เงินทุนหมุนเวียน คืออะไร? มีเท่าไหร่ถึงเพียงพอ ทำความเข้าใจก่อนทำธุรกิจ
ในการทำธุรกิจ เงินทุนหมุนเวียนมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะเป็นปัจจัยที่สะท้อนศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ว่ากันว่าธุรกิจจะไปรอดหรือไม่ ส่วนหนึ่งมาจากการบริหารเงินทุนหมุนเวียนนั่นเอง สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นทำธุรกิจ หรือธุรกิจกำลังขาดสภาพคล่อง ลองมาเรียนรู้กันว่า เราจะบริหารเงินทุนหมุนเวียนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) คืออะไร
เงินทุนหมุนเวียน หรือ Working Capital คือ เงินสำรองระยะสั้นในการดำเนินธุรกิจ ที่จะช่วยให้ธุรกิจคล่องตัว ขยับขยายได้อย่างไม่ติดขัด และพร้อมตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นได้ เงินทุนหมุนเวียนจึงเปรียบเสมือนรากฐานของธุรกิจ หากมีเงินทุนหมุนเวียนมาก ก็ยิ่งมีความมั่นคง
ความสำคัญของเงินทุนหมุนเวียนต่อธุรกิจ/ เงินทุนหมุนเวียนสำคัญอย่างไร
การบริหารธุรกิจให้มีเงินทุนหมุนเวียนอย่างเหมาะสม จะช่วยรักษาสภาพคล่องทางการเงินให้กับธุรกิจ ทำให้จัดการกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อย่างคล่องตัว ลดความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ ที่อาจมีค่าปรับหรือดอกเบี้ยตามมา หากต้องการลงทุนเพิ่มก็ทำได้ทันท่วงที ยิ่งในปัจจุบันที่ตลาดเปลี่ยนไว ธุรกิจที่มีเงินทุนหมุนเวียนก็จะสามารถก้าวทันผู้บริโภค และสร้างผลกำไรได้ดี
เงินทุนหมุนเวียน มีกี่ประเภท
เมื่อพูดถึงเงินทุนหมุนเวียน มี 3 สิ่งที่ต้องรู้ก็คือ เงินทุนหมุนเวียน สินทรัพย์หมุนเวียน และหนี้สินหมุนเวียน เพราะทั้งหมดนี้คือตัวแปรสำคัญในการสร้างสภาพคล่องให้กับธุรกิจ
เงินทุนหมุนเวียน
เงินทุนหมุนเวียน หรือ Working Capital คือเงินทุนที่ธุรกิจใช้ในการดำเนินงานหรือจัดหาสินทรัพย์ต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
- เงินทุนหมุนเวียนถาวรหรือประจำ เป็นเงินสำรองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการทำธุรกิจ
- เงินทุนหมุนเวียนผันแปรหรือชั่วคราว เป็นเงินทุนที่สำรองไว้เป็นกรณีพิเศษ ใช้ในช่วงสั้น ๆ เช่น ใช้เพื่อการขยายกำลังการผลิตในช่วงเทศกาล หรือช่วงปลายปีที่บริษัทมีค่าใช้จ่ายสูง
สินทรัพย์หมุนเวียน
สินทรัพย์หมุนเวียน หรือ Current Assets คือสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 1 ปี หลัก ๆ จะแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
- เงินสด สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุด สามารถใช้ได้ทันทีเมื่อมีความจำเป็น และต้องมีไว้เพื่อชำระหนี้ได้ตรงเวลา
- ลูกหนี้การค้า สินทรัพย์ประเภทนี้มักพบในธุรกิจประเภทเงินเชื่อ ที่มักนำส่งสินค้าหรือบริการไปก่อนค่อยรับเงินภายหลัง มีสภาพคล่องน้อยกว่าเงินสด
- สินค้าคงเหลือ เป็นสินค้าที่เหลืออยู่ในคลังยังไม่ได้ขายออกไป สินค้าคงเหลือตัวนี้จะมีสภาพคล่องน้อยกว่าเงินสดและลูกหนี้ แต่อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนชั้นดีของธุรกิจผลิต และธุรกิจซื้อมาขายไป
หนี้สินหมุนเวียน
หนี้สินหมุนเวียน หรือ Current Liabilities คือภาระหนี้สินที่ธุรกิจต้องชำระออกภายในช่วงระยะเวลา 1 ปี แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
- เจ้าหนี้การค้า จากการซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อดำเนินธุรกิจตามปกติ โดยจะต้องชำระเงินเมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้
- ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในงวดบัญชีปัจจุบัน โดยบริษัทได้นำไปสินค้าหรือบริการไปใช้ประโยชน์แล้ว แต่ยังไม่ได้ชำระเงิน เช่น ค่าเช่าอาคาร หรือค่าจ้างต่าง ๆ
ธุรกิจควรมีเงินทุนหมุนเวียนเท่าไร
เมื่อเราทราบแล้วว่าหนี้สินหมุนเวียน สินทรัพย์หมุนเวียน และเงินทุนหมุนเวียนคืออะไร เราก็จะสามารถคำนวณเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจได้ โดยใช้สูตร
เงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน - หนี้สินหมุนเวียน
หากอยากทราบว่าธุรกิจควรมีเงินหมุนเวียนเท่าไหร่ ให้ดูเบื้องต้นว่ามีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียนหรือไม่ ถ้ามีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ แปลว่าธุรกิจของเราอาจเผชิญกับปัญหาหรือความเสี่ยงได้ แต่อย่างไรก็ตาม การมีเงินทุนหมุนเวียนมากเกินไป ก็อาจทำให้ธุรกิจเสียโอกาสในการเติบโตเช่นกัน แนะนำให้สำรองเงินทุนหมุนเวียนไว้ให้พอดีกับรายจ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ หรือเหมาะสมกับรูปแบบการทำธุรกิจ เช่น ธุรกิจซื้อมาขายไป อาจต้องการเงินทุนหมุนเวียนน้อยกว่าธุรกิจการผลิต ที่ต้องลงทุนผลิตสินค้าจำนวนมาก
วิธีบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง?
เงินทุนหมุนเวียนคือหัวใจของการทำธุรกิจ เมื่อพบว่าเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจมีน้อยเกินไป หรือกำลังติดลบ ควรรีบหาทางออกโดยเร็วที่สุด วิธีการเบื้องต้นมีดังต่อไปนี้
- ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น : ลองสำรวจค่าใช้จ่ายดูว่ารายจ่ายใดที่ไม่จำเป็น หรือสามารถปรับลดได้ โดยไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจ เช่น การจัดเลี้ยง สัมมนาต่าง ๆ หรือออกมาตรการให้พนักงานร่วมกันใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด จนเมื่อธุรกิจกลับมาแข็งแกร่ง ก็สามารถเพิ่มค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นกำลังใจให้กับพนักงานได้
- บริหารจัดการคลังสินค้าคงเหลือ : ต้นทุนส่วนหนึ่งจมอยู่ในสินค้าคงคลัง จึงต้องบริหารสต๊อกให้ดี มีเก็บไว้ส่วนหนึ่ง และขายออกเพื่อดึงเงินสดกลับมาหมุนเวียนในธุรกิจ ติดตามการชำระเงินของลูกหนี้ : ตรวจเช็คและติดตามลูกหนี้ที่ยังค้างชำระ หรือมีกำหนดชำระอยู่ให้ชำระเงินตรงเวลา เป็นการเพิ่มสภาพคล่องได้อีกทางหนึ่ง
หากลองบริหารเงินทุนหมุนเวียนตามวิธีการข้างต้นแล้วยังไม่ได้ผล ขอแนะนำให้หาสินเชื่อที่ข้อเสนอดี ๆ มาเป็นตัวช่วยเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจ ยกตัวอย่างสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางของธนาคารกรุงไทย ที่มีให้เลือกหลายโปรแกรมดังนี้
- สินเชื่อ SME วงเงิน X3 สินเชื่อสำหรับธุรกิจที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียน หรือธุรกิจที่กำลังเติบโตและต้องการเงินทุนเพิ่ม รับวงเงินสูงสุด 3 เท่า ของมูลค่าหลักประกัน แต่ไม่เกิน 20 ล้านบาท หากไม่มีหลักประกันก็กู้ได้สูงสุด 3 ล้านบาท โดย บสย.ค้ำประกันเต็มวงเงิน
- สินเชื่อ SME ไซส์เล็ก สำหรับร้านค้ารายย่อย กู้ได้แม้ไม่มีหลักประกัน ตอบโจทย์พ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการเติมสต๊อก ขยายร้าน หรือเปิดสาขาใหม่ ขายออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม เช่น Lazada, Shopee หรือมีแอปพลิเคชันถุงเงิน หรือเครื่อง EDC กรุงไทยก็กู้ได้ง่ายๆ ให้วงเงินสูงสุด 3 ล้านบาท โดย บสย.ค้ำประกันเต็มวงเงิน ดอกเบี้ย 3.5% ต่อปี คงที่ 2 ปีแรก
-
สินเชื่อ SME รักกันยาว ๆ สินเชื่อ สินเชื่อสำหรับธุรกิจที่มียอดขายมากกว่า 100 ล้านบาท เพื่อเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนในกิจการหรือการขยายกิจการ เช่น ลงทุน/ซ่อมแซม/ปรับปรุงสินทรัพย์ถาวร ผ่อนสบายนานสูงสุด 10 ปี วงเงินสูงสุด 75 ล้านบาท
เงินทุนหมุนเวียนคือเบื้องหลังความแข็งแกร่งของธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME จำเป็นต้องมีเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง และสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจ ดังนั้น หากพบว่าเงินทุนหมุนเวียนมีไม่มากพอ หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการปรับปรุงกิจการ อย่ารอช้า เพราะธนาคารกรุงไทยช่วยคุณได้