Green Machinery พลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมไทย สู่การผลิตสีเขียวที่เติบโตอย่างยั่งยืน
อัปเดตวันที่ 9 ส.ค. 2567
Krungthai Compass
Green Machinery พลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมไทย สู่การผลิตสีเขียวที่เติบโตอย่างยั่งยืน
Key Highlights
-
ถึงเวลาแล้วที่ภาคอุตสาหกรรมไทยจะมุ่งสู่การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จากเดิมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษค่อนข้างสูง ซึ่งหากไม่ดำเนินการหรือปรับตัวช้าอาจเผชิญกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน (Transition risk) โดยเฉพาะด้านกฎระเบียบของประเทศคู่ค้าที่เข้มงวดขึ้น จนส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
-
3 เทคโนโลยีเครื่องจักรที่ช่วยเปลี่ยนผ่านไปสู่การผลิตสีเขียวให้กับภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทย โดยเฉพาะธุรกิจที่เผชิญแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อมอย่างโรงงานผลิตเหล็ก โรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม และโรงงานผลิตเคมีภัณฑ์ ได้แก่ 1) เทคโนโลยีการนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุนพลังงาน 2) เทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต ช่วยลดระยะเวลาการหยุดชะงักของเครื่องจักรและลดต้นทุนการบำรุงรักษา และ 3) เทคโนโลยีปั้มและวาล์วอัจฉริยะช่วยประหยัดต้นทุนพลังงาน คาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนราว 8.0 1.5 และ 1.8 ล้านบาทต่อโรงงาน และคืนทุน 3-6 ปี มี ROI 19.6% 20.0% และ 27.2% ตามลำดับ
-
Krungthai COMPASS แนะนำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตเตรียมพร้อมปรับเปลี่ยนเครื่องจักรอย่างจริงจัง โดยเริ่มตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจนและวัดได้ อีกทั้งผู้ผลิตเครื่องจักรควรมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เชี่ยวชาญ นอกจากนั้น ภาครัฐต้องเป็นแกนหลักในการผลักดันให้เกิดการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ของภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม โดยภาคการเงินจะเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยสนับสนุนเงินลงทุนในการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ทีม Marketing Strategy
9 สิงหาคม 2567
ดาวน์โหลด
Green Machinery พลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมไทย สู่การผลิตสีเขียวที่เติบโตอย่างยั่งยืน
(2.29 MB) PDF
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง