รายงานความยั่งยืน

ขับเคลื่อนไปสู่ยุคคาร์บอนต่ำ

ผ่านการพัฒนาประสิทธิภาพภายในกระบวนการดำเนินงานไปจนถึงการปรับปรุงพอร์ตโฟลิโอตามแนวทางการเงินที่ยั่งยืน ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์


การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการดำเนินงานของเรา

ปัญหาสิ่งแวดล้อมและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลความเป็นอยู่ของมนุษย์และระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นการดูแลปกป้องสิ่งแวดล้อมและการเตรียมความพร้อมเพื่อปรับตัวรับมือความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญ

เพื่อร่วมปกป้องดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิตอย่างมีคุณภาพของคนในสังคม และเป็นต้นทุนสำคัญในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงไทยในฐานะธนาคารของคนไทยมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Economy) ผ่านการบริหารจัดการความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงแสวงหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในกระบวนการการดำเนินกิจกรรมธนาคารและในห่วงโซ่คุณค่าของธนาคาร


การใช้ทรัพยากรอย่างมีความรับผิดชอบ (Operational Eco-efficiency)

การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน กรุงไทยจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในองค์กร และการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุก ๆ กระบวนการ นอกจากนั้น ธนาคารยังมุ่งเน้นการสร้างวัฒนธรรมและความตระหนักรู้ การมีส่วนรวมในโครงการและกิจกรรมการบริหารจัดการและป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานให้กับทุกคนในองค์กร โดยธนาคารมีการบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวทางและหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้




การบริหารจัดการการใช้พลังงาน

กรุงไทยให้ความสำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพ ผ่านการปรับปรุงกระบวนการและการบริหารจัดการการใช้พลังงาน รวมไปถึงการพัฒนาแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการพลังงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายลดการใช้พลังงาน ร้อยละ 10 ในปี 2565 โดยเปรียบเทียบจากข้อมูลปีฐานปี 2563

ในปี 2565 ธนาคารดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการลดการใช้พลังงานทั้งภายในธนาคาร และดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักด้านการบริหารจัดการพลังงาน ดังนี้




การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

ในปัจจุบันความต้องการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณทรัพยากรน้ำจะมีมากหรือน้อยนั้น มีความผันผวนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ภาคธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในสังคม ธนาคารเองก็ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ทั้งในพื้นที่อาคารสำนักงานและพื้นที่โดยรอบสาขา โดยมีการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพน้ำเสียอย่างเคร่งครัดตามข้อกำหนดท้องถิ่น ตลอดจนรายงานผลไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ รวมถึงได้ดำเนินโครงการเพื่อลดการใช้น้ำภายในองค์กรในรูปแบบต่าง ๆ ด้วย โดยมีเป้าหมายลดการใช้น้ำ ร้อยละ 10 ในปี 2565 โดยเปรียบเทียบจากข้อมูลปีฐานปี 2563

ในปี 2565 ธนาคารได้กำหนดแนวปฏิบัติในการลดการใช้น้ำในองค์กร และได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำใช้และน้ำเสียในอาคารและสำนักงานต่าง ๆ ของธนาคาร รวมถึงได้ประเมินความเสี่ยงทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์น้ำทั่วโลก (Water Risk Assessment) ตามภูมิศาสตร์ที่ตั้งของอาคารสำนักงานและสาขาของธนาคารทั่วประเทศไทย โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ AQUEDUCT version 3.0 ที่พัฒนาโดย World Resources Institute (WRI)




การบริหารจัดการของเสีย

ธนาคารจัดการของเสียตามแนวทาง Zero Waste โดยมีเป้าหมายในการบริหารจัดการของเสียที่เกิดจากกิจกรรมของธนาคารให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด สอดคล้องกับหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมีเป้าหมายลดการกำจัดของเสีย (Waste disposed) ร้อยละ 10 ในปี 2565 โดยเปรียบเทียบ

ในปี 2565 ธนาคารได้ดำเนินโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเสียในองค์กร ส่งเสริมการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่อย่างยั่งยืน รวมถึงกิจกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร



การบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เพื่อให้สอดคล้องกับการรายงานความก้าวหน้าตามกรอบข้อตกลงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Agreement) และแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย (National Deteriorated Contribution: NDC) ธนาคารมีการติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อม (ขอบเขต 1 และ 2) อย่างสม่ำเสมอ ตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับประเมินและการรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับองค์กร ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแห่งประเทศไทย (TGO) และ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC)

ในปี 2565 ธนาคารมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการ และการบริหารจัดการการใช้พลังงาน รวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในองค์กร เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจากทั้งทางตรงและทางอ้อม พร้อมทั้งดำเนินกิจกรรมการสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับพนักงาน ดังนี้



สำหรับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ธนาคารยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์บัตรเดบิต Krungthai Tranxit ที่ช่วยให้ผู้ถือบัตรสามารถแตะจ่ายค่าโดยสารได้ทั้งระบบรถ ราง เรือ อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ใช้บริการขนส่งสาธารณะ ถือเป็นการผนวกความมุ่งมั่นที่จะช่วยประเทศไทยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจของธนาคาร

นอกจากโครงการที่กล่าวมา การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพผ่านการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลได้ถูกกำหนดอยู่ในแผนยุทธศาสตร์หลักของธนาคาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนันสนุนการลดใช้ทรัพยากร และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรม การดำเนินธุรกรรมของธนาคาร กรุงไทยได้ปรับกระบวนการทำงานให้เป็นรูปแบบดิจิทัล (Digitization) นำระบบ Robotic Process Automation (RPA) หรือปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) เข้ามาใช้ในการปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพ และลดการใช้ทรัพยากร โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้


ข้อมูลปริมาณใช้กระดาษของธนาคาร



ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม




ดาวน์โหลด
Climate-Related Financial Disclosure (TCFD)
Climate-Related Financial Disclosure (TCFD)  
(1.96 MB) PDF
Assurance Statement
Assurance Statement  
(0.16 MB) PDF
ข้อมูลเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ