เรียนรู้การเงิน

เทคนิควางแผนการเงินให้รอด ในยุคที่ทุกอย่างไม่แน่นอน

อัพเดทวันที่ 5 ต.ค. 2564


       ในยุคที่หลายสิ่งหลายอย่างมีการเปลี่ยนแปลงพร้อม ๆ กัน ทั้งเทคโนโลยีดิทิจัลและการแพร่ระบาดของโควิด 19 เราจะบริหารจัดการเงินอย่างไรให้รอด นี่คือโจทย์ใหญ่ของใครหลายคน ที่ต้องการจะข้ามผ่านห้วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้ไปให้ได้ เพื่อที่จะยืนหยัดอย่างแข็งแกร่งต่อไปในอนาคต

        New Normal Personal Financial จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งแผนบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคล ตามวิถี ปฏิบัติใหม่ที่เราอยากจะแนะนำให้ทุกคน


       1. การทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย เป็นประจำ ซึ่งควรทำให้เป็นนิสัย แล้วจะรู้ว่าเงินเข้า-เงินออกอย่างไร จ่ายหนักตรงไหนเกินไปหรือเปล่า ยิ่งทุกวันนี้ มีเครื่องไม้เครื่องมือดิจิทัลเป็นผู้ช่วย สามารถบันทึกผ่านแอปฯ ยิ่งง่ายและสะดวกกว่าเดิม ดาวน์โหลดติดเครื่องไว้ใช้ฟรี ๆ ได้เลย เช่น MeTang (มีตังค์), Spendee ฯลฯ เครื่องมือทั้งหมดนี้จะช่วยติดตามการใช้จ่าย และจัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่าย เพื่อให้คุณสามารถดูได้ว่า ใช้เงินไปกับอะไรบ้าง ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ทำให้คุณบริหารจัดการการเงินได้ดีขึ้น


       2. Reskill และ Up skill ตัวเองอยู่เสมอ กระตือรือร้นที่จะเพิ่มและเสริมทักษะใหม่ ๆ ให้กับตัวเองตลอดเวลา จะได้เป็นที่หมายปองของนายจ้างหรือบริษัทที่มั่นคง ไม่ให้ปันใจไปจ้างพนักงานใหม่ เพราะอย่างน้อย ๆ คุณก็ทำให้พวกเขาเห็นว่า มีควาทมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะพัฒนาศักยภาพของตัวเอง ไม่หยุดอยู่กับที่ โดยทุกวันนี้มีแหล่งเรียนรู้ฟรีทางออนไลน์ในหลากหลายสาขาวิชาให้เลือกเรียนได้แบบจุใจ พร้อมกับการันตีความรู้ ด้วยการมอบวุฒิบัตร/ประกาศนียบัตรมากมาย เช่น คอร์สเรียนออนไลน์ฟรี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula MOOC), คอร์สเรียนออนไลน์มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol MOOC), คอร์สเรียนออนไลน์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU MOOC), คอร์สเรียนออนไลน์มหาวิทยาลัยไซเบอร์ (Thai MOOC), คอร์สเรียนออนไลน์ Skillane, คอร์สเรียนออนไลน์ Alison, คอร์สเรียนออนไลน์ EDX Course และ คอร์สเรียนออนไลน์ Udemy เป็นต้น

       3. ไม่พลาดที่จะติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในแวดวงธุรกิจการเงินต่าง ๆ เพื่อให้รู้เท่าทันเหตุการณ์ โดยเฉพาะข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์ที่มีความน่าเชื่อถือ จากธนาคารกรุงไทย ผ่าน “ความรู้คู่ธุรกิจ” ที่เปรียบเสมือนคลังข้อมูลที่เป็นประโยชน์จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเคล็ดลับการทำธุรกิจ, การบริหารองค์กร, การตลาด, กระแสธุรกิจเอสเอ็มอี,การส่งออก, การบริหารภาษี และการบริหารเงินทุน ซึ่งจะทำให้คุณรอบรู้เกี่ยวกับโลกธุรกิจและการเงิน ซึ่งถือเป็นองค์ความรู้ที่ดี ในการต่อยอดสู่การบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ


       4. อย่าพึ่งรายได้ทางเดียว มุ่งหารายได้เสริม ในวิกฤตโควิด 19 อาจทำให้ใครหลายคนรายได้หดหาย จากการที่บริษัทลดเงินเดือน หรือลดสวัสดิการบางอย่างลงไป ทำให้รายรับที่ได้ ไม่ครอบคลุมรายจ่าย ดังนั้น วิธีการแก้ที่ดีคือ นอกจากจะตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปแล้ว ก็ควรจะต้องหารายได้เสริมด้วย ซึ่งในโลกออนไลน์มีช่องทางมากมายให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นขายของออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดีย และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ, การรับจ้างงานฟรีแลนซ์ด้านต่าง ๆ ที่ Fastwork หรือการเค้นทักษะความเชี่ยวชาญที่ตัวคุณเองมี มาปั้นคอร์สสอนออนไลน์เองเลยก็ได้ และหากคอร์สสอนออนไลน์ของคุณได้รับความนิยม ก็จะกลายเป็น Digital Asset ที่มีคุณค่า เป็นแหล่งรายได้ที่คุณสามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดไป

       5. ออมเงินกับธนาคารผ่านบัญชีเงินฝาก สำหรับใครที่ยังพอไหว ก็ต้องแบ่งสรรปันส่วนเงินที่มีอยู่ให้ดี โดยการเก็บออมเงิน ซึ่งก็มีหลากหลายวิธี แต่ที่นิยม สำหรับการฝากเงินกับธนาคารกรุงไทย ได้แก่ บัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง อย่าง Krungthai NEXT Savings ที่เราเคยแนะนำไปแล้ว และยังมีบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี Krungthai Zero Tax Max โดยบัญชีเงินฝากประจำจะไม่ถูกหักภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก แถมยังสมัครง่าย ไม่ยุ่งยาก เลือกฝากประจำได้ตามสะดวกจะเป็น 24 เดือน 36 เดือน หรือนานสูงสุด 48 เดือนก็ได้ หรือจะเลือกฝาก เงินฝากประจำกรุงไทย รับดอกเบี้ยในอัตราที่แน่นอน ตอบโจทย์การออมเพื่ออนาคตได้จริง เหมาะกับทุกคน ทั้งเจ้าของธุรกิจ, อาชีพอิสระ และพนักงานที่มีรายได้ประจำ อีกทั้งยังเลือกออมได้หลายระยะเวลา ไม่ว่าจะเป็นเงินฝากประจำ 3 เดือน, 6 เดือน หรือ 12 เดือน โดยต้องฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท ส่วนเงินฝากประจำ 24 เดือน และ 36 เดือน ต้องฝากขั้นต่ำ 10,000 บาท รายละเอียดเพิ่มเติมศึกษาได้ที่ www.krungthai.com หรือธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา


       6. ออมเงินผ่านการลงทุน ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ การจัดสรรเงินลงทุน (Asset Allocation) คือการกระจายลงทุนในหลายสินทรัพย์ทั่วโลก เป็นการลงทุนแบบ Fund of Funds ที่อยู่ภายใต้การบริหาร และการจัดการของบริษัท โดยจะลงทุนในกองทุนใดกองทุนหนึ่งไม่เกิน 79% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และมีผู้จัดการกองทุนคอยติดตามดูวัฏจักรเศรษฐกิจให้ตลอดเวลาในระยะยาว อีกทั้งจะคอยเพิ่มหรือลดนํ้าหนักสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับภาวะตลาดให้กับเรา

ซึ่งขั้นตอนการลงทุนแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้

  • Macro เป็นการศึกษาภาพใหญ่ของเศรษฐกิจโลกและนโยบายต่าง ๆ ที่จะมีผลต่อสินทรัพย์
  • Fundamental ประเมินปัจจัยพื้นฐาน คำนวณ Valuation และความสัมพันธ์ของสินทรัพย์ต่าง ๆ
  • Technical ติดตามแนวโน้มราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อดูจังหวะที่เหมาะสมในการซื้อ-ขาย
  • Fund Review ตรวจสอบกองทุนปลายทาง โดยเฉพาะกองทุน FIF ถึงการเปลี่ยนแปลงของ Master Fund
  • Asset Allocation รวบรวมการวิเคราะห์จากทั้ง 4 ขั้นตอน มาจัดน้ำหนักการลงทุนให้เหมาะสม

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลิก

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือขอหนังสือชี้ชวนที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา โทร 02-111-1111

ทั้งนี้ New Normal Personal Financial ทั้ง 6 ข้อที่เราแนะนำ สามารถลงมือทำพร้อม ๆ กันได้เลย เพื่อรีเซ็ทแผนบริหารจัดการ การเงินส่วนบุคคลของคุณใหม่ ทำให้แม้ในอนาคตต่อให้เจออีกกี่วิกฤต เราก็เชื่อว่าคุณจะผ่านมันไปได้อย่างแข็งแกร่ง อย่างแน่นอน