เรียนรู้การเงิน

จัดพอร์ตลงทุนให้เหมาะกับช่วงตลาดหุ้นผันผวน

อัพเดทวันที่ 29 ต.ค. 2563

ด้วยความหลากหลายของสินทรัพย์ในโลกของการลงทุน ทำให้ทางเลือกในยุคปัจจุบันมีหลากหลายมากขึ้นทั้ง พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้น REIT อนุพันธ์ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ โดยสินทรัพย์แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดรูปแบบของผลตอบแทน รูปแบบความเสี่ยง และกลไกการทำงานต่างๆมากมายที่ส่งผลกระทบกับเงินลงทุนของนักลงทุนด้วยความแตกต่างเหล่านี้ทำให้เกิดแนวคิดการจัดสรรพอร์ตลงทุน (Asset Allocation) เพื่อกระจายความเสี่ยง ลดความผันผวนที่เกิดขึ้นในยามที่เกิดผลเสียหายกับสินทรัพย์ในพอร์ต และสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงในระยะยาว

วิกฤตโรคระบาดและเหตุการณ์ความวุ่นวานทางการเมืองถือว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญที่นักลงทุนหลายคนจะปรับกลยุทธ์ลงทุนระยะสั้นเพื่อลดความเสี่ยงรวมถึงความผันผวนของผลตอบแทน ในขณะเดียวกันก็มองหาโอกาสสร้างผลตอบแทนที่เกิดขึ้นในวิกฤตความวุ่นวายต่างๆเช่นกัน ซึ่งวิธีการที่นักลงทุนใช้ในการปรับพอร์ตเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในระยะสั้นควรเป็นไปในทิศทางนี้

ถือสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำในสัดส่วนที่มากขึ้น

สินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำจะมีลักษณะเด่นคือความผันผวนของผลตอบแทนเฉพาะตัวมีน้อย แม้อัตราผลตอบแทนจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นได้ว่าจะได้รับผลตอบแทนอย่างมั่นคง เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ภาคเอกชน

ความผันผวนต่ำเป็นสิ่งที่นักลงทุนส่วนใหญ่ยอมรับได้ในยามที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง เศรษฐกิจซบเซา และสถานการณ์ทางการเมืองที่วุ่นวาย เพราะการลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนอยู่มาก เมื่อเทียบกับการถือครองสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำที่เงินลงทุนยังคงอยู่อย่างมั่นคง หลายคนก็เลยปรับพอร์ตให้สินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำมีน้ำหนักมากขึ้นในช่วงเวลาเหล่านี้ เช่น เดิมทีมีหุ้นในประเทศไทยเป็นสัดส่วน 70% และ 30% ที่เหลือลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ เมื่อเริ่มมีความวุ่นวายในประเทศเกิดขึ้นก็ลดสัดส่วนหุ้นดังกล่าวให้เหลืออยู่เพียง 40% และเพิ่มสัดส่วนตราสารหนี้มากขึ้นเป็น 60% เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดทุนระยะสั้นที่เป็นผลมาจากความวุ่นวายทางการเมือง

ขายสินทรัพย์ถือเงินสดเอาไว้ปลอดภัยที่สุด

นักลงทุนบางคนอาจจะรู้สึกว่าในสถานการณ์อันวุ่นวายความเสี่ยงก็ยังคงมีซ่อนอยู่ในการลงทุนทุกรูปแบบ แทนที่จะเลือกปรับสัดส่วนสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงไปไว้ที่สินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ เราสามารถขายสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงทั้งหมดเพื่อเก็บเงินลงทุนในรูปแบบของเงินสดได้

การถือครองเงินสด นอกจากจะให้ความอุ่นใจเพราะนับเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดแล้ว ยังเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง พร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ลงทุนชนิดอื่นได้ตามต้องการ เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเห็นโอกาสการลงทุนเข้ามา ก็สามารถลงทุนโดยใช้เงินสดที่ถือครองอยู่ได้ทันที

เพิ่มโอกาสการลงทุนด้วยสินทรัพย์ชนิดอื่น

การลดความเสี่ยงนับเป็นวิธีหนึ่งของการปรับพอร์ตในช่วงวิกฤต แต่นักลงทุนที่มีความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญมากพออาจจะใช้วิธีที่แตกต่าง เพราะในทุกวิกฤตจะมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ ในบางครั้งสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองอาจนำมาซึ่งโอกาสสร้างผลตอบแทนจากสินทรัพย์รายตัวชนิดอื่น เช่น

  • การลงทุนในหุ้นไทยช่วงที่มีความวุ่นวายทางการเมือง อาจจะทำให้ตลาดหุ้นซบเซาลงไป แต่ในต่างประเทศอย่างสหรัฐฯหรือจีนราคาหุ้นอาจจะกำลังเติบโตได้ดีต่อเนื่อง เป็นจังหวะดีที่จะโยกย้ายเงินลงทุนจากหุ้นไทยไปหุ้นต่างประเทศเพื่อเพิ่มผลตอบแทนได้
  • ในช่วงที่มีสงครามการค้า ตลาดหุ้นทั่วโลกซบเซา สินทรัพย์ที่โดดเด่นขึ้นมาท่ามกลางความวุ่นวายคือทองคำ
  • ในบางเวลาที่เศรษฐกิจซบเซากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จ่ายผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอบางกองอาจจะมีราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น หากเรามองเห็นเป็นโอกาสที่ดีก็สามารถโยกย้ายเงินลงทุนได้ เป็นต้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งสำคัญที่สุดของการปรับพอร์ตลงทุนทั้งสามวิธีนี้คือ “ความเข้าใจ” ในสินทรัพย์แต่ละชนิด เราควรเข้าใจทุกแง่มุมของสินทรัพย์ที่จะลงทุนทั้งคุณสมบัติ รูปแบบของผลตอบแทน กรอบความผันผวนของผลตอบแทนที่คาดหวัง ความเสี่ยงเฉพาะ และความเสี่ยงทั้งหมดโดยภาพรวม เพื่อสร้างผลตอบแทนได้ตามที่คาดหวังได้ตามกรอบความผันผวนที่นักลงทุนยอมรับได้

ธนาคารกรุงไทยส่งเสริมให้ทุกท่านมีการออมเงินและจัดสรรเงินออมในการวางแผนการลงทุนเพื่ออนาคต ให้คุณได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นด้วยการนำเสนอ กองทุน Asset Allocation ลงทุนเป็นพอร์ต เหมาะสมกับผู้ไม่มีเวลาจัดสรรเงินลงทุนของตนเอง ได้แก่

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่อย่างไรก็ดีกองทุนนี้มีโนโยบายป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอหนังสือชี้ชวน ได้ที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา

ดาวน์โหลด
หนังสือชี้ชวน กองทุนเปิดกรุงไทยสุขใจ (KT-SUK)
หนังสือชี้ชวน กองทุนเปิดกรุงไทยสุขใจ (KT-SUK)  
(0.45 MB) PDF
หนังสือชี้ชวน กองทุนเปิดกรุงไทยศรีสิริ (KT-SRI)
หนังสือชี้ชวน กองทุนเปิดกรุงไทยศรีสิริ (KT-SRI)  
(0.46 MB) PDF
หนังสือชี้ชวน กองทุนเปิดกรุงไทยมั่งคั่ง (KT-MUNG)
หนังสือชี้ชวน กองทุนเปิดกรุงไทยมั่งคั่ง (KT-MUNG)  
(0.57 MB) PDF
หนังสือชี้ชวน กองทุนเปิดกรุงไทยมีทรัพย์ (KT-MEE)
หนังสือชี้ชวน กองทุนเปิดกรุงไทยมีทรัพย์ (KT-MEE)  
(0.53 MB) PDF