RMF คืออะไร? เข้าใจเงื่อนไขลดหย่อนภาษี ซื้อขายคืน
RMF คืออะไร? เข้าใจเงื่อนไขลดหย่อนภาษี ซื้อขายคืน
RMF หรือกองทุนเพื่อการเกษียณที่หลายคนคงเคยได้ยิน เป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะช่วยให้เราสามารถวางแผนทางการเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณได้อีกทางหนึ่ง มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุน RMF เงื่อนไข พร้อมเทคนิคการซื้อขาย RMF อย่างมีแบบแผนกันในบทความนี้
กองทุน RMF คืออะไร?
Retirement Mutual Fund หรือที่เราคุ้นชื่อว่า RMF คือ หนึ่งในสินค้าการเงินที่ช่วยทำให้เรามีเงินเกษียณได้ดีมากที่สุด ก็เพราะว่ากองทุน RMF มีเงื่อนไขที่ทางกรมสรรพากรออกแบบมาเพื่อสนับสนุนให้ RMF เป็นกองทุนเกษียณอย่างแท้จริงนั่นเอง นอกจาก RMF จะเป็นสินค้าการเงินที่ถูกออกมาแบบมาเพื่อเป้าหมายเกษียณอายุแล้ว RMF ยังเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำหรับการใช้ลดหย่อนภาษีที่ดีที่สุดตัวหนึ่ง แต่กลับถูกมองข้ามมากที่สุด เหตุผลเพราะว่ากองทุน RMF มีเงื่อนไขที่ทางกรมสรรพากรกำหนดนั้นบังคับให้ต้องถือจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ จึงจะสามารถถอนออกมาใช้ได้ เพราะเราทุกคนเมื่อถึงวันหนึ่งเราก็ต้องเกษียณอายุตัวเอง เป็นเพราะทางกรมสรรพากรต้องการออกแบบมาเพื่อการเกษียณอายุนั่นเอง โดยเงื่อนไขที่ใช้ในการลดหย่อนภาษีของ RMF ที่ถูก ทางสรรพากรกำหนดมา มีดังนี้
เงื่อนไขการใช้ RMF ลดหย่อนภาษี
1. ซื้อ RMF ลดหย่อนภาษี
ซื้อ RMF ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อนับรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (หรือ กบข.) ประกันชีวิตแบบบำนาญและกองทุนการออมแห่งชาติ
2. ซื้อกองทุนอย่างต่อเนื่องทุกปี
ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปีหรือปีเว้นปีก็ได้อย่างน้อย 3% หรือ 5,000 บาท การที่กองทุน RMF มีเงื่อนไขนี้จะช่วยทำให้เราเติมเงินเข้า RMF เหมือนกับการทำ DCA ใส่เข้าไปทุกปีก็จะยิ่งทำให้เรามีเงินใช้สำหรับเกษียณมากขึ้น
3. ถือกองทุนครบระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี
การขาย RMF ตามเงื่อนไขจะขายได้ก็ต่อเมื่อถือครบอย่างน้อย 5 ปีเต็มและอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เท่านั้น ด้วยเงื่อนไขนี้ทำให้เรามีเงินก้อนออกมาใช้ตอนใกล้เกษียณพอดี
4. ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี
RMF มีเงื่อนไขซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ ได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุน SSF กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนการออมแห่งชาติ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และประกันชีวิตแบบบำนาญ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
กรณีผิดเงื่อนไขการลงทุน RMF
-
ลงทุนไม่ถึง 5 ปี และมีการซื้อขายก่อนกำหนด
กรณีนี้ ผู้ลงทุนต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีทั้งหมดที่เคยได้รับ รวมถึงต้องนำผลกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุนมารวม และคำนวณเป็นเงินได้ เพื่อเสียภาษีในปีที่มีการขายคืน
-
ลงทุน 5 ปีขึ้นไป และขายก่อนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
กรณีลงทุน 5 ปีขึ้นไป และผิดเงื่อนไข RMF โดยการขายก่อนอายุครบ 55 ปี ผู้ลงทุนต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับในช่วง 5 ปีปฏิทินย้อนหลัง นับจากปีที่มีการขายคืนหน่วยลงทุน โดยจะต้องชำระภาษีคืนภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป หากไม่ชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนด จะมีการคิดเบี้ยปรับเพิ่มเติม
เทคนิคซื้อขาย RMF อย่างมีแบบแผน
-
วางแผนภาษี และกำหนดช่วงเวลาที่จะซื้อ
วางแผนซื้อ RMF ตั้งแต่ต้นปี เพื่อให้มีเวลาในการจัดสรรเงินลงทุน พร้อมกำหนดจำนวนเงินลงทุนให้ชัดเจน โดยสามารถลงทุนได้สูงสุด 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
-
จดบันทึก รวบรวมเอกสารซื้อขาย
เก็บเอกสารการลงทุนในกองทุน RMF อย่างครบถ้วนและรวบรวมหลักฐานที่ใช้ในการยื่นภาษี เพื่อประโยชน์ในการยืนยันสิทธิประโยชน์ทางภาษีเมื่อมีการตรวจสอบในอนาคต