
สำหรับชุมชนของเรา
กรอบการดำเนินงานการสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม (CSV Framework)
ธนาคารกรุงไทย เชื่อมั่นว่าชุมชนที่มีรากฐานทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งจะช่วยให้สมาชิกในชุมชนสามารถสร้างสรรค์ และดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ขณะเดียวกันชุมชนสามารถเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ธนาคารจึงได้ดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการส่งเสริมอาชีพที่สร้างรายได้ที่มีความมั่นคง ควบคู่ไปกับการสนับสนุนความรู้ด้านการเงิน ค่านิยม และทัศนคติด้านการเงินที่ดี เพื่อเพิ่มต้นทุนให้กับสมาชิกในชุมชน ได้มีทักษะและศักยภาพในการแก้ไขปัญหา และรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ทั้งในระดับบุคคล และระดับชุมชน เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยธนาคารได้กำหนดแผน และแนวทางการปฏิบัติในการสร้างคุณค่าร่วมกับสังคมที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นใน 4 มิติ ดังนี้
- การพัฒนาชุมชนสู่การเป็นกิจการเพื่อสังคม
- การสร้างผลกระทบเชิงบวก เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
- การสร้างสังคมที่ยั่งยืนผ่านการให้ความรู้ทางการเงิน
- การสร้างวัฒนธรรมจิตอาสาแก่พนักงาน และบุคคลทั่วไป
- ในปี 2565 ธนาคารได้พัฒนาโครงการชุมชนต้นแบบ ที่มีแนวคิด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการ วิธีการดำเนินธุรกิจ และกระบวนการพัฒนาชุมชนที่สะท้อนอัตลักษณ์ (Community Identity) และการบริหารจัดการโครงการแบบองค์รวมที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นจนจบ (End-to-End) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ และต่อยอดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในอนาคต
- โครงการชุมชนต้นแบบ เน้นการสร้างเสริมศักยภาพผู้นำชุมชนด้วยการพัฒนาวิสัยทัศน์ การบริหารจัดการชุมชนอย่างมีกลยุทธ์ โดยใช้วิธีการ และขั้นตอนการทำงานแบบธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise Way: SE Way) เพื่อสร้างเครื่องมือ กระบวนการ การปรับเปลี่ยนวิธีคิด (Mindset) วิธีการดำเนินธุรกิจ และกระบวนการพัฒนาชุมชน โดยบูรณาการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเป็นระบบ
- ถอดบทเรียนแนวทางการทำงานร่วมกันกับชุมชน พัฒนากรณีศึกษาการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และถ่ายทอดกระบวนการทำงานสู่การสร้างองค์ความรู้ในการบ่มเพาะธุรกิจชุมชนที่ยั่งยืนกับโครงการพัฒนาชุมชนอื่น ๆ ในอนาคต
ธนาคารเชื่อว่า ชุมชนที่มีความยั่งยืนจะต้องมีการบริหารจัดการทุนมนุษย์ และสินทรัพย์ของชุมชน (Community Assets) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไปพร้อมกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เพียงพอต่อคนรุ่นหลัง ดังนั้นในการดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนของธนาคาร จึงเป็นไปในรูปแบบของการบูรณาการ และการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนในระยะยาว (Sustainable Community Development) ผ่านกระบวนการสร้างชุมชน ภายใต้โครงการ “กรุงไทยรักชุมชน” ที่มีองค์ประกอบในการดำเนินงาน ดังนี้
- Social Enterprise Thailand องค์กรศูนย์กลางของธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม และการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับการเติบโตของกิจการเพื่อสังคม
- อุทยานวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Science and Technology Park Chieng Mai University) เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการโครงการ และการบ่มเพาะธุรกิจชุมชน
- Local Alike เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
- TP Packing Solution เชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม (Holistic Sustainable Waste Management Solutions)
- Flow Folk เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ชุมชน
- Noburo เชี่ยวชาญด้านการแก้หนี้ การออมอย่างยั่งยืน ด้วยหลักความรู้คู่ทุน
- คุณปรารถนา จริยวิสาศกุล นักสร้างแบรนด์เพื่อสังคม และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกระบวนการเชิงกลยุทธ์
- คุณภานุวัฒน์ สัจจะวิริยะกุล นักพฤติกรรมศาสตร์ และนักเศรษฐศาสตร์ความสุข
ในการพัฒนากระบวนการดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการดำเนินงาน ซึ่งธนาคารกรุงไทย มีนโยบายหลักในการพัฒนาชุมชนให้สามารถดำเนินธุรกิจ และบริหารจัดการชุมชน โดยใช้สินทรัพย์ชุมชน องค์ความรู้ อัตลักษณ์ และวัฒนธรรมชุมชน เพื่อให้คงอยู่อย่างยั่งยืน โดยองค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการทำงานร่วมกับชุมชน และธุรกิจเพื่อสังคมที่ธนาคารเลือกเป็นพันธมิตรนั้น จะถูกถ่ายทอดในรูปแบบของการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้นจริง 2 ชุมชน คู่มือกระบวนการดำเนินงาน องค์ความรู้ที่ถูกนำมาใช้ รวมถึงองค์ประกอบในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของธนาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการบ่มเพาะ การประเมิน การติดตาม และการถ่ายทอดองค์ความรู้ในกับชุมชนอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต
โครงการกรุงไทยรักษ์สิ่งแวดล้อม
ในปี 2565 ธนาคารกรุงไทย ร่วมกับ UNDP ประเทศไทย มูลนิธิรักษ์ไทย และเทศบาลตำบลเกาะเต่า ในการต่อยอดโครงการ Koh Tao, Better Together ผ่านโครงการ “กรุงไทยรักษ์เกาะเต่า ระยะที่ 3” ด้วยการพัฒนาเนื้อหา และกลไกทำงานร่วมกับชุมชนบนเกาะเต่า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสมาชิกในชุมชนเกาะเต่า ผ่านการฟื้นฟู ดูแลรักษา และการวางแผนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร และความหลากหลายทางชีวภาพ และกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สร้างความมั่นคงด้านการประกอบอาชีพ รวมทั้งการจัดตั้งกองทุนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนเกาะเต่า
หลักการดำเนินโครงการ “กรุงไทยรักษ์เกาะเต่า ระยะที่ 3”
ธนาคารได้กำหนดเป้าหมาย และหลักการดำเนินโครงการร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ในการสร้างโมเดล และกลไกทางการเงิน เพื่อเสริมอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับชุมชนชาวเกาะเต่า โดยมีกรอบการดำเนินงาน และตัวชี้วัดการดำเนินงาน ดังนี้
2.โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามแนวพระราชดำริด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จากแนวคิดเรื่องการพัฒนาประเทศให้เกิดความมั่นคง และยั่งยืน ที่มาจากการสร้างรากฐานของชุมชนให้แข็งแกร่ง มีการส่งต่อมรดกทางสังคม และคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติให้กับคนรุ่นต่อไป ธนาคารจึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมโครงการพัฒนาระบบน้ำ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต การมีสุขภาพที่แข็งแรง ตลอดจนการใช้น้ำเพื่อก่อให้เกิดรายได้ และความเป็นอยู่ที่ดี โดยการสนับสนุนให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ได้ด้วยตนเอง เพิ่มน้ำต้นทุน และมีน้ำสำรองสำหรับอุปโภค บริโภค และทำการเกษตรได้ตลอดปี ทำให้สมาชิกในชุมชนมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น สามารถบริหารความเสี่ยงจากการขาดน้ำ ผ่านโครงการอุทกพัฒน์ และมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ใน 4 พื้นที่ ดังนี้
ธนาคารกรุงไทย เล็งเห็นปัญหาสิ่งแวดล้อม มลพิษในอากาศ ภาวะขยะล้นโลกที่เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ จึงได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงาน เพื่อลดผลกระทบที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม การจัดการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในองค์กร รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงาน ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม โดย ติดตั้งตู้ RELIFE MACHINE ที่ธนาคารกรุงไทยอาคารสำนักงานใหญ่นานาเหนือ และที่สาขากระทรวงการคลัง เพื่อจัดเก็บขวดพลาสติก นำไปบริจาคให้วัดจากแดงเพื่อนำไปรีไซเคิล เป็นการลดกระบวนการย่อยสลายขยะพลาสติกตามธรรมชาติซึ่งจะใช้เวลานาน นอกจากนี้ธนาคารยังได้ติดตั้ง เครื่อง INNOWASTE บริเวณห้องอาหารวายุภักดิ์ ชั้น 4 สำนักงานใหญ่ เพื่อแปรรูปเศษอาหารให้กลายเป็นดินคุณภาพ โดยมีการนำดินที่ได้จากเครื่องฯ ดังกล่าว แจกจ่ายให้กับพนักงาน โรงเรียนและวัด เพื่อนำไปปลูกต้นไม้ ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ
โครงการจิตอาสาธนาคารกรุงไทย (We Vayu Volunteer)
- คณะทำงานด้านพื้นที่สีเขียว
- คณะทำงานด้านการพัฒนาเยาวชน การศึกษา และวัฒนธรรม
- คณะทำงานด้านการส่งเสริมอาชีพ
ดังนั้น ธนาคารจึงร่วมกับชุมชนตำบลบางน้ำผึ้ง จัดกิจกรรมจิตอาสา สนับสนุนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนอย่างยั่งยืน ดำเนินกิจกรรมในรูปแบบ Green Event ที่หลีกเลี่ยงการสร้างมลภาวะ ใช้วัสดุจากธรรมชาติ และย่อยสลายได้ โดยพนักงานจิตอาสา VVe Vayu Volunteers จัดทำถังหมักขยะอินทรีย์ Green Cone สำหรับบำบัดขยะ มอบให้ชุมชน 140 ครัวเรือน และบอลจุลินทรีย์ 1,300 ลูก สำหรับบำบัดน้ำในคลองบางน้ำผึ้ง พร้อมร่วมกับทีมงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางน้ำผึ้ง (รพ.สต.) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพและของใช้จำเป็นให้กับผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในชุมชน
รวมทั้งได้เชื่อมโยงโครงการด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคารเข้าด้วยกัน คือ การรวบรวมดินที่ได้จากการเปลี่ยนเศษอาหารจากห้องอาหารของธนาคารด้วยเครื่อง Inno Waste ปริมาณ 70 กิโลกรัม และขวดน้ำพลาสติกที่รวบรวมจาก RELIFE MACHINE จากโครงการ “กรุงไทย RELIFE เปลี่ยนฟื้นคืนชีวิต” จำนวน 7,425 ใบ นำไปมอบให้กับวัดจากแดง โดยขวดพลาสติกจะถูกนำไปรีไซเคิล ผลิตเป็นเส้นใย เพื่อ Upcycle ทอเป็นจีวรพระและเครื่องนุ่งห่ม โดยนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-being) ด้านสุขอนามัยและการจัดการน้ำที่ยั่งยืน (Clean Water and Sanitation) นำไปสู่เป้าหมายเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities) และเป้าหมายการแก้ปัญหาโลกร้อน (Climate Action) สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ กรุงไทย เคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน
;
- การจ้างงานคนพิการทำงานที่องค์กร (มาตรา33)
- นำส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามจำนวน คนพิการที่ไม่ได้จ้างงาน (มาตรา 34)
-
ให้สัมปทานสามารถดำเนินการได้ 7 วิธี (มาตรา 35) ดังนี้
- การให้สัมปทาน
- การจัดสถานที่จำหน่าย สินค้าหรือบริการ
- การจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือการจ้างเหมาบริการ
- การฝึกงาน
- การจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก
- การจัด ให้มีล่ามภาษามือ
- การช่วยเหลืออื่นใด