เรื่องเด่น

วิธีออมเงินและปรับพฤติกรรมการใช้เงินเดือนชนเดือนให้มีเงินเก็บ

อัพเดทวันที่ 9 ต.ค. 2563

       "การออมเงิน" ปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่งของมนุษย์เงินเดือนที่มีรายรับประจำ(แน่นอนว่ารายจ่ายประจำด้วย) ก็คือ “อยากออมเงิน แต่ไม่มีเงินเหลือมากพอให้เริ่มต้นเก็บออม”เพราะปริมาณรายรับกับรายจ่ายทุกเดือนมีจำนวนเท่ากันหรือไม่ก็ใกล้เคียงกันแบบสุดๆ เงินที่เหลืออยู่บางเดือนจะเรียกว่าเงินออมก็ได้ แต่เรียกว่าเงินทอนอาจจะดูเหมาะสมเสียกว่า แม้ว่าไลฟ์สไตล์แบบใช้เงินเดือนชนเดือนจะเป็นปัญหาที่หลายคนใช้ชีวิตกับมันด้วยความคุ้นเคยไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรปล่อยให้เป็นแบบนี้จนเคยชิน เพราะยิ่งนานไปจะยิ่งส่งผลเสียกับชีวิตในระยะยาว อนาคตเราอาจจะไม่เหลือเงินไว้ใช้ตอนบั้นปลาย หรือเพื่อเป้าหมายอื่นๆ แต่ก็ใช่ว่าเรื่องนี้ไม่มีวิธีแก้ บางทีเราเพียงแค่ปรับเปลี่ยนนิสัยทางการเงินบางอย่างก็อาจจะปลดล็อคความสามารถในการออมเงินของเราได้แล้ว ลองดูวิธีออมเงินปรับเปลี่ยนชีวิตให้เลิกใช้เงินเดือนชนเดือน แล้วหันมาออมเงินกันดีกว่า

4 วิธีออมเงินปรับพฤติกรรมการเก็บเงิน

1. ออมก่อนใช้ เก็บออมให้ปลอดภัยที่สุด

วิธีออมเงินที่1-ออมเงินก่อนใช้

ปัญหาของการใช้เงินเดือนชนเดือนส่วนใหญ่คือ ใช้จ่ายก่อนแล้วค่อยออมเงิน ซึ่งเป็นวิธีออมเงินที่ไม่ค่อยได้ผลเพราะการที่เราได้เงินเดือนมาใช้จ่ายกับภาระที่จำเป็นก่อน แล้วส่วนที่เหลือก็ใช้ในชีวิตประจำวัน รู้ตัวอีกทีสิ้นเดือนก็ไม่มีเงินเหลือให้ออมแล้ว

วิธีออมเงินในวิธีนี้ที่ถูกต้องและควรทำที่สุดเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นอีก คือ จัดสัดส่วนเงินออมไว้ตั้งแต่ได้รับเงินมาแล้วฝากเข้าประกันชีวิตแบบออมทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากประจำ ป้องกันไม่ให้ตัวเองใช้เงินได้สะดวกพราะฝากประจำและประกันชีวิตแบบออมทรัพย์จะถอนเงินออกมาใช้ได้ยากมาก จะได้มีเงินเหลือเก็บแบบชัวร์ๆ โดยเริ่มต้นจัดสัดส่วนเงินออมสัก 5-10% ของรายได้ที่มีก่อน เช่นรับเงินเดือน 20,000 บาท ก็ออมขั้นต่ำ 1,000-2,000 บาท เพื่อสร้างวินัยการออมที่ดีในระยะยาว ก่อนจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 20-50% เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นหรือเริ่มปรับพฤติกรรมการใช้เงินได้แล้วในภายหลัง

2. มองการลงทุนเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือน

วิธีออมเงินที่2-จัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุน

ถ้าเป็นคนใช้เงินเก่งแต่ก็อยากออมเงินเป็นประจำ แนะนำให้จัดสรร “ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุน” ขึ้นมาอีกบัญชี แล้วมองกองทุนรวม หุ้น ทองคำ เป็นค่าใช้จ่ายประจำที่เราต้องจัดสรรเงินเพื่อไปลงทุนทุกเดือน ซึ่งควรเป็นการลงทุนที่เราชอบหรือมีความรู้ เหมือนกับว่าเรากำลังช็อปปิ้งสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เพียงแต่ว่าสินค้าทางการเงินเหล่านี้จะช่วยเสริมความมั่งคั่งและสร้างนิสัยแห่งการลงทุนให้กับเรา

การจัดสรรค่าใช้จ่ายลงทุนไปกับกองทุนรวมสามารถทำได้ง่ายมาก ไม่ต้องมีเงินเยอะก็สามารถลงทุนได้ บางคนใช้เงินเดือนชนเดือนอยู่แล้วก็อาจจะจัดสรรค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมาเพื่อลงบัญชีค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนบ้างจำนวนหนึ่ง ด้วยวิธีคิดแบบนี้ก็จะช่วยให้เรามีเงินลงทุนในทุกเดือน โดยไม่รู้สึกอึดอัดใจกับการใช้เงิน

3. สร้างงบประมาณรายเดือน

วิธีออมเงินที่3-สร้างงบประมาณรายเดือน

ที่จริงแล้ววิธีออมเงินที่ง่ายที่สุดในการเพิ่มเงินออมคือ ลดภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นวิธีที่ทุกคนย่อมเคยทำเพื่อลดปริมาณการใช้เงิน(ส่วนใหญ่จะทำกันตอนสิ้นเดือน) แต่บางครั้งการลดรายจ่ายก็ทำไปแบบไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน บางเดือนลดค่าใช้จ่ายเหล่านั้นได้เยอะ บางเดือนก็อาจจะลดไม่ได้เลย ดังนั้นสิ่งที่ควรทำเพิ่มเติมเพื่อให้การลดภาระค่าใช้จ่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือ “การวางงบประมาณค่าใช้จ่าย”

วิธีออมเงินคือ เราควรกำหนดงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายบางประเภทในแต่ละเดือน เช่น กินดื่มสังสรรค์ ในเดือนธรรมดาอาจจะอยู่ที่ 3,000 บาทต่อเดือน แต่ถ้าเดือนไหนมีเทศกาลพบปะมิตรสหายเยอะหน่อยก็อาจจะตั้งไว้ที่ 5,000 บาท บางคนติดนิสัยซื้อเสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องสำอาง ฯลฯ ถ้าอยากจะลด ละ เลิก ก็ควรทำงบประมาณสำหรับช็อปปิ้งในแต่ละเดือน เช่นอาจจะอยู่ที่ 2,500 บาทต่อเดือน จะซื้อกี่ครั้งกี่ตัวก็ได้แต่ไม่ควรเกินงบประมาณนี้ ทั้งหมดก็เพื่อปรับเปลี่ยนนิสัยการใช้เงินใหม่แล้วนำเงินที่ประหยัดได้มาสร้างเป็นเงินออม ส่วนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวันควรคำนวณให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตปัจจุบัน อย่างมากก็ไม่ควรเกิน 60-70% ของรายได้ต่อเดือน ถ้าเกินจากนี้ต้องลองสำรวจตัวเองดูว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้มีส่วนใดมากเกินความจำเป็นหรือไม่ ส่วนรายจ่ายจำเป็น หากไม่สามารถลดได้ก็ให้คงที่ไว้และไม่ควรสร้างภาระรายจ่ายจำเป็นเพิ่ม เพราะการมีรายจ่ายประเภทนี้เยอะจะทำให้เรามีภาระ เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถยนต์ หรือผ่อนชำระ 0% กับสินค้าจำเป็นอื่นๆ

4. เงินออมไม่ใช่เงินทอน แม้จะน้อยแต่ก็ค่อยๆสร้าง

วิธีออมเงินที่4-เก็บเงินออมเล็กน้อยทุกเดือน

สำหรับคนที่พยายามใช้วิธีออมเงินทุกทางแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถหลุดพ้นจากวังวนของการใช้เงินเดือนชนเดือนได้ เพราะเงื่อนไขในการใช้ชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นการมีเหลือเงินเพียงน้อยนิดเมื่อผ่านพ้นเดือนๆหนึ่งมาได้ แม้จะเป็นจำนวนไม่มากแต่ก็ควรออมเงินก้อนนั้นไว้ เพราะการเก็บออมทุกๆเดือนจะสร้างนิสัยและวินัยการเงินที่ดีได้ในระยะยาว

มองหาแหล่งออมเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อให้เงินออมของคุณปลอดภัยและงอกเงย ขอแนะนำเงินฝากประจำพิเศษ 8 เดือนจากธนาคารกรุงไทย ฝากขั้นต่ำ 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.65%

วิธีออมเงินแบบฝากประจำพิเศษ 8 เดือน 0.65%-mobile

หากอยากได้ตัวช่วยที่ลดหย่อนภาษีเงินได้ด้วย ขอแนะนำประกันแบบออมทรัพย์ Life Plus Saver ได้รับเงินคืนทุกปีตั้งแต่ปีที่ 4 และได้รับเงินคืนเมื่อครบกำหนดสัญญาถึง 150%

วิธีออมเงินผ่านประกันประเภทสมทรัพย์-LifePlus-Saver-mobile

หรือลงทุนกับรวมตราสารหนี้ ที่ซื้อขายได้ภายใน 1 วัน กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้น พลัส (ชนิดสะสมมูลค่า) (KTSTPLUS-A) รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอหนังสือชี้ชวน ได้ที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารฯกำหนด