เรียนรู้การเงิน

เคล็ดลับซื้อประกันสุขภาพแบบไหน ลดหย่อนภาษีได้คุ้มที่สุด

อัพเดทวันที่ 25 ต.ค. 2567

เคล็ดลับซื้อประกันสุขภาพแบบไหนลดหย่อนภาษี

ในทุก ๆ ปีผู้ที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปีต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งการเตรียมตัววางแผนบริหารภาษีจะช่วยให้เกิดการเตรียมการเพื่อเสียภาษีได้ถูกต้อง ครบถ้วน และสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้น้อยลง ไม่ต้องเสียภาษีมากจนเกินไป รวมถึงไม่ต้องชำระภาษีเพิ่มหรือเสียเบี้ยปรับโดยใช่เหตุ

หนึ่งในสิทธิลดหย่อนภาษีที่กฎหมายภาษีกำหนด คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่รัฐบาลมอบให้แก่ผู้เสียภาษีที่ซื้อ ประกันสุขภาพ ซึ่งสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายไปมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ สิทธิลดหย่อนจากการซื้อประกันสุขภาพนี้จะช่วยให้ผู้มีรายได้สามารถลดภาระภาษีและส่งเสริมให้มีการคุ้มครองสุขภาพมากขึ้น


บทบาทของประกันสุขภาพในการช่วยลดหย่อนภาษี

ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีจะช่วยลดภาระภาษี เพราะการซื้อประกันสุขภาพทำให้ผู้เสียภาษีสามารถนำเบี้ยประกันที่จ่ายไป มาหักลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งมีประโยชน์คือช่วยประหยัดภาษีในแต่ละปี และช่วยให้ผู้ซื้อประกันมีเงินคงเหลือมากขึ้นหลังจากการคำนวณภาษี

ทั้งนี้ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ เพราะไม่มีทางรู้ว่าความเจ็บป่วยจะเดินทางมาถึงเมื่อไหร่ ประกันสุขภาพจะช่วยลดภาระค่ารักษาพยาบาลที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้ไม่ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่สำหรับค่ารักษาพยาบาลเมื่อมีเหตุฉุกเฉินหรือเจ็บป่วยหนัก และช่วยวางแผนสุขภาพและการเงินระยะยาว การได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีจากการซื้อประกันสุขภาพเป็นแรงจูงใจให้คนเริ่มสนใจวางแผนเรื่องสุขภาพและการเงินระยะยาว เพราะช่วยในการเตรียมตัวล่วงหน้าในการรักษาพยาบาลนั่นเอง


ค่าลดหย่อนภาษีคืออะไร

ค่าลดหย่อนภาษี คือ สิทธิประโยชน์อย่างหนึ่งตามกฎหมายประมวลรัษฎากรที่ช่วยให้เสียภาษีน้อยลง โดยภาครัฐต้องการจะสนับสนุนประชาชนเพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมบางอย่าง โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ปี ดังนั้นประชาชนผู้เสียภาษีต้องคอยติดตามเงื่อนไขเป็นประจำ เพื่อวางแผนลดหย่อนภาษีให้ได้อย่างเหมาะสม และคุ้มค่าที่สุด


ซื้อประกันสุขภาพช่วยลดหย่อนภาษีได้อย่างไร?

ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี และเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี


ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้ โดยเบี้ยประกันสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดยอัตราค่าลดหย่อนภาษีนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของประกัน และค่าเบี้ยประกันที่เราจ่ายตามจริงในแต่ละปีตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด


3.1 ประกันสุขภาพ

  • ประกันสุขภาพสำหรับตัวเอง คือ ประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันรายบุคคล โดยผู้เอาประกันสามารถเลือกแผนความคุ้มครองให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของตนเอง โดยค่าเบี้ยประกันจะคำนวณตามเพศและอายุของผู้เอาประกัน หากอยากทำประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี ธนาคารกรุงไทยมีประกันสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล HEALTH DIY มีจุดเด่นผลิตภัณฑ์ คือ
    - คุ้มครองค่ารักษาฯแบบเหมาจ่าย สูงสุด 300,000 บาทต่อปี สามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ป่วยนอก โรคร้ายแรง หรือชดเชยรายวัน เพื่อเติมเต็มความมั่นใจในชีวิต เบี้ยฯเริ่มต้นเพียง 2,150 บาทต่อปี
    - มีบัตรประกันสุขภาพ (Care Card) ให้ผู้เอาประกันภัยใช้สิทธิได้ที่โรงพยาบาลในเครือโดยไม่ต้องสำรองจ่าย

คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล HEALTH DIY

อีกหนึ่งตัวที่เป็นประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้ คือ ประกันสุขภาพกรุงไทยเหมาให้ มีจุดเด่นผลิตภัณฑ์คือ

  • วงเงินสูง คุ้มครองครบ เหมาจ่ายค่ารักษาฯ สูงสุด 2,000,000 บาทต่อปี เบี้ยฯเริ่มต้น 9,282 บาทต่อปี โดยให้ความคุ้มครองทั้งผู้ป่วยใน (IPD) ผู้ป่วยนอก (OPD) โรคร้ายแรง และอุบัติเหตุ 
  • เพิ่มเติมความคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรักษาฯในสถานพยาบาล สูงสุด 500 บาท ต่อครั้ง
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ประกันสุขภาพแผนกรุงไทยเหมาให้
  • ประกันสุขภาพสำหรับพ่อแม่ ประกันสุขภาพพ่อแม่ คือ ประกันสำหรับคุ้มครองพ่อแม่จากการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ หรือโรคร้ายแรงต่างๆ ตามเงื่อนไขที่บริษัทประกันกำหนด
  • ประกันสุขภาพของคู่สมรส คือ ประกันสุขภาพที่หนึ่งในคู่สมรสมีสิทธิรวมคู่สมรสของตัวเองเข้าในแผนประกันสุขภาพ โดยคู่สมรสสามารถรับสิทธิความคุ้มครองจากประกันสุขภาพนี้ได้

4. สิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีของประกันสุขภาพและเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อน

ประกันสุขภาพลดหย่อนได้เท่าไหร่? สำหรับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีจากการซื้อประกันสุขภาพสามารถแบ่งได้ ดังนี้

4.1 ประกันสุขภาพตนเอง

ผู้ที่ทำประกันสุขภาพให้ตัวเอง สามารถนำเบี้ยไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท แต่กรณีทำประกันสุขภาพ ร่วมกับประกันชีวิตทั่วไปหรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต ต้องไม่เกิน 100,000 บาท/ปี หรือทำร่วมกับประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำเบี้ยรวมไปหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 200,000 บาท/ปี

  • เงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีของประกันสุขภาพสำหรับตัวเอง
    1.ประกันสุขภาพจะให้ความคุ้มครองสุขภาพ ทั้งกรณีเจ็บป่วยด้วยโรคภัยต่าง ๆ และด้วยอุบัติเหตุ สำหรับประกันสุขภาพที่นำมาลดหย่อนได้ คือ ประกันให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บปวดและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
    2.ประกันอุบัติเหตุ เฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะและการแตกหักของกระดูก
    3.ประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)
    4.ประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long-Term Care)

    โดยเงื่อนไขการนำประกันสุขภาพของตัวเองมาลดหย่อนภาษีนั้นต้องทำกับบริษัทประกันในประเทศไทย 

4.2. ประกันสุขภาพพ่อแม่

ประกันสุขภาพพ่อแม่สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน ซึ่งจะหักตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินคนละ 15,000 บาท หมายถึง ลดหย่อนพ่อได้ไม่เกิน 15,000 บาท และลดหย่อนแม่ได้ไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่า รายได้ของพ่อแม่ต้องไม่เกิน 30,000 บาท/ปี ถึงจะนำมาลดหย่อนภาษีได้

  • เงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีของประกันสุขภาพสำหรับพ่อแม่
    ประกันสุขภาพสำหรับพ่อแม่เป็นประเภทเบี้ยประกันสุขภาพที่นำมาลดหย่อนได้ เหมือนกับประกันสุขภาพตัวเอง โดยตัวเรา/คู่สมรส ต้องเป็นลูกแท้ ๆ ตามกฎหมายของพ่อแม่ (ลูกบุญธรรมไม่ได้) และพ่อแม่ต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้ต้องมีเราหรือพ่อแม่คนใดคนหนึ่งที่อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีนั้น ๆ
    ยกตัวอย่างการแบ่งจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่กับพี่น้องตัวเองจะสามารถลดหย่อนได้สูงสุดตามจำนวนยอดเงินหารเฉลี่ยด้วยจำนวนพี่น้องที่ร่วมจ่าย เช่น จ่าย 15,000 ร่วมกันจ่ายกับพี่น้อง 3 คน ลดหย่อนต่อคนสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท เป็นต้น

4.3 ประกันสุขภาพคู่สมรส

ประกันสุขภาพของคู่สมรส ถ้าคู่สมรสไม่มีเงินได้ สามารถนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินคนละ 15,000 บาท

  • เงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีของประกันสุขภาพสำหรับคู่สมรส
    ประกันสุขภาพของคู่สมรส ผู้ยื่นจะต้องมีเอกสารรับรองการชำระเบี้ยประกันของสุขภาพของคู่สมรสที่ชัดเจนจากบริษัทประกันภัย

ประกันสุขภาพลดหย่อนได้เท่าไหร่ ตัวอย่างการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับพ่อแม่

ข้อควรระวังในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

  • สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนซื้อประกัน ก่อนซื้อประกันสุขภาพทั้งสำหรับตัวเอง พ่อแม่ และคู่สมรส คือความต้องการด้านสุขภาพและการคุ้มครองที่ต้องศึกษาอย่างละเอียดว่าครอบคลุมอะไรบ้าง เช่น การรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยนอก ค่าผ่าตัด ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาโรคเรื้อรัง เป็นต้น รวมไปถึงค่าเบี้ยประกันที่อยู่ในงบประมาณ ข้อยกเว้นและเงื่อนไขต่าง ๆ
  • ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข คือ การถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังพร้อมดอกเบี้ยและค่าปรับ ทั้งยังอาจเสียสิทธิในการลดหย่อนภาษีในอนาคตในปีภาษีถัดไป
  • ข้อผิดพลาดทั่วไปในการขอลดหย่อนภาษีที่ต้องระวัง คือ การกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง การยื่นหลักฐานไม่ครบ การใช้สิทธิซ้ำซ้อน หรือการลดหย่อนเกินสิทธิที่กำหนดที่อาจทำให้ต้องคืนเงินส่วนเกินและเสียค่าปรับ

การเลือกประกันที่ช่วยลดหย่อนภาษีให้คุ้มค่าที่สุดควรพิจารณาหลายปัจจัย ทั้งประเภทของประกัน ผลประโยชน์ที่ได้รับ และการบริหารภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเลือกกรมธรรม์ที่ให้ผลตอบแทนหรือความคุ้มครองตรงความต้องการ โดยการซื้อประกันสุขภาพ นอกจากช่วยลดหย่อนภาษีแล้วยังเป็นการสร้างความมั่นคงทางการเงินและสุขภาพระยะยาวอีกด้วย

เคล็ดลับซื้อประกันสุขภาพแบบไหนลดหย่อนภาษีได้คุ้มที่สุด | ธนาคารกรุงไทย แนะนำการซื้อประกันสุขภาพที่ช่วยลดหย่อนภาษีได้อย่างคุ้มค่า พร้อมเคล็ดลับการเลือกแบบประกันสุขภาพให้ตรงกับความต้องการและงบประมาณ