9 เทคนิคการตั้งชื่อบริษัทมงคล ตั้งชื่อร้านให้รวย
9 เทคนิคการตั้งชื่อบริษัทมงคล ให้ร่ำรวยรุ่งเรือง
หากคุณเป็นเจ้าร้าน เจ้าของบริษัท เตรียมเปิดร้าน เปิดบริษัท ขยายสาขา หรือทำแบรนด์ใหม่ขั้นตอนตั้งชื่อร้าน ตั้งชื่อบริษัทเป็นเรื่องสำคัญ ไม่เพียงแค่ชื่อโดดเด่น สะดุดหู จำง่าย หาเจอเร็วแล้ว ชื่อที่ตั้งต้องเป็นมงคล กรุงไทยจึงรวม 9 เทคนิคตั้งชื่อบริษัทมงคล ตั้งชื่อร้านให้รวย ค้าขายรุ่งเรือง ยอดขายปังๆ มาฝากทุกๆ คนกัน
ข้อดีของการมีชื่อบริษัทที่ดี
1.บ่งบอกตัวตนหรือธุรกิจ
2.มีผลต่อภาพลักษณ์
3.มีจุดยืนในตลาด
4.แตกต่างจากคู่แข่ง
ความเชื่อเกี่ยวกับชื่อบริษัทมงคล ชื่อร้านร่ำรวยศาสตร์ของตัวอักษร และตัวเลข
การตั้งชื่อร้าน ตั้งชื่อบริษัทมงคล ไม่เพียงแค่ตั้งจากชื่อที่ชอบเท่านั้น เจ้าของธุรกิจหลายๆ คนพึ่งศาสตร์ของตัวอักษร และตัวเลข รวมถึงต้องดูฤกษ์ประกอบด้วย เช่น ฤกษ์จดทะเบียนบริษัท ฤกษ์เปิดร้าน เลขศาสตร์แนะนำ เพื่อให้ชื่อบริษัทเป็นมงคลที่สุด และเชื่อว่าหากชื่อเป็นมงคลจะช่วยให้ธุรกิจร่ำรวยและรุ่งเรื่องนั่นเอง
9 หลักการตั้งชื่อบริษัท ชื่อร้าน ให้ค้าขายร่ำรวย
1. เลือกใช้คำที่มีความหมายในเชิงบวก สื่อถึงความก้าวหน้า เช่น มั่งคั่ง ร่ำรวย
ชื่อร้านค้าที่มีความหมายดี ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ และดึงดูดให้คนเข้าหา โดยต้องเลือกใช้คำที่เป็นมงคล มีความหมายในเชิงบวกและสื่อถึงความก้าวหน้า สำหรับเจ้าของธุรกิจที่อยากเพิ่มความเก๋โดยใช้ภาษาวัยรุ่นให้ศึกษาที่มาที่ไปและความหมายของคำให้ดี เพราะอาจมีความหมายแฝงในด้านลบได้
2. สะกดง่าย ออกเสียงไม่ยาก
เจ้าของธุรกิจทุกคนล้วนอยากให้ชื่อบริษัท ชื่อร้านจดจำง่าย ดังนั้นหลักในการตั้งชื่อจึงควรเป็นชื่อที่ออกเสียงง่าย และสะกดง่าย เพื่อให้ผู้บริโภคไม่สับสน เมื่อนึกชื่อร้านค้าแล้วออกเสียงถูก เขียนถูก ทำให้ค้นหาร้านค้าได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์
ที่สำคัญชื่อที่สะกดง่ายจะทำให้การติดต่อราชการหรือดำเนินธุรกิจ เช่น การสัญญาซื้อขาย เช็คสั่งจ่าย รวมไปถึงการจัดทำเว็บไซต์เป็นไปอย่างราบรื่น ลดปัญหาการเขียนเอกสารสำคัญต่างๆ ผิดพลาดในอนาคต
3. ไม่ยาวจนเกินไป เน้นสั้น กระชับ จำง่าย
ชื่อบริษัท ชื่อร้านไม่ควรยาวเกินไป เพื่อให้จดจำง่าย เข้าใจความหมายได้ไม่ยาก และควรสื่อถึงสินค้าของร้าน ให้รู้ว่าร้านค้าเป็นร้านค้าขายสินค้าประเภทใด เกี่ยวกับอะไร เมื่อลูกค้าอยากซื้อสินค้าจะได้นึกถึงชื่อร้านค้าของคุณ
4. ง่ายต่อการจดจำตรงกับภาพลักษณ์ของแบรนด์
ถ้าร้านค้ามีภาพลักษณ์หรือคอนเซ็ปต์ร้านที่ชัดเจน สามารถตั้งชื่อร้านค้าโดยเลือกจุดโดดเด่นของร้านมาตั้ง เช่น ร้านค้าที่ขายต้นไม้ หรือตกแต่งด้วยต้นไม้ อาจหยิบคำว่า ร่มรื่น สวน หรือ tree มาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อร้านได้
5. ตั้งชื่อให้เข้ากับประเภทของกิจการ
พิจารณาจากประเภทกิจการที่ประกอบ ได้แก่ ลักษณะห้างหุ้นส่วน ลักษณะบริษัทจำกัด บริษัทจำกัดมหาชน เพราะเจ้าของธุรกิจที่เชื่อในศาสตร์ของตัวเลข ค่าของตัวอักษรในคำเหล่านี้ต้องอยู่กับชื่อด้วย
6. หลีกเลี่ยงการใช้คำย่อมาตั้งเป็นชื่อร้านค้า
ชื่อย่อช่วยให้คนจดจำ และสามารถสื่อสารทำการตลาดได้ง่าย นิยมใช้กับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ แต่สำหรับธุรกิจ SME ในช่วงเริ่มต้น ควรใช้ชื่อร้านค้าชื่อเต็มเป็นหลัก เพราะหากใช้ชื่อย่ออาจจะซ้ำกับบริษัทอื่นได้ง่าย
7. ไม่ควรตั้งชื่อซ้ำหรือใกล้เคียงบริษัท และร้านค้าอื่นๆ
ตั้งชื่อบริษัทหรือร้านค้าที่ตั้งต้นจากสินค้า หรือคอนเซ้ปต์ร้านค้า ไม่ควรตั้งชื่อซ้ำหรือใกล้เคียงบริษัทและร้านค้าอื่นๆ เพื่อป้องกันผู้บริโภคเข้าใจผิด และป้องกันการฟ้องร้องจากบริษัทที่มีชื่อเสียง สร้างปัญหาระหว่างเจ้าของธุรกิจ
ดังนั้นควรเช็กให้ชัวร์ว่าชื่อร้านค้าที่ใช้ไม่มีซ้ำ ได้ที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจร้านค้า กระทรวงพาณิชย์ www.dbd.go.th กดเลือกจองชื่อ/ตรวจคำขอจดทะเบียนนิติบุคคล
8. มีความแปลกใหม่ น่าสนใจ
ปัจจุบันธุรกิจ SME นิยมตั้งชื่อร้านค้าให้มีความแปลกใหม่และน่าสนใจ โดยใช้วิธีตั้งชื่อผ่านการเล่นคำ การเล่นเสียง การเลียนเสียงธรรมชาติ ภาษาวัยรุ่น หรือการใช้คำไทยผสมภาษาต่างประเทศ ช่วยสร้างสีสันและดึงดูดความน่าสนใจของลูกค้าที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้อย่างดี
9. เผื่อขยายกิจการในอนาคต
หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรย่อและคำย่อ เพราะยากต่อการขยายกิจการสาขา รวมถึงไม่ตั้งชื่อเฉพาะเจาะจง ชื่อร้านตามสถานที่ตั้ง เพราะอาจมีปัญหาเรื่องทำเลในอนาคต หรือการตั้งชื่อตามชื่อบุคคล เพราะไม่สร้างความดึงดูดใจให้ลูกค้า หากลูกค้าไม่รู้จักบุคคลนั้นๆ
ขั้นตอนการจดทะเบียนชื่อบริษัท
1. ค้นหาชื่อในเว็บไซต์ dbd.go.th เพื่อเช็กชื่อซ้ำกับบริษัทที่เคยจดทะเบียนไปแล้วหรือไม่
2. จองชื่อ และยื่นแบบต่อนายทะเบียนด้วยตัวเอง ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
3. จดทะเบียนนิติบุคคลผ่านอิเล็กทรอนิกส์ ได้ที่ https://ereg.dbd.go.th/ERegistMemberWeb/nonmemberpages/home.xhtml
ตรวจสอบสถานะการจองชื่อได้ทางอีเมลที่ใช้จอง และต้องนำชื่อไปจดทะเบียนภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันรับรอง ดูรายละเอียดการจดชื่อนิติบุคคลได้ที่ www.dbd.go.th
สำหรับเจ้าของธุรกิจ SME ที่กำลังเปิดสาขา ขยายกิจการ หรือมองหาเงินลงทุน กรุงไทยพร้อมเป็นกำลังใจด้วยสินเชื่อ SME และ สินเชื่อเงินด่วนออนไลน์
- สินเชื่อ SME ไซส์เล็ก: สินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดเล็ก แค่ใช้แอปถุงเงิน ไม่ต้องมีหลักประกัน กู้ได้สูงสุด 2 ล้านบาท (บสย.ค้ำประกัน) ผ่อนได้นาน 7 ปี ผ่อนดี ผ่อนตรงเวลา ลดดอกเบี้ยทันที 1% ปีถัดไป
- กรุงไทยใจป้ำ : สินเชื่อเงินด่วนอนุมัติเร็ว ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน กู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดาและร้านค้ารายย่อย ผ่อนหมื่นละ 10 บาท โดยกู้ได้สูงสุดถึง 1 ล้านบาท
*เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
theluckyname.com
itax.in.th
thairath.co.th
smeleader.com