เงินเดือนเท่านี้ซื้อ RMF / SSF / Thai ESG เท่าไรดี? ช่วยลดหย่อนภาษีมากที่สุด
การลดหย่อนภาษีเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการวางแผนทางการเงินที่ช่วยให้เราสามารถประหยัดภาษีได้ผ่านการลงทุนในกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี อย่างเช่น SSF, RMF และ Thai ESG ในบทความนี้เราจะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกองทุนแต่ละประเภทรวมไปถึงการประเมินระดับรายได้และความสามารถในการรับความเสี่ยง และประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในกองทุนเหล่านี้
กองทุน SSF, RMF และ ThaiESG คืออะไร?
กองทุน SSF คืออะไร
กองทุน SSF หรือ Super Savings Fund เป็นกองทุนรวมเพื่อการออมที่รัฐบาลส่งเสริมให้ประชาชนลงทุนเพื่อสร้างวินัยในการออมระยะยาวและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย ทั้งในตราสารทุน ตราสารหนี้ หรือแบบผสม ตามระดับความเสี่ยง
กองทุน RMF คืออะไร
กองทุน RMF หรือ Retirement Mutual Fund เป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ส่งเสริมการออมระยะยาวสำหรับวัยเกษียณ มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย ทั้งในตราสารทุน ตราสารหนี้ หรือแบบผสม ตามระดับความเสี่ยง
กองทุน Thai ESG คืออะไร
กองทุน Thai ESG หรือ Thai Environmental, Social, and Governance Fund เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
เงื่อนไขการลงทุนกองทุน และจำนวนที่สามารถซื้อได้
กองทุน SSF (Super Savings Fund)
เป็นกองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษที่รัฐบาลส่งเสริมเพื่อสร้างวินัยการออมระยะยาวให้กับประชาชน เมื่อผู้ลงทุนซื้อกองทุน SSF สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่ต้องกำหนดขั้นต่ำ แต่ต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อใดที่มีสิทธิลดหย่อนภาษีในวัยเกษียณอื่นๆ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท (เมื่อรวม SSF RMF กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(PVD) กองทุนการออมแห่งชาติ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและประกันแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท)
กองทุน RMF (Retirement Mutual Fund)
เป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ส่งเสริมการออมระยะยาวสำหรับการมีเงินไว้ใช้จ่ายในวัยเกษียณ โดยผู้ลงทุนสามารถลงทุนในกองทุน RMF ได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษี และต้องไม่เกิน 500,000 บาท (เมื่อรวม SSF RMF กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(PVD) กองทุนการออมแห่งชาติ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและประกันแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท)
กองทุน ThaiESG (Thai Environmental, Social, and Governance Fund)
เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และมีธรรมาภิบาลที่ดี กองทุน Thai ESG สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี และซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินและไม่เกิน 300,000 บาท ต้องถือ 5 ปีวันชนวัน (เกณฑ์ใหม่ปีที่ใช้สิทธิ 2567-2569) ซื้อปีไหน ลดหย่อนปีนั้นและไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
วงเงินลงทุนของ Thai ESG จะไม่ถูกนับรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ได้แก่ กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF), กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่ปัจจุบันกำหนดเพดานลดหย่อนภาษีรวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท เท่ากับว่าเราจะได้วงเงินลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมจาก Thai ESG ไปเลย 300,000 บาท และเมื่อนับรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ก็จะลดหย่อนได้สูงสุดถึง 800,000 บาท
ตารางเปรียบเทียบกองทุนลดหย่อนภาษี (SSF, RMF, ThaiESG)
SSF | RMF | ThaiESG | |
สินทรัพย์
ที่ลงทุน |
ลงทุนในสินทรัพย์ได้ทุกประเภท
|
ลงทุนในสินทรัพย์ได้ทุกประเภท
|
ลงทุนในหุ้น และ ตราสารหนี้ไทยกลุ่ม ESG
|
การลดหย่อน |
ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน และไม่เกิน 200,000 บาท* |
ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน และต้องไม่เกิน 500,000 บาท* |
ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน และไม่เกิน 300,000 บาท** |
ระยะเวลาลงทุน | 10 ปี |
5 ปี และขายได้ตอนอายุ 55 ปี |
5 ปี แบบวันชนวัน |
เงื่อนไข การซื้อ |
ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี |
ต้องซื้อทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี |
ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี |
ปีที่ใช้ ลดหย่อน |
ตั้งแต่ปี 2563 -2567 | ปี 2544 เป็นต้นไป | ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2569 |
สรุป | กองทุน SSF มีข้อดีคือไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี ลงทุนได้หลากหลายสินทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ |
กองทุน RMF เหมาะกับคนไม่มีสวัสดิการและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนได้สูงถึง 5 แสนบาทและมีระยะเวลาการถือครองสั้นกว่า SSF หากผู้ลงทุนอายุ 45 ปีขึ้นไป
|
กองทุน ThaiESG มีข้อดีคือเป็นตัวช่วยเสริมการลดหย่อนภาษีได้สูงถึง 3 แสนบาท ทั้งยังมีระยะเวลาการถือครองสั้นเพียงแค่ 5 ปี และไม่จำเป็นต้องซื้อทุกปีด้วย |
กดและเลื่อนเพื่อดูข้อมูลในตาราง
SSF | RMF | ThaiESG | |
สินทรัพย์
ที่ลงทุน |
ลงทุนในสินทรัพย์ได้ทุกประเภท
|
ลงทุนในสินทรัพย์ได้ทุกประเภท
|
ลงทุนในหุ้น และ ตราสารหนี้ไทยกลุ่ม ESG
|
การลดหย่อน |
ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน และไม่เกิน 200,000 บาท* |
ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน และต้องไม่เกิน 500,000 บาท* |
ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน และไม่เกิน 300,000 บาท** |
ระยะเวลาลงทุน | 10 ปี |
5 ปี และขายได้ตอนอายุ 55 ปี |
5 ปี แบบวันชนวัน |
เงื่อนไขการซื้อ | ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี |
ต้องซื้อทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี |
ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี |
ปีที่ใช้ลดหย่อน | ตั้งแต่ปี 2563 -2567 | ปี 2544 เป็นต้นไป | ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2569 |
สรุป | กองทุน SSF มีข้อดีคือไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี ลงทุนได้หลากหลายสินทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ |
กองทุน RMF เหมาะกับคนไม่มีสวัสดิการและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนได้สูงถึง 5 แสนบาทและมีระยะเวลาการถือครองสั้นกว่า SSF หากผู้ลงทุนอายุ 45 ปีขึ้นไป
|
กองทุน ThaiESG มีข้อดีคือเป็นตัวช่วยเสริมการลดหย่อนภาษีได้สูงถึง 3 แสนบาท ทั้งยังมีระยะเวลาการถือครองสั้นเพียงแค่ 5 ปี และไม่จำเป็นต้องซื้อทุกปีด้วย |
*ผู้ลงทุนสามารถซื้อกองทุน SSF และ RMF รวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท
**ผู้ลงทุนในกองทุน Thai ESG สามารถลงทุนได้สูงสุด 300,000 บาท โดยไม่นับรวมกับการลงทุนใน SSF / RMF
เงินเดือน 100,000 บาท ควรซื้อ SSF, RMF และ ThaiESG เท่าไหร่?
ขั้นตอนที่ 1 คำนวณรายได้สุทธิ
วิธีการคำนวณรายได้สุทธิ รายได้ทั้งปี : 100,000 x 12 = 1,200,000 บาท หักค่าใช้จ่าย : 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หักค่าลดหย่อนส่วนตัว : 60,000 บาท รายได้สุทธิก่อนลงทุนในกองทุน : 1,200,000 - 100,000 - 60,000 = 1,040,000 บาท
ขั้นตอนที่ 2 คำนวณภาษีที่ต้องจ่าย(เมื่อยังไม่ได้ซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อน)
จากฐานภาษีรายได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ | อัตราภาษี | ภาษีสะสมสูงสุด (บาท) |
1 - 150,000 บาท
|
ยกเว้น
|
-
|
150,001 - 300,000 บาท
|
5% |
7,500
|
300,001 - 500,000 บาท | 10% | 27,500 |
500,001 - 750,000 บาท | 15% | 65,000 |
750,001 - 1,000,000 บาท | 20% | 115,000 |
1,000,001 - 1,040,000 บาท | 25% | 10,000 |
2,000,001 - 5,000,000 บาท | 30% | - |
5,000,001 บาทขึ้นไป | 35% | - |
กดและเลื่อนเพื่อดูข้อมูลในตาราง
เงินได้สุทธิ | อัตราภาษี | ภาษีสะสมสูงสุด (บาท) |
1 - 150,000 บาท
|
ยกเว้น
|
-
|
150,001 - 300,000 บาท
|
5% |
7,500
|
300,001 - 500,000 บาท | 10% | 27,500 |
500,001 - 750,000 บาท | 15% | 65,000 |
750,001 - 1,000,000 บาท | 20% | 115,000 |
1,000,001 - 1,040,000 บาท | 25% | 10,000 |
2,000,001 - 5,000,000 บาท | 30% | - |
5,000,001 บาทขึ้นไป | 35% | - |
หาจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย
= [(เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิขั้นสูงสุดก่อนหน้า) x อัตราภาษี] + ภาษีสะสมสูงสุดขั้นก่อนหน้า
= [(1,040,000 - 1,000,000) x 25%] + 115,000
= 125,000 บาท
ขั้นตอนที่ 3 คำนวณเงินที่ควรซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี
หากต้องการเปลี่ยนเงินที่ต้องจ่ายภาษีมาเป็นเงินออมไว้ใช้ในอนาคต สามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมลดหย่อนภาษีอย่าง ThaiESG , SSF และ RMF ได้ ซึ่งจะคำนวณจาก
เงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี ดังนั้น จำนวนเงินที่สามารถนำไปซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีให้พอดี จะคิดจากเงินได้ 1,200,000 บาท หักค่าลดหย่อนและค่าใช้จ่ายส่วนตัว จะเหลือเงินได้สุทธิที่จะต้องคำนวณภาษีเท่ากับ 1,040,000 บาท
เงื่อนไขของกองทุน SSF และ RMF ผู้ลงทุนสามารถซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และซื้อรวมกันได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อต้องการจะซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีเพิ่มอีกหนึ่งกองนั่นก็คือกองทุน Thai ESG จะสามารถซื้อเพิ่มได้สูงสุดอีก 300,000 บาท(เกณฑ์ใหม่) นั่นเท่ากับว่าผู้ลงทุนจะสามารถซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมดเท่ากับ 800,000 บาท
หากซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีเต็มที่ที่ 800,000 บาท จะทำให้เงินได้สุทธิเหลือ เท่ากับ 240,000 บาท(1,040,000 – 800,000) ซึ่งจากเดิมจะเสียภาษีที่ฐาน 25% มาเหลือเพียงฐาน 5% เท่านั้น และเมื่อคำนวณภาษีใหม่ จะเสียภาษี (240,000 – 150,000) x 5% เท่ากับ 4,500 บาท ซึ่งประหยัดภาษีที่ต้องจ่ายได้ถึง 120,500 บาท (จากเดิมที่ต้องเสียภาษีถึง 125,000 บาท เลยทีเดียว)
ในเรื่องของสัดส่วนการลงทุนเมื่อเทียบกับอายุของผู้ลงทุนที่ประสงค์จะลงทุนในกองทุน Thai ESG , RMF, SSF ผู้ลงทุนจะต้องพิจารณาถึงเรื่องของความเสี่ยงในการลงทุนที่รับได้ และระยะเวลาถือครองหน่วยลงทุน เช่น
- อายุน้อยกว่า 45 ปี แนะนำซื้อกองทุน Thai ESG ให้ครบสิทธิก่อนแล้วค่อยซื้อกองทุน SSF และกองทุน RMF ตามลำดับ
- อายุระหว่าง 45-50 ปี แนะนำซื้อกองทุน Thai ESG ให้ครบสิทธิก่อนแล้วค่อยซื้อกองทุน RMF และกองทุน SSF ตามลำดับ
- อายุตั้งแต่ 50 ปี แนะนำซื้อกองทุน RMF ให้ครบสิทธิก่อนแล้วค่อยซื้อกองทุน Thai ESG และกองทุน SSF ตามลำดับ
- การแบ่งกลุ่มดังกล่าวมีปัจจัยที่พิจารณาคือ เงื่อนไขการถือครองกองทุน SSF , RMF และ Thai ESG ตัวอย่างเช่น กรณีที่อายุตั้งแต่ 50 ปี แนะนำซื้อกองทุน RMF ให้ครบสิทธิก่อนเนื่องจากเงื่อนไขการถือครองกองทุน RMF ที่ต้องลงทุนต่อเนื่อง 5 ปีติดต่อกันและขายได้เมื่ออายุครบ 55 ปี ดังนั้น ผู้ลงทุนจะใช้เวลาลงทุนต่อเนื่องที่ 5 ปี และกองทุน RMF มีนโยบายการลงทุนในทุกประเภทสินทรัพย์ให้เลือกลงทุน นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในนโยบายที่เหมาะกับความเสี่ยงของตนเองได้
ตารางการลงทุนตามรายได้
เงินเดือน | รายได้ทั้งปี | ภาษีที่ต้องเสีย | แนะนำซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีไม่เกิน | ภาษีที่ประหยัดได้ |
30,000 | 360,000 | 2,500 | 50,000 | 2,500 |
50,000 | 600,000 | 21,500 | 290,000 | 21,500 |
100,000 | 1,200,000 | 12,500 | SSF รวม RMF ไม่เกิน 500,000 ThaiESG ไม่เกิน 300,000 | 120,500 |
กดและเลื่อนเพื่อดูข้อมูลในตาราง
เงินเดือน | รายได้ทั้งปี | ภาษีที่ต้องเสีย | แนะนำซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีไม่เกิน | ภาษีที่ประหยัดได้ |
30,000 | 360,000 | 2,500 | 50,000 | 2,500 |
50,000 | 600,000 | 21,500 | 290,000 | 21,500 |
100,000 | 1,200,000 | 12,500 | SSF รวม RMF ไม่เกิน 500,000 ThaiESG ไม่เกิน 300,000 | 120,500 |
สรุป
การลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการวางแผนทางการเงินแต่ต้องอาศัยความเข้าใจและการวางแผนอย่างรอบคอบหากเราใส่ใจในรายละเอียดและเลือกลงทุนอย่างเหมาะสมก็จะทำให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดทั้งในแง่ของการลดหย่อนภาษีและการบรรลุเป้าหมายทางการเงินในระยะยาวได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ผู้ที่สนใจลงทุนในกองทุน MFOA เริ่มได้ง่ายๆ ที่ NEXT INVEST ผ่านแอป Krungthai NEXT INVEST แค่ 100 บาทก็เริ่มลงทุนได้ เราคัดสรรกองทุนรวม กว่า 200 กองทุน จาก 9 บลจ. ชั้นนำ เลือกลงทุนง่าย ค้นหากองทุนได้ตามหมวดหมู่ ทั้ง
- Popular Fund รวมกองทุนเด่นยอดนิยม ผลตอบแทนดี
- Fund for You คัดเลือกกองทุนที่เหมาะกับคุณ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การลงทุน
- Tactic Fund กองทุนแนะนำ สอดคล้องกับสภาวะตลาด วิเคราะห์และคัดสรรโดยกูรูการลงทุน (CIO)
พร้อมอัปเดตข้อมูลตลาดทั้งรายวันและรายสัปดาห์ ทำให้เราไม่พลาดทุกจังหวะลงทุน แถมวางแผนลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถตั้งเวลาซื้อขายแบบ DCA ได้ด้วยตัวเองส่วนถ้าใครที่รู้สึกว่า ลงทุนครั้งแรกไม่รู้จะลงทุนอะไรดี ทาง Krungthai ก็มีฟีเจอร์ Port Advisory ที่ช่วยแนะนำการจัดพอร์ต ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ หรือตามระดับความเสี่ยง พร้อมระบบซื้อขายหลายกองในครั้งเดียว
สนใจลงทุนเริ่มได้ง่ายๆ ที่ NEXT INVEST
ผ่านแอป Krungthai NEXT
แค่ 100 บาท ก็เริ่มลงทุนได้ เปิดบัญชีลงทุน