เช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเองง่าย ๆ รู้ผลไว ก่อนขอสินเชื่อ
เครดิตบูโร คำยอดนิยมของวงการสินเชื่อ ที่ไม่ว่าใครเมื่อกำลังวางแผนซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือเป็นลูกค้าบัตรเครดิตต่างก็เคยได้ยินคำนี้ เพราะเครดิตบูโรมีผลอย่างมากต่อการพิจารณาสินเชื่อของธนาคาร เป็นเครื่องการันตีความหน้าเชื่อถือของผู้กู้ ว่ามีความสามารถในการชำระหนี้แค่ไหน
บทความนี้เราจะพามารู้จักกับเครดิตบูโร และการเช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเอง ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ รู้ผลไวในไม่กี่ขั้นตอน
เครดิตบูโรคืออะไร
ในการพิจารณาให้สินเชื่อ ธนาคารจะรู้ได้อย่างไรว่าบุคคลนั้น ๆ มีประวัติการชำระหนี้ดีหรือไม่ หากไม่มีหน่วยงานที่น่าเชื่อถือเป็นผู้รวบรวมข้อมูล ทำให้ พรบ. การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 เกิดขึ้นมาพร้อมกับบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือ National Credit Bureau เพื่อทำหน้าที่ในการเช็คข้อมูลประวัติการชำระหนี้ของลูกค้า
ในมุมของคนทั่วไป “เครดิตบูโร” (Credit Bureau) คือ ข้อมูลลูกค้าที่ทำธุรกรรมผ่านสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลส่วนบุคคลอย่าง ชื่อ, เลขที่บัตรประชาชน, ที่อยู่, วัน เดือน ปีเกิด, สถานภาพการสมรส, อาชีพ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ, ประวัติการชำระสินเชื่อ, การผ่อนชำระ นอกจากนี้ยังรวมถึงข้อมูลบัตรเครดิต อาทิ จำนวนบัตรที่ถือครอง, ประวัติการชำระ และยอดค้างจ่าย เมื่อเราต้องการขอสินเชื่อ สถาบันการเงินก็จะเช็คเครดิตบูโรของเรา เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณา บางคนที่ขอสินเชื่อไม่ผ่านจึงมักคิดว่าตัวเองติดเครดิตบูโร หรือติด Blacklist ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะเครดิตบูโรเป็นเพียงการรวบรวมข้อมูลทางการเงินเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้กู้ก็สามารถเช็คบูโรด้วยตัวเองได้เช่นกัน
ควรเช็คเครดิตบูโรเมื่อไหร่
อย่างที่บอกว่า หากต้องการขอสินเชื่อแนะนำให้เช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเองก่อนตัดสินใจ แต่การเช็คบูโรด้วยตัวเองนั้น ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะการขอสินเชื่อเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายเหตุผลดังต่อไปนี้
- เพื่อวางแผนการเงินระยะยาว ในกรณีที่มีภาระหนี้สินเยอะ หรือต้องบริหารจัดการเงินหลายก้อนในแต่ละเดือน บางครั้งการชำระหนี้อาจตกหล่น จ่ายไม่ครบ ซึ่งสถานะของเครดิตบูโรจะบอกได้ว่าเรามียอดค้างชำระหรือไม่ และมีระยะเวลาค้างชำระเท่าไหร่ เพื่อให้เราเช็คและปิดหนี้ได้ครบถ้วน หรือถ้าเรามีเรื่องต้องใช้เงินอีกในอนาคต ก็สามารถนำข้อมูลนี้มาวางแผนได้ว่าเราสามารถก่อหนี้เพิ่มได้หรือไม่
- เพื่อเช็คความถูกต้องและป้องกันตัวเองจากมิจฉาชีพ บางครั้งเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินอาจกรอกข้อมูลลูกหนี้ผิดพลาด ไม่ได้นำส่งข้อมูลการชำระสินเชื่อให้กับเครดิตบูโร ทำให้ข้อมูลของเราผิดพลาดโดยที่เราไม่รู้ตัว หรือในยุคที่มิจฉาชีพทำงานอย่างแข็งขันเช่นนี้ อาจมีการแอบอ้างหลอกลวงว่าเราติดเครดิตบูโร พร้อมแนะนำให้เราเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเพื่อเข้าถึงช่องทางการเงินของเรา หากเราเช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเองเอาไว้แต่แรก ก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ
- เพื่อเป็นข้อมูลก่อนการขอสินเชื่อ ไม่เพียงมีข้อมูลการชำระหนี้ แต่เครดิตบูโรยังเก็บข้อมูล Credit Scoring หรือเกรดที่สถาบันการเงินระบุให้กับลูกค้าเอาไว้ด้วย หากประวัติการชำระหนี้ดี ก็จะมี Credit Scoring สูงถึงระดับ AA ซึ่งแน่นอนว่ายิ่งเป็นลูกหนี้เกรดดีเท่าไหร่ โอกาสในการขอสินเชื่อก็มีมากขึ้นเท่านั้น
เช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเองได้จากที่ไหน
ปัจจุบันมีวิธีเช็คบูโรด้วยตัวเองได้จากหลายช่องทาง ทั้งแบบศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ตู้ Kiosk และผ่านแอปพลิเคชัน ดังต่อไปนี้
เช็คที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร และตู้ Kiosk ใช้เวลารอผลเพียง 15 นาที
-
ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ แกรนด์พระรามเก้าชั้น 2
ที่ตั้ง อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระราม 9 ชั้น 2 โซนพลาซ่า
เลขที่ 33/4 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10130
วันเวลาเปิด-ปิด วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00 - 16.30 หยุดวันนักขัตฤกษ์ -
เครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3
ที่ตั้ง เลขที่ 1177 ชั้น 3 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
วันเวลาเปิด-ปิด วันจันทร์ - วันศุกร์ 09.00 - 18.00 น. (เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) -
ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง
ที่ตั้ง เลขที่ 201 ซอยสีลม 2/1 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
วันเวลาเปิด-ปิด วันจันทร์ - วันศุกร์ 09.00 - 18.00 น. หยุดวันหยุดนักขัตฤกษ์ -
ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ที่ตั้ง สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ภายในสถานี)
ถนนพญาไท แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
วันเวลาเปิด-ปิด จันทร์-อาทิตย์ ไม่มีวันหยุด เวลา 9.00-18.00 น. -
ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต
ที่ตั้ง สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีหมอชิต (ภายในสถานี) แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
วันเวลาเปิด-ปิด วันจันทร์-อาทิตย์ ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 9.00-18.00 น. -
ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว (นวนคร)
ที่ตั้ง เลขที่ 98/40 หมู่ 13 ห้างเจเวนิว (นวนคร) ชั้น 3 (ติดประกันสังคม)
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
วันเวลาเปิด-ปิด วันจันทร์ - วันอาทิตย์ 09.00 - 18.00 น. -
ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร-ท่าวังหลัง บริเวณทางเข้า-ออกท่าเรือ
และใกล้ประตู 8 ของโรงพยาบาลศิริราช
ที่ตั้ง ท่าเรือพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
วันเวลาเปิด-ปิด วันจันทร์ - วันอาทิตย์ 09.00 - 18.00 น. -
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ)
ที่ตั้ง เลขที่ 10 ถนนกำแพงเพชร แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
ด้านหลังเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ประตูทางเข้า 1
จุดติดตั้งนาฬิกาประจำสถานี หรือนาฬิกาหน้าปัดหมายเลข ๙
วันเวลาเปิด-ปิด วันจันทร์ - วันอาทิตย์ 08.30 - 23.00 น. -
อาคารสาธรนครทาวเวอร์ ชั้น 1
ที่ตั้ง เลขที่ 100 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
อาคารสาธรนครทาวเวอร์
วันเวลาเปิด-ปิด วันจันทร์ - วันเสาร์ 08.00 - 17.30 น. -
ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย (อาคาร A) ชั้น 2
ที่ตั้ง โถงต้อนรับชั้น 2 เยื้องจุดสอบถามศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขที่ 273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา. เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
วันเวลาเปิด-ปิด วันจันทร์ - วันอาทิตย์ 08.00 - 20.00 น. -
ยื่นผ่านเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์ธนาคาร กรุงศรี (ทุกสาขา)
ที่ตั้ง เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีทุกสาขาทั่วประเทศ
วันเวลาเปิด-ปิด วันจันทร์ - วันศุกร์ 08.30- 15.30
หรือเคาน์เตอร์ธนาคารในห้างสรรพสินค้าเปิดทุกวันเวลา 10.00 - 18.30 น. -
ใช้บัตร ATM ทำรายการผ่านหน้าจอของธนาคารที่รับเช็คเครดิตบูโร
ที่ตั้ง ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย และตู้ ATM ธนาคารไทยพาณิชย์ทั่วประเทศ
วันเวลาเปิด-ปิด ตลอด 24 ชั่วโมง -
ยื่นที่ทำการไปรษณีย์ เฉพาะสาขาที่ให้บริการ
ที่ตั้ง ที่ทำการไปรษณีย์และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์สาขาที่ให้บริการ
วันเวลาเปิด-ปิด ตามเวลาทำการของที่ทำการไปรษณีย์สาขานั้น ๆ
เช็คแบบออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน สะดวก ง่าย ไม่ต้องเดินทาง
-
ยื่นคำร้องผ่านโมบายแอปพลิเคชันทางรัฐ
ระยะเวลาในการรอผล 15 นาที -
ยื่นคำร้องผ่านโมบายแอปพลิเคชัน “Bureau OK”ก่อนใช้งานให้ลงทะเบียนที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรทุกแห่ง
-
ยื่นคำร้องผ่านโมบายแอปพลิเคชัน “Flash Express” (Flash Money)ระยะเวลาในการรอผล
- กรณีรับรายงานทางอีเมล: ภายใน 24 ชั่วโมง
- กรณีรับรายงานทางไปรษณีย์: ภายใน 7 วัน
-
ลงทะเบียนเพื่อทำรายการผ่านแอปพลิเคชันธนาคารบนโทรศัพท์มือถือ ต่อไปนี้
- Krungthai Next ธนาคารกรุงไทย ช่องทางที่สะดวกที่สุดสำหรับลูกค้าธนาคารกรุงไทย คลิกเลย
- Bualuang mBanking ธนาคารกรุงเทพ
- MyMo ธนาคารออมสิน
- KKP Mobile
ระยะเวลารอผล
- กรณีรับรายงานทางอีเมล: ภายใน 24 ชั่วโมง
- กรณีรับรายงานทางไปรษณีย์: ภายใน 7 วัน
-
TTB Touch แอปพลิเคชันของธนาคารธนชาต ระยะเวลาในการรอผล
- กรณีรับรายงานทางอีเมล: ภายใน 3 วัน
- กรณีรับรายงานทางไปรษณีย์: ภายใน 7 วัน
-
ทำรายการผ่านภายใน เว็บไซต์ธนาคารกรุงศรีฯ
ระยะเวลาในการรอผล 7 วัน
ข้อควรรู้ สถานะเครดิตบูโรเป็น 0 คืออะไร
เมื่อรู้วิธีเช็คบูโรด้วยตัวเองแล้ว ต่อมาก็ต้องรู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานะเครดิตบูโร หลายคนที่เช็คข้อมูลมาแล้วอาจสงสัยว่าเครดิตบูโรเป็น 0 คืออะไร อธิบายได้ว่าเครดิตบูโรของคุณอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะไม่มียอดค้างชำระเกิน 30 วัน โดยข้อมูลสถานะจะแสดงเป็น 0 – F ดังนี้
สถานะ 0 ไม่ค้างชำระ หรือค้างชำระไม่เกิน 30 วัน
สถานะ 1 ค้างชำระ 31 - 60 วัน
สถานะ 2 ค้างชำระ 61 - 90 วัน
สถานะ 3 ค้างชำระ 91 - 120 วัน
สถานะ 9 ค้างชำระ 271 - 300 วัน
สถานะ F ค้างชำระมากกว่า 300 วัน
ทำอย่างไรให้เครดิตบูโรเป็น 0
ถึงขั้นตอนนี้ ถ้าพบว่าสถานะเครดิตบูโรของเรากำลังน่าเป็นห่วง อยากขอสินเชื่อ แต่ดูแล้วน่าจะผ่านยาก ลองมาดูกันสิว่า เราจะสามารถแก้สถานะเครดิตบูโรให้เป็น 0 หรือกลับมาเป็นปกติได้อย่างไร
- เคลียร์หนี้ให้หมด โดยเช็คสถานะเครดิตบูโรว่ามีหนี้สินอะไรคงค้างอยู่ อย่าเพิ่งก่อหนี้ใหม่ แล้ววางแผนชำระหนี้ให้หมด อาจใช้วิธีขอพักชำระหนี้ ทยอยชำระขั้นต่ำจนหมด ไม่ให้มีข้อมูลค้างในระบบ
-
สร้างสถานะเครดิตบูโรขึ้นใหม่ เป็นการสร้างความน่าเชื่อถืออีกครั้ง ด้วยการขอสินเชื่อเงินสด หรือบัตรเครดิตแล้วชำระตามข้อตกลงให้ถูกต้อง เพียงเท่านี้สถานะเครดิตบูโรของเราก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น
สำหรับใครที่รับเงินเดือนผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย ขอแนะนำเงินกู้ฉุกเฉิน ทางเลือกในการมีเงินพร้อมใช้ในยามฉุกเฉิน สร้างสถานะเครดิตบูโรใหม่ ด้วย สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ* ที่ให้วงเงินสดสำรองพร้อมใช้สูงสุดถึง 15 เท่าของเงินเดือนตามเงื่อนไข ดอกเบี้ยต่ำ ไม่จำเป็นต้องค้ำประกัน คิดดอกเบี้ยตามจริง ถ้าไม่ใช้ก็ไม่เสียดอกเบี้ย - รออนุมัติเครดิตบูโรเป็น 0 เนื่องจากธนาคารแต่ละแห่งจะติดตามพฤติกรรมการชำระหนี้ตามระยะเวลาที่ธนาคารกำหนด ก่อนพิจารณาสินเชื่อใหม่อีกครั้ง ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลา 6 เดือน หรือ 1 - 2 ปี
เครดิตบูโรเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คิด เพราะทุก ๆ การใช้จ่ายผ่านสถาบันการเงินข้อมูลจะบันทึกเอาไว้เพื่อเป็นคะแนนให้กับเราในการขอสินเชื่อครั้งต่อ ๆ ไป ดังนั้น อย่ามองข้ามการชำระหนี้สิน ควรใส่ใจและตรงต่อเวลาเสมอ รวมทั้งตรวจเช็คสถานะเครดิตบูโรด้วยตัวเอง เพื่อให้ข้อมูลถูกต้อง และเป็นการรักษาสถานะเครดิตที่ดีสำหรับการขอสินเชื่อในอนาคต
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
*อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 11.07% – 16.57% ต่อปี | อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง MRR = 7.57% ต่อปี (ณ วันที่ 20 พ.ย. 66) | อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ | วงเงินสูงสุด 15 เท่าของเงินเดือน สำหรับกรณีที่หน่วยงานต้นสังกัดทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคาร (MOU)| เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด