กรุงไทยคุณธรรม
"กรุงไทยคุณธรรม"
สู่ธนาคารคุณธรรมต้นแบบ

โครงการกรุงไทยคุณธรรม
“กรุงไทยคุณธรรม” สู่ธนาคารคุณธรรมต้นแบบ

       ธนาคารกรุงไทย ดำเนินโครงการกรุงไทยคุณธรรมเพื่อยกระดับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ทนต่อการทุจริต (Zero Tolerance) อย่างต่อเนื่อง โดยใช้กระบวนการ “ระเบิดจากข้างใน” เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและพนักงานมีส่วนร่วมในการระดมความคิดปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ เพื่อพัฒนามาตรฐานด้านคุณธรรมจริยธรรม สร้างค่านิยม และจิตสำนึกที่ดียึดมั่นตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่ละเมิดกฎเกณฑ์ กฎระเบียบตลอดจนการดำเนินงานด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เพื่อขับเคลื่อนให้ธนาคารเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบที่มีมาตรฐานสากล รวมทั้งส่งเสริมการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธนาคารในการเป็นสถาบันการเงินที่ลูกค้าประชาชนให้ความเชื่อมั่น ไว้วางใจ และในท้ายที่สุดส่งผลให้ผลประกอบการของธนาคารดีมากยิ่งขึ้น โดยเน้นการปฏิบัติที่ Three Line of Defense ซึ่งประกอบด้วย First Line of Defense คือหัวหน้าและพนักงานทุกคนร่วมกันสอดส่องดูแล เพื่อให้องค์กรมีคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต มีกระบวนการทำงานที่ดี ที่สร้างคุณค่าในการทำงาน ภายใต้คุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงาน Second Line of Defense คือหน่วยงานด้านบริหารความเสี่ยง ด้านการกำกับกฎเกณฑ์และกฎหมาย และ Third Line of Defense คือหน่วยงานตรวจสอบภายในและภายนอก ธนาคารมีคณะกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และคณะกรรมการตรวจสอบ กำกับดูแลอีกหนึ่งระดับจึงช่วยสร้างความเชื่อมั่น และความรัดกุมได้เป็นอย่างดี การขับเคลื่อนโครงการกรุงไทยคุณธรรมไม่ได้เป็นเรื่องของคณะกรรมการหรือผู้บริหารคนใดคนหนึ่งแต่เป็นเรื่องที่พนักงานทุกคนต้องให้ความร่วมมือและยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน เพื่อขับเคลื่อนธนาคารกรุงไทยให้เป็นธนาคารคุณธรรมต้นแบบ และสามารถสร้างความไว้วางใจ หรือ Public Trust ให้เกิดขึ้นในใจของสาธารณชน ซึ่งธนาคารได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนธนาคารคุณธรรมต้นแบบ ระหว่างธนาคารกรุงไทย กับศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะผู้สนับสนุนในการพัฒนาความรู้นวัตกรรม และเป็นที่ปรึกษาโครงการ ส่งเสริมให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีต่อไป
       ในการนี้ ธนาคารได้กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ 3 ป. (ปลูกจิต ป้องกัน ปรับเปลี่ยน) แนวปฏิบัติ และขั้นตอนการสร้างหน่วยงานคุณธรรม ดังนี้

ป. ที่ 1 – ปลูกจิตสำนึก
เป็นการปลูกจิตสำนึกของพนักงานให้มีคุณธรรม ปฏิบัติงานโดยยึดกฎระเบียบ ข้อบังคับ และกฎเกณฑ์ต่างๆ ของธนาคาร และหน่วยงานกำกับภายนอก ปลูกฝังค่านิยมในการปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการทำงาน รวมทั้งเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร การปลูกจิตสำนึก เริ่มจากการส่งเสริมบทบาทของผู้บริหารระดับสูงในการนำพาองค์กรไปในทิศทางที่ดี เป็นตัวอย่างในการทำงานให้กับพนักงาน นอกจากนี้ ยังเน้นการเสริมสร้าง พัฒนา ส่งเสริมพนักงานให้มีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการยกย่องชมเชยพนักงานที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎระเบียบ ในท้ายที่สุดจะสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือของพนักงานทุกคนทั่วทั้งองค์กรได้

ป. ที่ 2 – ป้องกัน
เป็นการทำหน้าที่ตรวจสอบ ตรวจทาน และป้องกันการกระทำความผิด อันเกิดขึ้นจากความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาแนวทางป้องกันการทุจริต พัฒนากลไกการป้องกันการทุจริตเชิงรุกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงการบังคับใช้กฎระเบียบ และมาตรการป้องกันการกระทำความผิดและการทุจริต ซึ่งการป้องกันมีทั้งเชิงนโยบาย เชิงระบบ และเชิงปฏิบัติการ เพื่อสอดประสานจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแล

ป. ที่ 3 – ปรับเปลี่ยน
เป็นการยกระดับมาตรฐานปรับเปลี่ยนกระบวนการภายในธนาคาร โดยดำเนินการทางด้านกฎหมาย ทางแพ่งและอาญาอย่างรวดเร็ว ควบคู่กับการพิจารณาโทษทางวินัยอย่างจริงจังรวมถึงการบูรณาการกระบวนการภายในของธนาคาร ทั้งกระบวนการตรวจสอบ กระบวนการทางวินัย และกระบวนการทางกฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

       นอกจากยุทธศาสตร์ 3 ป. แล้ว การสร้างธนาคารคุณธรรมต้นแบบ ยังได้นำหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งพระองค์ทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน ทรงตรัสว่า “ต้องระเบิดจากข้างใน” หมายความว่า ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนา ให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก ดังนั้น การที่พนักงานทุกคนจะมีคุณธรรมในการทำงาน จึงต้องเริ่มจากตนเองเป็นลำดับแรก สะท้อนมาที่การปฏิบัติงาน ซึ่งสายงานทรัพยากรบุคคลและบรรษัทภิบาล ได้นำหลักการทรงงานดังกล่าวมาต่อยอดเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ผ่านกิจกรรม 1 หน่วยงาน 1 แผนงานความยั่งยืน เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้น เพื่อให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมในการสร้างคุณธรรมในการทำงาน โดยต่อยอดจากการทำงานของตนเอง คิด วิเคราะห์ออกมาเป็นแผนงาน ภายใต้การทำความดี ที่ส่งผลให้งานประสบความสำเร็จ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีขั้นตอนในการพัฒนาแผนงาน 6 ขั้นตอน คือ