เรียนรู้การเงิน

ในสถานการณ์วิกฤต เราควรจัดพอร์ตการลงทุนอย่างไร

อัพเดทวันที่ 5 มิ.ย. 2563

โบราณกล่าวไว้ว่า “ทุกวิกฤต มีโอกาส” ซึ่งแน่นอนในช่วงวิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้จะต้องมีนักลงทุนหลายคนสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ เพราะปรับพอร์ตลงทุนเพื่อเอาตัวรอดจากความเสียหายได้ตามแผนที่วางเอาไว้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งสำคัญสำหรับการฝ่าฟันวิกฤตในทุกครั้ง จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในสินทรัพย์ที่ลงทุน แผนการรับมือ และวินัยที่จะทำตามแผน ซึ่งทั้งหมดจะถูกกำหนดด้วย “นโยบายการลงทุน”

นโยบายการลงทุน เป็นสิ่งที่นักลงทุนทุกคนควรสร้างไว้ตั้งแต่ก่อนลงทุน เปรียบเสมือนแผนที่ใช้นำทางบนโลกของการลงทุน โดยออกแบบตามเป้าหมายการเงิน ความสามารถในการรับความเสี่ยง ผลตอบแทนที่ต้องการ และกลยุทธ์ในช่วงเวลาต่างๆ

เช่น นักลงทุน ก. รับความเสี่ยงได้ปานกลาง วางเป้าหมายไว้ว่าจะลงทุนเพื่อการเกษียณ พอร์ตลงทุนที่จัดสรรมาตลอดก็คือลงทุนในตราสารหนี้ 60% และลงทุนในหุ้น 40% คาดหวังผลตอบแทนที่ 6% ลงทุนได้มาได้สามปีก็เจอวิกฤตเล่นงาน แต่โชคดีที่มี “แผนรับมือวิกฤต” กำหนดไว้ตั้งแต่แรกในนโยบายการลงทุน เมื่อไหร่ก็ตามที่ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดมากกว่า -5% ลงไป ถือเป็นสถานการณ์ที่ผิดปกติ วันนั้นเขาจะขายหุ้นทั้งหมดในพอร์ตแล้วย้ายไปเก็บเป็นเงินสดแทน แม้จะขาดทุนไปบ้างเล็กน้อยแต่พอร์ตลงทุนโดยรวมของเขายังมีตราสารหนี้เหลืออยู่อีก 60% ทำให้เงินลงทุนทั้งหมดของเขาไม่ได้รับความเสียหายหนัก

เมื่อไหร่ก็ตามที่สถานการณ์ดีขึ้น ตัวเลขเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวกลับมา เขาจะใช้เงินสดที่มีอยู่ซื้อหุ้นตามสัดส่วนกลยุทธ์เชิงรุกที่วางเอาไว้นั่นคือ “แผนสร้างโอกาส” โดยจะลงทุนในตราสารหนี้ 40% หุ้น 60% เพื่อคาดหวังผลตอบแทนที่เยอะขึ้น เมื่อไหร่ที่ทุกอย่างเริ่มกลับมาปกติ เขาจะปรับพอร์ตเงินลงทุนทั้งหมดเป็นสัดส่วนเดิมที่วางไว้ในนโยบาย นั่นคือ ตราสารหนี้ 60% และหุ้น 40%

นักลงทุน ก. เป็นตัวอย่างที่ดีของการลงทุนตามนโยบาย เมื่อไหร่ก็ตามที่มีแผนการและกลยุทธ์ที่ชัดเจนแล้ว การมีวินัยปรับพอร์ตลงทุนตามแผนการที่วางไว้ จะช่วยให้นักลงทุนสามารถเอาตัวรอดจากความเสียหายที่รุนแรงได้ในทุกวิกฤต รักษาเนื้อรักษาตัวและรักษาเงินลงทุนไว้ได้

นอกจากนี้ยังสามารถปรับพอร์ตลงทุนระยะชั่วคราวเป็นกลยุทธ์เชิงรุก เพื่อฉวยโอกาสจากการที่สินทรัพย์ลงทุนหลายชนิดปรับตัวลงมา ด้วยการเข้าซื้อในราคาถูก ลดความเสี่ยงในการขาดทุน และเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนได้อีกด้วย

หรือถ้านักลงทุนคนไหนไม่มีเวลาสับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้รวดเร็ว หรือไม่มีเวลาติดตามพอร์ตการลงทุน อาจจะใช้ วิธีกระจายความเสี่ยงลงไปในสินทรัพย์ต่างๆอย่างละเท่ากัน

เหมือนอย่างนักลงทุน ข. ที่จัดสรรนโยบายการลงทุนเน้นกระจายความเสี่ยงที่หลากหลาย โดยลงทุนกับ กองทุนรวมตลาดเงิน 20% กองทุนรวมตราสารหนี้ 20% กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 20% กองทุนรวมดัชนีหุ้นไทย 20% กองทุนรวมทองคำ 20% เพื่อกระจายผลเสียหายยามเกิดวิกฤต คาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 5% ก็พอ เพราะไม่มีเวลามากพอที่จะติดตามข้อมูลข่าวสาร และสภาวะการลงทุนในช่วงต่างๆ นักลงทุน ข. จึงใช้นโยบายสร้างสมดุลให้กับพอร์ตการลงทุนแบบนี้

แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถนำนโยบายการลงทุนของนักลงทุน ก. และ ข. ไปใช้ได้ เพราะเป้าหมายการเงิน ผลตอบแทนที่ต้องการ ความสามารถในการรับความเสี่ยง และมุมมองต่อการลงทุนของแต่ละคนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เป็นหน้าที่ของนักลงทุนที่จะต้องตามหานโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง สร้างพอร์ตลงทุนมาตรฐานตามความรู้ความเข้าใจที่มี และที่สำคัญต้องลงมือทำตามกลยุทธ์การปรับพอร์ตที่วางเอาไว้ในนโยบายลงทุนอย่างเคร่งครัดเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ไม่ควรปล่อยให้อารมณ์หรือความคิดของคนอื่นมามีผลกระทบต่อการตัดสินใจ เมื่อมีนโยบายลงทุนเป็นเหมือนแผนที่ชี้นำการลงทุนของตัวเองแล้ว ไม่ว่าพายุจะลูกใหญ่แค่ไหน ก็มั่นใจได้เลยว่าจะสามารถฝ่าฟันมันไปได้อย่างปลอดภัย และเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน

ลงทุนท่ามกลางความผันผวนกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย เพื่อจัดการความเสี่ยง กับกองทุนมั่งมีศรีสุข แบ่งออกเป็น 4 กองทุนได้แก่ กองทุนเปิดกรุงไทยมั่งคั่ง กองทุนเปิดกรุงไทยมีทรัพย์ กองทุนเปิดกรุงไทยศรีสิริ และ กองทุนเปิดกรุงไทยสุขใจ เน้นการจัดสรรเงินลงทุน (Asset Allocation) ในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลก เป็นการลงทุนแบบ Fund of Funds ที่อยู่ภายใต้การบริหาร และจัดการของบริษัท และจะลงทุนในกองทุนใดกองทุนหนึ่งไม่เกิน 79% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยมีผู้จัดการกองทุนที่คอยติดตามดูวัฏจักรเศรษฐกิจในระยะยาวและจะคอยเพิ่มหรือลดนํ้าหนักสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับภาวะตลาดให้กับเรา

กองทุนมั่งมีศรีสุข แบ่งออกเป็น 4 กองทุนได้แก่

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่อย่างไรก็ดีกองทุนนี้มีโนโยบายป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอหนังสือชี้ชวน ได้ที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาหรือคลิก https://www.ktam.co.th/mutual-fund-detail.aspx?IdC=22