รายงานความยั่งยืน

ธนาคารกรุงไทย ด้วยวิสัยทัศน์ และพันธกิจ ซึ่งมุ่งเน้นการทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สนับสนุนให้ประชาชนทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน ลดความเหลื่อมล้ำและช่องว่างการกระจายรายได้ในสังคม เพิ่มทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) แก่ประชาชน รวมทั้งรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ ธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับ 5 Ecosystems ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของธนาคารอย่างต่อเนื่องโดยธนาคารจะดำเนินโครงการต่าง ๆ และมุ่งเน้นการคิดค้นนวัตกรรมที่เชื่อมโยง 5 Ecosystems ของธนาคาร ตัวอย่างเช่น กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มการชำระเงิน กลุ่มการรักษาพยาบาลและสุขภาพ กลุ่มสถาบันการศึกษา และกลุ่มระบบขนส่ง โดยธนาคารมองว่าลูกค้า 5 กลุ่มดังกล่าวเป็นจุดแข็งของธนาคารที่ต้องพยายามรักษาไว้และยังสามารถใช้เชื่อมโยงการให้บริการไปสู่ระบบนิเวศอื่น ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวันของลูกค้า สามารถต่อยอดธุรกิจผ่านการนำเสนอบริการทางการเงินต่าง ๆ ได้อย่างตรงใจ และตอบโจทย์ทุกความต้องการอย่างแท้จริง


ด้วยการขับเคลื่อนองค์กรตามยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ทำให้ปัจจุบันแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ซึ่งเป็นโมบายล์แบงกิ้งของธนาคารมีผู้ใช้งานกว่า 17 ล้านราย แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform มีผู้ใช้งานกว่า 34 ล้านราย และแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” มีผู้ใช้งานกว่า 1.7 ล้านร้านค้า สร้างโอกาสให้ประชาชนคนไทยทุกคนเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจทุกระดับ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผ่านทุกแพลตฟอร์มของธนาคารและผลักดันให้ธนาคารก้าวขึ้นสู่ผู้นำด้าน Digital Banking ของประเทศจากการเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มด้านดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดที่ดำเนินการในประเทศไทยในปัจจุบันโดยมีจำนวนผู้ใช้งานผ่านช่องทางดิจิทัลของธนาคารมากกว่า 40 ล้านคน ทั้งในภาครายบุคคล และภาคธุรกิจ ส่งผลให้ธนาคารได้รับโอกาสต่อยอดธุรกิจจากโครงการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการประเมินความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุดจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) การสนับสนุนการขยายธุรกิจในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธนาคารอย่างมีประสิทธิภาพ การลดต้นทุนการดำเนินการและการสร้างรายได้ให้กับธนาคารโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและเครื่องมือที่มีอยู่มาทำให้เกิดเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นได้อย่างยั่งยืน

ธนาคารกรุงไทย มุ่งมั่นนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมรูปแบบใหม่มาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินให้ตอบโจทย์ลูกค้าและประชาชนทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง บนช่องทางดิจิทัลที่เข้าถึงง่าย ใช้งานสะดวก และปลอดภัย พร้อมเปิดกว้างร่วมมือกับพันธมิตรที่หลากหลาย เพื่อยกระดับศักยภาพของ Platform ให้สามารถบริการครอบคลุมกิจกรรมในชีวิตของลูกค้าและประชาชนอย่างทั่วถึง สร้างความเท่าเทียมกันด้านการเงินแก่คนไทย ช่วยยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตผ่าน Thailand Open Digital Platform เพื่อทำให้คนไทยทุกคน มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สนับสนุนการดำเนินกิจการของลูกค้าธุรกิจในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนร่วมสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ สังคม ลูกค้า และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของธนาคารที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชน คนไทยเพื่อสนับสนุนการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มั่นคงและยั่งยืนของธนาคาร

กลุ่มการชำระเงิน

โครงการ National e-Payment
ธนาคารได้มีส่วนร่วมดำเนินโครงการ National e-Payment ที่เริ่มต้นด้วยระบบ PromptPay เพื่อปฏิวัติระบบโอนเงินอิเล็กทรอนิสก์ทั้งประเทศให้มีความเชื่อมโยงกัน บริการ e-Donation “กรุงไทย เติมบุญ” โดยเป็นธนาคารแรกที่สามารถออกใบอนุโมทนาบุญอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที นอกจากนี้ ยังติดตั้ง QR-Code Payment และเครื่อง EDC กว่า 73,000 เครื่องทุกตำบลทั่วประเทศ รวมถึงพัฒนาแอปพลิเคชันถุงเงิน ให้กับร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ รับชำระค่าสินค้าจากผู้ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกว่า 200,000 แห่ง และพัฒนาแอปพลิเคชันเป๋าตัง ในลักษณะ Open Platform เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลเพื่อโอนเติมจ่าย และถูกนำมาใช้สนับสนุนการดำเนินงานของรัฐบาลในหลากหลายโครงการ โดยไม่ต้องมีบัญชีธนาคารกรุงไทย ที่มีผู้ใช้ถึง 15 ล้านคน เพื่อร่วมผลักดันการใช้จ่ายของประเทศให้ก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างแท้จริง
ถุงเงิน
AIS-กรุงไทย เปิดโครงการ 'พอยท์เพย์'
จากสถานการณ์ COVID -19 ที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชน ธนาคารกรุงไทย ได้ร่วมมือกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS เปิดตัวโครงการ “พอยท์เพย์” เพื่อช่วยเหลือร้านค้าขนาดเล็กทั่วประเทศ โดยเปิดให้ลูกค้าเอไอเอสที่มีอยู่กว่า 43.2 ล้านราย สามารถใช้คะแนนสะสม (มูลค่า 2 พอยท์ = 1 บาท) จ่ายแทนเงินสดในร้านค้าถุงเงินได้ ที่ปัจจุบันมีร้านค้าถุงเงินอยู่จำนวน 1.5 ล้านร้านค้า
โดยความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการผสานจุดแข็งของกรุงไทยที่ได้ดำเนินการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง และความพร้อมในการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทั่วประเทศของ AIS เพื่อช่วยเหลือกลุ่มร้านค้ารายเล็ก ตามชุมชนต่างๆ ที่เสมือนฟันเฟืองจำนวนมหาศาลที่มีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับฐานราก ต่อไป
โครงการ Biznow
การดำเนินโครงการ Juristic Onboarding (BizNow) มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ กับเจ้าหน้าที่สาขาและเจ้าหน้าที่ธนาคารที่มีความสัมพันธ์กับลูกค้า สามารถเปิดบัญชีพร้อมทั้งสมัครใช้บริการต่างๆ ของ Cash Management ได้ เช่น Krungthai Business ให้กับลูกค้านิติบุคคลได้ทันทีในคราวเดียวกัน โดยผ่านอุปกรณ์แท็บเล็ต รวมถึงช่วยลดระยะเวลาและลดความยุ่งยากในการจัดเตรียมเอกสารประกอบของลูกค้านิติบุคคล ช่องทาง ในการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้านิติบุคคล ประกอบไปด้วย 2 ส่วน function งานดังนี้

1. Document Center ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อระหว่างธนาคารและกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อเข้าไปดึงเอกสารประกอบที่ใช้สำหรับเปิดบัญชีนิติบุคคล เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยมีการเชื่อมต่อผ่านระบบ Web service ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จมีประกาศใช้ในวันที่ 30 มีนาคม 2563

2. Biznow Application เป็นการเชื่อมต่อข้อมูลมูลระหว่างธนาคารและกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อรองรับลูกค้านิติบุคคลประเภท ห้างหุ้นส่วนจำกัด, ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล, บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ที่จดทะเบียน กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่ออำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนในการเตรียมเอกสาร เพื่อนำมา เปิดบัญชีออมทรัพย์และบัญชีกระแสรายวัน ประเภทไทยบาท (THB) และบัญชีสกุลต่างประเทศ (FCD) รวมถึงการการสมัครบริการ Krungthai Business (สำหรับโครงการ Cash Management Package สำหรับลูกค้ากลุ่ม SME และ SSME)

การพัฒนาและต่อยอดโครงการ
Biznow ได้นำนวัตกรรมของธนาคารด้านดิจิทัลมาใช้ให้สอดคล้องกับระเบียบการเปิดบัญชี ให้สามารถ ทำรายการได้รวดเร็วขึ้น อาทิ
  • ในปี 2564 ธนาคารได้พัฒนาระบบการยืนยันตัวตนผ่านเทคโนโลยีชีวมิติในรูปแบบการจดจำใบหน้า (Face Recognition) และการส่ง OTP เป็น 2 ขั้นตอนในการยืนยันตัวตนผู้มีอำนาจลงนามตามระเบียบของธนาคาร
  • ลดระยะเวลาในการทำงานของพนักงานสาขา ทำให้สามารถรองรับลูกค้าและให้บริการอื่นๆ ได้เพิ่มขึ้น โดยในปี 2564 ธนาคารได้เชื่อมระบบ Krungthai Business เข้ากับ Biznow เพื่อให้บริการจัดการเงินสดให้แก่ ลูกค้าองค์กร
  • ลดการใช้งานกระดาษ (Paperless) เนื่องจากระบบสามารถดึงข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และตรวจสอบการยืนยันตัวตนจากกรมการปกครอง ทั้งนี้เมื่อทำการเปิดบัญชีนิติบุคคล และ/หรือ สมัครใช้บริการเสร็จระบบ จะจัดส่งอีเมล์ไปยังบริษัทอีกด้วย

ประโยชน์ทางธุรกิจ

  • ช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายฐานลูกค้าให้กับธนาคาร ระหว่างปี 2563 - 2565 มีรายการเปิดบัญชีผ่านทาง Tablet ทั้งหมด 5,881 บัญชี
  • ช่วยอำนวยความสะดวกในการสมัครใช้บริการ Krungthai Business ได้อย่างรวดเร็ว โดยระหว่างปี 2564 - 2565 มีรายการสมัครใช้บริการผ่านทาง Tablet 2,740 รายการ และช่วยอำนวยความสะดวกให้กับบริการอื่นๆ ระหว่างปี 2563 - 2565 อีก 311 รายการ

ประโยชน์ทางสังคม / สิ่งแวดล้อม

  • ช่วยเพิ่มช่องทางในการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้านิติบุคคล ให้สามารถเปิดบัญชีและสมัครใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว
  • ช่วยลดการใช้กระดาษในกระบวนการจัดเก็บเอกสารของธนาคารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • สามารถลดกระดาษจากการให้บริการทั้ง 3 อย่างได้ 181,817 แผ่น และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1,817.02 kgCO2e

กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ

ธนาคารได้นำแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง และเทคโนโลยีชั้นสูงมาพัฒนาบริการทางการเงินเพื่อ เชื่อมโยงภาครัฐกับประชาชนให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ครอบคลุม และปราศจากการรั่วไหล ผ่านโครงการต่างๆ เช่น

วอลเล็ต สบม. ครั้งที่ 5 รุ่น “ออมไปด้วยกัน”
ธนาคารกรุงไทย ได้เปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ วอลเล็ต สบม. ครั้งที่ 5 รุ่น “ออมไปด้วยกัน” วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท บนแอปเป๋าตัง ซึ่งเป็น “Thailand Open Digital Platform” ร่วมกับ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ซึ่งการการเปิดขายพันธบัตรดังกล่าว เป็นการตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป เข้าถึงแหล่งการออมได้อย่างเท่าเทียม ทั่วถึง เพราะเข้าใจเทคโนโลยีทางด้านการเงิน มีความโปร่งใส ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นผลิตภัณฑ์แบบ Scripless โดย ธนาคารได้จัดจำหน่ายหมดภายใน 12 นาที จากการเริ่มขายเพียงวันแรก ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564
"พันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “ยิ่งออมยิ่งได้” ผ่านวอลเล็ต สบม."
ธนาคารได้ร่วมมือกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง เปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “ยิ่งออมยิ่งได้” ผ่านวอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง ด้วยวงเงิน 10,000 ล้านบาท กำหนดเงินเริ่มลงทุนขั้นต่ำเพียง 100 บาท สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท รับผลตอบแทนสม่ำเสมอ รับดอกเบี้ยสูงสุดถึง 2.20% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน โดยมีประชาชนให้ความสนใจซื้อพันธบัตรจำนวน 11,874 ราย และสามารถขายหมดได้ในเวลา 2 ชั่วโมง 45 นาที สะท้อนถึงศักยภาพของระบบแอปพลิเคชันเป๋าตัง ที่สามารถรองรับการทำธุรกรรมได้จำนวนมากกว่า 50,000 รายการต่อวินาที คิดเป็น 3 ล้านรายการต่อนาที
ทั้งนี้ การขายพันธบัตรดังกล่าว ถือเป็นการขายผ่านวอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง ครั้งที่ 4 ซึ่งทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมา มีประชาชน 26,110 คน ให้ความสนใจซื้อพันธบัตร วงเงินรวมทั้งหมด 10,200 ล้านบาท โดยการขายพันธบัตรบนแอปพลิเคชันเป๋าตัง เป็นการเพิ่มความสะดวก ลดการใช้กระดาษ และลดความเหลื่อมล้ำให้กับการประชาชนทุกวัยให้สามารถเข้าถึงแหล่งการออมได้ด้วยความเท่าเทียม ด้วยแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือของตัวเอง ที่มีความปลอดภัย รวมถึงสามารถทราบถึงข้อมูลการซื้อขายได้แบบ Real – Time
“ชิม ช้อป ใช้”
เป็นโครงการสนับสนุนการท่องเที่ยว ที่ธนาคารได้พัฒนาแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง ให้รัฐบาลสามารถใช้เป็นช่องทางในการโอนเงินสนับสนุนให้กับประชาชน ร้านค้า ผู้ประกอบการ SME ที่เข้าร่วมโครงการ โดยมีประชาชนเข้าร่วมโครงการ 15 ล้านราย มีร้านค้าเข้าร่วมกว่า 1.8 แสนร้านค้า และสร้างการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจประมาณ 1.4 แสนล้านบาท
ชิมช้อปใช้
“เราเที่ยวด้วยกัน”
มาตราการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ ที่ธนาคารกรุงไทยได้พัฒนาเว็บไซต์ให้นักท่องเที่ยว และร้านค้าได้ลงทะเบียน โดยภาครัฐจะสนับสนุนค่าโรงแรม ค่าใช้จ่ายและตั๋วเครื่องบินผ่าน G-Wallet บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง ที่เป็นระบบเปิด สามารถเชื่อมต่อกับระบบชำระเงินและธนาคารต่างๆ ได้
เราเที่ยวด้วยกัน
“คนละครึ่ง”
อีกหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ช่วยเหลือประชาชน ผู้ประกอบการรายย่อย หาบเร่ แผงรอย และผู้ประกอบการทั่วไป โดยธนาคารกรุงไทยได้พัฒนาเว็บไซต์ ให้ประชาชน และร้านค้าลงทะเบียน เพื่อให้รัฐบาลสามารถโอนเงินช่วยจ่ายค่าซื้อสินค้าให้ 50% ผ่าน G-Wallet บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง ช่วยเหลือการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน และร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ
โดยจากการดำเนินงานใน 3 เฟส มีประชาชนกว่า 28 ล้านคน มีร้านค้ากว่า 2 ล้านค้า เข้าร่วมโครงการ และคาดว่าจะสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 1 แสนล้านบาท นอกจากนี้ ธนาคารกรุงไทยได้ขยายศักยภาพแอป “เป๋าตัง” ให้โครงการคนละครึ่งสามารถเชื่อมกับระบบสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มฟู้ดดีลิเวอรี่ LINE MAN และ Grab เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงร้านค้าต่างๆ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
จากการดำเนินโครงการคนละครึ่ง ถือเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศ ที่สามารถบรรเทาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย เกิดเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ เข้าถึงเงินช่วยเหลือจากทางรัฐบาลอย่างเท่าเทียม ปราศจากการรั่วไหล และยังเป็นการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมไร้เงินสด เพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศในอนาคต
คนละครึ่ง
“เราไม่ทิ้งกัน”
ธนาคารได้พัฒนาเว็บไซต์ลงทะเบียนออนไลน์ เพื่อให้ความช่วยเหลือคนทำงานอิสระได้ลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือในช่วงโควิท -19 โดยเงินช่วยเหลือจะถูกโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ แอปพลิเคชันเป๋าตัง ให้กับประชาชนที่ได้รับสิทธิมากกว่า 15 ล้านคน
เราไม่ทิ้งกัน
“One Baht Bond”
ธนาคารกรุงไทยได้ร่วมมือกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบม.) จัดจำหน่าย วอลเล็ต สบม. (วอลเล็ตสะสมบอนด์มั่งคั่ง) ซึ่งเป็นการซื้อขายพันธบัตรแบบดิจิทัล เป็นครั้งแรกของประเทศไทยผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง แบบไร้ใบตราสาร (Script less) โดยมีการนำเทคโนโลยี Blokchain มาใช้ดำเนินการ และได้ออกแบบการซื้อขายพันธบัตรให้เป็นแบบรวมศูนย์ ทำให้การจำหน่ายมีประสิทธิภาพ โปร่งใส รวดเร็ว สามารถซื้อขายได้แบบ real-time นอกจากนี้ ดอกเบี้ยจากการถือพันธบัตรจะถูกโอนเข้าวอลเล็ตโดยอัตโนมัติ และผู้ถือสามารถซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลกับตลาดรองผ่านวอลเล็ตได้
one baht bond
“Vat Refund for Tourists ”
ธนาคารกรุงไทยได้ร่วมมือกับกรมสรรพากร กรมศุลกากร และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) พัฒนา แอปพลิเคชันมือถือ Thailand VRT ด้วยการนำระบบเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เข้ามาใช้เพื่อให้บริการอำนวยความสะดวกคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่นักท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวดเร็ว และตรวจสอบได้ นอกจากนี้ ได้พัฒนเว็บไซต์ เพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อมูลและยืนยันสถานะสินค้าที่ได้มีการนำออกนอกประเทศ และเปิด API ให้ร้านค้าสามารถส่งข้อมูลการซื้อสินค้าและบริการของนักท่องเที่ยวเข้าสู่ระบบเพื่อการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรได้
“ไทยชนะ ”
ธนาคารกรุงไทยได้พัฒนาแพลทฟอร์ม (แอปพลิเคชันมือถือ) ไทยชนะ ด้วยการนำเทคโนโลยีมาบูรณาการสร้างวิถีใหม่ (New Normal) ให้ผู้ประกอบการ ร้านค้า และประชาชนเช็คอิน และเช็คเอาต์สถานที่ต่างๆ ทำให้มีข้อมูลที่แม่นยำในการบริหารจัดการและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไทยชนะ
“ระบบศาลดิจิทัล E-Filing”
ธนาคารกรุงไทยได้ร่วมมือกับสำนักงานศาลยุติธรรม พัฒนาระบบการยื่นคำฟ้องอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) Version 3 เพื่ออำนวยความสะดวกในกระบวนการยุติธรรม โดยทนายความสามารถยื่นคำฟ้องผ่านเว็บไซต์ ยื่นคำให้การ ขอคัดถ่าย และดูเอกสารในสำนวนคดีผ่านระบบโดยไม่ต้องมาที่ศาล อีกทั้งชำระค่าธรรมเนียมของสำนักงานศาลยุติธรรมได้ครบวงจร
ระบบศาลดิจิทัล E-Filing
“E-Withholding Tax”
ธนาคารกรุงไทย และสถาบันการเงิน 10 แห่ง ได้เข้าร่วมโครงการระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Withholding Tax) ด้วยการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อความสะดวกแก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดใหญ่ กลาง เล็ก และผู้เสียภาษี โดยให้สถาบันการเงินหรือธนาคารเป็นตัวกลางดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนกรมสรรพากร ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอน ต้นทุน ภาษี เวลา และมีมาตรฐานความปลอดภัยที่สามารถจำกัดสิทธิการเข้าถึงและการเปิดเผยข้อมูลได้
E-Withholding Tax

กลุ่มสถาบันการศึกษา

“กรุงไทย” ร่วมสนับสนุน โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร พัฒนานวัตกรรมผลักดันสู่ KMC Innovative Hospital
ด้วยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มีแผนจัดสร้าง ‘โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร’ (KMCH) ให้เป็นศูนย์การแพทย์คุณภาพที่พร้อมให้บริการเชิงรุกในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่พร้อมศึกษาวิจัยและพัฒนา (R&D) นวัตกรรมทางการแพทย์รองรับวิกฤตสุขภาพในอนาคต เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนระบบสาธารณสุข พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ผ่านการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัย ลดการนำเข้าเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมทางการแพทย์จากต่างประเทศ ตลอดจนมีศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการส่งออกเชิงพาณิชย์
โดยธนาคารกรุงไทย ที่มีความมุ่งมั่นนำเทคโนโลยีมาพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกค้าประชาชน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล จึงได้สนับสนุนงบประมาณให้กับสถาบันฯ เพื่อสร้างโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ให้เป็นศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือทางการแพทย์แบบครบวงจรเพื่อคนไทยทุกคน โดยธนาคารพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของสจล. เพื่อตอบโจทย์การคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ แบบครบวงจร ซึ่งเป็น New S-CURVE ของอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมทัั้งการรักษาพยาบาลเชิงรุกแบบใหม่
การผลักดันโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร สู่ KMC Innovative Hospital เป็นการประสานจุดแข็งของสองหน่วยงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและเชื่อมต่อโครงการด้าน Healthcare ที่กรุงไทยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องกับความโดดเด่น ของ สจล. ที่เป็นสถาบันชั้นนำด้านการทำวิจัยและนวัตกรรม สามารถผลักดันนวัตกรรมทางด้านการแพทย์ รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการแพทย์และพยาบาล ในการรักษาผู้ป่วยและผู้รับบริการทุกคน สอดคล้องกับแผนงานด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล อันเป็น 1 ใน 5 Ecosystems หลักของธนาคาร เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น โดยคำนึงถึงการพัฒนาสังคมโดยรวมและสร้างความยั่งยืนให้กับสังคม ตามวิสัยทัศน์ “กรุงไทย เคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน”
“กรุงไทย” ร่วมสนับสนุน โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
Smart University Application
ธนาคารได้ร่วมมือกับ 5 มหาวิทยาลัยใน 5 ภูมิภาค ได้แก่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลับขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พัฒนา University Application เชื่อมโยงระบบธุรกรรมดิจิทัลกับทุกกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัยไว้ในที่เดียว และเตรียมเชื่อมต่อ Digital Healthcare ไปยังโรงพยาบาลในมหาวิทยาลัย เชื่อมโยงข้อมูลบัญชีและการบริหารจัดการหอพักกับหน่วยงานในกลุ่มมหาวิทยาลัยและการศึกษาผ่าน Krungthai Dormitory Application เพื่อขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ นอกจากนี้ ธนาคารได้ร่วมมือกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) พัฒนาระบบกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาแบบดิจิทัล (DSL) ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้กู้ และผู้ค้ำในรูปแบบ Paperless และ Digital ID

กลุ่มการรักษาพยาบาลและสุขภาพ

“SMART Hospital ”
ธนาคารกรุงไทยได้ร่วมยกระดับระบบสาธารณสุขของประเทศ เชื่อมโยงระบบดูแลสุขภาพแบดิจิทัลเพื่ออนาคตในโครงการ Smart Hospital ร่วมกับโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้เทคโนโลยีมาบูรณาการแบบครบวงจรนำร่องที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ ประกอบด้วย ระบบ Self Check-in, เครื่องตรวจร่างกายอัตโนมัติ, AI Chatbot อัจฉริยะ เพื่อช่วยคัดกรองผู้ป่วย โดยใช้ระบบการสั่งงานด้วยเสียง, Telemedicine หาแนวทางการดูแลรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องพบแพทย์เฉพาะทาง ผ่านระบบ VDO Conference, HIE Blockchain ระบบการบริหารจัดการข้อมูลพื้นฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และระบบ Self Payment ตรวจสอบสิทธิ์การรักษาพยาบาลก่อนชำระเงินได้แบบ real-time
“Krungthai Digital Health Platform”
ธนาคารกรุงไทยได้ร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พัฒนาระบบสารสนเทศ Krungthai Digital Health Platform ที่อยู่บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง เพื่อให้บริการ “งบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค” (PP Disruptive Model) อำนวยความสะดวกให้ประชาชนผู้ขึ้นทะเบียนบัตรทอง และประชาชนที่ได้รับสิทธิสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ให้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ (ครอบคลุมสิทธิเสริมสร้างสุขภาพป้องกันโรคมากถึง 16 รายการจากทั้งหมด 18 เช่น วัคซีนป้องกันโรคตามฤดูกาล วัคซีนในเด็ก การฝากครรภ์) ซึ่งเป็นสิทธิการรักษาพยาบาลของภาครัฐที่มอบให้กับประชาชน โดยสามารถทำการลงทะเบียนตรวจสอบสิทธิ และใช้สิทธิประโยชน์จากหน่วยบริการ บันทึกผลการให้บริการและส่งเคลมค่าใช้จ่ายไปยัง สปสช. โดยทาง สปสช. สามารถใช้ระบบ Krungthai Corporate Online อนุมัติ และโอนเงินค่าใช้จ่ายไปยังหน่วยบริการ ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 10 วัน โดยใน Phase 1 มีประชาชนเข้าร่วมโครงการได้ประโยขน์กว่า 10 ล้านคน และ Phase 2 จะครอบคลุมประชากรมากถึง 65 ล้านคนทั่วประเทศ
้
“ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย”
เพื่อผนึกกำลังป้องกันโควิด-19 ด้วยการกระจายฉีดวัคซีน ให้ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งเป็น “พื้นที่ควบคุมการแพร่ระบาดสูงสุด”
ธนาคารกรุงไทย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย” ซึ่งเป็นผนึกความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ซึ่งได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และภาคีภาคเอกชนอีกมากมาย ในการอำนวยความสะดวกที่จะเร่งดำเนินการฉีดวัคซีน COVID-19 ในพื้นที่ กทม เป็นการร่วมมือกันทั้งกับธนาคารกรุงไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) Accenture และIBM ในการเสริมระบบ Digital Platform กับฐานข้อมูลเดิมของรัฐบาลที่ทางกระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และ สปสช ได้พัฒนาไว้ เช่น เราไม่ทิ้งกัน ม.33 เรารักกัน คนละครึ่ง กระเป๋าสุขภาพ เป็นต้น จะเป็นการอำนวยความสะดวกในการลงทะเบียนฉีดวัคซีน ง่ายต่อการบริหารจัดการ เป็นระบบ End-to-end ที่ใช้กระดาษน้อยที่สุด เน้นประสิทธิภาพในการเร่งฉีดที่ศูนย์ฉีดนอกโรงพยาบาลในพื้นที่ กทม.เป็นการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ตามนโยบายของนายยกรัฐมนตรี และที่สำคัญที่สุดข้อมูลก็จะไปรวมกับข้อมูลของกระทรวงสาธาณณสุข จะไม่สร้างความสับสนและสามารถบูรณาการต่อยอด เข้าถึงได้ทุกภาคส่วน โปร่งใส ตรวจสอบได้ ระบบมีความยืดหยุ่น สามารถปรับตามประเภทของวัคซีน และสถานที่ฉีดได้ตามปริมาณของวัคซีนที่จะถูกจัดสรรให้กับสถานที่ฉีดนอกโรงพยาบาลในพื้นที่ กทม. 25 จุดทั่วกรุงเทพ
นอกจากนี้ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถลงทะเบียนรับชุดตรวจแอนติเจน เทสต์ คิท หรือ ATK (Antigen Test Kit) บนแอป “เป๋าตัง” ได้ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2564 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าว เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เพื่อยกระดับระบบสาธารณสุขของประเทศ และสุขภาพของประชาชนที่สามารถเข้าถึงวัคซีน และชุดตรวจได้อย่างสะดวก และครอบคลุม ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย

กลุ่มระบบขนส่ง

“Krungthai Payment gateway ”
ธนาคารได้ดำเนินการติดตั้งระบบรับชำระเงินด้วย QR Code และเครื่องอ่านบัตรแบบมือถือบนรถโดยสาร ขสมก. จำนวน 3,000 คัน เชื่อมระบบชำระค่าตั๋วโดยสารรถไฟออนไลน์ด้วย Krungthai Payment gateway แห่งแรกแห่งเดียวของประเทศไทย ติดตั้งเครื่อง EDC กว่า 140 เครื่องและ QR Code เพื่อรับชำระเงินที่จุดจำหน่ายตั๋วโดยสาร 56 สถานีทั่วประเทศ ออกบัตรแมงมุมสำหรับเดินทางรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคลและสายฉลองรัชธรรม ออกบัตร M-Pass และ แอปพลิเคชัน M-Pass ที่สามารถเติมเงินแบบ Cross Bank Bill Payment ผ่าน QR Code บนแอปพลิเคชันมือถือ รวมทั้งพัฒนาระบบชำระเงินค่าผ่านทางพิเศษให้สะดวกรวดเร็วขึ้นในโครงการ Tab & Go โดยใช้บัตรเครตดิตที่เป็น Contactless แตะเครื่องอ่านที่ตู้เก็บเงินได้ทันที และเตรียมออกบัตร Dual Chips ที่รวมบัตรเดบิตและบัตรโดยสารสาธารณะไว้ในบัตรเดียว