เรื่องเด่น

รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและ กบข

อัปเดตวันที่ 3 ก.ย. 2563

      ไม่ว่ามนุษย์เงินเดือนที่ทำงานในองค์กรเอกชนหรือข้าราชการประจำหน่วยงานภาครัฐ ทุกคนต่างก็มีเป้าหมายปลายทางที่เหมือนกันคือปลดระวางตัวเองจากการทำงานเมื่ออายุอานามล่วงเลยถึงวัยเกษียณ การวางแผนหลังเกษียณจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนใส่ใจเป็นพิเศษ

โดยส่วนหนึ่งของการวางแผน ทุกคนสามารถเลือกใช้เครื่องมือลงทุนต่างๆ ที่มีอยู่ในตลาดการเงินและตลาดทุน เช่น กองทุนรวม ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ประกันชีวิตแบบบำนาญ หุ้นสามัญ หรือหุ้นกู้ ก็ได้ แต่เครื่องมือการเงินชนิดหนึ่ง ที่ถือว่าเป็นตัวช่วยสำคัญและไม่ควรมองข้าม คือ “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” และ “กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.)” เพราะถือเป็นสวัสดิการตอบแทนให้กับพนักงานและข้าราชการในแต่ละองค์กร

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนสวัสดิการที่องค์กรเอกชนบางแห่งมีให้พนักงานเข้าร่วมเป็นสมาชิก โดยกฎหมายไม่มีข้อบังคับให้บริษัทเอกชนทุกที่ต้องมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และพนักงานเองก็มีสิทธิ์เลือกเหมือนกันว่าจะเข้าร่วมหรือไม่

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กบข คืออะไร รวมทั้งตัวเลือกการลงทุนกับประกันชีวิตสะสมทรัพย์

กองทุนนี้จะให้ลูกจ้างเป็นผู้สมัครใจส่งเงินสมทบส่วนหนึ่ง ซึ่งจะหักจากเงินเดือน และอีกส่วนหนึ่งนายจ้างจะสมทบให้ในจำนวนเท่ากันกับที่ลูกจ้างส่งให้ แต่จะไม่เกินเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดไว้ เช่น บริษัทให้กรอบสำหรับหักเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ที่ 2-15% ของเงินเดือน แต่บริษัทจะส่งเงินสมทบให้ไม่เกิน 10% พนักงานที่เลือกหักเงินไว้ 15% ก็จะได้รับเงินสมทบจากบริษัทสูงสุดเพียง 10% เท่านั้น

ในแต่ละบริษัทจะมีรายละเอียดของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่เหมือนกัน มนุษย์เงินเดือนทุกคนต้องทำความเข้าใจรายละเอียดของเงื่อนไขต่างๆ ด้วยตัวเอง เช่น เงื่อนไขการจ่ายเงินสมทบ ระยะเวลาที่จะได้รับเงินสมทบเต็มจำนวน และนโยบายการลงทุนที่มีให้เลือก โดยสามารถขอข้อมูลจากองค์กรที่สังกัดอยู่ เพื่อเลือกจำนวนเงินที่จะหักเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเลือกแผนการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนกับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับตัวเองได้

วางแผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข และการลงทุนกับประกันสะสมทรัพย์

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) คือ เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อสร้างวินัยการออมที่ดีให้กับข้าราชการ คล้ายเป็นสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของภาครัฐที่มีให้ข้าราชการทุกคน โดยสามารถเลือกได้ว่าจะรับเป็นเงินบำเหน็จ หรือบำนาญได้ แม้ข้าราชการทุกคนก็จะได้รับเงินบำเหน็จบำนาญจากกรมบัญชีกลางอยู่แล้ว แต่กบข.คือ สวัสดิการเพิ่มเติมให้ข้าราชการเลือกได้ว่าจะเข้าเป็นสมาชิกกองทุนหรือไม่

ไม่ว่าจะเลือกรับเป็นเงินบำเหน็จหรือบำนาญ กบข. คือ กองทุนที่จะจ่ายเงินก้อนจากเงินที่ออมไว้ทั้งสิ้น แต่รายละเอียดจะแตกต่างกันเล็กน้อย ถ้าสมัครเข้าเป็นสมาชิกกบข.แล้วเลือกรับ “เงินบำเหน็จ” ก็จะได้เงินก้อนใหญ่จากทางกรมบัญชีกลางและกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จะมีสูตรการคำนวณเงินเบื้องต้น ดังนี้

เงินก้อนจากกบข. คือ (เงินสะสม + เงินออมเพิ่ม + เงินสมทบ) x จำนวนเดือนที่ทำงาน x อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ

แต่ถ้าเลือกรับเป็น “เงินบำนาญ” สมาชิกจะได้รับเงินจ่ายรายเดือนจากกรมบัญชีกลาง และจะได้เงินก้อนจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการสามารถคำนวณได้ดังนี้

เงินก้อนจากกบข. คือ (เงินสะสม + เงินออมเพิ่ม + เงินสมทบ + เงินชดเชย) x จำนวนเดือนที่ทำงาน x อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ

เป็นหน้าที่ของข้าราชการทุกคนที่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า การวางแผนเกษียณของตนเองเหมาะกับการรับเงินรูปแบบไหน บางคนมีสินทรัพย์ลงทุนที่เตรียมไว้เพื่อการเกษียณที่จ่ายเงินรายเดือนให้อยู่แล้วก็อาจจะสะดวกรับเงินบำเหน็จมากกว่า แต่บางคนที่ขาดกระแสเงินสดรายเดือนหลังเกษียณอาจจะเลือกรับเป็นเงินบำนาญแทนก็ได้

ผลตอบแทนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบขและตัวเลือกลงทุนกับประกันสะสมทรัพย์

เรียกได้ว่าทั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) คือ สวัสดิการที่เปรียบเสมือนเครื่องมืออันแสนวิเศษที่ช่วยให้มนุษย์เงินเดือนกับข้าราชการลงมือทำตามแผนเกษียณได้อย่างมีวินัย และมีเงินเพิ่มเติมจากนายจ้างช่วยจ่ายสมทบช่วยผ่อนแรงให้อีกด้วย

ใครที่บริษัทไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือยังสะสมในอัตราส่วนที่น้อย คุณอาจลองเลือกตัวเลือกอื่นๆ เช่น ประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือประกันชีวิตสะสมทรัพย์ นอกจากนี้ เรายังแนะนำตัวช่วย RMF เป็นตัวช่วยในการเตรียมเงินเพื่อการเกษียณได้เหมือนกัน กับ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) วางแผนการออม พร้อมการลงทุน เพื่อความมั่งคั่งและมั่นคงยามเกษียณอายุ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอหนังสือชี้ชวน ได้ที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา