“แป้งมันแสงเพชร” ก้าวสู่โรงงานรักษ์โลก ด้วยพลังงานทางเลือก!
Business Highlights
- บริษัท แป้งมันแสงเพชร จำกัด ดำเนินธุรกิจผลิตแป้งมันสำปะหลัง หรือ Native Starch มากว่า 30 ปี โรงงานอยู่ในอำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ
- คุณศิวะ สุนทรีรัตน์ ผู้บริหารรุ่นที่ 2 มีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์ ได้พัฒนาระบบ Automation Control ขึ้นมาใช้ควบคุมการผลิตภายในโรงงานด้วยตนเอง ช่วยลดต้นทุนการลงทุนลงได้กว่า 4 เท่า
- เป็นผู้ประกอบการรายแรก ๆ ที่นำก๊าซชีวภาพ (Biogas) มาผลิตไฟฟ้าขายให้กับ กฟผ. และก๊าซส่วนที่เหลือมาใช้แทนน้ำมันเตาเพื่อลดการใช้พลังงานฟอสซิลในอุตสาหกรรม
- ลงทุนในระบบโซลาร์เซลล์ผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในโรงงาน ลดค่าไฟฟ้าได้ 20%
จุดเริ่มต้นของธุรกิจแป้งมันที่เติบโตมายาวนานกว่า 30 ปี
จากการผลิตมันเส้นและอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการทำธุรกิจตั้งแต่รุ่นคุณพ่อและคุณแม่ กระทั่งปรับเปลี่ยนสู่การผลิตแป้งมันสำปะหลัง เป็นเวลากว่า 30 ปีที่บริษัท แป้งมันแสงเพชร จำกัด คร่ำหวอดอยู่ในธุรกิจผลิตแป้งมันสำปะหลัง โดยปัจจุบัน คุณศิวะ สุนทรีรัตน์ คุณพัชรา สุนทรีรัตน์ และคุณศรัณ สุนทรีรัตน์ สามพี่น้องทายาทรุ่นที่ 2 ได้เข้ามารับช่วงการบริหารงานในบริษัท แป้งมันแสงเพชร จำกัด ในฐานะผู้บริหารเจเนอเรชันที่สอง
“คุณพ่อเห็นโอกาสทางธุรกิจเพราะแป้งมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบที่ถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายทั้งอุปโภคและบริโภค จึงได้เปลี่ยนจากการผลิตอาหารสัตว์มาผลิตแป้งมันสำปะหลังดิบ หรือ Native Starch ในปี 2534 ซึ่งปัจจุบันสินค้าของบริษัทยังเป็นแป้งมันสำปะหลังดิบ โดยจุดแข็งส่วนหนึ่งมาจากที่ตั้งโรงงานผลิตของเราอยู่ในพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง วัตถุดิบที่เราได้รับจึงสดใหม่มีคุณภาพดี แม้สินค้าจะเป็นตัวเดิมแต่สิ่งที่พัฒนาขึ้นคือกระบวนการผลิตที่เปลี่ยนใหม่ทั้งหมด จากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้ใหญ่บวกกับความรู้ทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน ส่งผลให้เราสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเยอะครับ” คุณศิวะผู้เป็นพี่ชายเล่าย้อนถึงจุดเปลี่ยนที่นำมาสู่ธุรกิจในปัจจุบัน
นอกจากนี้ บริษัท แป้งมันแสงเพชร จำกัด ยังนำน้ำเสียจากโรงงานมาผลิต Biogas หรือก๊าซมีเทน (Methane) ซึ่งเป็นก๊าซชีวภาพที่เกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ในภาวะไร้ออกซิเจน มาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าจำหน่ายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และก๊าซส่วนเกินนำมาใช้ในโรงงานในกระบวนการผลิตแทนการใช้พลังงานจากฟอสซิล รวมถึงการลงทุนทำโซลาร์ฟาร์มที่นำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้ในโรงงาน คุณพัชราผู้เป็นน้องสาวให้ข้อมูลเสริมว่า ทุกอย่างที่มีการลงทุนจะถูกศึกษาอย่างรอบด้าน 360 องศา “การติดตั้งโซลาร์เซลล์ทำให้เราสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึงประมาณ 20% เทียบกับก่อนหน้า โดยมีจุดคุ้มทุนรวมการบำรุงรักษาภายในระยะเวลาประมาณ 5 ปี ขณะที่ระบบ Automation Control ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตทั้งในแง่ของคุณภาพและปริมาณสินค้า ที่สำคัญกระบวนการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ ช่วยลดการใช้ทรัพยากรและลดการใช้พลังงานฟอสซิลที่ส่งผลทำร้ายโลกและทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่าลงไปได้มาก ซึ่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น ไม่เพียงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ต้องใช้พืชผลทางการเกษตรโดยตรงจากโรคพืชและสภาวะอากาศที่ทำให้ผลผลิตลดน้อยลง แต่ยังส่งผลกระทบต่อชีวิตของมนุษย์ทุกคนโดยรวมด้วย”
มั่นใจได้รับโอกาส ไม่พลาดเรื่องสำคัญ ใช้บริการกรุงไทย
สำหรับสิ่งที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยไม่ควรมองข้ามหากต้องการให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ คุณศิวะฝากไว้ว่า “ต้องรู้และเข้าใจจริง ๆ ว่าตัวเองกําลังทำสินค้าและบริการอะไร ทรัพยากรที่ธุรกิจต้องใช้คืออะไร และราคาเท่าไร เพราะหากไม่เข้าใจแม้แต่สิ่งที่ตัวเองกําลังทำอยู่ โอกาสที่จะอยู่รอดในยุคที่มีการแข่งขันสูงเป็นไปได้ยาก และยังต้องเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยี และที่ลืมไม่ได้คือ ต้องไม่ทิ้งเรื่องของการดูแลสิ่งแวดล้อมเพราะเป็นเทรนด์ของโลกอนาคต หากไม่ทำเรื่องเหล่านี้ธุรกิจของคุณจะต้องวิ่งตามหลังคนอื่น อย่างแน่นอน”
ขณะที่คุณพัชราเสริมในตอนท้ายว่า “ในการสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจ เรายังยึดวิธีคิดที่รอบคอบ เปิดรับเทคโนโลยีมาปรับให้เหมาะสมแต่ไม่ลงทุนอย่างผลีผลาม พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อมองหาโอกาสทางธุรกิจ เพราะโอกาสเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้รับโอกาสจากธนาคารกรุงไทยในการขยายกิจการให้เติบโตมาโดยตลอด และเรื่องไหนที่จะช่วยให้ธุรกิจไม่สะดุด ทางธนาคารก็เข้ามาช่วยเหลือเป็นอย่างดี สร้างความประทับใจมาอย่างยาวนาน ทั้งการบริการด้านส่งออก การทำธุรกรรมที่รวดเร็ว เพราะหากสะดุดหรือต้องรอ บางทีทำให้พลาดโอกาสสำคัญทางธุรกิจไปเลย แต่กรุงไทยคอยสนับสนุนตลอดกระบวนการ จึงมั่นใจได้ว่าเราจะไม่พลาดโอกาสสำคัญหากใช้บริการธนาคารกรุงไทยอย่างแน่นอน”
Lesson Learned
- ในการลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ แม้กระแสโลกจะชี้นำว่าเป็นแนวทางที่เหมาะสม ก็ควรต้องศึกษา ประเมินผลอย่างรอบด้านและถี่ถ้วน ทั้งต้นทุน ผลตอบแทน และระยะเวลาคุ้มทุน เพื่อให้มั่นใจว่าคุ้มค่าอย่างแท้จริง
- การบริหารงานร่วมกับผู้บริหารรุ่น 1 อาจมีช่องว่างเรื่องความเข้าใจในการลงทุนเทคโนโลยีใหม่ ๆ ควรสื่อสารด้วยข้อมูลที่ชัดเจน ผ่านการศึกษาอย่างละเอียด และมีแผนสำรองหากไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เพื่อสร้างความเข้าใจ มั่นใจ และให้เห็นเป้าหมายที่ตรงกัน
- การทำงานร่วมกันระหว่างพี่น้อง เมื่อรับผิดชอบการบริหารงานตามความถนัดของแต่ละบุคคล ก็ควรไว้วางใจในสิ่งที่แต่ละคนถนัด รับฟังซึ่งกันและกัน ช่วยทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- ระบบ Automation Control ไม่เพียงมุ่งที่ผลลัพธ์ในการผลิต แต่ยังให้ความสำคัญกับการแก้ไขจุดบกพร่องควบคู่กันไป ทำให้ใช้ทรัพยากรในการผลิตอย่างเต็มที่ไม่สูญเปล่า จึงช่วยลดต้นทุนลงได้มาก
- การสร้างความร่วมมือร่วมกับภาครัฐ หน่วยงาน และสถาบันต่าง ๆ ทำให้ได้รับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ สร้างโอกาสและข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันในตลาดได้ในอนาคต
ไม่พลาดความรู้ธุรกิจดีๆ Add LINE @KrungthaiSME คลิก