบข้อมูลอื่นๆซึ่งข้อมูลที่พบเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กองทุนกำหนด
    • อนุมัติโดยกองทุน กรณีระบบตรวจสอบไม่พบข้อมูลรายได้จากหน่วยงานภายนอก/ตรวจสอบไม่พบข้อมูลอื่นๆ กองทุนจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติตามเอกสารหลักฐานที่ผู้กู้ยืมเงินส่งเพิ่มเติม
  5. การจัดทำสัญญากู้ยืมเงิน
    • ผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ ผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเปลี่ยนระดับการศึกษา ผู้กู้ยืมเงินรายเก่าย้ายสถานศึกษาและเปลี่ยนหลักสูตร/สาขาวิชา ที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติให้กู้ยืมเงินเรียบร้อยแล้ว ดำเนินการจัดทำสัญญากู้ยืมเงินตามแบบหลักเกณฑ์ วิธีการ และภายในเวลาที่กองทุนกำหนด
    • ผู้กู้ยืมเงินติดต่อตัวแทนเพื่อทำการลงนามในสัญญากู้ยืมเงิน
  6. การเบิกเงินกู้ยืม (รายภาคเรียน)*
    • สถานศึกษาดำเนินการบันทึกจำนวนเงินค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา(ถ้ามี)รายภาคเรียนตามที่ผู้กู้ยืมเงินลงทะเบียนเรียนจริง
    • ผู้กู้ยืมเงินเลือกความประสงค์กู้ยืมเงิน ดังนี้ เงินค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา(กรณีที่สถานศึกษามีการเรียกเก็บตามระเบียบ) และเงินค่าครองชีพ (กรณีเป็นผู้ที่มีรายได้ต่อครอบครัวไม่เกินสามแสนหกหมื่นบาทต่อปี)
  7. การคืนเงิน
    • สถานศึกษาต้องบันทึกรายงานการคืนเงินต้องทำทุกภาคเรียน กรณีไม่มีให้บันทึกจำนวนเงิน 0 บาทแต่หากมีรายการต้องคืนเงิน ต้องนำส่งคืนเงินเข้าบัญชีกองทุนภายในระยะเวลาที่กองทุนกำหนด

หมายเหตุ :
*สำหรับภาคเรียนที่ 2 และ 3 (ถ้ามี) ให้ดำเนินการเฉพาะข้อที่ 6 และ 7
*เอกสารสัญญา สถานศึกษารวบรวมเอกสารสัญญาฉบับจริงทั้งหมดจัดส่งไปรษณีย์ไปยังผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม(บมจ.ธนาคารกรุงไทย)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.studentloan.or.th

วงเงินให้กู้

  • ตามประกาศคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

หลักเกณฑ์ในการขอกู้

       ปีการศึกษา 2564 กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่จะขอกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ใน 4 ลักษณะ คือ

ลักษณะที่ 1 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์

ลักษณะที่ 2นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิต กำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

ลักษณะที่ 3 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลน หรือที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ

ลักษณะที่ 4 นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ โดยให้กู้ในระดับปริญญาโท

คุณสมบัติผู้กู้ยืม

ลักษณะที่ 1 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์

  • นักเรียนหรือนักศึกษามีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาทต่อปี สามารถกู้ค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาและค่าครองชีพได้ หรือตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษากำหนด
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญและสายอาชีพ)
  • ระดับอุดมศึกษา (อนุปริญญา ปริญญาตรี )
  • สาขาวิชาตามที่กองทุนประกาศกำหนด
  • อายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ ในปีการศึกษาที่ยื่นคำขอกู้ยืมเงินกองทุนครั้งแรก
  • ผลการเรียนดี/ผ่านเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลของสถานศึกษา

ลักษณะที่ 2 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิต กำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

  • ไม่จำกัดรายได้ หากนักเรียนหรือนักศึกษาประสงค์จะกู้ยืมเงินค่าครองชีพจะต้องเป็นผู้ที่มีรายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาทต่อปี หรือตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษากำหนด
  • ระดับอุดมศึกษา (อนุปริญญา ปริญญาตรี )
  • สาขาวิชาตามที่กองทุนประกาศกำหนด
  • อายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ ในปีการศึกษาที่ยื่นคำขอกู้ยืมเงินกองทุนครั้งแรก
  • ผลการเรียนดี/ผ่านเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลของสถานศึกษา

ลักษณะที่ 3 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลน หรือที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ

  • ไม่จำกัดรายได้ หากนักเรียนหรือนักศึกษาประสงค์จะกู้ยืมเงินค่าครองชีพจะต้องเป็นผู้ที่มีรายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาทต่อปี หรือตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษากำหนด
  • ระดับอุดมศึกษา (อนุปริญญา ปริญญาตรี )
  • สาขาวิชาตามที่กองทุนประกาศกำหนด
  • อายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ ในปีการศึกษาที่ยื่นคำขอกู้ยืมเงินกองทุนครั้งแรก
  • ผลการเรียนดี/ผ่านเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลของสถานศึกษา

ลักษณะที่ 4 นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ โดยให้กู้ในระดับปริญญาโท

  • ไม่จำกัดรายได้ หากนักเรียนหรือนักศึกษาประสงค์จะกู้ยืมเงินค่าครองชีพจะต้องเป็นผู้ที่มีรายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาทต่อปี หรือตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษากำหนด
  • ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาโท )
  • สาขาวิชาตามที่กองทุนประกาศกำหนด
  • อายุไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์ ในปีการศึกษาที่ยื่นคำขอกู้ยืมเงินกองทุนครั้งแรก
  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00

คุณสมบัติทั่วไปและต้องห้ามของผู้กู้ยืม กยศ.

นักเรียนหรือนักศึกษาที่จะขอกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้

คุณสมบัติทั่วไป ดังนี้

  • มีสัญชาติไทย
  • ศึกษาหรือได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่ร่วมดำเนินงานกับกองทุน
  • เป็นผู้ขอกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาในการเข้าศึกษาที่สถานศึกษาเพียงแห่งเดียวในคราวภาคการศึกษาเดียวกัน
  • มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถานศึกษา
  • มีความประพฤติดี ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาขั้นร้ายแรงหรือไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย เช่น หมกมุ่นในการพนัน เสพยาเสพติดให้โทษ ดื่มสุราเป็นอาจิณหรือเที่ยวเตร่ในสถานบันเทิงเริงรมย์เป็นอาจิณ เป็นต้น

ลักษณะต้องห้าม ดังนี้

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดสาขาหนึ่งมาก่อน เว้นแต่จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่นในคุณสมบัติเฉพาะสำหรับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาลักษณะหนึ่งลักษณะใด
  • เป็นผู้ปฏิบัติงานและรับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนในลักษณะเต็มเวลา เว้นแต่จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่นในคุณสมบัติเฉพาะสำหรับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาลักษณะหนึ่งลักษณะใด
  • เป็นบุคคลล้มละลาย
  • เป็นหรือเคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  • เป็นหรือเคยเป็นผู้ที่ผิดนัดชำระหนี้กับกองทุน เว้นแต่ได้ชำระหนี้ดังกล่าวครบถ้วนแล้ว

การทำนิติกรรมสัญญา

  • สถานศึกษาเป็นผู้พิจารณาดำเนินการและลงนามในเอกสารสัญญากู้ยืม

คุณสมบัติของผู้รับรองรายได้

ในการรับรองรายได้ของผู้กู้ยืม ให้ผู้ขอกู้ยืมจัดหาบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นผู้รับรอง

  • เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญ ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2542 (พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2542)
  • สมาชิกสภาเขต สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  • หัวหน้าสถานศึกษาที่ผู้ขอกู้ยืมศึกษาอยู่

เอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการพิจารณากู้ยืมเงิน(ผ่านระบบ DSL)

       สำหรับผู้กู้ยืมรายใหม่ หรือ ผู้กู้ยืมรายเก่าเปลี่ยนระดับการศึกษา/ย้ายสถานศึกษา/เปลี่ยนหลักสูตร/เปลี่ยนสาขาวิชา

  1. หนังสือให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูล พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน
    • ผู้กู้ยืมเงิน
    • บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง
    • คู่สมรส(ถ้ามี)
  2. เอกสารประกอบการรับรองรายได้ (ผู้ปกครอง)
    • กรณีมีรายได้ประจำ เช่น การทำงานที่ได้รับเงินเดือนเป็นประจำทุกเดือน (พนักงานของรัฐ/พนักงานบริษัท)โดยต้องแนบสลิปเงินเดือน/หนังสือรับรองเงินเดือน
    • กรณีไม่มีรายได้ประจำ/ไม่มีรายได้ เช่น อาชีพค้าขาย อาชีพรับจ้าง เกษตรกร ใช้แบบฟอร์ม กยศ.102พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ/ข้าราชการ/หัวหน้าสถานศึกษา
      หมายเหตุ

    หมายเหตุ

    • ผู้กู้ยืมต้องเตรียมเอกสารเพื่อการ Upload ในระบบ DSL ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ เห็นรายละเอียดชัดเจนโดยสามารถใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพเอกสารแทนการสแกนเอกสารได้
    • ระบบรองรับไฟล์สกุล PDF/JPEG/GIF/TIFF/PNG ขนาดไม่เกิน 10 MB
    • ชื่อเจ้าของเอกสารต้องเป็นบุคคลเดียวกันกับที่จะบันทึกในระบบ
    • สำเนาบัตรประจำตัวต้องรับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของเอกสาร

การเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้กู้ยืมเงิน

       นักเรียนหรือนักศึกษารายใหม่ ที่ได้รับอนุมัติการกู้ยืมสามารถเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารกรุงไทยเพื่อประกอบการจัดทำสัญญากู้ยืม

  • ฟรี ค่ารักษาบัญชีรายปี ตลอดปีการศึกษา
  • ฟรี ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี(ปีแรก) สำหรับการสมัครบัตร ATM
  1. เปิดบัญชีผ่านKrungthai NEXT Savings เงินฝากออมทรัพย์ผ่านแอปพลิเคชั่น Krungthai NEXT และติดต่อสาขาธนาคารกรุงไทยภายใน 45 วันอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่
  2. เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ผ่านเว็บไซต์ Dip & Go และติดต่อสาขาธนาคารกรุงไทยภายใน 15 วัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่https://krungthai.com/dipandgo
  3. เปิดบัญชีได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา

เอกสารหลักฐานที่ใช้

  • หนังสือแจ้งผลการอนุมัติให้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (แบบ กยศ.104)ที่มีสถานศึกษาลงนามรับรอง(ต้นฉบับ/สำเนา) หรือข้อความการแจ้งเตือนระบบอิเล็กทรอนิกส์(Notification)ในระบบ DSLที่ได้รับจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา จากแอปพลิเคชั่น กยศ. Connect/เว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.thที่แสดงว่าผู้กู้ยืมเป็นผู้ที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.)
  • บัตรประชาชน

สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

ฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ บมจ.ธนาคารกรุงไทย
อาคารสาขาถนนศรีอยุธยา ชั้น 8 เลขที่ 513 ถ.ศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทร 02-203-2111-2 โทรสาร 02-256-8198 หรือ 02-256-8375

สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ชั้น 5 - 6 อาคาร เอ ไอ เอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ เลขที่ 89 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. 10400
โทร 02-016-4888 โทรสาร 02-016-4800
E-Mail: info@studentloan.or.th