ข่าวและประกาศ

มาตรฐาน The Common Reporting Standard (CRS)

อัพเดทวันที่ 16 ต.ค. 2566


มาตรฐาน CRS

  1. การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินแบบอัตโนมัติ : The Common Reporting Standard (CRS)
    คืออะไร การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินแบบอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า Common Reporting Standard (CRS) ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development : OECD) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีและเสริมสร้างความโปร่งใสในการเข้าถึงและจัดเก็บภาษี ผ่านกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินระหว่างประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกรอบความร่วมมือเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษี (Global Forum on Transparency and Exchange of Information for Tax Purposes ) และเป็นภาคีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินแบบอัตโนมัติ Multilateral Competent Authority Agreement on Automatic Exchange of Information (MCAA CRS)
  2. สถาบันการเงินเป็นผู้มีหน้าที่รายงานหรือไม่
    รัฐบาลไทยได้ออกพระราชกำหนดการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาษีอากร พ.ศ. 2566 (“พ.ร.ก. CRS”) โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา เพื่อให้ประเทศไทยสามารถดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่มีได้ ธนาคารในฐานะผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลตาม พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าว จึงมีหน้าที่ต้องตรวจสอบบัญชีทางการเงินที่อยู่ใน ความครอบครองของธนาคาร เพื่อกำหนดสถานะบัญชีทางการเงินที่ต้องถูกรายงานและนำส่งข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับบัญชีดังกล่าวให้แก่กรมสรรพากรของประเทศไทยเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับประเทศคู่สัญญาต่อไป (ปัจจุบันมีประเทศที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินกับประเทศไทยจำนวน 113 ประเทศ โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ mofcrs.pdf (rd.go.th)
  3. ทุกธนาคารในประเทศไทยต้องดำเนินการตามข้อกำหนด CRS หรือไม่
    พ.ร.ก. CRS มีผลบังคับใช้กับสถาบันการเงินผู้มีหน้าที่รายงานตามนิยามใน พ.ร.ก. CRS ทุกแห่งในประเทศไทย ซึ่งรวมถึง ธนาคารต่าง ๆ สถาบันรับฝากสินทรัพย์ นิติบุคคลที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการลงทุนหรือบริษัทประกันที่กำหนด

ทีม Marketing Strategy
16 ตุลาคม 2566

แนะนำสำหรับคุณ