เรียนรู้การเงิน

6 วิธีวางแผนการเงิน เพื่อความมั่นคงในอนาคต

อัพเดทวันที่ 18 ธ.ค. 2563

ชีวิตจะมีความมั่งคั่งถ้าวางแผนการเงินตั้งแต่วันนี้ หากยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นยังไง วันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับ “วิธีวางแผนการเงิน” มาฝากกัน หากเกิดปัญหาหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันจะได้เตรียมตัวรับมือได้ทันเวลา พร้อมปูทางสร้างอิสรภาพทางการเงินตลอดชีวิตคุณ

1. รู้จักตัวเองด้วยการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

6 วิธีวางแผนการเงิน เพื่อความมั่นคงในอนาคต

หากที่ผ่านมาคุณใช้ชีวิตอย่างมีอิสระ ไปกินข้าว ดูหนัง จัดทริปท่องเที่ยวสุดพิเศษ หรือช้อปปิ้งทุกสิ่งที่ต้องการ เรียกว่าเปย์ตัวเองแบบจัดเต็ม ต้องระวังให้ดี ถ้านิดหน่อยพอให้ดีต่อใจก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าใช้จ่ายเพลินเกินไปจนขาดสติ สภาพคล่องทางการเงินของเราอาจอยู่ในระดับเดือนชนเดือน เผลอ ๆ อาจเหลือไม่พอใช้ถึงสิ้นเดือนด้วยซ้ำ ยิ่งปล่อยไว้นาน ๆ คงไม่ดีแน่ ส่วนเรื่องเก็บเงินก้อน หรือการวางแผนทางการเงินเพื่อรองรับวัยเกษียณหรือลงทุนในอนาคตคงหมดหวังไปได้เลย

เพราะฉะนั้นการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายจึงเป็นจุดเริ่มต้นการวางแผนการเงินที่ดีที่สุด เราจะเห็นว่าตัวเองมีรายรับจากกี่ช่องทาง จำนวนทั้งหมดเท่าไร ใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง ทั้งรายจ่ายรายเดือนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัว ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หนี้บัตรเครดิต ฯลฯ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน ค่าสังสรรค์ ฯลฯ นอกจากจะรู้ว่าเงินของเราไปอยู่ตรงไหนบ้างแล้ว ยังทำให้เห็นว่าควรลดรายจ่ายไหนที่ไม่จำเป็น และที่สำคัญคือ รายรับต้องมากกว่ารายจ่าย เพราะเราจะได้แบ่งเงินจากรายรับมาเก็บออมตามแผนเพื่อบรรลุเป้าหมายของตนเองและช่วยให้เราวางแผนการเงินในอนาคตได้ดีขึ้น

2. วางแผนการออมเงินตามเป้าหมายชีวิต

การวางแผนการออมเงินเพื่อเป้าหมายในชีวิต

เพราะเป้าหมายทำให้เรามีแรงผลักดัน ฉะนั้น เราควรตั้งเป้าหมายชีวิตเพื่อวางแผนการใช้เงินและกำหนดทิศทางการออมเงินให้สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ เช่น ต้องการเก็บเงินซื้อบ้าน ซื้อรถ เที่ยวต่างประเทศ แต่งงาน เรียนต่อ ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน เป็นต้น หากยังไม่แน่ใจหรือไม่มีเทคนิคการเก็บออมในใจ อาจเริ่มต้นด้วยการแบ่งเงินจากรายได้ ประมาณ 10-20% มาเก็บออมไว้ทันที หากกลัวว่าจะเก็บเงินไม่อยู่ สามารถใช้การตัดผ่านบัญชีอัตโนมัติ ในระหว่างนี้ก็ศึกษาหาข้อมูลด้านการวางแผนทางการเงินและการเก็บออมเพิ่มเติมไปด้วย แล้วนำมาประยุกต์ให้เหมาะกับตนเอง ไม่ว่าเป้าหมายจะเล็กหรือใหญ่แค่ไหนก็เป็นไปได้แน่นอน

3. เก็บเงินสำรองฉุกเฉินเมื่อเกิดเรื่องไม่คาดฝัน

สาเหตุที่การวางแผนการเงินนั้นสำคัญมาก ก็เพราะว่าชีวิตคนเรามักไม่แน่นอน หากพรุ่งนี้คุณต้องตกงาน กิจการขาดทุนหนัก หรือต้องใช้เงินก้อนโตกะทันหัน เงินสำรองฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ต้องมีให้พร้อม ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นเมื่อไรก็หยิบเงินก้อนนั้นมาใช้ได้เลย ซึ่งควรมีกระแสเงินสดอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายทั้งหมด เช่น คุณมีรายจ่ายต่อเดือนทั้งหมด 10,000 บาท คุณจึงควรจะวางแผนการเงินและมีเงินสำรองฉุกเฉินประมาณ 30,000-60,000 บาท เพื่อให้สภาพคล่องยังดำเนินต่อไปแม้ชีวิตจะไม่เหมือนเดิมก็ตาม

4. วางแผนค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพ

หลายคนอาจจะคิดว่า ที่ผ่านมาเราใช้ชีวิตดีมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือพักผ่อนอย่างเพียงพอแล้วก็ตาม แต่โรคภัยไข้เจ็บก็อาจเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว แถมค่าใช้จ่ายยังสูงอีกด้วย ดังนั้น เราต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าจ้างพยาบาลพิเศษหากเป็นโรคร้ายและไม่สามารถดูแลตัวเองได้ หรือค่าใช้จ่ายสำหรับบ้านพักคนชรา ซึ่งวางแผนการเงินเพื่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทำได้หลายวิธี ทั้งการออมเงินเป็นประจำทุกเดือนด้วยตนเอง หรือการซื้อประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ หรือประกันโรคร้ายแรงไว้ก็ช่วยได้อีกทางหนึ่ง

ให้คุณหมดกังวลกับค่ารักษา ด้วยความคุ้มครองที่ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก กับ iHealthy จากกรุงไทย – แอกซ่า

การวางแผนทางการเงินเพื่อสุขภาพกับประกันชีวิต iHealthy m

ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าประกันชีวิตผู้ชี้ช่องให้ทำประกันชีวิตเท่านั้น ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง ผลประโยชน์ ความคุ้มครองและข้อยกเว้น เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในกรมธรรม์

5. วางแผนการเงินเพื่อชีวิตเกษียณที่มั่งคั่งและมีความสุข

วางแผนการใช้เงินสำหรับชีวิตวัยเกษียณ

คำถามที่ว่าควรวางแผนการเงินสำหรับชีวิตเกษียณเมื่อไรดี? คำตอบคือควรเริ่มต้นตั้งแต่ตอนนี้ดีที่สุด เพื่อปูทางสู่ความมั่งคั่งในอนาคต แถมยังมีโอกาสใช้ชีวิตตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และความต้องการของตนเองได้โดยไม่ลำบาก การวางแผนทางการเงินอาจเริ่มต้นจากการคำนวณคร่าว ๆ ว่า ตอนนี้คุณอายุเท่าไร ต้องการเกษียณตอนไหน และอยากมีเงินใช้เดือนละเท่าไร เช่น ตอนนี้คุณอายุ 30 ปี ต้องการเกษียณตอนอายุ 55 ปี และอยากมีเงินใช้หลังจากเกษียณเดือนละ 20,000 บาท (เสียชีวิตตอนอายุ 80 ปี) เท่ากับว่าคุณมีเวลา 25 ปีในการเก็บเงิน และใช้เงินหลังเกษียณอีก 25 ปีเช่นกัน เพราะฉะนั้นคุณต้องมีเงินก้อนประมาณ 6,000,000 บาทนั่นเอง

เริ่มต้นลงทุน เพื่อเป็นการวางแผนการเงินวัยเกษียณกับธนาคารกรุงไทย เลือกลงทุนในกองทุน RMF คลิก

หรือลงทุนให้เงินทำงานแทนเรากับกองทุนรวมต่างประเทศ คลิก

ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลของกองทุนรวม ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน นโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่างๆ ก่อนตัดสินใจลงทุน ศึกษารายละเอียดหรือขอหนังสือชี้ชวนที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา

6. ลงทุนให้เงินทำงานแทนเรา

เพื่อให้เงินที่เราหามาได้งอกเงยขึ้นอย่างมีคุณค่าและสามารถทำกำไรได้ในระยะยาว การวางแผนทางการเงินด้วยการลงทุนนับเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจมากทีเดียว เพราะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าการเก็บเงินไว้เฉย ๆ แถมยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่ลงทุนและระดับความเสี่ยงที่รับได้ ซึ่งปัจจุบันมีเทคนิคการลงทุนให้เลือกมากมาย เช่น ลงทุนให้หุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้ หรือสินทรัพย์ทางเลือกอย่างทองคำ น้ำมัน อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ มีให้เลือกทั้งการลงทุนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว สามารถเริ่มต้นลงทุนเงินก้อนใหญ่ หรือแบบถัวเฉลี่ยเท่ากันทุกเดือน (DCA) ก็ได้ตามที่สะดวก งานนี้เหมาะกับทุกคน ทั้งหน้าใหม่ที่เริ่มต้นลงทุนไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญที่จับจังหวะตลาดได้ดีอีกด้วย สนใจวางแผนการเงินโดยการลงทุนแบบ DCA คลิก

ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลของกองทุนรวม ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน นโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่างๆ ก่อนตัดสินใจลงทุน ศึกษารายละเอียดหรือขอหนังสือชี้ชวนที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา

       หากคุณเป็นอีกคนที่อยากวางแผนการเงินอย่างจริงจัง เราเชื่อว่าวิธีเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยที่ดีให้คุณได้ และขอย้ำอีกครั้งว่า ยิ่งเริ่มต้นวางแผนการเงินเร็วเท่าไร ความมั่นคงและมั่งคั่งทางการเงินย่อมเกิดขึ้นเร็วเท่านั้น