เรียนรู้การเงิน

เปรียบเทียบกองทุน SSF RMF Thai ESG ลงทุนตัวไหนดี พร้อมวิธีจัดการกองทุนและวางแผนภาษี

อัปเดตวันที่ 20 ต.ค. 2567

เปรียบเทียบกองทุน SSF RMF Thai ESG พร้อมวางแผนภาษี

ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในปัจจุบัน มีบทบาทสำคัญที่ทำให้การวางแผนการเงินและการลงทุนกลายเป็นเรื่องที่ไม่สามารถมองข้ามได้ โดยเฉพาะการลงทุนกับกองทุนเพื่อความมั่นคงในอนาคต ที่จะช่วยลดความเสี่ยง เสริมสุขภาพทางการเงินที่ดี และสะสมความมั่งคั่งในระยะยาวให้แก่คุณ

บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับกองทุนที่เป็นที่นิยมและมีความสำคัญในบริบทการลงทุนของปี 2567 อย่าง กองทุน SSF (Super Savings Fund), RMF (Retirement Mutual Fund), และ Thai ESG (Environmental, Social, and Governance Fund) สู่การบรรลุเป้าหมายทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ


รู้ก่อนลงทุนเปรียบเทียบกองทุน SSF, RMF และ Thai ESG ฉบับเข้าใจง่าย

ในโลกการลงทุนที่มีทางเลือกมากมายให้เลือก การเข้าใจความแตกต่างระหว่างกองทุนในแต่ละประเภท เป็นสิ่งสำคัญเพื่อการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณได้เข้าใจและรับรู้ถึงข้อดีของกองทุน เราจะพาคุณไปเจาะลึกกับสามกองทุนยอดนิยมในปัจจุบัน รวมถึงเปรียบเทียบกองทุน SSF, RMF และ Thai ESG และวิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถเลือกลงทุนได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการ


กองทุน ssf ตัวไหนดี 2567


1. กองทุน SSF (Super Savings Fund)

กองทุน SSF หรือ Super Savings Fund เป็นหนึ่งในรูปแบบการลงทุนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะตอบโจทย์ความต้องการในการออมและการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกองทุน SSF เป็นการลงทุนระยะยาวที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถสะสมเงินออมเพื่ออนาคต โดยเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ๆ เช่น หุ้น, พันธบัตร และทรัพย์สินที่มีศักยภาพในการเติบโตอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดาอีกด้วย

เมื่อเปรียบเทียบกองทุน SSFกับกองทุนอื่น ๆ แล้ว หนึ่งในจุดเด่นของกองทุน SSF คือสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มอบให้กับผู้ลงทุน โดยมีระยะเวลาถือครอง 10 ปี นับตั้งแต่วันซื้อ ผู้ลงทุนสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 200,000 บาทต่อปีแต่ต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ เวลาการถือครอง 10 ปีแบบวันชนวัน เคล็ดลับการเลือกกองทุน SSF ที่ตอบโจทย์: ศึกษารายละเอียดการดำเนินงานของกองทุน รวมถึงผลตอบแทนที่เคยได้รับ เมื่อเลือกกองทุนที่มีประวัติการทำงานที่ดีและมีแนวโน้มการเติบโตในระยะยาวจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการลงทุนได้ และควรตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพราะการเลือกกองทุนที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าจะช่วยให้คุณสามารถรักษาผลตอบแทนที่ดีได้มากขึ้นนั่นเอง ตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้ว ไปดูกันดีกว่าว่าจะลงทุนกองทุน SSF ตัวไหนดี 2567

  • KTSTPLUS-SSF 
    กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้น พลัส (ชนิดเพื่อการออม) 
    เน้นตราสารหนี้ระยะสั้น ทั้งในและต่างประเทศ
    ระดับความเสี่ยง : 4 เสี่ยงปานกลางค่อนข้างตํ่า

    จุดเด่นกองทุน
    - เน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นระดับ Investment Grade
    - มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

  • KTWC-MODERATE-SSF
    กองทุนเปิดกรุงไทย World Class Moderate (ชนิดเพื่อการออม) 
    กองทุนผสมทั่วโลกคุณภาพดี เน้นสมดุล คุมความเสี่ยง
    ระดับความเสี่ยง: 5 เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง

    จุดเด่นกองทุน
    - เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงปานกลางรักษาสมดุลของความเสี่ยงและผลตอบแทน (ลงทุนเฉลี่ยในตราสารหนี้ 50% ,หุ้น 50%)
    - มีผู้เชี่ยวชาญการลงทุนระดับโลกเลือกลงทุนให้
    - ลงทุนได้ทุกสภาวะตลาด
    - ไม่ต้องปรับพอร์ตเอง

  • KT-TECHNOLOGY-SSF
    กองทุนเปิดเคแทม World Technology (ชนิดเพื่อการออม)
    เน้นหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก ที่มีคุณภาพ และแนวโน้มเติบโตสูง
    กองทุนหลัก : Fidelity Funds - Global Technology Fund Y-ACC-USD
    ระดับความเสี่ยง : 7 เสี่ยงสูง

    จุดเด่นกองทุน
    - เน้นลงทุนในหุ้นที่มีความเกี่ยวข้องจากความก้าวหน้าหรือการพัฒนาเทคโนโลยี - ลงทุนได้อย่างยืดหยุ่นโดยไม่มีข้อจำกัด โดยจะลงทุนในหุ้นประมาณ 50-100 บริษัทในหลายกลุ่ม หลายประเทศ* - กองทุนหลักมุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

ศึกษารายละเอียดกองทุน SSF เพิ่มเติม ได้ที่ : ktam.co.th/rmf-ltf.aspx

คำเตือน : กองทุนนี้มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน | ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | กองทุนบางกองทุนอาจมีนโยบายการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมจึงอาจมีความเสี่ยงและความผันผวนของราคาสูงกว่ากองทุนรวมทั่วไปที่มีการกระจายการลงทุนในหลายอุตสาหกรรม | ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน Thai ESG , SSF และ RMF ก่อนการตัดสินใจลงทุน กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษีจะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน | ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวนได้ที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา


2. กองทุน RMF (Retirement Mutual Fund)

กองทุน RMF หรือ Retirement Mutual Fund คือรูปแบบการลงทุนที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณเตรียมพร้อมสำหรับการเกษียณอย่างมั่นคง และช่วยให้คุณสามารถวางแผนการเงินได้อย่างมีระเบียบและเป็นระบบ โดยกองทุนนี้เน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว เช่น หุ้น พันธบัตร และสินทรัพย์อื่น ๆ ที่เหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุนระยะยาว

จุดเด่นของกองทุน RMF นั้นมาพร้อมกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ดึงดูดใจนักลงทุนอย่างมาก คุณสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 500,000 บาทต่อปีแต่ต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ โดยเงื่อนไขคือต้องลงทุนต่อเนื่อง 5 ปีติดต่อกันและขายได้เมื่ออายุครบ 55 ปี

เคล็ดลับการเลือกกองทุน RMF ที่ตอบโจทย์: สิ่งแรกที่ควรศึกษาก่อนการลงทุนคือรูปแบบการดำเนินงานของกองทุน, รวมถึงผลตอบแทนที่เคยได้รับ พร้อมพิจารณาถึงแผนการเกษียณในอนาคต จากนั้นพิจารณาส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดการและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เพราะกองทุนที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ จะช่วยเพิ่มผลตอบแทนได้

จะเห็นได้ว่าการลงทุนในกองทุน RMF เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างความมั่นคงทางการเงินในช่วงวัยเกษียณ ด้วยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่น่าสนใจ การเลือกกองทุนที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าจะมีเงินพอเพียงสำหรับการใช้ชีวิตอย่างสบายหลังเกษียณแน่นอน หากคุณสนใจลงทุนและเริ่มตั้งคำถามว่า กองทุน RMF ตัวไหนดี ในปี 2567 บทความนี้ก็มีทางเลือกให้คุณได้เลือกเก็บไว้เป็นลิสต์ในใจก่อนลงทุน

กองทุน RMF ตัวไหนดี 2567

  • RMF4
    กองทุนเปิดกรุงไทยตลาดเงินเพื่อการเลี้ยงชีพ
    เน้นตราสารหนี้ภาครัฐลงทุนเฉพาะในประเทศ
    ระดับความเสี่ยง: 1 เสี่ยงต่ำ

    จุดเด่นกองทุน
    - เน้นลงทุนในตราสารภาครัฐไทย
    - มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
  • KTWC-MODERATE RMF
    กองทุนเปิดกรุงไทย World Class Moderate เพื่อการเลี้ยงชีพ
    กองทุนผสมทั่วโลกคุณภาพดี เน้นสมดุล คุมความเสี่ยง
    ระดับความเสี่ยง: 5 เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง
จุดเด่นกองทุน
- เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงปานกลางรักษาสมดุลของความเสี่ยงและผลตอบแทน (ลงทุนเฉลี่ยในตราสารหนี้ 50% ,หุ้น 50%)
- มีผู้เชี่ยวชาญการลงทุนระดับโลกเลือกลงทุนให้
- ลงทุนได้ทุกสภาวะตลาด
- ไม่ต้องปรับพอร์ตเอง
  • KT-WEQ RMF
    กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ อิควิตี้ เพื่อการเลี้ยงชีพ
    กองทุนหลัก: AB Low Volatility Equity Portfolio Class I (USD)
    ระดับความเสี่ยง: 6 เสี่ยงสูง
จุดเด่นกองทุน
- เน้นลงทุนในหุ้นทั่วโลกที่มีปัจจัยพื้นฐาน มีความผันผวนตํ่าและมีความเสี่ยงในการปรับตัวลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตในระดับที่ตํ่า
- กองทุนหลักมุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

ศึกษารายละเอียดกองทุน RMF เพิ่มเติม ได้ที่: ktam.co.th/rmf-ltf.aspx

คำเตือน : กองทุนนี้มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน | ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | กองทุนบางกองทุนอาจมีนโยบายการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมจึงอาจมีความเสี่ยงและความผันผวนของราคาสูงกว่ากองทุนรวมทั่วไปที่มีการกระจายการลงทุนในหลายอุตสาหกรรม | ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน Thai ESG , SSF และ RMF ก่อนการตัดสินใจลงทุน กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษีจะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน | ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวนได้ที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา


3. กองทุน Thai ESG (Environmental, Social, Governance

กองทุน Thai ESG หรือ กองทุนที่มุ่งเน้นการลงทุนตามหลักเกณฑ์สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (Environmental, Social, Governance) เป็นการลงทุนที่ให้ความสำคัญกับการเลือกลงทุนในบริษัทหรือโครงการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

เมื่อเปรียบเทียบกองทุน SSF, RMF และ Thai ESG จุดเด่นของกองทุนนี้จะแตกต่างจากกองทุนอื่น ๆ ตรงที่ Thai ESG เป็นกองทุนเพื่อสังคมน้องใหม่ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของรายได้ทั้งปีและลงทุนสูงสุดได้ถึง 300,000 บาท โดยไม่มีกำหนดขั้นต่ำของเงินลงทุน

จากจุดเด่นของกองทุน Thai ESG ข้างต้นกลายเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้กองทุนน้องใหม่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในปี 2567 เพราะกองทุน Thai ESG มีการเพิ่มเพดานการใช้สิทธิ รวมถึงลดเงื่อนไขระยะเวลาการถือครองลง จึงเป็นอีกแรงจูงใจให้นักลงทุนที่ต้องการเก็บออมเพื่อลดหย่อนภาษีหันมาสนใจมากขึ้น

กองทุน Thai ESG ตัวไหนดี 2567

  • KTESGSI-ThaiESG
    กองทุนเปิดกรุงไทย ตราสารภาครัฐ ESG (ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืน)
    เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐไทยและตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน
    ระดับความเสี่ยง: 3 เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ

    จุดเด่นกองทุน
    - เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐไทยและตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน
    - มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
  • KTAG70/30-ThaiESG
    กองทุนเปิดกรุงไทย ESG A Grade 70/30 (ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืน)
    ไม่หวือหวา ผสมตราสารหนี้ เน้นกระจายความเสี่ยง
    ระดับความเสี่ยง: 5 เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง
จุดเด่นกองทุน
- ผสมการลงทุนในหุ้นที่มี ESG Ratings ระดับ A ขึ้นไป เฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 70% ของ NAV และตราสารหนี้เฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่เกิน 30% ของ NAV
- มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
  • KTESG50-ThaiESG
    กองทุนเปิดกรุงไทย ESG50 (ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืน)
    เน้นหุ้นใหญ่ตัวท็อปกลุ่ม ESG
    ระดับความเสี่ยง: 6 เสี่ยงสูง
จุดเด่นกองทุน
- เน้นการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ประมาณ 50 ตัวที่มีความความมั่นคงและมีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึง ESG
- มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

ศึกษารายละเอียดกองทุน Thai ESG ได้ที่: https://krungthai.com/th/personal/detail/652

คำเตือน : กองทุนนี้มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน | ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | กองทุนบางกองทุนอาจมีนโยบายการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมจึงอาจมีความเสี่ยงและความผันผวนของราคาสูงกว่ากองทุนรวมทั่วไปที่มีการกระจายการลงทุนในหลายอุตสาหกรรม | ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน Thai ESG , SSF และ RMF ก่อนการตัดสินใจลงทุน กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษีจะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน | ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวนได้ที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา


เปิดโพยกองทุนให้ได้เทียบ SSF, RMF และ Thai ESG ของปี 2567 ต่างกันอย่างไร


กองทุน SSF
รูปแบบการลงทุน  
ทุกสินทรัพย์
รวมทั้งหุ้นต่างประเทศ
มีทั้งแบบปันผลและไม่จ่ายปันผล
สิทธิประโยชน์ทางภาษี  
ลดหย่อนภาษี 30%
ใช้ลดหย่อนได้ปี 63 - 67
(ไม่ต้องซื้อทุกปี ซื้อปีไหนลดหย่อนปีนั้น)
จุดเด่นของกองทุน
สะสมเงินผ่านการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
เหมาะกับผู้ลงทุนแบบใด 
ลดหย่อนภาษีและลงทุนสินทรัพย์
ที่หลากหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ระยะเวลาการลงทุน 
10 ปี
(นับจากวันที่ซื้อ)
กองทุน RMF
รูปแบบการลงทุน  
ทุกสินทรัพย์
รวมทั้งหุ้นต่างประเทศ
ทุกกองทุนไม่จ่ายเงินปันผล
สิทธิประโยชน์ทางภาษี  
ลดหย่อนภาษี 30%
ใช้ลดหย่อนได้เรื่อย ๆ
(ต้องซื้อทุกปี เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี)
จุดเด่นของกองทุน
เตรียมพร้อมสำหรับ
การเกษียณอย่างมั่นคง
เหมาะกับผู้ลงทุนแบบใด 
ลดหย่อนภาษีและวางแผนเกษียณ
ระยะเวลาการลงทุน 
อายุ 55 ปี
และครบ 5 ปีนับจากวันที่ซื้อ
กองทุน Thai ESG
รูปแบบการลงทุน  
หุ้นและตราสารหนี้ไทยในกลุ่ม ESG
มีทั้งแบบปันผลและไม่จ่ายปันผล
สิทธิประโยชน์ทางภาษี  
ลดหย่อนภาษี 30%
ใช้ลดหย่อนได้ปี 67 - 69
(ไม่ต้องซื้อทุกปี ซื้อปีไหนลดหย่อนปีนั้น)
จุดเด่นของกองทุน
เน้นลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้กลุ่ม ESG
เหมาะกับผู้ลงทุนแบบใด 
ลดหย่อนภาษีและลงทุนระยะยาว
กับบริษัทในประเทศไทยแบบยั่งยืน
ระยะเวลาการลงทุน 
5 ปี
(นับจากวันที่ซื้อ)


“จัดการกองทุนและวางแผนภาษี” กลยุทธ์เพิ่มผลตอบแทน ที่นักลงทุนมือใหม่ก็ทำได้

การจัดการกองทุนและการวางแผนภาษีเป็นส่วนสำคัญในการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การลงทุนของคุณบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ดีที่สุด บทความนี้จะมาแนะนำแนวทางในการจัดการกองทุนและการวางแผนภาษี เพื่อให้คุณเพิ่มผลตอบแทนและลดภาระภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เปิดโพยกองทุน SSF, RMF และ Thai ESG 2567 ต่างกันอย่างไร


เปิดตำราการจัดสรรพอร์ตการลงทุนอย่างมืออาชีพ

การจัดสรรพอร์ตการลงทุนเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้คุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนและลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดสรรเงินลงทุนระหว่างกองทุน SSF, RMF และ Thai ESG อย่างเหมาะสมจะช่วยให้พอร์ตการลงทุนของคุณมีความหลากหลายและตรงกับเป้าหมายทางการเงินของคุณมากยิ่งขึ้น

  • แนวทางการจัดสรรเงินลงทุนระหว่าง SSF, RMF และ Thai ESG

    ควรเริ่มพิจารณาจากเป้าหมายทางการเงินและระยะเวลาในการลงทุนของคุณ เช่น กองทุน SSF เหมาะสำหรับการออมในระยะยาวและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี, ส่วน RMF สำหรับการวางแผนเพื่อการเกษียณและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และกองทุน Thai ESG เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการเพิ่มโอกาสลงทุนในหุ้นรวมถึงตราสารหนี้ไทยในกลุ่มความยั่งยืนและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งการจัดสรรเงินลงทุนอาจเป็นไปตามสัดส่วนที่คุณรู้สึกว่าตรงกับความต้องการและเป้าหมายของคุณ เช่น อาจเลือกลงทุนใน SSF และ RMF ในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน สำหรับการเติบโตและการเกษียณ พร้อมเพิ่มเงินลงทุนในกองทุน Thai ESG เพื่ออนาคต เป็นต้น

  • วิธีการกระจายความเสี่ยงเพื่อให้พอร์ตการลงทุนสมดุล

    การกระจายเงินลงทุนไปยังกองทุนต่าง ๆ จะช่วยกระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่ดีได้ ซึ่งการกระจายความเสี่ยงไม่เพียงแค่หมายถึงการลงทุนในกองทุนประเภทต่าง ๆ แต่ยังรวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์รูปแบบอื่น เช่น หุ้น, พันธบัตร และสินทรัพย์อื่น ๆ เป็นต้น โดยการเลือกลงทุนในหลายสินทรัพย์จะช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดและเพิ่มโอกาสในการเติบโตของพอร์ตการลงทุนนั่นเอง

  • การปรับพอร์ตตามเป้าหมายทางการเงินและความเสี่ยงส่วนตัว

    เพื่อให้พอร์ตของคุณสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเงินและเป้าหมายที่คุณตั้งไว้ ให้เริ่มจากศึกษาถึงกองทุนในแต่ละประเภท รวมถึงระดับความเสี่ยงเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตัวเราเองในตอนนี้ เช่น นักลงทุนที่มีอายุต่ำกว่า 45 ปี ต้องการซื้อกองทุนเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินในอนาคต “กองทุน Thai ESG” อาจเป็นหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ ด้วยเงื่อนไขที่ไม่มีการกำหนดขั้นต่ำในการลงทุน อีกทั้งยังมีการขยายเพดานสิทธิภาษี รวมถึงระยะเวลาถือครองที่ไม่นาน จึงเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ลงทุนเริ่มต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมต่อยอดในอนาคตได้อย่างมั่นคง เป็นต้น

    นอกจากนี้ การประเมินสถานการณ์เป็นระยะ ๆ จะช่วยคุณลดความเสี่ยง และสามารถรักษาความสมดุลของพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นอย่าลืมติดตามข้อมูล และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอยู่เสมอ เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่งดงาม

เทคนิคการวางแผนภาษีจากการลงทุน

การวางแผนภาษีเป็นส่วนสำคัญในการจัดการการลงทุน เพราะจะช่วยให้คุณประหยัดภาษีและเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือแนวทางในการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนในกองทุน SSF, RMF และ Thai ESG รวมถึงการคำนวณภาษีที่ประหยัดได้ หากพร้อมแล้วที่จะเริ่มต้นวางแผนภาษี มาศึกษารายละเอียดก่อนเริ่มลงทุนไปพร้อมกันได้เลย


ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกองทุน SSF และ RMF ได้อย่างไรบ้าง

  • กองทุน SSF ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 200,000 บาทต่อปีแต่ต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ เวลาการถือครอง 10 ปีแบบวันชนวัน หากลงทุนตามเงื่อนไขผลตอบแทนจากการขายหน่วยลงทุนไม่ต้องเสียภาษี (เมื่อรวม SSF กับ RMF และกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นต้องไม่เกิน 500,000 บาท)
  • กองทุน RMF ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 500,000 บาทต่อปีแต่ต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ ลงทุนต่อเนื่อง 5 ปีติดต่อกันและขายได้เมื่ออายุครบ 55 ปี หากลงทุนตามเงื่อนไขผลตอบแทนจากการขายหน่วยลงทุนไม่ต้องเสียภาษี (เมื่อรวม SSF กับ RMF และกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นต้องไม่เกิน 500,000 บาท)
  • กองทุน Thai ESG ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 300,000 บาทต่อปีแต่ต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ เวลาการถือครอง 5 ปีแบบวันชนวัน หากลงทุนตามเงื่อนไขผลตอบแทนจากการขายหน่วยลงทุนไม่ต้องเสียภาษี วงเงินลดหย่อนภาษีของกองทุน Thai ESG จะไม่ถูกนับรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ

การวางแผนภาษีจากการลงทุนในกองทุน SSF, RMF และ Thai ESG เป็นการจัดการที่สำคัญในการเพิ่มผลตอบแทนและลดภาระภาษี การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและการคำนวณภาษีที่ประหยัดได้จะช่วยให้การลงทุนของคุณมีความคุ้มค่าและประสบความสำเร็จตามเป้าหมายทางการเงิน


ติดตามและประเมินผลการลงทุนได้อย่างไร

การติดตามและประเมินผลการลงทุนเป็นกระบวนการที่สำคัญ เพื่อตรวจสอบว่าบรรลุผลตามที่คาดหวังได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ การตรวจสอบผลการดำเนินงานของกองทุนและการปรับพอร์ตตามสภาวะตลาดเป็นส่วนสำคัญในการรักษาความสำเร็จในการลงทุนของคุณได้

  • การตรวจสอบผลการดำเนินงานของกองทุนและการเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้

    คุณสามารถติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนได้ผ่าน Fund Fact Sheet ของกองทุนที่เราลงทุนผ่านเวปไซด์ของ บลจ. โดยเนื้อหาข้างในจะแสดงผลตอบแทนของกองทุนตามช่วงเวลาต่างๆ เช่น 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี เป็นต้น เทียบกับดัชนีชี้วัดรวมถึงผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนประเภทเดียวกัน หากว่ากองทุนที่เราลงทุนอยู่สามารถสร้างผลตอบแทนที่เราพอใจหรือเหนือกว่าดัชนีชี้วัด ดังนั้นกองทุนที่เราลงทุนก็ยังมีความน่าสนใจที่จะถือลงทุนต่อไปได้ เป็นต้น

  • การปรับแผนการลงทุนตามสภาวะตลาดและแนวโน้มเศรษฐกิจ

    สภาวะตลาดและแนวโน้มเศรษฐกิจมีผลกระทบโดยตรงต่อผลการลงทุนของคุณ การปรับแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรักษาความสมดุลและเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนให้มีประสิทธิภาพ

    เมื่อสภาวะตลาดหรือแนวโน้มเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง จุดนี้อาจเป็นโอกาสในการวางแผนการลงทุนใหม่ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีได้ เช่น เมื่อหุ้นในกลุ่มที่เราลงทุนอยู่ปรับตัวลงเรื่อย ๆ จากเศรษฐกิจและแนวโน้มกำไรของหุ้นที่เราลงทุนอยู่เริ่มไม่ดี สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการมองหาโอกาสของ “ผลตอบแทนใหม่” ด้วยการปรับเปลี่ยนการลงทุนไปในกลุ่มอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างประโยชน์และผลลัพธ์ที่ดีในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อย่าง กองทุนหุ้นกลุ่มสุขภาพหรือกองทุนหุ้นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น การปรับแผนครั้งนี้จะช่วยให้คุณพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากข้อมูลข้างต้นนี้ ทำให้เห็นได้ว่าการทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัฏจักรเศรษฐกิจจะช่วยให้คุณรับมือต่อความผันผวนและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพได้


แนวทางการสับเปลี่ยนกองทุนให้มีประสิทธิภาพ

แน่นอนว่าตลาดหุ้นมีความน่าสนใจแตกต่างกันออกไปในแต่ละช่วงเวลา กองทุน Thai ESG , SSF หรือ RMF ที่ลงทุนไว้ในตอนแรกไม่จำเป็นต้องถือกองเดิมไปจนครบกำหนด เราสามารถสับเปลี่ยนกองทุนเพื่อบริหารความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนได้ แต่กองทุนที่สับเปลี่ยนจะต้องเป็นประเภทเดียวกัน เช่น Thai ESG , SSF หรือ RMF เหมือนกันเท่านั้น

โอกาสเพิ่มผลตอบแทนในการลงทุนอยู่แค่เอื้อม มาดูไปพร้อมกันเวลากลยุทธ์สำคัญในการปรับพอร์ตการลงทุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีอะไรบ้าง

  • แนวทางการสับเปลี่ยนกองทุนในช่วงตลาดขาขึ้นและขาลง

    สภาวะตลาดและแนวโน้มเศรษฐกิจมีผลกระทบโดยตรงต่อผลการลงทุนของคุณ การปรับแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรักษาความสมดุลและเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนให้มีประสิทธิภาพ

    - ตลาดขาขึ้น พิจารณาการเพิ่มการลงทุนในกองทุนในหุ้นที่มีศักยภาพสูงหรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็วที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น
    - ตลาดขาลง เมื่อตลาดอยู่ในช่วงขาลง การสับเปลี่ยนไปลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนตราสารหนี้จะช่วยลดความเสี่ยงและรักษาเงินลงทุนของคุณได้ เป็นต้น

  • การพิจารณาเวลาและสภาวะตลาดที่เหมาะสมสำหรับการสับเปลี่ยนกองทุน

    สภาวะตลาดและแนวโน้มเศรษฐกิจมีผลกระทบโดยตรงต่อผลการลงทุนของคุณ การปรับแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรักษาความสมดุลและเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนให้มีประสิทธิภาพ

    - สภาวะตลาด: สภาวะตลาดเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจสับเปลี่ยนกองทุน การวิเคราะห์ดัชนีตลาด, ข่าวเศรษฐกิจ และข้อมูลทางการเงินจะช่วยให้คุณเลือกเวลาที่เหมาะสมในการทำการสับเปลี่ยน
    - เวลา: การสับเปลี่ยนกองทุนไม่ควรทำบ่อยเกินไป เพราะอาจส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและการเปลี่ยนแปลงในพอร์ตที่ไม่จำเป็น ควรทำการสับเปลี่ยนเมื่อมีความชัดเจนในแนวโน้มตลาดหรือเมื่อเป้าหมายการลงทุนของคุณเปลี่ยนแปลง

  • เคล็ดลับในการป้องกันการขาดทุนและการเพิ่มผลตอบแทนจากการสับเปลี่ยนกองทุน

    สภาวะตลาดและแนวโน้มเศรษฐกิจมีผลกระทบโดยตรงต่อผลการลงทุนของคุณ การปรับแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรักษาความสมดุลและเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนให้มีประสิทธิภาพ
    - ติดตามผลการดำเนินงาน ตรวจสอบผลการดำเนินงานของกองทุนที่คุณสนใจอย่างสม่ำเสมอ
    - หลีกเลี่ยงการตัดสินใจในช่วงเร่งรีบ การตัดสินใจอย่างรีบเร่งอาจทำให้เกิดการตัดสินใจที่ไม่ดี ควรทำการวิเคราะห์และตัดสินใจอย่างรอบคอบ
    - การกระจายการลงทุน การกระจายการลงทุนในหลายกองทุนและสินทรัพย์จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่ดี

กองทุน SSF RMF และ Thai ESG ตัวไหนดี 2567

การจัดการกองทุน SSF, RMF, และ Thai ESG อย่างมีประสิทธิภาพนั้นช่วยให้คุณบรรลุผลตอบแทนที่ยั่งยืนได้ เพียงแค่เลือกกองทุนที่ตอบโจทย์ต่อความต้องการของเรา ไม่ว่าจะเป็นแผนการออมระยะยาวและการลดหย่อนภาษีอย่างกองทุน SSF หรือจะเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณกับกองทุน RMF รวมถึงการร่วมลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศ ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้อย่างกองทุน Thai ESG ซึ่งการลงทุนเหล่านี้เปรียบเสมือนกลยุทธ์ที่จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการสร้างฐานการเงินที่มั่นคงได้

แน่นอนว่าการลงทุนที่มีการวางแผนและการจัดการอย่างดีนั้นช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพ สนใจลงทุน กองทุนลดหย่อนภาษี หรือกองทุนอื่นๆ จาก KTAM และ อีก 9 บลจ. เริ่มได้ง่ายๆ ที่ NEXT INVEST ผ่านแอป Krungthai NEXT แค่ 100 บาทก็เริ่มลงทุนได้ เปิดบัญชีลงทุน

เปรียบเทียบกองทุน SSF, RMF, ThaiESG พร้อมวางแผนภาษี | ธนาคารกรุงไทย บทความนี้จะพาคุณมาเปรียบเทียบกองทุน SSF, RMF และ ThaiESG ตัวไหนดี ปี 2567 พร้อมวิธีจัดการกองทุนและวางแผนภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง