รายงานความยั่งยืน


การดำเนินธุรกิจอย่างเคารพสิทธิมนุษยชน

เป้าหมายระยะยาว

เป้าหมายปี 2566

ผลการดำเนินงาน

  • องค์กรที่มีการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากล
  • ยกระดับกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่คุณค่าตามมาตรฐานสากล และขยายผลสู่ธุรกิจในเครือ

  • ทบทวนกระบวนการหรือความสอดคล้องสิทธิมนุษยชนกลไกการร้องทุกข์และเยียวยาสิทธิมนุษยชน
  • ปลูกฝังความรับผิดชอบและสร้างความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง

  • การละเมิดสิทธิมนุษยชน 0 กรณี
  • การจ้างแรงงานเด็กหรือแรงงานเยาวชนในการทำงานที่เป็นอันตรายและการจ้างแรงงานบังคับตลอด ห่วงโซ่คุณค่าของธนาคาร 0 กรณี
  • สหภาพแรงงานธนาคารกรุงไทยมีสมาชิก 11,089 คน
  • สหภาพแรงงานเครือข่ายธนาคารกรุงไทยมีสมาชิก 5,110 คน
  • มีพนักงานที่ได้รับการดูแลภายใต้คณะกรรมการสวัสดิการร้อยละ 100
  • ข้อพิพาทแรงงานเป็น 0

ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก โดยเฉพาะธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับ “มนุษย์” เนื่องจากมนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับอย่างเท่าเทียมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสันติสุขโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน โดยภาครัฐได้พัฒนาแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นกรอบนโยบายระดับชาติที่กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานให้กับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองประชาชนและชุมชนไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ปกป้อง บรรเทา หรือแก้ไขปัญหาและผลกระทบเชิงลบจากการประกอบธุรกิจ และส่งเสริมแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทาน


นโยบายและการบริหารจัดการ

ธนาคารให้ความสำคัญกับการปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเสมอภาค ยอมรับในความแตกต่าง ทั้งเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา สถานภาพทางกายหรือสุขภาพ ไม่มีการกีดกัน แบ่งแยก หน่วงเหนี่ยว หรือจำกัดสิทธิ ตลอดจนมีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส ธนาคารนำหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) และหลักการว่าด้วย การปกป้องสิทธิ การเคารพสิทธิ และการเยียวยาผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ เกิดขึ้น (Protect, Respect, and Remedy) มาเป็นแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนทั้งภายในและภายนอกองค์กร ครอบคลุมการดำเนินงานของธนาคาร พนักงาน ลูกค้า และคู่ค้าของธนาคาร


การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

กระบวนการประเมินความเสี่ยงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจต่อ “คน” หรือ “ผู้มีส่วนได้เสีย” ซึ่งครอบคลุมถึงการจัดทำนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ระบุและประเมินความเสี่ยง บรรเทาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการละเมิดซ้ำในอนาคต ติดตามผลการดำเนินงาน และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ



ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ (Salient Issues)

ธนาคารดำเนินการประเมินและจัดลำดับความสำคัญประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมกิจกรรมภายในองค์กรและตลอดห่วงโซ่อุปทาน จากการประเมินฯ พบว่ามีประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ 3 ประเด็น ดังนี้

  1. สิทธิแรงงานและแรงงานทาสยุคใหม่ของลูกค้าองค์กร

มาตรการบรรเทาผลกระทบ : แนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ การประเมินด้าน ESG และการรายงานเกี่ยวกับมาตรการด้านสิทธิมนุษยชนในกระบวนการพิจารณาสินเชื่อ

  1. สิทธิชุมชนของลูกค้าองค์กร

มาตรการบรรเทาผลกระทบ : แนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ การประเมินด้าน ESG และการรายงานเกี่ยวกับมาตรการด้านสิทธิมนุษยชนในกระบวนการพิจารณาสินเชื่อ และธนาคารอยู่ระหว่างการพัฒนาแนวทางการให้สินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย (Thailand Taxonomy)

  1. สิทธิแรงงานและแรงงานทาสยุคใหม่ของคู่ค้า

มาตรการบรรเทาผลกระทบ : จรรยาบรรณทางธุรกิจของคู่ค้า เกณฑ์การประเมินคู่ค้า การระบุเกณฑ์ด้านสิทธิมนุษยชนในสัญญาการจ้างงานหรือเงื่อนไขการจ้างงาน พร้อมทั้งระบุบทลงโทษกรณีเกิดเหตุละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน


เสรีภาพในการสมาคม

ธนาคาร ให้สิทธิเสรีภาพกับพนักงานทุกคนในการแสดงความคิดเห็น โดยผ่านการแจ้งมายังช่องทาง HR HOTLINE เบอร์โทรศัพท์ 02-208-8887 โดยธนาคารจะนำความคิดเห็นดังกล่าวมาปรับปรุงพัฒนาแก้ไขการดำเนินงานของธนาคารให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ธนาคารยังรับฟังสหภาพแรงงานซึ่งเป็นผู้แทนของพนักงานโดยมีการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างฝ่ายจัดการกับผู้แทนลูกจ้าง เพื่อพัฒนาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพรวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงานผ่านการประชุมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน และมีการประชุมคณะกรรมการลูกจ้าง รวมทั้งการประชุมคณะกรรมการสวัสดิการโดยมีการประชุมร่วมกันเป็นประจำทุก 3 เดือน ปัจจุบันมีพนักงานที่ได้รับการดูแลภายใต้คณะกรรมการสวัสดิการ จำนวน 16,421 คน คิดเป็นร้อยละ 100


ผลการดำเนินงานด้านสังคม

ข้อมูล

หน่วย

2563

2564

2565

2566

เป้าหมายปี 2566

จำนวนพนักงานทั้งหมด

คน

20,262

18,937

17,157

16,421

-

จำแนกตามเพศ

ชาย

คน

ร้อยละ

6,024

29.73

5,545

29.28

4,926

28.71

4,677

28.48

-

หญิง

คน

ร้อยละ

14,238

70.27

13,392

70.72

12,231

71.29

11,744

71.52

-

จำแนกตามอายุ

อายุน้อยกว่า 30 ปี

คน

ร้อยละ

1,386

6.84

588

3.11

373

2.17

317

1.93

-

อายุ 30-50 ปี

คน

ร้อยละ

13,702

67.62

13,707

72.38

12,866

74.99

12,292

74.86

-

อายุมากกว่า 50 ปี

คน

ร้อยละ

5,174

25.54

4,642

24.51

3,918

22.84

3,812

23.21

-

จำแนกตามสัญชาติ

ไทย

ร้อยละ

ร้อยละของผู้บริหาร

100

100

100

100

100

100

99.99

99.97

-

ต่างชาติ

ร้อยละ

ร้อยละของผู้บริหาร

0

0

0

0

0

0

0.01

0.03

-

ความหลากหลายของพนักงาน

พนักงานหญิงต่อพนักงานทั้งหมด

ร้อยละ

70.27

70.72

71.29

71.52

50.00

ผู้บริหารหญิงต่อผู้บริหารทั้งหมด

ร้อยละ

53.21

53.86

55.26

57.30

50.00

ผู้บริหารหญิงต่อผู้บริหารระดับต้นทั้งหมด

ร้อยละ

53.73

54.35

55.75

57.69

50.00

ผู้บริหารหญิงต่อผู้บริหารระดับสูงทั้งหมด

ร้อยละ

35.87

37.21

39.29

44.05

50.00

ผู้บริหารหญิงที่อยู่ในหน่วยงานที่สร้างรายได้

ร้อยละ

56.18

55.25

59.00

77.69

50.00

พนักงานหญิงในตำแหน่ง STEM

ร้อยละ

15.00

17.65

60.00

60.26

50.00

ดาวน์โหลด
ISO 20400 Sustainable Procurement Certificate
ISO 20400 Sustainable Procurement Certificate  
(0.96 MB) PDF
การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)  
(0.12 MB) PDF
ข้อมูลเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ