เรื่องเด่น

มีเงินล้านก่อนอายุ 30 ไม่ใช่เรื่องยาก

อัพเดทวันที่ 19 มิ.ย. 2563

สำหรับใครที่อยู่ในวัยเพิ่งเริ่มต้นชีวิตการทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานประจำเป็นมนุษย์เงินเดือน ก็คงมีเป้าหมายและความฝันที่อยากจะเก็บเงินล้านให้ได้ก่อนอายุ 30 ปี แต่การที่เราจะไปถึงเป้าหมายดังกล่าวได้นั้นก็เหมือนกับการวางแผนการเดินทางของชีวิต จะต้องเข้าใจหลักการ วิธีการ และมีแผนการเดินทางที่เหมาะสมกับตัวเอง 

หลักการที่เราต้องทราบนั้นมีองค์ประกอบ 3 อย่าง ได้แก่

1. เก็บออมให้ได้มาก

การเก็บออมเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดที่เราจะไปถึงเป้าหมายได้ ยิ่งเราเก็บออมได้มาก ยิ่งไปถึงเป้าหมายได้เร็วกว่าคนอื่น เช่น เงินฝากประจํา หากเราเก็บออมเดือนละ 1,000 บาท แต่เพื่อนเราเก็บออมเดือนละ 5,000 บาท คนที่มีโอกาสไปถึงเป้าหมายได้ก่อนก็คือเพื่อนของเรา

วิธีการเก็บออมนั้นทำได้ไม่ยาก สามารถเริ่มจากการบริหารรายรับรายจ่าย โดยวิธีการเก็บออมของคนสมัยใหม่นั้นจะต้องตั้งเป้าหมายออมเงินก่อนนำไปใช้จ่ายเสมอ โดยกำหนดเงินออมตามจำนวนเปอร์เซ็นต์ของรายได้ เช่น ออมเงินเดือนละ 10% ของรายได้ หากมีเงินเดือน 20,000 บาท ก็กำหนดเลยว่าเราจะออมเดือนละ 2,000 บาท หรือ อาจจะออมมากกว่านั้นได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของเราในการหารายได้เพิ่ม หรือลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นให้น้อยลง

2. เวลาไม่คอยใคร เริ่มต้นให้เร็วที่สุด

การเก็บออมเป็นเรื่องที่ดีต่อทุกคน เพียงแค่เราจะต้องตัดสินใจเริ่มลงมือทำให้เร็วที่สุด เพราะเมื่อเวลาผ่านไป เราจะอายุมากขึ้นเรื่อยๆและเวลาที่เราใช้ในการเก็บออมไปจนถึงเป้าหมายก็จะลดลงไปตัวอย่างเช่น หากเราเริ่มต้นการเก็บออมตั้งแต่เรียนจบตอนอายุ 22 ปี ก็จะมีเวลาออมเงินถึง 8 ปี ก่อนอายุ 30 แต่ถ้าหากเราปล่อยเวลาผ่านไปและเริ่มเก็บออมตอนอายุ 28 ปี ก็จะเหลือเวลา 2 ปีก่อนที่เวลาในเป้าหมายเรามาถึง

นอกจากนี้หากเราเริ่มออมก่อนคนอื่น เงินดังกล่าวสามารถสร้างผลตอบแทนได้ก่อน เช่น ได้ดอกเบี้ยเงินฝากจากธนาคาร เมื่อเวลาผ่านไปดอกเบี้ยที่เราได้รับก็จะทบกับเงินต้นและสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้น  ยกตัวอย่างเช่น ในปีแรก หากเราออมเงิน 10,000 บาทแล้วได้ดอกเบี้ย 3% เราจะได้เงินต้นกับดอกเบี้ยรวม 10,300 บาท โดยเงินจำนวนนี้จะกลายเป็นเงินต้นเพื่อนำไปคิดดอกเบี้ยในปีที่ 2  ซึ่งถ้าคนอื่นมาเริ่มที่หลังด้วยจำนวนเงินเท่ากันก็ต้องใช้เวลาในการสร้างเงินให้งอกเงย ทำให้เราเห็นได้ว่า การออมเงินก่อนจึงทำให้คนรวยก่อนเสมอ

3. หาอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังที่เหมาะสมกับตัวเรา

หากเราต้องการสร้างความมั่งคั่ง เราจะต้องมีแนวคิดให้เงินไปทำงานและทำให้เงินงอกเงย เช่น หากเรามีเงินออมในบัญชีเงินฝากธนาคาร ก็สามารถนำมาวางแผนการลงทุนด้วยการเปลี่ยนเงินออมบางส่วนที่รับความเสี่ยงได้ มาลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงมากขึ้น เช่น หุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้

โดยเริ่มต้นจากการศึกษาหาความรู้เรื่องการลงทุนให้เข้าใจและหาผลตอบแทนที่คาดหวังผ่านการวางแผนการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงการลงทุนให้เหมาะสมกับตัวเรา เช่น หากรับความเสี่ยงได้มาก สามารถยอมรับการขาดทุนได้มาก ก็จัดพอร์ตความเสี่ยงสูง เช่น แต่หากเรารับความเสี่ยงได้น้อย ไม่ต้องการขาดทุนจำนวนมากๆ ก็จะเน้นการลงทุนแบบปลอดภัยมากขึ้น เช่น

ตัวอย่างการวางแผนการออม

นายเอ เป็นพนักงานบริษัทเอกชนจบใหม่ ได้เงินเดือนเดือนละ 25,000 บาท ปัจจุบันอายุ 22 ปี ตั้งเป้าหมายมีเงินเก็บจำนวน 1,000,000 บาท ก่อนอายุ 30 (มีเวลา 96 เดือน) สามารถรับความเสี่ยงในการลงทุนได้ โดยคาดหวังอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 8% ต่อปี นายเอ จะต้องเก็บเงินเดือนละเท่าไหร่?

หากเรานำเงื่อนไขดังกล่าวมาคำนวณดูจะเห็นได้ว่า นายเอ จะต้องเก็บเงินให้ได้เดือนละ 7,470 บาท ซึ่งก็ต้องไปดูว่า นายเอ สามารถเก็บออมเงินจำนวนนี้จากเงินเดือนของตัวเองได้หรือไม่ และสามารถรับความเสี่ยงในการขาดทุน จากการลงทุนเพื่อให้ได้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังได้หรือไม่

การสร้างแผนเเก็บเงินให้ไปถึงเป้าหมายเงิน 1,000,000 บาทนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขชีวิตของแต่ละคน กรณีตัวอย่างที่กล่าวมานั้น หากนายเอ ไม่สามารถออมเงินจำนวนดังกล่าวได้ ก็อาจจะเปลี่ยนเงื่อนไขอื่นๆ เช่น

  1. หารายได้หรือลดรายจ่ายมากขึ้นเพื่อให้สามารถเก็บออมได้จำนวนเงินตามเป้าหมาย
  2. ยืดเวลาของเป้าหมายออกไป จากอายุ 30 ปี เผื่อจะได้มีเวลาเก็บเงินที่มากขึ้น
  3. หาอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังที่มากขึ้น แต่ต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะขาดทุนมากขึ้นเช่นกัน

โดยสรุปแล้วการเก็บเงินล้านก่อนอายุ 30 นั้นมีโอกาสที่จะทำได้ แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละคนที่จะสามารถวางแผนในเรื่องการเก็บออมในแต่ละเดือน ระยะเวลาก่อนไปถึงเป้าหมายและการสร้างอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังได้ที่เหมาะสมกับตัวเอง 

และแน่นอนว่าแต่ละคนสามารถวางแผนให้ตัวเองมีเงินล้านได้ตามสูตรของตัวเอง อยากมีเงินล้านต้องเริ่มวางแผนตั้งแต่วันนี้ โดยสามารถเริ่มวางแผนการออมและลงทุนกับธนาคารกรุงไทย โดยเก็บออมในบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยสูง เช่น เงินฝากดอกเบี้ยสูง  Krungthai ZERO TAX (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา หรือคลิก

หรือจะลงทุนในกองทุนรวมเพื่อให้เงินงอกเงย ขอแนะนำกองทุนเปิดกรุงไทย ธนทรัพย์ พลัส (KTPLUS) และกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้น พลัส (KTSTPLUS-A) ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอหนังสือชี้ชวน ได้ที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา