ประกันอัคคีภัยคุ้มครองอะไรบ้าง? จำเป็นต้องทำไหม รวมทุกเรื่องที่คุณต้องรู้
สังเกตุได้ว่าในปัจจุบัน เราได้เห็นถึงภัยธรรมชาติที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็น พายุ น้ำท่วม หรือล่าสุดเมื่อเร็ว ๆ นี้ กับเหตุการณ์แผ่นดินไหว ทำให้หลายคนตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันเหล่านี้ และหนึ่งในวิธีสำคัญในการปกป้องทรัพย์สินอันมีค่าของคุณก็คือ ประกันอัคคีภัย นั่นเอง แล้ว ประกันอัคคีภัยคุ้มครองอะไรบ้าง? หาคำตอบได้ในบทความนี้
ประกันอัคคีภัยคุ้มครองอะไรบ้าง? และประเภทของภัยที่ประกันอัคคีภัยคุ้มครอง
หากคุณเคยสงสัยว่า “ประกันอัคคีภัยคุ้มครองอะไรบ้าง” คุ้มครองแค่เฉพาะเหตุเพลิงไหม้เท่านั้นหรือเปล่า จริง ๆ แล้ว ประกันอัคคีภัยไม่ได้คุ้มครองเฉพาะเหตุเพลิงไหม้เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงเหตุการณ์รุนแรงอื่น ๆ อาทิ
- ไฟไหม้ คุ้มครองความเสียหายจากเพลิงไหม้ ไม่ว่าจะเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ไฟป่า หรือความประมาท เช่น การลืมปิดเตาแก๊ส
- ฟ้าผ่า ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่เกิดจากฟ้าผ่าโดยตรง รวมถึงความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรเนื่องจากฟ้าผ่า ประกันอัคคีภัยก็คุ้มครอง
- ระเบิด เช่น ความเสียหายที่เกิดจากการระเบิดของแก๊สหรือวัตถุไวไฟต่างๆ
- ภัยจากการเฉี่ยวและหรือการชนของยานพาหนะหรือสัตว์: กล่าวคือ คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากการที่ยานพาหนะหรือสัตว์มาชนอาคาร หรือทรัพย์สินโดยตรง
- ภัยจากอากาศยานหรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน คุ้มครองความเสียหายจากวัตถุที่ตกจากเครื่องบินหรือยานพาหนะทางอากาศ
- ภัยเนื่องจากน้ำ เช่น น้ำรั่วจากท่อภายในบ้าน (แต่ไม่รวมน้ำท่วมจากภายนอก น้ำซึมจากฐานราก หรือท่อประปาแตกนอกอาคาร)
- ภัยธรรมชาติ รวมถึงลมพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด คลื่นใต้น้ำหรือสึนามิ และลูกเห็บ อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองภัยธรรมชาติมักมีวงเงินจำกัด ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์
และนอกจากภัยดังกล่าว บางกรมธรรม์อาจครอบคลุมถึงความเสียหายจากโจรกรรม หรือความเสียหายที่เกิดจากควันหรือคราบเขม่าจากไฟไหม้บ้านข้างเคียงด้วย
ความสำคัญของประกันอัคคีภัย
หลายคนอาจคิดว่าประกันอัคคีภัยเป็นเรื่องไกลตัว แต่ในความเป็นจริงการทำ ประกันอัคคีภัย สำคัญมากสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านหรือทรัพย์สิน? ลองจินตนาการถึงเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้น เช่น ไฟไหม้ที่เกิดจากการลัดวงจร หรือน้ำท่วมฉับพลันที่สร้างความเสียหายให้กับบ้านและทรัพย์สินของคุณ หากไม่มี ประกันอัคคีภัย คุณอาจต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือสร้างใหม่ทั้งหมด ซึ่งอาจเป็นเงินจำนวนมหาศาลและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อฐานะทางการเงินของคุณ ดังนั้น ประกันอัคคีภัย จึงเปรียบเสมือนเกราะป้องกันที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินและช่วยให้คุณสามารถฟื้นตัวจากเหตุการณ์เหล่านี้ได้เร็วขึ้น
ประกันอัคคีภัยคุ้มครองทรัพย์สินใดบ้าง?
เมื่อพูดถึง ประกันอัคคีภัยคุ้มครองอะไรบ้าง โดยทั่วไปแล้ว กรมธรรม์จะให้ความคุ้มครองทรัพย์สินหลัก ๆ ดังนี้
- คุ้มครองตัวบ้านและโครงสร้าง ซึ่งจะรวมถึงเสา ผนัง หลังคา พื้น รั้ว ประตู อาคารจอดรถ รวมถึงสิ่งปลูกสร้างถาวรอื่นๆ ที่อยู่บนดิน
- คุ้มครองทรัพย์สินภายในบ้าน ครอบคลุมเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน เครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้าน อุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องนุ่งห่ม
การคุ้มครองเพิ่มเติม
และนอกจากการคุ้มครองพื้นฐานแล้ว ประกันอัคคีภัย บางกรมธรรม์ยังมีการเสนอความคุ้มครองเพิ่มเติมที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เช่น
- คุ้มครองภัยต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ตัดไฟ (Breaker) และสายไฟ ครอบคลุมการเสียหายที่เกิดจากอุปกรณ์ตัดไฟ (Breaker) และสายไฟที่อาจเกิดการชำรุดหรือชำรุดลงจากเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิด ช่วยให้คุณไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เสียหายจากภัยที่ระบุไว้
- คุ้มครองค่าเช่าที่อยู่อาศัยชั่วคราว ในกรณีที่บ้านของคุณไม่สามารถอยู่อาศัยได้หลังเกิดภัย ประกันอัคคีภัย อาจช่วยออกค่าใช้จ่ายในการเช่าที่อยู่อาศัยชั่วคราว ทำให้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องที่พักพิงในระหว่างที่บ้านของคุณกำลังได้รับการซ่อมแซม
ซึ่งความคุ้มครองเหล่านี้ ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้เจ้าของบ้านมีความมั่นใจในทุกสถานการณ์ และลดความวิตกกังวลเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินขึ้นนั่นเอง
วิธีการเลือกประกันอัคคีภัย และควรซื้อทุนประกันอัคคีภัยเท่าไหร่?
หากคุณเริ่มสนใจที่จะทำ ประกันอัคคีภัย แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกประกันแบบไหนดีที่เหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณของคุณ เราขอแนะนำดังนี้
- เลือกจากความต้องการและงบประมาณ เช่น หากบ้านคุณตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ควรเลือกแบบที่ครอบคลุมภัยธรรมชาติ
- เพื่อให้คุ้มครองได้เต็มที่เมื่อเกิดเหตุ
- ประเมินมูลค่าทรัพย์สินหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างเหมาะสม เพื่อให้คุ้มครองได้เต็มที่เมื่อเกิดเหตุ หากประเมินต่ำเกินไป อาจได้รับค่าสินไหมทดแทนไม่ครบจำนวน เช่น บ้านพร้อมของใช้ภายในมูลค่ารวม 2 ล้านบาท ควรซื้อประกันอย่างน้อย 1.5-2 ล้านบาท เพื่อให้ครอบคลุมค่าซ่อมแซมหรือสร้างใหม่ได้อย่างเพียงพอ
ค่าใช้จ่ายและประโยชน์
ประกันอัคคีภัยแพงไหม? คำถามยอดฮิตที่หลายคนสงสัย และอาจรู้สึกกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายแต่เมื่อพิจารณาถึงประโยชน์ที่ได้รับในระยะยาวแล้ว จะพบว่าเบี้ยประกันนั้นคุ้มค่าอย่างยิ่ง ลองเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายรายปีเพียงเล็กน้อยกับความเสียหายหลักแสนหลักล้านที่อาจเกิดขึ้นได้ การมี ประกันอัคคีภัย ไม่เพียงแต่ช่วยลดภาระทางการเงินเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเท่านั้น แต่ยังมอบความอุ่นใจให้กับคุณและครอบครัวได้เป็นอย่างดี
สรุป ประกันอัคคีภัยคุ้มครองอะไรบ้าง? จำเป็นต้องทำไหม
เมื่อดูจากเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งที่เกิดในประเทศไทยและทั่วโลก จะเห็นว่าภัยพิบัติและเหตุไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน การมี “ประกันอัคคีภัย” จึงไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่คือการ “วางแผนป้องกันอนาคต” ที่ชาญฉลาดสำหรับเจ้าของบ้านและทรัพย์สินทุกคนหากคุณกำลังมองหาประกันอัคคีภัยที่น่าเชื่อถือ กรุงไทยขอแนะนำ ประกันอัคคีภัย ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกความเสี่ยง พร้อมสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมที่ออกแบบมาเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น ประกันอัคคีภัย เซฟ เซฟ
อุ่นใจทั้งบ้านและคอนโดมิเนียม ให้ความคุ้มครองสูงสุด 20 ล้านบาท อีกทั้งยังขยายความคุ้มครองสูงสุด 2,000,000 บาท หากเกิดเหตุจากภัยธรรมชาติ ภัยจากลมพายุ, ภัยจากน้ำท่วม, ภัยจากแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิดหรือคลื่นใต้น้ำ หรือสึนามิ, และภัยจากลูกเห็บ รวมถึงคุ้มครองที่อยู่อาศัยชั่วคราว สูงสุด 100,000 บาท
ผลิตภัณฑ์อีกตัวที่ขอแนะนำคือ ประกันอัคคีภัยบ้านปลอดภัย ดูแลคุ้มครองที่อยู่อาศัยจากภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับสิ่งปลูกสร้าง อาทิ ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยจากการเฉี่ยวและหรือการชนของยานพาหนะ หรือสัตว์พาหนะ ภัยจากอากาศยานและหรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำ คุ้มครองภัยธรรมชาติสูงสุด 100,000 บาท
หากสนใจผลิตภัณฑ์ประกันอัคคีภัย สามารถซื้อได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา
ข้อควรทราบ
ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าประกันวินาศภัยผู้ชี้ช่องให้ทำประกันวินาศภัยเท่านั้น | รับประกันวินาศภัยโดย บมจ. ชับบ์สามัคคีประกันภัย , บมจ.กรุงไทยพานิชประกันภัย | ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันวินาศภัยทุกครั้ง โดยผลประโยชน์ความคุ้มครองและข้อยกเว้น เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ | โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในกรมธรรม์