รายงานความยั่งยืน

ในห่วงโซ่คุณค่าของเรา

กรุงไทยตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทของเราในฐานะธนาคารพาณิชย์ ที่ถือเป็นส่วนสำคัญของวงจรขับเคลื่อนให้เกิดกลไกทางการเงิน เพื่อสร้างการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นระบบ การบริหารและควบคุมความเสี่ยงเป็นเรื่องหลักที่ธนาคารให้ความสำคัญ โดยธนาคารได้กำหนดกรอบโครงสร้างการบริหารความเสี่ยง นโยบายบริหารความเสี่ยงองค์กร รวมถึงแนวทางและคู่มือในการบริหารความเสี่ยงองค์กรไว้อย่างชัดเจน ตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แนวทางของ The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) ตามกรอบบริหารความเสี่ยง COSO ERM Framework และความเสี่ยงจากธุรกรรมหลัก (Significant Activities) ของธนาคาร

นอกจากนโยบายบริหารความเสี่ยงหลักขององค์กร ธนาคารได้กำหนดแนวทางบริหารความเสี่ยงเฉพาะด้านให้สอดรับกับการบริหารความเสี่ยงอย่างรอบด้าน ประกอบด้วย:



กรุงไทยตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทของเราในฐานะธนาคารพาณิชย์ ที่ถือเป็นส่วนสำคัญของวงจรขับเคลื่อนให้เกิดกลไกทางการเงิน เพื่อสร้างการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นระบบ นอกจากการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการดำเนินงานของธนาคารและพอร์ตโฟลิโอผ่านกรอบการดำเนินงานด้านสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนแล้ว ธนาคารยังมุ่งมั่นสร้างคุณค่าร่วม เพื่อเติบโตไปด้วยกันกับลูกค้า ผู้ประกอบการทุกขนาด ผ่านการสนับสนุนสินเชื่อให้แก่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และนวัตกรรมทางการเงินที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำไปด้วยกัน




แนวทางการให้สินเชื่อสีเขียว (Green Loan)

สินเชื่อสีเขียวเป็นเครื่องมือทางการเงินสำหรับการสนับสนุนโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปกป้องและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ช่วยในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และมุ่งสู่เศรษฐกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ทั้งนี้ ผู้ขอสินเชื่อสีเขียวจะต้องให้ข้อมูลที่รับรองการดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการรายงานผลการดำเนินงานอย่างโปร่งใส เพื่อติดตามเกี่ยวกับการใช้สินเชื่อดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ในปี 2566 ธนาคารจัดทำแนวทางการให้สินเชื่อสีเขียวตามหลักการสินเชื่อสีเขียว (Green Loan Principle: GLP) ของ Asia Pacific Loan Market Association (ALPMA) และ Loan Market Association (LMA) ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 4 ประการ ดังนี้


วัตถุประสงค์ของการใช้เงิน (Use of Proceeds)
การกำหนดวัตถุประสงค์การใช้เงินเพื่อทำกิจกรรมทางธุรกิจซึ่งมีส่วนสนับสนุนวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม

การบริหารจัดการเงินที่ได้รับ (Management of Proceeds)
มีการตรวจสอบและรายงานผลการใช้เงินในการทำโครงการอย่างสม่ำเสมอและโปร่งใส

กระบวนการที่ใช้ในการประเมินและคัดเลือกโครงการ (Process for Project Evaluation and Selection)
การประเมินและคัดเลือกโครงการเป็นไปตามนโยบายการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Lending Policy) โดยมีการพิจารณาวัตถุประสงค์ของโครงการ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง และคุณสมบัติตามหมวดหมู่ของโครงการตามมาตรฐานของ Green Loan ที่กำหนด

การรายงาน (Reporting)
การรายงานเกี่ยวกับการใช้เงินที่มีผู้รับ ความคืบหน้าของโครงการ โดยครอบคลุมการดำเนินงานที่บ้านทุกประเภทของวัตถุประสงค์การใช้เงิน


แนวทางการให้สินเชื่อเชื่อมโยงกับความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan)

ในปี 2566 ธนาคารได้ให้การสนับสนุนสินเชื่อเชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan: SLL) โดยประยุกต์ใช้หลักการของสินเชื่อเชื่อมโยงกับความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan Principles: SLLP) ซึ่งกำหนดโดย Asia Pacific Loan Market Association (APLMA) และ Loan Market Association (LMA) ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษแก่ผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยมีเงื่อนไขการกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืน (Sustainability Performance Targets: SPTs) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดประจำปี โดยอ้างอิงแนวทางการประเมินความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Carbon Disclosure Project (CDP) และ/หรือ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI)


ผลการดำเนินงาน

ธนาคารมุ่งมั่นเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) และลูกค้าบุคคล ในการพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยร่วมมือกับพันธมิตรหลายภาคส่วน ภาคเอกชน ภาครัฐ และองค์กรมหาชน พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพื่อสิ่งแวดล้อม

ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่

สินเชื่อด้าน ESG สำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ยอดสินเชื่อ รวมทั้งหมด 20,054 ล้านบาท

ประเภท           

ยอดสินเชื่อ (ล้านบาท)

สินเชื่อสีเชียว (Green Loans)  

18,054

สินเชื่อเชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน
(Sustainability-Linked Loan: SLL)   

2,000

หมายเหตุ: ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566



“มิตรผล” ผนึกกำลัง “กรุงไทย” ลงนาม Sustainability-Linked Loan วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท เดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero และ Carbon Neutrality

ธนาคารกรุงไทยและกลุ่มบริษัทมิตรผลร่วมลงนามในสัญญาสนับสนุนสินเชื่อเชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan: SLL) วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท โดยเชื่อมโยงกับผลการจัดอันดับโดย S&P Global Sustainability Awards และการดำเนินการตามเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593



ธนาคารกรุงไทย และบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามสัญญาการสนับสนุนสินเชื่อเชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan: SLL) วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขที่เชื่อมโยงกับการจัดอันดับ CDP Climate Rating และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามนโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ของบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน)

ลูกค้าธุรกิจ SME

สินเชื่อ ESG สำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ยอดสินเชื่อรวมทั้งหมด 1,006 ล้านบาท

ประเภท           

ยอดสินเชื่อ (ล้านบาท)

สินเชื่อสีเชียว (Green Loans)  

1,006

หมายเหตุ: ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566




ผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าธุรกิจ


สินเชื่อธุรกิจเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (Green Lending)


สินเชื่อเพื่อธุรกิจที่ต้องการติดตั้ง Solar Cell / Solar Rooftop และการติดตั้งเครื่องชาร์จไฟฟ้า EV Charger เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจใช้พลังงานสะอาดและเป็นการลดต้นทุนให้ธุรกิจ โดยให้วงเงินสูงตามใบเสนอราคา มีระยะเวลาสูงสุด 7 ปี ในกรณีที่ไม่ต้องใช้หลักประกัน ให้วงเงินสูงสุด 5 ล้านบาท


สินเชื่อกรุงไทยเพื่อความยั่งยืน (ESG)



สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีการดำเนินธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน การจัดการพลังงาน การผลิตพลังงานทดแทน พลังงานสะอาด การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน รวมไปถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการจัดการขยะของเสียต่าง ๆ โดยมีวงเงินสูงสุด 2 เท่าของมูลค่าหลักประกัน พร้อมผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี


สินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาคเอกชน



สินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อม อัตราดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลา 7 ปี สำหรับกิจการหรือธุรกิจที่ต้องการควบคุม บำบัด และขจัดมลพิษ โดยระบบบำบัดมลพิษและของเสียจะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายกำหนด


ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าบุคคล


Home for Cash รักษ์โลก



เพื่อสนับสนุนการติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงานในครัวเรือน อาทิ:

  • สำหรับติดตั้ง Solar Rooftop
  • สำหรับติดตั้ง EV Charger สำหรับรถไฟฟ้า
  • สำหรับซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงานเบอร์ 5
ข้อมูลเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ