เรียนรู้การเงิน

สรุปชัด! วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องรู้

อัพเดทวันที่ 6 ก.ค. 2567

วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ต้องรู้

เมื่อเริ่มทำงานมีรายได้ หน้าที่สำคัญที่เพิ่มขึ้นมาคือการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกปี แต่หลายคนที่ยังไม่เคยเสียภาษีอาจจะมีคำถามว่าวิธีคิดภาษีต้องคิดอย่างไร? ต้องเอาเงินตรงไหนมาคำนวณบ้าง? กรุงไทยรวบรวมเนื้อหาและตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องรู้ พร้อมข้อมูลเรื่องสิทธิลดหย่อนให้ทุกคนได้เตรียมตัวสำหรับการวางแผนจ่ายภาษี สรุปชัดไว้ในบทความนี้แล้ว


เงินได้ที่ต้องเสียภาษี มีอะไรบ้าง?

เงินได้ที่ต้องเสียภาษี คือ เงินได้หรือรายได้ที่เราได้รับจากการทำงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เป็นต้น


สิ่งที่นำมาคำนวณภาษี ได้แก่

  • รายได้

    รายได้รวมตลอดทั้งปี ตั้งแต่ 1 มกราคาจนถึง 31 ธันวาคม ทั้งรายได้จากงานประจำและรายได้เสริมอื่นๆ

  • ค่าใช้จ่าย

    ต้นทุนในการทำธุรกิจ หรือหากรับเป็นเงินเดือนสามารถหักค่าใช่จ่ายแบบเหมา 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยไม่เกิน 100,000 บาท

  • ค่าลดหย่อนภาษี

    สิทธิขอลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อนพื้นฐาน ครอบครัว การลงทุน กองทุน หรือประกัน

  • อัตราภาษี

    ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะคิดอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันได หรือแบบเหมาจ่าย ขึ้นอยู่กับว่าแบบใดจะเสียภาษีมากกว่าให้ยึดจ่ายตามนั้น


วิธีคำนวนภาษี

  1. หารายได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย

    รายได้คือเงินได้ตลอดทั้งปีที่ได้รับนำมาบวกกันทั้งหมด วิธีหารายได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย ตัวอย่าง นางสาว A มีเงินเดือน 30,000 บาทต่อเดือน ได้รับโบนัส 60,000 บาท และมีรายได้จากงานอิสระรวม 50,000 บาทต่อปี แสดงว่ารายได้ตลอดทั้งปีของนางสาว A คือ

    เงินเดือนทั้งปี + รายได้อิสระทั้งปี = รายได้ต่อปี
    (30,000 x 12) + 60,000 + 50,000 =  470,000 บาท

    ค่าใช้จ่ายโดยทั่วไปจะคิดแบบเหมารวม ซึ่งสามารถนำมาหักได้ 50% ของรายได้จากงานประจำ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ตัวอย่าง นางสาว A มีเงินเดือน 30,000 บาทต่อเดือน นำมาหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้

    รายได้ x 50% = รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย
    470,000 x 50% = 235,000 บาท

    ด้วยข้อจำกัดการหักค่าใช้จ่ายไม่เกิน 100,000 บาท แม้จะนำรายได้หักค่าใช้จ่ายได้ 235,000 แต่จะหักค่าใช้จ่ายได้เพียง 100,000 บาทเท่านั้น ดังนี้

    470,000 - 100,000 = 370,000 บาท
    รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจริงจึงเท่ากับ 370,000 บาท

  2. หารายได้สุทธิหักค่าลดหย่อนภาษี

    สำหรับรายได้สุทธิเป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นว่ารายได้จริงๆ อยู่ในระดับฐานภาษีเท่าไหร่ และต้องจ่ายภาษีในอัตรากี่เปอร์เซ็นต์ โดยรายได้สุทธิแต่ละระดับจะถูกคิดอัตราภาษีที่แตกต่างกันเป็นขั้นบันได ยิ่งมีเงินได้สุทธิมาก ยิ่งต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นตามไปด้วย โดยสามารถคิดรายได้สุทธิได้จากสูตรการคำนวณภาษี ดังนี้

    “รายได้สุทธิ = เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน”

    ข้อควรรู้สำคัญคือ สิทธิลดหย่อนภาษีของตัวเอง โดยค่าลดหย่อน
    หมายถึง ค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่กฎหมายอนุญาตให้หักจากรายได้ หรือที่เรียกกันว่าการลดหย่อนภาษี

ตัวอย่างสิทธิในการลดหย่อนภาษี

สำหรับใครที่กำลังมองหากองทุน RMF หรือ SSF ลดหย่อนภาษีที่ผลการดำเนินงานโดดเด่น เพื่อเติมโอกาสทำกำไรให้พอร์ตกองทุน กรุงไทยมีตัวอย่างกองทุนที่น่าสนใจมาแนะนำ อาทิ

1. กลุ่มส่วนตัวและครอบครัว
  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้ (ได้สูงสุด 1 คน) ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้ (ได้สูงสุด 1 คน)

  • ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน

2. กลุ่มการลงทุน
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท โดย

  • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds) เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

  • RMF กองทุนเปิด KTAM WORLD เทคโนโลยี อาร์ทิฟิเชียล อินเทลลิเจนซ์ อิควิตี้ เพื่อการเลี้ยงชีพ (KT-WTAI RMF) กองทุนเปิดเคแทม เวียดนาม อิควิตี้ เพื่อการเลี้ยงชีพ (KT-VIETNAM RMF) กองทุนเปิดเคแทม โกลด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ (KT-GOLD RMF) เป็นต้น
  • SSF กองทุนเปิดเคแทม อินเดีย อิควิตี้ ฟันด์ (ชนิดเพื่อการออม) (KT-INDIA-SSF) กองทุนเปิดเคแทม ยูเอส โกรท อิควิตี้ ฟันด์ (ชนิดเพื่อการออม) (KT-US-SSF) กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ฟันด์ (ชนิดเพื่อการออม) (KT-FINANCE-SSF) เป็นต้น
3. กลุ่มประกัน
  • เงินประกันสังคม สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยเงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือ ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และถ้าหากมีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไข ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
  • เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท

    โดยในส่วนนี้ทางกรุงไทยเรามีประกันชีวิตและประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยมากมาย ให้คุณนำไปลดหย่อนภาษีและคุ้มครองครอบคลุมตอบโจทย์ในทุกสถานการณ์ 
4. กลุ่มบริจาค
  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป

    ทั้งนี้สามารถศึกษาสิทธิในการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th

3. นำมาหักภาษีแบบขั้นบันได

เมื่อทราบรายได้สุทธิให้นำรายได้สุทธิมาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได โดยนำรายได้ได้สุทธิคูณกับอัตราภาษีแต่ละขั้น เพื่อหาว่าเราต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ โดยอัตราภาษีเพิ่มขึ้นตามเงินได้สุทธิที่มากขึ้น

ตัวอย่างการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี (ตามขั้นบันได) = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

อัตราภาษีแบบขั้นบันได

  • 0 – 150,000 บาท ยกเว้นอัตราภาษี
  • 150,001 – 300,000 บาท อัตราภาษี 5% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดในขั้นนี้คือ 7,500 บาท)
  • 300,001 – 500,000 บาท อัตราภาษี 10% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 20,000 บาท)
  • 500,001 – 750,000 บาท อัตราภาษี 15% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 37,500 บาท)
  • 750,001 – 1,000,000 บาท อัตราภาษี 20% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 50,000 บาท)
  • 1,000,001 – 2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 250,000 บาท)
  • 2,000,001 – 5,000,000 บาท อัตราภาษี 30% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 600,000 บาท)
  • 5,000,000 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%

ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

นางสาว A มีรายได้ทั้งปี 470,000 บาท หักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนจากประกันสังคม 9,000 บาท มีตัวช่วยลดหย่อนเพิ่มเติมคือ บริจาคเงินกับโรงพยาบาล 1,000 บาท สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคเท่ากับ 2,000 บาท

เงินได้ - ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
470,000 - 100,000 - 60,000 - 9,000 – 2,000 = 299,000 บาท

จากนั้นนำเงินได้สุทธิไปเทียบอัตราภาษีแบบขั้นบันได ซึ่งเงินได้สุทธิของนางสาว A จะอยู่ระหว่างฐาน 150,001 – 300,000 บาท อัตราภาษี 5% ซึ่งทำให้นางสาวซีต้องเสียภาษี ดังนี้

เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี (ตามขั้นบันได) = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
299,000 – 150,000 (อัตราภาษีขั้นแรก) = 149,000 บาท
149,000 x 5% = 7,450 บาท

จากตัวอย่างข้างต้นสรุปได้ว่านางสาว A ต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงิน 7,450 บาท

เมื่อทราบวิธีคำนวณภาษีและเห็นตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว ลองนำรายได้ของตัวเองมาคำนวณภาษี เพื่อเตรียมตัวสำหรับวางแผนการจ่ายภาษีล่วงหน้า และเช็คสิทธิลดหย่อนก่อนจะยื่นภาษี ไม่ว่าจะเป็นกองทุน หรือประกัน ทางกรุงไทยมีพร้อมให้คุณเลือกอย่างครอบคลุม คุ้มค่า ให้เราเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการบริหารเงินสำหรับการคิดภาษีเงินได้ของคุณ ทั้งนี้สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.krungthai.com

สรุปชัด! วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องรู้ | ธนาคารกรุงไทย การคิดภาษีเงินได้ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนต้องรู้ บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจในวิธีคิดภาษี เพื่อวางแผนการลดหย่อนภาษีที่เหมาะสม

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง