รายงานความยั่งยืน

การกำกับดูแลกิจการ

บรรษัทภิบาลและการกำกับดูแลกิจการที่ดีถูกผนวกเป็นแกนกลางของวัฒนธรรมองค์กร ตลอดจนแนวปฏิบัติของธนาคารกรุงไทย การดำเนินงานให้สอดคล้องกับหลักการกำกับกิจการที่ดีสำคัญอย่างยิ่งต่อเราในฐานะสถาบันการเงิน เนื่องมาจากหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่การช่วยให้ธนาคารมีกรอบการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม เป็นพื้นฐานของการพัฒนาอย่างมั่นคงในระยะยาว สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผ่านการดำเนินงานอย่างโปร่งใส มีความรับผิดชอบ ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด ถือเป็นการป้องกันความเสียหายด้านชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่อาจเกิดขึ้น ทำให้กรุงไทยสามารถรักษาสถานะของธนาคารที่คนไทยเชื่อมั่นตลอดมา พร้อมต่อยอดไปสู่การสร้างคุณค่าเชิงบวกให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างยั่งยืน

ธนาคารให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส สุจริตและเป็นธรรม ตามแนวทางของการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีความเป็นเลิศในการดำเนินธุรกิจ บนพื้นฐานของความรับผิดชอบอย่างมีจรรยาบรรณ คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม สร้างความเชื่อมั่นและประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้น และครอบคลุมตามหลัก ESG อันประกอบด้วย Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) ควบคู่ไปกับการปลูกฝังสร้างวัฒนธรรมองค์กร การไม่ทนต่อการทุจริต (Zero Tolerance) การให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) ซึ่งหล่อหลอมอยู่ในทุกกระบวนการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจพร้อมกับการมุ่งสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม ลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้ทุกภาคส่วนของสังคมสามารถเติบโตไปพร้อมธนาคารอย่างยั่งยืนและแข็งแกร่ง

คณะกรรมการธนาคารให้ความสำคัญและยึดมั่นในการปฏิบัติตามหลักการและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างจริงจัง และผนวกรวมมิติด้านความยั่งยืน เข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและการดำเนินธุรกิจของธนาคาร เพื่อให้การดำเนินกิจการของธนาคารมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส น่าเชื่อถือ และมีการส่งเสริมให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ยึดมั่นและปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการ เพื่อนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดธรรมาภิบาลภายในองค์กร และยกระดับการกำกับดูแลกิจการของธนาคารให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล นำไปสู่ธนาคารชั้นนำที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาสังคมและประเทศชาติอย่างยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ “กรุงไทย เคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน” ตามหลักบรรษัทภิบาล CARPETS เพื่อเป็นหลักปฏิบัติแก่ผู้บริหารและพนักงานของธนาคาร



โครงสร้างคณะกรรมการธนาคาร ประกอบด้วยบุคคลซึ่งผ่านกระบวนการสรรหา โดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนตามกฎหมาย และหลักการกกำกับดููแลกิจการที่ดี ในขั้นตอนการพิจารณาสรรหากรรมการ มีการคัดเลือกบุคคลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ รวมถึงฐานข้อมูล กรรมการ (Director Pool) ซึ่งจะช่วยระบุุบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญตาม Skill Matrix ที่กำหนดความสามารถสอดคล้องกับภารกิจ ยุทธศาสตร์ และแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของธนาคาร คณะกรรมการธนาคารจึงประกอบด้วยบุุคลากรที่มีคุณสมบัติ ทักษะ ความสามารถและ ประสบการณ์์อันจะเป็นประโยชน์ต่อธนาคารในอนาคต อีกทั้งยังมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจ โดยไม่กีดกันหรือใช้ความแตกต่างส่วนบุคคล เช่น เพศ เชื้อชาติิ สัญชาติ ศาสนา มาเป็นข้อจำกัด ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ธนาคารมีคณะกรรมการทั้งหมด 10 คน เป็นกรรมการอิสระจำนวน 5 คน กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารจำนวน 9 คน และกรรมการที่เป็นผู้บริหารจำนวน 1 คน จำนวนกรรมการอิสระมีอัตราเท่ากับร้อยละ 50 ของกรรมการทั้งหมด ซึ่งมากกว่าข้อกำหนด ของคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ให้มีกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งหมด โดยมี นายลวรณ แสงสนิท ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธนาคาร ซึ่งเป็นกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร และมี นายผยง ศรีวณิช ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งการดำรงตำแหน่งของประธานกรรมการธนาคารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ถูกแยกออกจากกันอย่างชัดเจน มีระบบ การบริหารและการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานเป็นไปอย่างโปร่งใส อิสระ ปราศจากการมีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) และเพื่อให้้การดำเนินงานของธนาคารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มเป็นสำคัญ


ตารางแสดงองค์ประกอบความรู้ความชำนาญของคณะกรรมการ



นโยบายการสรรหากรรมการธนาคาร

บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการของธนาคาร จะต้องผ่านกระบวนการสรรหา โดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ตามขั้นตอนของกฎหมายและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีการคำนึงถึงสัดส่วนและองค์ประกอบที่เหมาะสมกับธนาคาร ลักษณะธุรกิจ และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจะพิจารณาสรรหากรรมการจากแหล่งต่างๆ รวมถึงฐานข้อมูลกรรมการ (Director Pool) และจากการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้เสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตาม Skill Matrix ที่กำหนดไว้ ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจและยุทธศาสตร์ธนาคารทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนของธนาคาร และต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามในการเป็นกรรมการสถาบันการเงิน ตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้องและข้อบังคับของธนาคาร ดังนั้นคณะกรรมการธนาคาร จึงประกอบด้วย คณะบุคคลที่มีคุณสมบัติหลากหลาย ทั้งในด้านความเป็นอิสระ ทักษะประสบการณ์ ความสามารถเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์กับธนาคาร ซึ่งประกอบด้วยผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับด้านธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างน้อย 1 คน ด้านบัญชีและการเงินอย่างน้อย 1 คน และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างน้อย 1 คน โดยไม่กีดกันหรือใช้ความแตกต่างส่วนบุคคล อาทิ ศาสนา วัฒนธรรม เชื้อชาติ สัญชาติ อายุ เพศ เป็นต้น เป็นข้อจำกัดในการดำรงตำแหน่งกรรมการธนาคาร

การสรรหากรรมการต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของคณะกรรมการธนาคาร ซึ่งประกอบด้วย

  • บุคคลผู้มีคุณสมบัติการเป็นกรรมการดังที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนกฎหมายและหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของธนาคาร และข้อบังคับของธนาคาร รวมถึงไม่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  • บุคคลผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตาม Skill Matrix ที่ธนาคารกำหนดไว้ ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจและยุทธศาสตร์ธนาคาร ซึ่งทำให้คณะกรรมการประกอบด้วยบุคคลที่มีคุณสมบัติหลากหลาย ทั้งในด้านทักษะ ประสบการณ์ ความสามารถเฉพาะที่เป็นประโยชน์ ซึ่งประกอบด้วยผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับด้านธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างน้อย 1 คน ด้านบัญชีและการเงินอย่างน้อย 1 คนและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างน้อย 1 คน
  • บุคคลผู้สามารถปฏิบัติหน้าที่และแสดงความคิดเห็นได้โดยอิสระ อุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเพียงพอ
  • การดำรงตำแหน่งในบริษัทอื่น
    • ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในบริษัทอื่นอีกไม่เกิน 3 กลุ่มธุรกิจ
    • ดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ไม่เกิน 5 บริษัท (นับรวม บมจ. ธนาคารกรุงไทย แต่ไม่ นับรวมบริษัทที่ได้มาจากการปรับโครงสร้างหนี้)


ความรู้ความเชี่ยวชาญตาม Skill Matrix ของกรรมการธนาคาร

: ความเชี่ยวชาญ (ประสบการณ์การทำงานในสาขานั้นไม่ต่ำกว่า 3 ปี ให้ระบุเพียง 2 ลำดับแรกที่มีความเชี่ยวชาญมากที่สุด)
* มีประสบการณ์ภาคธุรกิจ หมายถึง มีประสบการณ์ในภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานที่มิใช่ส่วนราชการ ไม่น้อยกว่า 3 ปี
** หลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ.39/2559 / ประกาศ ธปท ที่ สนส 10/2561 และกฎบัตรคณะกรรมการอิสระ



การประเมินผลการปฏิบัติงานและการจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหารระดับสูง


คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน รับผิดชอบดูแลให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารระดับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ขึ้นไป และผู้มีอำนาจในการจัดการของธนาคาร ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่ และความรับผิดชอบที่มีต่อธนาคาร เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาเป็นประจำทุกปี ภายใต้หลักเกณฑ์และกระบวนการที่โปร่งใส ชัดเจน และเป็นธรรม ตลอดจนความสามารถในการแข่งขันของธนาคารเมื่อเปรียบเทียบกับสถาบัน การเงินและบริษัทชั้นนำอื่นๆ ในประเทศไทย ตามนโยบายการขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กรด้วยผลการปฏิบัติงาน (Performance Driven Organization หรือ PDO) เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน ตามแผนยุทธศาสตร์ของธนาคาร ซึ่งเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ธนาคารทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และสอดคล้องกับผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารแต่ละคน โดยตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานจะอยู่บนฐานของ 7 แกนปฏิบัติการหลัก (7 Strategic Focus) ทั้งที่เป็นตัวชี้วัดด้านการเงิน ตัวชี้วัดด้านการสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ภายใต้ยุทธศาสตร์คู่ขนานระหว่างเรือบรรทุกเครื่องบินและเรือเร็ว ตัวชี้วัดเกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของธนาคาร รวมทั้งเพิ่มความพึงพอใจในการใช้บริการของลูกค้า ตัวชี้วัดเกี่ยวกับการต่อยอดจากธุรกิจจากคู่ค้าของลูกค้า ด้วยกลยุทธ์ X2G2X ที่ยึดภาครัฐเป็นศูนย์กลาง และต่อเชื่อมด้วยคู่ค้าธุรกิจและ ลูกค้ารายย่อยโดยเชื่อมโยงกันด้วยประสิทธิภาพของเทคโนโลยี รวมทั้งตัวชี้วัดด้านความสำเร็จอย่างยั่งยืนของธนาคาร ได้แก่ ด้านการสร้างมูลค่าการต่อยอดธุรกิจกับคู่ค้าของลูกค้า ด้านขับเคลื่อนประสิทธิภาพองค์กรด้วยดิจิทัลและข้อมูล ด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อสร้างการเติบโตในมิติใหม่ ด้านการขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทาง ESG ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถการทำงานแห่งอนาคต ด้านการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีหลักขององค์กร รวมถึงด้านการปฏิรูปวัฒนธรรมและปลูกฝังวิธีการทำงานแบบใหม่เพื่อขับเคลื่อนองค์กรด้วยความยืดหยุ่นคล่องตัว

Financial Metric

Non-Financial Metric

Net Profit

ESG and sustainable green financing

Total Income

Revamp corporate banking business

% Cost to Income

Monetization through ecosystem

Loan Growth

Leverage digital and data to drive efficiency

%Coverage

Launch new growth platforms

%NPL

Transform culture

Build future ready capabilities

Upgrade core technology infrastructure


การสนับสนุนองค์กรภายนอก

ธนาคารกรุงไทย มีความมุ่งมั่นในการประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบและขยายผลกระทบเชิงบวก ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านการเข้าร่วมเครือข่ายธุรกิจทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ธนาคารจึงดำเนินการมีส่วนร่วมและได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรและพันธมิตรภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนอันเป็นการขยายขอบเขตความสามารถ แบ่งปันประสบการณ์ ตลอดจนพัฒนาระบบการทำงานแก่องค์กรสมาชิก

ธนาคาร พิจารณาให้การสนับสนุน/ร่วมมือกับเครือข่ายสมาคมและองค์กรต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ตามนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยการสนับสนุนสมาคมและองค์กรต่าง ๆ จะเป็นไปในแนวทางเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการพิจารณาผ่านหน่วยงานกำกับดูแลภายในธนาคาร ทั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนความยั่งยืน คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความยั่งยืน หรือหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้อง เพื่อมุ่งหวังการสนับสนุนที่มีศักยภาพในการเสริมสร้างนโยบาย ระเบียบ และข้อบังคับสาธารณะต่าง ๆ โดยไม่มีกิจกรรมหรือการสนับสนุนเพื่อชี้นำทางการเมืองหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด ไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินหรือทรัพยากรใด ๆ แก่พรรคการเมืองหรือองค์กรหรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองหรืออื่น ๆ โดยสมาคมและองค์กรที่ธนาคาร ได้ให้การสนับสนุน ล้วนมีส่วนสำคัญในการผลักดันนโยบาย และการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศ


ประเภทการสนับสนุน



กิจกกรม

จำนวนเงิน (บาท)

2563

2564

2565

2566

การล็อบบี้เพื่อผลประโยชน์ขององค์กร

-

-

-

-

กิจกรรมทางการเมืองระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับชาติ

-

-

-

-

สมาคมการค้าหรือกลุ่มผู้ได้รับการยกเว้นภาษี

12,433,761

10,490,778

31,515,597

31,790,150

อื่น ๆ (การสนับสนุนการใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการลงคะแนนเสียงหรือการลงประชามติ)

-

-

-

-

รวมทั้งหมด

12,433,761

10,490,778

31,515,597

31,790,150



สมาคมที่ธนาคารสนับสนุน

สมาคม/หน่วยงาน

จำนวนเงิน (บาท)

2563

2564

2565

2566

สมาคมธนาคารไทย (TBA)

11,065,771

9,135,328

14,168,646

17,311,489

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC)

-

-

13,418,904

11,652,503

สมาคมแลกเปลี่ยน และตราสารอนุพันธ์นานาชาติ

1,004,190

991,650

1,154,300

1,188,590

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย

310,300

310,300

1,899,146

814,818

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย

53,500

53,500

874,600

822,750

ธนาคารกรุงไทย ได้พิจารณาการเข้าร่วมกับหน่วยงาน เครือข่าย และสมาคม เพื่อร่วมขับเคลื่อนการนโยบายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เน้นย้ำการสร้างการมีส่วนร่วม ที่สอดคล้องกับแนวนโยบายภายในธนาคารในการเป็นส่วนขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมาย Net Zero ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุน มาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) และเข้าร่วมเป็นองค์กรสนับสนุนเครือข่ายฯ ประจำปี 2567 อย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งส่งผู้แทนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับความร่วมมือการเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ร่วมกันของทั้งภาครัฐและเอกชน

ซึ่ง TCNN เป็นสมาคมเครือฯ ข่ายที่จัดตั้งขึ้น โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO มีวัตุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่น/ชุมชน ในการยกระดับการลดก๊าซเรือนกระจก สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตามเจตนารมณ์ของประชาคมโลกที่ปรากฏในเป้าหมายของความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ข้อมูลเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ