4 ขั้นตอนวางแผนเกษียณอายุให้มั่นคง และตอบโจทย์ชีวิต
เพราะการออมเงินสำหรับในช่วงวัยเกษียณที่พอกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ไม่เพียงช่วยให้ใช้ชีวิตในบั้นปลายได้อย่างมีความสุข แต่ยังช่วยให้ไม่ต้องกังวลกับค่ารักษาพยาบาล เพื่อความมั่นใจและสบายใจในการใช้เงินจนถึงวันสุดท้าย การเก็บเงินออมก่อนเกษียณจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีการวางแผนเกษียณอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อจะได้ไปถึงเป้าหมายและตอบโจทย์ความต้องการของชีวิต
กรุงไทยรวบรวม 4 ขั้นตอนสำหรับการวางแผนเกษียณอายุมนุษย์เงินเดือนที่กำลังมองหาความมั่นคงในอนาคต
1. ตั้งเป้าอายุและจำนวนเงินหลังเกษียณ
กำหนดอายุเกษียณเพื่อให้รู้ว่าเหลือเวลาในการทำงานและเก็บเงินอีกกี่ปี ทำให้วางแผนเกษียณอายุได้อย่างรอบคอบ เช่นเดียวกับการตั้งเป้าหมายของจำนวนเงินที่ต้องการมีหลังเกษียณเป็น ซึ่งจะแตกต่างกันตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน
สูตรอย่างง่ายสำหรับคำนวณจำนวนเงินที่ควรมีในวันแรกของการเกษียณ
จำนวนเงินที่ควรมี = ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณต่อปี* X จำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณ
*ประมาณ 70% ของค่าใช้จ่ายปัจจุบัน หรือปรับสัดส่วนได้ตามต้องการ
ตัวอย่างเช่น
นายแทนไท อายุ 35 ปี ต้องการเกษียณตอนอายุ 60 ปี และคาดว่าจะมีชีวิตต่อไปอีก 20 ปี ปัจจุบันแทนไทมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 30,000 บาท จึงคาดว่าค่าใช้จ่ายต่อเดือนในช่วงเกษียณจะอยู่ที่ราว 21,000 บาท หรือ 252,000 บาท ต่อปี เท่ากับว่าก่อนเกษียณ แทนไทจะต้องมีเงินเตรียมไว้ถึง 252,000 x 20 = 5,040,000 บาท
อย่างไรก็ตาม สูตรนี้เป็นเพียงการคำนวณอย่างง่ายๆ ยังไม่ได้มีการคิดอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยประมาณ 3% ต่อปี แปลว่าหากคิดอัตราเงินเฟ้อด้วย แทนไทจะต้องเก็บเงินมากกว่านี้ราว 2-3 เท่า แม้ดูเป็นจำนวนเงินที่สูง แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ในชีวิตจริงเราอาจได้ขึ้นเงินเดือนทุกปี มีรายได้ทางอื่น หรือลงทุนเพิ่มจนเอาชนะเงินเฟ้อได้ เป้าหมายที่ดูเหมือนยากก็อาจไม่ไกลเกินเอื้อม
ตารางตัวอย่างการคำนวณเงินหลังเกษียณที่ไม่รวมผลเงินเฟ้อ
ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณต่อเดือน (บาท) |
จำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณ |
|||
10 ปี |
15 ปี |
20 ปี |
25 ปี |
|
20,000 |
2,400,000 |
3,600,000 |
4,800,000 |
6,000,000 |
30,000 |
3,600,000 |
5,400,000 |
7,200,000 |
9,000,000 |
40,000 |
4,800,000 |
7,200,000 |
9,600,000 |
12,000,000 |
50,000 |
6,000,000 |
9,000,000 |
12,000,000 |
15,000,000 |
2. ตรวจสอบเงินออม ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ประจำ
เมื่อได้จำนวนเงินออมที่ต้องการแล้วให้ตรวจสอบเงินออมเพื่อวางแผนเกษียณ ได้แก่ บัญชีเงินฝาก เงินประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันออมทรัพย์ หุ้น กองทุนรวม ฯลฯ โดยนำเงินทั้งหมดมารวมกันเพื่อให้เห็นว่ายังขาดเงินที่ต้องออมเพิ่มเติมอีกเท่าไร ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเริ่มออมเงินได้เร็วและเยอะ ก็จะช่วยให้ถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น
โดยทั่วไปแล้ว เงินออมที่มีอยู่มักจะห่างไกลจากจำนวนเงินที่ตั้งเป้าไว้ ดังนั้นสิ่งที่ต้องเริ่มทำตั้งแต่ตอนนี้คือ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ใช้จ่ายเงินอย่างรอบคอบ และควรนำเงินไปลงทุนต่อยอดการวางแผนเกษียณอายุเป็นอย่างแรก เพื่อให้ไปถึงยอดเงินออมที่วางไว้
ถ้าจะให้ดีควรเพิ่มรายได้ประจำด้วยการมองหางานเสริม ซึ่งมีทั้งงานเสริมที่ต้องลงทุน เช่น ขายของออนไลน์ ทำอาหารขาย ซื้อแฟรนไชส์ ฯลฯ และงานเสริมไม่ต้องลงทุน เช่น การเป็นที่ปรึกษา การเป็นครูสอนพิเศษ การใช้ความรู้เฉพาะทาง ฯลฯ โดยต้องค้นหาสิ่งที่ถนัดและอย่าลืมพิจารณาตัวเลขในบัญชีอย่างรัดกุมก่อนตัดสินใจ
3. วางแผนลงทุนเพื่ออนาคต
การวางแผนการลงทุนที่ดีต้องเหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้ ยิ่งลงทุนเร็วตอนอายุยังน้อยยิ่งได้เปรียบ เพราะใช้เงินลงทุนต่อเดือนน้อยและรับความเสี่ยงได้มาก แต่หากลงทุนช้าตอนอายุมากขึ้นจะต้องใช้เงินลงทุนมากขึ้นและเน้นความเสี่ยงต่ำ โดยพอร์ตการลงทุนจะประกอบด้วยเป้าหมาย ระยะเวลาการลงทุน และผลตอบแทนที่คาดหวังจากพอร์ต โดยแบ่งตามระดับความเสี่ยง คือ
- ความเสี่ยงสูง ได้แก่ หุ้นสามัญ กองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมทองคำ กองทุนรวมน้ำมัน ฯลฯ
- ความเสี่ยงปานกลาง ได้แก่ ตราสารหนี้ภาคเอกชน กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว กองทุนรวมผสม ฯลฯ
- ความเสี่ยงต่ำ ได้แก่ เงินฝาก พันธบัตรออมทรัพย์ ตราสารหนี้ภาครัฐ ฯลฯ
หากใครสนใจลงทุนด้วยการซื้อกองทุนรวมอย่าง SSF และ RMF สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ กองทุนรวมกรุงไทย พร้อมเปิดบัญชีกองทุน ซื้อ-ขาย ได้รวดเร็วผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT เลย
ตัวอย่างผลตอบแทนการลงทุน 30 ปี โดยคาดหวังผลตอบแทนแบบทบต้น 8-10% ต่อปี
เงินลงทุนต่อเดือน (บาท) |
อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี |
||
8% |
9% |
10% |
|
1,000 |
1,468,150 |
1,782,903 |
2,171,321 |
3,000 |
4,404,451 |
5,348,707 |
6,513,963 |
5,000 |
7,340,752 |
8,914,513 |
10,856,605 |
เราแนะนำให้จัดสรรเงินเดือนทุกเดือนมาเป็นเงินออมเพื่อการเกษียณ เพื่อสร้างวินัยการออมและจะได้รู้จำนวนเงินออมที่เก็บได้ในแต่ละปีจนถึงวันเกษียณ เมื่อออมเงินได้ในระดับหนึ่งสามารถนำเงินก้อนนี้ไปต่อยอดการลงทุนเพื่อการเกษียณเพื่อผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น
4. ติดตามและตรวจสอบแผนเกษียณอายุอยู่เสมอ
วางแผนเตรียมเกษียณอายุแล้ว ไม่ต้องรีรอ เริ่มต้นลงมือทำได้เลย แต่ในทุกๆ ปี อย่าลืมกางแผนเกษียณออกมาทบทวนดู เพื่อตรวจสอบและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งสถานการณ์ชีวิตและสถานการณ์ตลาดการลงทุนที่อาจเปลี่ยนแปลง เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
สำหรับตัวเลือกที่น่าสนใจให้การเก็บเงินไปถึงเป้าหมายที่กรุงไทยอยากแนะนำคือ การซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ และประกันบำนาญ ซึ่งจะช่วยให้เรามีวินัยเก็บเงินอย่างสม่ำเสมอ แถมยังได้รับความคุ้มครองจากประกันชีวิตในระยะยาวอีกด้วย
เข้าใจเรื่องการวางแผนเกษียณกันแล้ว มาลงมือทำกันเลยดีกว่า! ด้วยโปรแกรมคำนวณการวางแผนการเกษียณของกรุงไทย หลังจากนี้ก็แค่ทำตามแผนอย่างสม่ำเสมอ เราเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตในวันข้างหน้าของทุกคนพบกับความมั่นคงและมั่งคั่งอย่างแน่นอน
Ref.
https://www.setinvestnow.com/th/financialplanning/retirement-planning