บัตรเดบิตกรุงไทย เอ็กซ์ตร้า แคร์

บัตรเดบิตกรุงไทย เอ็กซ์ตร้า แคร์

เจ็บก็จ่าย...รายได้หายก็ชดเชย
จุดเด่นผลิตภัณฑ์
checkimg
ติดต่อง่าย ได้ข้อมูลครบ
  • ตรวจสอบสิทธิ์รักษาพยาบาล TPA โทร. 02-660-1221
  • สอบถามด้านความคุ้มครอง ทิพยประกันภัย โทร. 1736 ต่อ 2002, 2005, 2017
  • สอบถามการใช้งานบัตร ธนาคารกรุงไทย โทร. 02-111-1111
checkimg
คุ้มครองอุบัติเหตุ สูงสุด 200,000 บาท
24 ชั่วโมง
checkimg
ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ สูงสุด 10,000 บาท/ครั้ง
ไม่ต้องสำรองจ่าย ที่โรงพยาบาลที่ร่วมรายการกว่า 350 แห่งทั่วประเทศ
checkimg
ชดเชยรายได้จากอุบัติเหตุ ครั้งละ 10,000 บาท
เมื่อพักรักษาตัวในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน เนื่องจากอุบัติเหตุ นานติดต่อกันมากกว่า 4 วันขึ้นไป 
checkimg
คุ้มครองอุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
สูงสุด 50,000 บาท

บัตรเดบิตกรุงไทย เอ็กซ์ตร้า แคร์
อัตราค่าธรรมเนียม
สนใจสมัครบัตรฯ ได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา
ค่าธรรมเนียมออกบัตร ค่าธรรมเนียมรายปี
100 บาท 999 บาท
ประกอบด้วย
ค่าบริการใช้บัตร 300 บาท
ค่าเบี้ยประกันและสิทธิพิเศษ 699 บาท

ข้อตกลงความคุ้มครอง

เงื่อนไขและความคุ้มครองบัตรเดบิตกรุงไทย เอ็กซ์ตร้า แคร์

รับประกันภัยโดย บมจ. ทิพยประกันภัย

 กดและเลื่อนเพื่อดูข้อมูลในตาราง

ข้อมูลติดต่อ เบอร์โทรศัพท์
ตรวจสอบสิทธิ์รักษาพยาบาล TPA      
02-660-1221
สอบถามด้านความคุ้มครอง ทิพยประกันภัย               1736 ต่อ 2002, 2005, 2017
สอบถามการใช้งานบัตร ธนาคารกรุงไทย        02-111-1111

 กดและเลื่อนเพื่อดูข้อมูลในตาราง

ความคุ้มครอง วงเงินคุ้มครอง
 1. เสียชีวิตและสูญเสียอวัยวะ สายตาหรือทุพพลภาพถาวร สิ้นเชิง 
  • อุบัติเหตุทั่วไป
200,000 บาท
  • ถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกาย
100,000 บาท
  • ขับขี่หรือโดยสารจักรยานยนต์  
50,000 บาท
 ผลประโยชน์เพิ่มเติมจากภัยดังต่อไปนี้ (ไม่รวมการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์)
  • เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จากอุบัติเหตุทั่วไป ในวันหยุดราชการประจำปี*
+100,000 บาท
  • เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จากอุบัติเหตุทั่วไป ในอุบัติเหตุสาธารณะ
+200,000 บาท
 2. ค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง รวมถึงการรักษาต่อเนื่อง (รวมถึงภัยจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์) ไม่จำกัดจำนวนครั้งตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย    10,000 บาท
 3. ค่าชดเชยรายได้ กรณีเข้าพักรักษาตัวแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาล เนื่องจากอุบัติเหตุติดต่อกันมากกว่า 4 วันขึ้นไป (ไม่รวมการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์) ไม่จำกัดจำนวนครั้งตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย 10,000 บาท
 4. อายุสูงสุดที่รับประกันภัย  75 ปี

* วันหยุดราชการประจำปี หมายถึง วันหยุดราชการประจำปีที่ประกาศตามมติของคณะรัฐมนตรี รวมถึงวันหยุดชดเชยทางราชการ ทั้งนี้ไม่รวมวันเสาร์ วันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ตามปกติ เว้นแต่วันหยุดราชการประจำปีนั้นตรงกับวันเสาร์ วันอาทิตย์ก็ให้ถือว่าคุ้มครองด้วย

หมายเหตุ : บัตรที่สมัครตั้งแต่ 1 ม.ค. 2565 รับประกันภัยโดย บมจ.ทิพยประกันภัย และสำหรับบัตรที่สมัครก่อน 1 ม.ค.2565 รับประกันภัยโดย บมจ.กรุงไทยพานิชประกันภัย

ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไข ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง | ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าผู้ชี้ช่องให้ทำประกันภัยเท่านั้น

คุณสมบัติผู้สมัคร
  • อายุ 15 - 75 ปีบริบูรณ์
  • ไม่จำกัดรายได้ขั้นต่ำ
เอกสารประกอบการสมัคร
  • บัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดที่ยังไม่หมดอายุ หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐ
  • บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือกระแสรายวัน
การใช้บัตร
  • เบิกถอนผ่านเครื่อง ATM สูงสุด 500,000 บาท/บัตร/วัน
  • โอนเงินระหว่างบัญชี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/วัน
  • ชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการผ่านเครื่อง EDC ได้สูงสุด 1,500,000 บาท/บัตร/วัน

คำถามที่พบบ่อย

ผู้ถือบัตรดำเนินการอายัดบัตรฯ ผ่าน Krungthai Contact Center 02-111-1111 ทันที และออกบัตรใบใหม่ได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา

แยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1) กรณีเข้ารับการรักษาอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ในสถานพยาบาลและคลินิกพยาบาลที่อยู่ในเครือข่าย ทั้งกรณีผู้ป่วยใน (IPD) และ/หรือ ผู้ป่วยนอก (OPD) ผู้ถือบัตรสามารถขอใช้บริการได้ โดยไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล แต่ต้องไม่เกินวงเงินค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับความคุ้มครองโดยแสดงบัตรเดบิตกรุงไทย เอ็กซ์ตร้า แคร์ และบัตรประจำตัวประชาชน หรือ Passport

2) กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ในสถานพยาบาลและคลินิกพยาบาลที่ไม่อยู่ในเครือข่าย จะต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน และดำเนินการส่งคำร้องมาที่

บริษัท ไทยรีเซอร์วิสเซส จำกัด(TPA) โทร. 02-660-1221
ที่อยู่ 48/16 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรสาร : 02-660-1290
Email : TPA_CS@thirdpartyadmin.co.th

ซึ่งเป็นตัวแทนบริการด้านการจัดการสินไหมทดแทน ในนาม บมจ.ทิพยประกันภัย พร้อมแนบเอกสารต่อไปนี้

  1. แบบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากอุบัติเหตุ
  2. ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง และเอกสารแสดงรายละเอียดค่าใช้จ่าย
  3. ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง ระบุสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และ/หรือ สำเนาบัตรประจำตัวอื่นๆที่ทางราชการออกให้ของผู้ถือบัตร
  5. สำเนาหน้าบัตรเดบิตกรุงไทย เอ็กซ์ตร้า แคร์
  6. สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์/กระแสรายวันที่ผูกกับบัตร

หากนอนพักรักษาตัว 4 วัน พอดี หรือน้อยกว่า จะยังไม่เข้าเงื่อนไขการใช้สิทธิ์

บัตรสูญหายต้องทำอย่างไร

ผู้ถือบัตรดำเนินการอายัดบัตรฯ ผ่าน Krungthai Contact Center 02-111-1111 ทันที และออกบัตรใบใหม่ได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา

การเข้ารักษาและยื่นเรื่องการเบิกทำอย่างไร

แยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1) กรณีเข้ารับการรักษาอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ในสถานพยาบาลและคลินิกพยาบาลที่อยู่ในเครือข่าย ทั้งกรณีผู้ป่วยใน (IPD) และ/หรือ ผู้ป่วยนอก (OPD) ผู้ถือบัตรสามารถขอใช้บริการได้ โดยไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล แต่ต้องไม่เกินวงเงินค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับความคุ้มครองโดยแสดงบัตรเดบิตกรุงไทย เอ็กซ์ตร้า แคร์ และบัตรประจำตัวประชาชน หรือ Passport

2) กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ในสถานพยาบาลและคลินิกพยาบาลที่ไม่อยู่ในเครือข่าย จะต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน และดำเนินการส่งคำร้องมาที่

บริษัท ไทยรีเซอร์วิสเซส จำกัด(TPA) โทร. 02-660-1221
ที่อยู่ 48/16 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรสาร : 02-660-1290
Email : TPA_CS@thirdpartyadmin.co.th

ซึ่งเป็นตัวแทนบริการด้านการจัดการสินไหมทดแทน ในนาม บมจ.ทิพยประกันภัย พร้อมแนบเอกสารต่อไปนี้

  1. แบบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากอุบัติเหตุ
  2. ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง และเอกสารแสดงรายละเอียดค่าใช้จ่าย
  3. ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง ระบุสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และ/หรือ สำเนาบัตรประจำตัวอื่นๆที่ทางราชการออกให้ของผู้ถือบัตร
  5. สำเนาหน้าบัตรเดบิตกรุงไทย เอ็กซ์ตร้า แคร์
  6. สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์/กระแสรายวันที่ผูกกับบัตร

ค่าชดเชยรายได้ กรณีนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล มากกว่า 4 วันขึ้นไป นับจำนวนวันอย่างไร

หากนอนพักรักษาตัว 4 วัน พอดี หรือน้อยกว่า จะยังไม่เข้าเงื่อนไขการใช้สิทธิ์