เรื่องเด่น

อายุ 30, 40, และ 50 ปี ควรมีเงินเก็บเท่าไรถึงจะเพียงพอต่อการเกษียณ

อัพเดทวันที่ 19 พ.ย. 2563

       หนึ่งในเป้าหมายในการเก็บเงินของลูกจ้างทั่วๆ ไปรวมถึงมนุษย์เงินเดือนนั้นก็คงจะหนีไม่พ้นเป้าหมายในการวางแผนเก็บออมเพื่อยามเกษียณ เพราะในวันหนึ่งเมื่อเรามีอายุครบตามกำหนดในการสิ้นสุดระยะเวลาทำงาน เช่น เกษียณเมื่ออายุครบ 60 ปี หน่วยงานต่างๆที่เราทำงานอยู่จะปลดเราจากการจ้างงาน ซึ่งรายได้จากการทำงานไม่ว่าจะเป็น ค่าจ้าง เงินเดือน หรือโบนัสนั้นก็จะไม่มีอีกต่อไป

อย่างไรก็ตามหลังจากที่ทุกคนเกษียณอายุการทำงานแล้ว อย่าลืมว่าเรายังคงต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปในโลกนี้อีกหลายปี ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาตินั้นได้ประเมินว่าในปี 2020 อายุเฉลี่ยของชาวไทยนั้นอยู่ที่ 77.19 ปี และในอีก 30 ปีข้างหน้า อายุเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นเป็น 82.36 ปี นั่นหมายความว่าหากเราเกษียณตอนอายุ 60 ปี ก็มีแนวโน้มว่าเราจะต้องใช้ชีวิตอยู่อีกประมาณ 20 ปี ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเราจะไม่มีรายได้จากการทำงาน แต่ทุกคนจะยังมีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตอยู่ และสิ่งที่เราจะต้องเตรียมให้พร้อมสำหรับอีก 20 ปีนั้นก็คือ “การวางแผนเงินเก็บเอาไว้ใช้ในยามเกษียณ” หากเราต้องการคำนวณว่า ช่วงอายุของเราในปัจจุบันนั้นควรเก็บเงินเท่าไหร่ เพื่อให้เพียงพอต่อยามเกษียณ สามารถคำนวณได้ดังนี้

1. คำนวณเงินเก็บเป้าหมายที่จะต้องใช้ในยามเกษียณ

วัยทำงานวางแผนเกษียณ ต้องมีเงินเก็บเท่าไรถึงจะเพียงพอ

สิ่งแรกที่เราจะต้องคำนวณคือ ค่าใช้จ่ายที่เราจะต้องใช้ทั้งหมดในยามเกษียณ ไม่ว่าจะเป็น ค่ากินอยู่ ค่าเดินทาง ค่าดูแลสุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว และค่าใช้จ่ายที่เราจะต้องเตรียมไว้ให้ลูกหลาน ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น ต้องไม่ลืมว่าจะต้องมีการคำนวณอัตราเงินเฟ้อในอนาคตรวมเอาไว้ด้วย

ตารางข้างล่างนี้เป็นกรณีตัวอย่าง หากเราต้องการวางแผนเก็บเงินเอาไว้ใช้ในยามเกษียณเดือนละ 30,000 บาท โดยกำหนดอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ 1% ต่อปี โดยคำนวณในช่วงละ 5 ปี ในแต่ละช่วงอายุ จะต้องมีเงินเก็บในยามเกษียณดังนี้

  • กลุ่มอายุ 30 ปี จะต้องเตรียมเงิน 10,472,566.80 บาท เพื่อวันเกษียณในอีก 30 ปี
  • กลุ่มอายุ 40 ปี จะต้องเตรียมเงิน 9,480,732.60 บาท เพื่อวันเกษียณในอีก 20 ปี
  • กลุ่มอายุ 50 ปี จะต้องเตรียมเงิน 8,582,783.40 บาท  เพื่อวันเกษียณในอีก 10 ปี

วางแผนเตรียมเงินที่ต้องใช้ในวัยเกษียณ สำหรับกลุ่มอายุ 30 ปี

วางแผนเตรียมเงินที่ต้องใช้ในวัยเกษียณ สำหรับกลุ่มอายุ 40 ปี

วางแผนเตรียมเงินที่ต้องใช้ในวัยเกษียณ สำหรับกลุ่มอายุ 50 ปี

2. ตรวจสอบว่าเงินเก็บของเราในปัจจุบันสามารถทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้หรือไม่

วางแผนเงินเก็บต่อเดือนสำหรับไว้ใช้ในวัยเกษียณ

หลังจากที่เราได้วางแผนคำนวณจำนวนเงินเป้าหมายที่ต้องใช้ในยามเกษียณแล้ว ลองมาคำนวณว่า เงินเก็บที่เราควรมีต่อเดือนเพื่อสะสมไปจนถึงวันเกษียณนั้นต้องมีเท่าไร และในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น เราเก็บได้ตามเป้าหมายแล้วหรือยัง

ตารางข้างล่างนี้จะเป็นตัวอย่าง โดยมีสมมติฐานว่า หากเราเรียนจบตอนอายุ 22 มีเวลาเก็บเงินตามเป้าหมายจำนวน 38 ปี การเก็บเงินดังกล่าวนั้นได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับจำนวนเงินฝากประจำที่ 1% ต่อปี และเวลาที่ผ่านมาแล้วของแต่ละช่วงอายุนั้น ควรจะเก็บเงินให้ได้เท่าไหร่ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

  • ในช่วงอายุ 30 ปี ควรจะมีเงินเก็บจำนวน 1,886,933.38 บาท
  • ในช่วงอายุอายุ 40 ปี ควรจะมีเงินเก็บจำนวน 4,044,822.31 บาท
  • ในช่วงอายุอายุ 50 ปี ควรจะมีเงินเก็บจำนวน 5,999,206.1 บาท

การวางแผนเกษียณสำหรับกลุ่มอายุ 30, 40, และ 50 ปี

แต่ถ้าหากเราพิจารณาจากตารางนี้แล้ว จะเห็นได้ว่า มีความเป็นไปได้ยาก เนื่องจากคนที่อยู่ในวันทำงานอายุ 30 ปี หากจะต้องมีเงินเก็บต่อเดือนถึง 18,888 บาท อาจจะต้องเป็นพนักงานประจำที่มีเงินเดือน 40,000 - 50,000 บาทขึ้นไปตั้งแต่เรียนจบตอนอายุ 22 ปี เพราะฉะนั้นแล้วการออมเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารที่อัตราผลตอบแทน 1% เป็นการวางแผนเกษียณและเก็บเงินเอาไว้ใช้ที่มีความเป็นไปได้ยากทีเดียว

3. วางแผนการเกษียณและเก็บเงินในรูปแบบใหม่เพื่อสร้างความมั่งคั่ง

วางแผนเก็บเงินรูปแบบใหม่เพื่อวัยเกษียณที่สุขสบาย

เราควรมีเงินเก็บเท่าไรเพื่อให้เพียงพอในยามเกษียณ ในปัจจุบันนั้นจึงควรนำอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังตามความเสี่ยง มาพิจารณาเพิ่มด้วย ซึ่งวิธีการคิดนี้จะทำให้เราสามารถวางแผนเกษียณได้เหมาะสมกับความเป็นจริงของชีวิตในการเก็บเงินมากขึ้น

ตารางข้างล่างนี้จะเป็นตัวอย่างของ เงินที่เราควรจะมีในปัจจุบันภายใต้ผลตอบแทนที่คาดหวังในอัตราเฉลี่ย 1%, 3%, 5% และ 8% ต่อปีไปจนถึงวันเกษียณ ดังนี้

ในอายุ 30 ปี เงินเก็บที่ควรมี มีดังนี้

  • หากสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย 1% ควรมีเงินเก็บอย่างน้อย 1,886,993 บาท
  • หากสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย  3% ควรมีเงินเก็บอย่างน้อย 1,336,573 บาท
  • หากสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย  5% ควรมีเงินเก็บอย่างน้อย 907,779 บาท
  • หากสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย  8% ควรมีเงินเก็บอย่างน้อย 474,564 บาท

ในอายุ 40 ปี เงินเก็บที่ควรมี มีดังนี้

  • หากสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย 1% ควรมีเงินเก็บอย่างน้อย 4,044,822 บาท
  • หากสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย  3% ควรมีเงินเก็บอย่างน้อย 3,193,382 บาท
  • หากสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย  5% ควรมีเงินเก็บอย่างน้อย 2,437,081บาท
  • หากสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย  8% ควรมีเงินเก็บอย่างน้อย 1,540,596 บาท

ในอายุ 50 ปี เงินเก็บที่ควรมี มีดังนี้

  • หากสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย 1% ควรมีเงินเก็บอย่างน้อย 5,999,206 บาท
  • หากสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย  3% ควรมีเงินเก็บอย่างน้อย 7,384,560 บาท
  • หากสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย  5% ควรมีเงินเก็บอย่างน้อย 4,625,532 บาท
  • หากสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย  8% ควรมีเงินเก็บอย่างน้อย 3,627,080 บาท

หลักการนี้จะทำให้เราสามารถไปสู่เป้าหมายการออมเพื่อยามเกษียณด้วยการลดจำนวนเงินที่จะต้องออมต่อเดือน จากการเพิ่มความเสี่ยงการลงทุนในทรัพย์สินที่ให้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังสูงขึ้น

วางแผนเกษียณ ควรจะมีเงินเท่าไหร่ในอายุ 30 ปี ภายใต้ผลตอบแทนที่คาดหวังต่อปี

วางแผนเกษียณ ควรจะมีเงินเท่าไหร่ในอายุ 40 ปี ภายใต้ผลตอบแทนที่คาดหวังต่อปี

วางแผนเกษียณ ควรจะมีเงินเท่าไหร่ในอายุ 50 ปี ภายใต้ผลตอบแทนที่คาดหวังต่อปี

โดยสรุปแล้ว จากคำถามที่ว่า เราควรมีเงินเท่าไหร่ในช่วงอายุ 30 - 40 - 50 นั้น คำตอบอยู่ที่เรานำเงินไปออมหรือลงทุนที่ไหน ในกรณีเงินฝากอาจจะต้องมีเงินออมในปัจจุบันที่มากเพราะผลตอบแทนน้อย แต่หากนำเงินไปลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เช่น หุ้น กองทุนรวม ก็อาจใช้เงินเก็บที่น้อยลงได้เพราะในอนาคตผลตอบแทนที่ได้มานั้นจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ไปสู่เป้าหมายในยามเกษียณได้เช่นกัน

หากต้องการวางแผนเก็บเงินเกษียณด้วยจำนวนเงินที่ไม่มากต่อเดือน แต่สามารถสร้างผลตอบแทนให้ถึงเป้าหมายได้ เลือกออมกับ Krungthai ZERO TAX MAX เงินฝากปลอดภาษี เลือกระยะเวลาฝากได้ 3 ระยะเวลาฝาก :  24 เดือน, 36 เดือน, 48 เดือน

วางแผนออมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณกับ Krungthai ZERO TAX MAX m

หรือสนใจลงทุนในกองทุน กองทุนเปิดกรุงไทยมั่งคั่ง (ชนิดสะสมมูลค่า) (KTMUNG-A)
กองทุนเปิดกรุงไทยมีทรัพย์ (ชนิดสะสมมูลค่า) (KTMEE-A)
กองทุนเปิดกรุงไทยศรีสิริ (ชนิดสะสมมูลค่า) (KTSRI-A)
กองทุนเปิดกรุงไทยสุขใจ (ชนิดสะสมมูลค่า) (KTSUK-A)

วางแผนลงทุนรับวัยเกษียณ กับกองทุน มั่ง มี ศรีสุข - 2

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวนได้ที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา


ข้อมูล Life Expectancy Data Source: United Nations - World Population Prospects