เรื่องเด่น

4 เทคนิคเลือกกองทุนยังไงให้เหมาะกับเรา

อัพเดทวันที่ 13 เม.ย. 2567

กองทุนรวมในประเทศมีให้เลือกลงทุนมากกว่า 2,000 กองทุน ด้วยจำนวนกองทุนที่มีอยู่เยอะขนาดนี้ทำให้เกิดสงสัยว่าแล้วเราจะเลือกลงทุนในกองทุนประเภทไหนดีที่เหมาะกับตลาดและสอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนรวมถึงความเสี่ยงที่เราสามารถยอมรับได้ หรือแม้แต่เมื่อเราได้ประเภทกองทุนที่น่าสนใจแล้วก็ยังต้องคิดต่อว่าแล้วกองทุนไหนที่น่าสนใจที่สุดของกองทุนประเภทนั้น บทความนี้จึงอยากแบ่งปันมุมมองว่าการเลือกกองทุนสัก 1 กองนั้นเราต้องดูเรื่องอะไรบ้าง


1.ดูเป้าหมายการลงทุนและรับความเสี่ยงได้ระดับไหน (Investment Goal & Risk Appetite)

เนื่องจากกองทุนมีให้เลือกลงทุนหลายนโยบาย เช่น ตราสารหนี้ ผสม หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ทองคำ น้ำมันหรือแม้แต่ REIT & Property Fund หากว่าเรารับความเสี่ยงได้ต่ำกองทุนตราสารหนี้ก็เหมาะแต่ผลตอบแทนที่คาดหวังได้ก็น้อยลงด้วย หากว่าสามารถรับความเสี่ยงได้สูงและคาดหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้นการลงทุนในกองทุนหุ้นก็จะเหมาะสม


2.ดูแนวโน้มเศรษฐกิจ (Economic Outlook)

สำหรับการลงทุนนั้น “ทิศทางสำคัญกว่าความเร็วเสมอ” ดังนั้นการมีข้อมูลภาพกว้างและลึกทางด้านเศรษฐกิจจะช่วยให้เราวิเคราะห์การลงทุนได้ดีขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น ข้อมูลจาก World Bank (Jan 2024) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของอินเดียและเวียดนามปี 2024 จะเติบโต 6.4% และ 5.5% ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ขยายตัวได้เพียง 2.4% โดยปกติแล้วประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีจะส่งผลบวกต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียนในประเทศ


3.ดูเรื่องความถูกแพง (Valuation)

“สินทรัพย์ที่แพงเกินไปต่อให้มี Story ดีแค่ไหนก็อาจจะไม่ใช่การลงทุนที่ดี” หลังจากทราบข้อมูลว่าเศรษฐกิจของประเทศใดที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ก็ต้องพิจารณาว่าราคาสินทรัพย์ที่กองทุนเข้าไปลงทุนนั้นมีราคาที่แพงเกินไปหรือไม่ โดยอาจจะพิจารณาจากค่า Forward P/E ในปัจจุบันของตลาดนั้นเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีตประมาณ 10-15 ปีย้อนหลังเพื่อให้ครอบคลุมทุกวัฏจักรเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทจดทะเบียนของเวียดนามมี Forward P/E อยู่ที่ 9.9 เท่า ถูกกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง ดังนั้นราคาหุ้นเวียดนามในปัจจุบันยังไม่แพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต (ข้อมูล Forward P/E จาก Weekly Update by Krungthai Chief Investment Office as of Feb. 28, 2024)


4.ดูผลการดำเนินงาน (Performance)

การคัดเลือกกองทุนที่ดีนั้นความต้องดูเรื่องผลการบริหารในอดีตว่ากองทุนในผลการดำเนินงานในอดีตว่าเป็นอย่างไร โดยต้องพิจารณาเทียบกับดัชนีชี้วัด (Benchmark) ด้วยว่ากองทุนนั้นสามารถทำผลตอบแทนดีกว่า Benchmark หรือไม่กรณีเป็นกองทุนที่บริหารแบบเชิงรุก (Active Management) เนื่องจากกองทุนประเภทนี้จะมีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่ากองทุนที่บริหารแบบเชิงรับที่เน้นสร้างผลตอบแทนอิงกับ Benchmark (Passive Management)


สุดท้ายนี้สิ่งที่สำคัญในการเลือกลงทุนยังคงเป็น การรู้จักตัวเองว่ามีเป้าหมายการลงทุนอย่างไร ลงทุนได้นานแค่ไหนและรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ระดับใด เพราะการลงทุนนอกจากมีช่วงที่ได้กำไรแล้วก็ยังมีบางเวลาที่ต้องเจอกับความผันผวนของตลาด เช่น ในช่วงที่ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐานลงไปกว่า 30-40% หากเงินที่นำมาลงทุนเป็นเงินที่ไม่สามารถลงทุนระยะยาวได้ อาจจะทำให้ต้องขายสินทรัพย์เสี่ยงในจังหวะที่ไม่เหมาะสมและทำให้เสียโอกาสที่ได้ผลตอบแทนจากการที่ราคาของสินทรัพย์เสี่ยงฟื้นตัว โดยระยะเวลาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่เหมาะสมควรจะอยู่ตั้งแต่ 3-5 ปีขึ้นไป เพราะความผันผวนเป็นสิ่งที่อยู่กับการลงทุนเสมอไม่ว่าเมื่อไรหรือที่ไหน แต่การที่มีเป้าหมายการลงทุนที่ชัดเจน มีข้อมูลการลงทุนที่รอบด้าน รวมถึงการมีระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานจะเป็นสิ่งที่จะทำให้นักลงทุนสามารถผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบากและบรรลุเป้าหมายการลงทุนได้ อย่างไรก็ตามหากว่าเราไม่มีข้อมูลเศรษฐกิจหรือเวลาติดตามข้อมูลการลงทุนต่างๆ การลงทุนในกองทุนผสมทั่วโลกอย่างเช่น Krungthai World Class Series ก็มีความน่าสนใจเพราะบริหารงานโดย Fidelity International ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนระดับโลกที่จะปรับพอร์ตให้เหมาะสมกับทุกสภาวะตลาดและคัดเลือกการลงทุนที่ดีที่สุดในแต่ละประเภทสินทรัพย์จากทั่วโลกมาให้แล้ว โดยมี 3 กองทุนให้เลือกตามความเหมาะสมกับเป้าหมายและความเสี่ยงของเรา เช่น


กองทุน KTWC-DEFENSIVE-A และ KTWC-DEFENSIVE-SSF
ที่เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำเน้นโอกาสชนะเงินเฟ้อ (ลงทุนเฉลี่ยในตราสารหนี้ 85% ,หุ้น 15%)

ลงทุน
KTWC-DEFENSIVE-A
คลิก


ลงทุน
KTWC-DEFENSIVE-SSF
คลิก



กองทุน KTWC-MODERATE-A และ KTWC-MODERATE-SSF
ที่เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงปานกลางรักษาสมดุลของความเสี่ยงและผลตอบแทน(ลงทุนเฉลี่ยในตราสารหนี้ 50% ,หุ้น 50%)

ลงทุน
KTWC-MODERATE-A
คลิก
 

ลงทุน
KTWC-MODERATE-SSF
คลิก



กองทุน KTWC-GROWTH-A และ KTWC-GROWTH-SSF
ที่เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงเน้นการเติบโตของเงินลงทุน (ลงทุนเฉลี่ยในตราสารหนี้ 20% ,หุ้น 80%)

ลงทุน
KTWC-GROWTH-A
คลิก


ลงทุน
KTWC-GROWTH-SSF
คลิก


บทความโดย นายอวิรุทธ์ ศรีวัฒนชัยกุล CFP®
คำเตือน: กองทุนมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF ก่อนตัดสินใจลงทุน กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวนได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา