เรื่องเด่น

10 เทคนิควิธีบริหารเงินอย่างชาญฉลาด

อัปเดตวันที่ 25 ต.ค. 2567

10 วิธีการบริหารเงิน เพื่อความมั่นคงทางการเงิน

การบริหารเงินอย่างมีแบบแผนเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความมั่นคงทางการเงิน ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและความท้าทายทางเศรษฐกิจ การมีทักษะในการบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง การเรียนรู้และปฏิบัติตามเทคนิคการบริหารเงินที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายทางการเงินเท่านั้น แต่ยังช่วยลดความเครียดและความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเงิน ทำให้คุณมีอิสรภาพทางการเงินมากขึ้น และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพมากขึ้น และยังเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับอนาคตที่มั่นคงและเติมเต็มอีกด้วย


ในบทความนี้เราจะมาแนะนำ 10 เทคนิควิธีบริหารเงินอย่างชาญฉลาด ครอบคลุมตั้งแต่การทำบัญชีรายรับรายจ่าย การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ไปจนถึงการวางแผนการเงินหลังเกษียณ โดยแต่ละเทคนิคจะช่วยให้คุณมีมุมมองที่กว้างขึ้นในการจัดการการเงินของตนเอง และสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนได้ ถ้าพร้อมแล้วเราไปติดตามอ่านกันเลย


1. ทำบัญชีรายรับรายจ่าย

การทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นพื้นฐานสำคัญในการบริหารการเงิน ช่วยให้เห็นสถานะทางการเงินชัดเจนและวางแผนการใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในยุคปัจจุบันมีเครื่องมือช่วยให้การทำบัญชีสะดวกมากขึ้น เราจึงสามารถทำบัญชีรายรับรายจ่ายได้ง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

  • บันทึกค่าใช้จ่าย : การทำบัญชีรายรับรายจ่าย ช่วยให้คุณสามารถรับรู้ถึงตัวเลขรายรับและรายจ่ายที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และช่วยให้คุณรู้ว่ามีการรายจ่ายรั่วไหลที่จุดใด หรือเราใช้เงินไปกับอะไรมากเกินไปหรือไม่ ก็จะทำให้สามารถปรับการใช้จ่ายให้เหมาะสมได้
  • ประเมินรายรับรายจ่ายต่อเดือนเพื่อดูพฤติกรรมการใช้เงิน : การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณเห็นแนวโน้มการใช้จ่ายของตัวเอง และทำให้คุณเห็นว่าจุดใดบ้างที่จะต้องปรับปรุงและวางแผนการใช้จ่ายในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
  • แยกประเภทค่าใช้จ่ายเพื่อจัดการได้ง่าย : การแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็นหมวดหมู่ เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าสาธารณูปโภค จะช่วยให้เห็นภาพรวมของการใช้จ่ายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และสามารถบริหารจัดการแต่ละหมวดหมู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

การลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มเงินออมและปรับปรุงสถานะทางการเงินของคุณ โดยยังไม่ต้องเพิ่มรายได้ด้วยซ้ำ ซึ่งการที่เรารู้ว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่ไม่จำเป็นและหาวิธีลดหรือตัดออกจะช่วยให้คุณมีเงินเหลือเก็บมากขึ้น โดยวิธีตัดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นได้แก่

  • ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและสิ่งที่ไม่จำเป็น เพราะปัจจุบันเราทุกคนมีแอพโอนเงินผ่านโทรศัพท์ทุกธนาคารอยู่ในมือที่สะดวก ง่าย สามารถทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นให้คุณทบทวนรายจ่ายในชีวิตประจำวันและระบุสิ่งที่คุณสามารถตัดออกหรือลดลงได้ เช่น การสมัครบริการสตรีมมิ่งที่ไม่ได้ใช้ หรือการรับประทานอาหารนอกบ้านบ่อยเกินไป หรือแม้แต่ลดการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่ไม่จำเป็น
  • ใช้โปรโมชั่นหรือบัตรส่วนลดให้เกิดประโยชน์ พยายามติดตามโปรโมชั่นและใช้สิทธิ์ส่วนลด หรือใช้คะแนนสะสมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายเต็ม แต่ก็ต้องระวังไม่ให้ถูกล่อตาล่อใจให้ซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็นเพียงเพราะมีส่วนลด
  • เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย พิจารณาปรับเปลี่ยนนิสัยการใช้จ่ายบางอย่าง เช่น ลดความถี่ในการรับประทานอาหารนอกบ้าน หรือเลือกซื้อของออนไลน์เฉพาะที่จำเป็นและถ้าเป็นไปได้ซื้อในช่วงที่มีโปรโมชั่นเช่น 8.8 หรือ 11.11 ก็จะถูกกว่า 

3. เปิดบัญชีออมเงินใหม่

การเปิดบัญชีออมเงินใหม่เป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการเงินและสร้างวินัยในการออม เนื่องจากการแยกเงินออมออกจากเงินใช้จ่ายประจำวันจะช่วยให้คุณมีความชัดเจนในการบริหารเงินและบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ง่ายขึ้น

  • แยกบัญชีออมเงินกับบัญชีใช้จ่ายประจำ เราควรแยกบัญชีออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ บัญชีสำหรับการออมจะช่วยลดการใช้จ่ายเงินออมโดยไม่จำเป็น(ควรเลือกแบบฝากประจำที่ห้ามถอนก่อนถึงกำหนด) และบัญชีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน การแยกบัญชีเช่นนี้จะทำให้คุณเห็นความก้าวหน้าในการออมได้ชัดเจน 
  • เลือกบัญชีดอกเบี้ยสูงเพื่อผลตอบแทนที่คุ้มค่า ศึกษาและเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของเงินฝากประเภทออมทรัพย์จากธนาคารต่างๆ เพื่อให้เงินออมของคุณเติบโตเร็วขึ้น แม้จะเป็นเพียงเปอร์เซ็นต์เล็กน้อยแต่ก็สามารถสร้างความแตกต่างได้ในระยะยาว
  • ตั้งค่าออมเงินอัตโนมัติ เพื่อบังคับตัวเองให้เก็บเงิน: กำหนดให้มีการโอนเงินจากบัญชีหลักไปยังบัญชีออมโดยอัตโนมัติทุกเดือน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณออมเงินได้อย่างสม่ำเสมอโดยไม่ต้องคิดว่าจะเหลือออมหรือไม่

4. นำเงินออมไปลงทุนระยะยาว

การนำเงินออมไปลงทุนระยะยาวเป็นวิธีที่ช่วยให้เงินออมของคุณเติบโตและสู้กับเงินเฟ้อได้ดีกว่าการเก็บไว้ในบัญชีเงินฝากเฉยๆเพียงอย่างเดียว อีกทั้งการลงทุนระยะยาวช่วยให้คุณสามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ใหญ่ขึ้น เช่น การเกษียณอายุอย่างมั่นคง โดยสิ่งที่คุณอาจจะทำเพิ่มเติมได้แก่

  • ศึกษาการลงทุนระยะยาว เช่น กองทุนรวม หุ้น หรือกองทุน SSF , RMF หรือ ThaiESG : แต่ละประเภทการลงทุนมีข้อดีและความเสี่ยงแตกต่างกัน การศึกษาและทำความเข้าใจจะช่วยให้คุณเลือกวิธีการลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายและความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  • เน้นการลงทุนที่สอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงินระยะยาว กำหนดเป้าหมายทางการเงินของคุณ เช่น การเกษียณ การซื้อบ้าน หรือการสร้างความมั่งคั่ง แล้วเลือกการลงทุนที่สอดคล้องกับระยะเวลาและเป้าหมายนั้นๆ
  • พิจารณาการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง เคยได้ยินหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่าเราไม่ควรเอาไข่ไว้ในตระกร้าใบเดียว นั่นหมายถึงเราไม่ควรลงทุนกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์หลากหลายประเภทจะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดี

วิธีบริหารเงิน จัดการระเบียบหนี้สินของตนเอง

5. จัดการหนี้สินของตนเอง

หนี้สินเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะความจำเป็นในชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกัน ดังนั้นการจัดการหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพจึงสำคัญมากในการบริหารการเงิน เพราะหนี้ที่ไม่ถูกจัดการอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวได้ ดังนั้น มาดูวิธีการบริหารจัดการหนี้สินให้มีประสิทธิภาพต้องทำอย่างไรบ้าง

จัดการหนี้สินและเงินหมุนเวียนไว้ใช้จ่ายได้อย่างราบรื่น: เมื่อมีหนี้สินแล้วให้เราดูว่าหนี้สินที่เรามีอยู่นั้นดอกเบี้ยเป็นอย่างไร สูงไหม ถ้าใช่ก็ให้เราพิจารณาใช้บริการรวมหนี้ไว้ในที่เดียว และเดินเรื่องขอสินเชื่อที่มีดอกเบี้ยต่ำกว่าและเงื่อนไขที่เหมาะสมกับเรา อย่างเช่น สินเชื่อกรุงไทยใจป้ำ ซึ่งสามารถช่วยจัดการหนี้สินและให้เงินหมุนเวียนสำหรับค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยข้อดีหลากหลายทั้งวงเงินอนุมัติสูงสุดถึง 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน สูงสุด 1 ล้านบาท  อาชีพไหนก็กู้ได้ เพียงมีรายได้ต่อเดือน 15,000 บาทขึ้นไป อนุมัติไวใน 1 วัน *หลังจากที่ลูกค้าส่งเอกสารและธนาคารตรวจรับเรียบร้อยแล้วภายในเวลา 16.00น. 
  • ผ่อนชำระได้นานสูงสุดถึง 60 เดือน  ไม่ต้องมีหลักประกัน หรือคนค้ำประกัน สมัครได้ง่าย ๆ ผ่าน แอป Krungthai NEXT และแอปฯเป๋าตัง
  • โดยการกู้เงินควรคำนวน ยอดผ่อนในสัดส่วนที่ไม่เกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน เพื่อป้องกันการก่อหนี้จนเกินตัว และควรกู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว

การจัดการหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่ช่วยลดภาระทางการเงิน แต่ยังช่วยปรับปรุงสุขภาพทางการเงินโดยรวมและเพิ่มโอกาสในการบรรลุเป้าหมายทางการเงินระยะยาวของคุณ

6. สร้างเครดิตทางการเงินที่ดี

การมีเครดิตทางการเงินที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากในการสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว เพราะเครดิตที่ดีสามารถเพิ่มโอกาสในการได้รับอนุมัติสินเชื่อ ได้ข้อเสนออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง และเงื่อนไขที่ดีกว่าสำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ โดยวิธีการสร้างเครดิตทางการเงินที่ดีจะประกอบไปด้วย

  • ชำระหนี้บัตรเครดิตให้ตรงเวลา การชำระหนี้บัตรเครดิตเต็มจำนวนและตรงเวลาทุกเดือนเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างและรักษาเครดิตที่ดี
  • ใช้บัตรเครดิตอย่างระมัดระวังเพื่อสร้างเครดิตบูโรที่ดี ที่จริงหนี้บัตรเครดิตไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากลัวขนาดนั้นถ้าเรามีวินัยการเงินที่ดี เราสามารถใช้บัตรเครดิตสำหรับการใช้จ่ายประจำที่จำเป็นอย่างเช่น เติมน้ำมัน ซื้อของใช้เข้าบ้าน จ่ายค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ซึ่งนอกจากจะเป้นการใช้บัตรเครดิตในทางที่มีประโยชน์แล้ว ยังช่วยสร้างเครดิตทางการเงินได้ด้วยนะ โดยพยายามรักษาอัตราการใช้วงเงินให้ต่ำกว่า 30% ของวงเงินที่ได้รับ เช่นได้รับอนุมัติวงเงินบัตรเครดิต 50,000 บาท เราก็ไม่ควรรูดเกิน 15,000 บาท แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูเงินเดือนเราด้วยนะว่า พอดีจะจ่ายไหม ถ้าสมมติเงินเดือนเรา 25,000 บาท สัดส่วนการก่อหนี้ในแต่ละเดือนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแนะนำไม่ให้เกิน 40% ของรายได้ดังนั้นแปลว่าเราสามารถมีหนี้สินต่อเดือนรวมได้ประมาณ 10,000 บาท จะเห็นว่าต่ำกว่า 30% ของวงเงินบัตรเครดิตที่อนุมัติ ดังนั้นเราควรจะยึดตามฐานรายได้ของเราจะปลอดภัยที่สุด
  • ตรวจสอบคะแนนเครดิตของคุณเป็นประจำ นอกจากสร้างเครดิตทางการเงินที่ดีแล้ว เราควรติดตามคะแนนเครดิต(Credit Scoring) ของคุณอย่างสม่ำเสมอ โดยคุณสามารถตรวจสอบรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง ผ่านโมบายแอป “Krungthai NEXT” (ธนาคารกรุงไทย) และ เป๋าตังเปย์ บนแอปเป๋าตัง ได้ตลอด 24 ชั่งโมง

7. รู้จักการให้รางวัลตัวเองอย่างถูกต้อง

การบริหารเงินอย่างชาญฉลาดไม่ได้หมายถึงการที่เราจะประหยัดจนเกินไป จนทำให้ชีวิตไม่มีความสุข การรู้จักให้รางวัลตัวเองอย่างเหมาะสมบ้าง ก็เปรียบเสมือนการให้กำลังใจตัวเองเล็กที่ช่วยสร้างสมดุลระหว่างการออมและการใช้จ่าย โดยวิธีการให้รางวัลตัวเอง(อย่างเหมาะสม) ทำได้ดังนี้

  • กำหนดงบประมาณสำหรับการให้รางวัลตนเองโดยเฉพาะ  การจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งไว้สำหรับกิจกรรมที่ให้ความสุขหรือสิ่งที่คุณอยากได้ โดยต้องไม่กระทบต่อเป้าหมายการออมหรือการชำระหนี้
  • ลือกวิธีให้รางวัลที่ไม่ทำร้ายงบประมาณ หาวิธีสร้างความสุขที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมาก เช่น การท่องเที่ยวแบบประหยัด การทำกิจกรรมสร้างสรรค์ หรือการใช้เวลากับคนที่คุณรัก
  • ใช้บัตรสะสมคะแนนหรือโปรแกรมสมาชิกให้เป็นประโยชน์ ใช้คะแนนสะสมจากบัตรเครดิตหรือโปรแกรมสมาชิกเพื่อแลกของรางวัลหรือส่วนลด เป็นการให้รางวัลตัวเองโดยไม่ต้องใช้เงินเพิ่ม หรือถ้าต้องเพิ่มเงินก็เพิ่มไม่มาก

วิธีบริหารเงิน ควรวางแผนการเงินหลังเกษียณ

8. ควรวางแผนการเงินหลังเกษียณ

การวางแผนการเงินหลังเกษียณเป็นสิ่งสำคัญแทบจะที่สุด ที่หลายๆคนมองข้าม อาจจะด้วยอายุที่ยังไม่มาก ทำให้การวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณมักถูกมองข้ามไป(ก่อน) แต่รู้หรือไม่ว่ายิ่งเราวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณตั้งแต่อายุยังน้อยยิ่งทำให้เราขยับเข้าใกล้เป้าหมายทางการเงินหลังเกษียณได้เร็วมากยิ่งขึ้น ไปดูกันว่าวิธีจะมีอะไรบ้าง

  • วางแผนค่าใช้จ่ายในช่วงวัยเกษียณอย่างละเอียด เป็นเรื่องแรกๆที่เราควรทำอย่างยิ่ง นั่นก็คือประมาณการค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในวัยเกษียณ อย่างค่าอาหาร ค่าสินค่าอุปโภคบริโภค ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่อยู่อาศัย และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อกำหนดเป้าหมายการออมที่เหมาะสมว่าเราควรต้องออมสูงเท่าไหร่ เพื่อให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
  • ศึกษาแผนการออมสำหรับการเกษียณ ผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุนเพื่อการเกษียณนั้นมีมากมาย การที่เราศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ ทางเลือกในการออมและการลงทุนสำหรับการเกษียณ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือการลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาวอื่นๆ ย่อมได้เปรียบอย่างแน่นอนเพราะจะทำให้เรามีตัวเลือกเพิ่มขึ้นและเรียนรู้รายละเอียดได้พร้อมสำหรับการลงทุน
  • คำนวณเป้าหมายเงินออมที่จำเป็นหลังเกษียณ ใช้เครื่องมือคำนวณออนไลน์หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการเงินเพื่อประเมินจำนวนเงินที่คุณต้องออมเพื่อให้มีชีวิตที่สะดวกสบายหลังเกษียณ

การบริหารเงิน การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง

9. อย่าหยุดเรียนรู้และพัฒนาตนเอง

ในโลกการเงินการลงทุนที่อย่างมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาและปรับปรุงทักษะการบริหารเงินของคุณ เรามา

  • อัพเดทความรู้เรื่องการเงินและการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ แนะนำให้คุณติดตามข่าวสารและแนวโน้มทางการเงินล่าสุด เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ และกลยุทธ์การลงทุนที่เกิดขึ้น
  • เข้าร่วมคอร์สออนไลน์หรืออ่านหนังสือเกี่ยวกับการบริหารการเงิน มีแหล่งความรู้มากมายทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ที่ช่วยพัฒนาความรู้ทางการเงินของคุณได้ เพียงแต่คุณต้องเลือกแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและตั้งใจศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
  • พิจารณาผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำปรึกษาเรื่องการเงิน ไม่ว่าจะเป็นนักวางแผนการเงิน ที่ปรึกษาการลงทุน หรือผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี การขอคำแนะนำจากมืออาชีพสามารถช่วยให้คุณตัดสินใจทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องไม่เพียงแต่จะช่วยปรับปรุงทักษะการบริหารเงินของคุณ แต่ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจทางการเงินและเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างความมั่งคั่ง การเรียนรู้เป็นการลงทุนในตัวคุณเองที่ให้ผลตอบแทนตลอดชีวิต

การบริหารเงิน รวบหนี้มาผ่อนเบา

10. หารายได้เพิ่ม

การพึ่งพารายได้จากงานประจำเพียงอย่างเดียวในยุคปัจจุบันอาจไม่เพียงพอสำหรับการบรรลุเป้าหมายทางการเงินหรือสร้างความมั่นคงในระยะยาว ดังนั้นการหารายได้เพิ่มจึงเป็นสิ่งสำคัญที่หลายคนเลือกใช้

นอกจากการเพิ่มรายได้จากงานประจำแล้ว การหางานพาร์ทไทม์หรือรับงานฟรีแลนซ์ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ ปัจจุบันมีแพลตฟอร์มออนไลน์มากมายที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีทักษะต่างๆ สามารถรับงานเสริมได้ ไม่ว่าจะเป็นการสอนพิเศษ งานแปลเอกสาร งานออกแบบกราฟฟิก หรือการเขียนคอนเทนต์ สิ่งสำคัญคือต้องรู้จักจัดสรรเวลาให้เหมาะสมระหว่างงานประจำและงานเสริม เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพชีวิต

การมีหลายแหล่งรายได้ไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นการกระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการเติบโตทางอาชีพอีกด้วย

  • อัพเดทความรู้เรื่องการเงินและการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ แนะนำให้คุณติดตามข่าวสารและแนวโน้มทางการเงินล่าสุด เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ และกลยุทธ์การลงทุนที่เกิดขึ้น
  • เข้าร่วมคอร์สออนไลน์หรืออ่านหนังสือเกี่ยวกับการบริหารการเงิน มีแหล่งความรู้มากมายทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ที่ช่วยพัฒนาความรู้ทางการเงินของคุณได้ เพียงแต่คุณต้องเลือกแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและตั้งใจศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
  • พิจารณาผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำปรึกษาเรื่องการเงิน ไม่ว่าจะเป็นนักวางแผนการเงิน ที่ปรึกษาการลงทุน หรือผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี การขอคำแนะนำจากมืออาชีพสามารถช่วยให้คุณตัดสินใจทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สรุป

การบริหารเงินอย่างชาญฉลาดเป็นทักษะที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงทางการเงิน การนำเทคนิคที่เราได้แนะนำไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณมีความรู้และสามารถกำหนดสถานะทางการเงินของตนเองได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การบริหารเงินที่ดีต้องอาศัยความอดทน ความมีวินัย และการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง

และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ลืมไม่ได้เลยก็คือ ไม่มีวิธีการบริหารเงินแบบใดที่ดีที่สุด หรือวิธีการบริหารจัดการเงินวิธีเดียวจะเหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์การใช้เงิน ดังนั้นคุณควรปรับใช้เทคนิคเหล่านี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเป้าหมายส่วนตัวของคุณ

10 วิธีการบริหารเงิน เพื่อความมั่นคงทางการเงิน | ธนาคารกรุงไทย อยากบริหารเงินให้เป็น? พบกับ 10 เทคนิคสุดปังในการจัดการเงินอย่างชาญฉลาด เพิ่มความมั่งคั่งและสร้างอนาคตทางการเงินที่มั่นคง