รายงานความยั่งยืน

"กรุงไทยพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่องทุกปี"
       ธนาคารกำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากร โดยพิจารณาถึงแผนยุทธศาสตร์และปัจจัยต่างๆ อาทิ ยุทธศาสตร์ธนาคาร, กลยุทธ์สายงาน, Competency, Job Description, Career Path, Training Need, Training Road Map และ Future Trend โดยแบ่งกลุ่มพนักงานออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับผู้บริหาร และระดับพนักงาน ธนาคารได้ดำเนินการพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ และวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ของธนาคาร โดยธนาคารมีการพัฒนาทักษะพนักงานใน 3 ด้าน คือ Core Competency, Management Competency และ Technical Competency อาทิ ความรู้ผลิตภัณฑ์ การขาย และการบริการ, สินเชื่อ, การพัฒนาภาวะผู้นำ (Leadership) ฯลฯ
       ทั้งนี้ ในปี 2563 ธนาคารมีนโยบายที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องตามแนวทางยุทธศาตร์ 2-Banking Model ที่แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ด้าน คือ
เรือบรรทุกเครื่องบิน (Carrier)
ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพและลดต้นทุนการดำเนินงานของหน่วยงานหลัก
เรือเร็ว (Speed Boat)
ที่มุ่งทำธุรกิจในรูปแบบ Agile มีความคล่องตัวและรวดเร็ว รวมถึงมุ่งเข้าสู่ Digital Banking ภายใต้แนวคิด “เก่งงาน เก่งคน เก่งเทคโนโลยี”
       ดังนั้น ธนาคารจึงมีการวิเคราะห์ทบทวนและประเมินสมรรถนะบุคลากร (Competency) ใน 3 ด้านอย่างเป็นระบบ ได้แก่ Core Competency, Leadership Competency และ Technical Competency โดยเฉพาะในเรื่องของ Technical Competency ที่เป็นสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของพนักงาน ได้มีการเพิ่ม Competency ด้าน Digital ให้สอดคล้องกับนโยบายการดำเนินงานของธนาคารมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีการจัดแบ่งหมวดหมู่ของ Technical Competency ตาม Job Family เพื่อให้สมรรถนะมีความสอดคล้องตามกลุ่มลักษณะงานภายในองค์กร ทำให้สามารถนำไปใช้ประเมินและพัฒนาบุคลากรทั้งในส่วนของ Carrier และ Speed Boat ที่มีความต้องการทักษะ ความรู้ และคุณลักษณะที่แตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม
Core Competency
Core Competency
Leadership Competency
Leadership Competency
Technical Competency
Technical Competency
       ธนาคารพัฒนาพนักงานผ่านหลากหลายช่องทาง ทั้งการฝึกอบรมแบบ Classroom Training ทั้งภายในและภายนอกธนาคาร รวมถึง Online Classroom ผ่านระบบ Video Conference, หลักสูตร E-learning และการเผยแพร่ความรู้ผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ Email และ Digital Signage ทั้งนี้ เพื่อให้กระบวนการพัฒนาบุคลากรและผู้นำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกเหนือจากรูปแบบการอบรมที่กล่าวไปข้างต้น ธนาคารยังได้ออกแบบหลักสูตรและเนื้อหาที่เน้นการเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ โดยสอดแทรกเนื้อหาการอบรมเข้ากับกิจกรรมสันทนาการ หรือ การจำลองเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และได้ทดลองฝึกฝนในสถานการณ์จริง อาทิ หลักสูตร Hackathon หลักสูตร Consultative Selling Skill ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมได้เสนอผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าในสถานการณ์จริง หลักสูตร Strategic Planning and Development และ หลักสูตร Coaching เป็นต้น โดยในปี 2564 เวลาเฉลี่ยในการอบรมของพนักงานเท่ากับ 105.46 ชั่วโมง/ต่อคน และธนาคารได้ใช้เงินเพื่อพัฒนาศักยภาพพนักงาน เฉลี่ยต่อคนเท่ากับ 4,960 บาท


       นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นบทบาทของหัวหน้างานในการพัฒนาพนักงานผ่านการเรียนรู้แบบ Non-classroom Training อาทิ การโค้ชโดยหัวหน้างาน, การมอบหมายให้ทำงาน Project, การฝึกอบรมในงาน (OJT) และเริ่มติดตามผลของ Non-classroom Training นอกจากนี้ธนาคารยังสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาบุคลากรผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคลากรภายในธนาคาร (Experience based Training) ซึ่งผู้บริหารระดับสูงมีส่วนร่วมสร้างบรรยากาศเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยทำหน้าที่วิทยากรภายใน (Internal Trainer) ถ่ายทอดความรู้ให้พนักงานโดยตรงเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาบุคลากร อีกทั้งยังมีการสร้างวัฒนธรรมการโค้ช (Coaching Culture) ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการโค้ชระดับมืออาชีพตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้บริหารสามารถใช้ทักษะการโค้ชในการดึงศักยภาพและสร้างแรงจูงใจในการทำงาน นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์แห่งการเรียนรู้ ธนาคารยังเปิดโอกาสให้พนักงานจากบริษัทในเครือ เข้ารับการอบรมไปพร้อมกับพนักงานภายในธนาคารอีกด้วย

การดำเนินงานด้าน Employee Engagement
       ในปี 2564 เพื่อเป็นการยกระดับการดำเนินงานด้านเสริมสร้างความมุ่งมั่นผูกพัน (Employee Engagement) ธนาคารจัดให้มี Employee Engagement Agent จากทุกสายงานของธนาคาร เพื่อร่วมนำผลลัพท์จากการสำรวจฯ ไปใช้ในการเสริมสร้างยกระดับความมุ่งมั่นผูกพันของสายงานอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงจัดโครงการสร้างจิตสำนึกรักและความภาคภูมิใจที่มีต่อธนาคาร สร้างวัฒนธรรมการยกย่องชมเชยผ่านกิจกรรมและ สื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของธนาคาร เช่น กิจกรรมบอกรักกรุงไทย หัวใจสีฟ้ากิจกรรมส่งกำลังใจฝ่าวิกฤต COVID-19 กิจกรรม "จากน้องกรุงไทย ส่งให้พี่เกษียณ“ สื่อ VDO ชุด เพราะพวกเราทุกคนไม่ยอมแพ้... "ขอบคุณนะ" คู่มือ สริมสร้างความมุ่งมั่นผูกพัน เป็นต้น
       พร้อมทั้งธนาคารได้สร้างช่องทางการสื่อสารในหลายรูปแบบเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของพนักงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล และการแสดงความคิดเห็น สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์อันดีทั้งในระดับพนักงาน และระหว่างหน่วยงานทั่วประเทศ
       โดยในปี 2564 มีพนักงานให้ความร่วมมือตอบแบบสำรวจมากถึง 98.96%* มีผลสำรวจความมุ่งมั่นผูกพันในภาพรวมธนาคารเท่ากับ 90.80 % ทั้งนี้ คะแนนระหว่างเพศหญิงและเพศชายในปี 2564 และย้อนหลังไปอีก 4 ปี ไม่มีความแตกต่างกัน เป็นไปตามเป้าหมายของธนาคาร

การดำเนินงานด้านอาชีวอนามัย
ธนาคารมีการรายงานผลการดําเนินงานด้านอาชีวอนามัยให้คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อสวัสดิภาพของพนักงานรับทราบ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการสภาพแวดล้อมฯ มาจากการแต่งตั้งตัวแทนในระดับผู้บริหารจากทุกสายงานของธนาคาร มีหน้าที่ทบทวนกระบวนการบริหารจัดการและแผนงานด้านความปลอดภัยฯ ของธนาคาร รวมทั้งทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ และดำเนินการปรับปรุงด้านความปลอดภัย ตามนโยบายของกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยมีผู้บริหารสายงานทรัพยากรบุคคลและบรรษัทภิบาล เป็นประธานกรรมการ โดยในมติฯ ปี 2564 มีหัวข้อสำคัญ ได้แก่
1. รายงานความคืบหน้าการดําเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของธนาคาร
     1.1 การดําเนินงานตามกฎหมายด้านความปลอดภัยฯ
          1.1.1 การอบรมหลักสูตรด้านความปลอดภัยฯ และขึ้นทะเบียนบุคลากรด้านความปลอดภัยฯ
          1.1.2 การจัดทําแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยของอาคารต่างๆ ทั่วประเทศ
          1.1.3 การฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ
     1.2 การสื่อสารและให้ความรู้ด้านความปลอดภัยฯ
2. รายงานผลการดําเนินงานด้านความปลอดภัยฯ (KRUNGTHAI-SSHE) ของธนาคาร ปี 2563
3. รายงานผลสํารวจความคิดเห็นงานด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการ ทํางานของธนาคาร ครั้งที่ 1 ปี 2564 3.1 ผลสํารวจความคิดเห็นของพนักงานเกี$ยวกับงานด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และ สภาพแวดล้อมในการทํางานของธนาคาร 3.2 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของธนาคาร
4. การดําเนินงานด้านอาชีวอนามัยฯ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)
นอกจากนี้ บริเวณสถานที่ทำงานของธนาคารยังได้รับการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง การตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงานและประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality) และการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายในบรรยากาศ โดยศูนย์เทคโนโลยีอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระบรมราชูปถัมภ์
ข้อมูลเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ