เรียนรู้การเงิน

เทคนิครีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน สำหรับคนอยากลดดอกเบี้ยบ้าน

อัพเดทวันที่ 5 พ.ย. 2566

หนึ่งในความฝันของใครหลาย ๆ คนคือการที่ได้มีบ้านเป็นของตัวเองแต่ราคาบ้านไม่ว่าจะเป็นบ้านโครงการหรือการสร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง ถ้ารอเก็บเงินให้ครบก็อาจจะใช้เวลานานหลายปีกว่าที่จะได้มีบ้านเป็นของตัวเอง ดังนั้นการกู้ซื้อบ้านจึงเป็นทางเลือกอันดับต้น ๆ ของคนส่วนใหญ่

การกู้ซื้อบ้านเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของเส้นทางไปสู่ความฝันในการมีบ้านเมื่อเราได้ค้นหาข้อมูลในเรื่องของ ดอกเบี้ย ระยะเวลาในการผ่อนชำระ รวมถึงเงื่อนไขในการยื่นขอกู้เงินกับทางธนาคารเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องชำระเงินกู้ และเมื่อเราผ่อนบ้านมาเป็นเวลา 3 ปีขึ้นไป และอยากจะลดภาระดอกเบี้ย การรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงินก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจเลยทีเดียว

เพราะเป็นการย้ายสินเชื่อบ้าน* ที่กู้อยู่กับธนาคารเดิมไปยังธนาคารใหม่ที่เสนออัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงกว่าเดิม นอกจากนี้ยังเป็นทางเลือกในการกู้เงินเพิ่ม แบบดอกเบี้ยไม่สูงที่เรียกว่า การรีไฟแนนซ์บ้านขอวงเงินเพิ่ม

การรีไฟแนนซ์บ้าน คือกระบวนการที่เจ้าของบ้านขอสินเชื่อใหม่จากสถาบันการเงินแห่งใหม่ เพื่อชำระคืนสินเชื่อเดิมจากสถาบันการเงินปัจจุบันที่เราผ่อนบ้านอยู่ ข้อดีของการรีไฟแนนซ์คืออาจทำให้ค่าผ่อนบ้านลดลงและประหยัดเงินได้ในระยะยาว โดยทั่วไปแล้วเจ้าของบ้านสามารถรีไฟแนนซ์บ้านได้หลังจาก 3 ปีแต่บางกรณีอาจสามารถทำได้เร็วกว่านั้น

การรีไฟแนนซ์บ้านเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่กู้ซื้อบ้านเพราะสินเชื่อใหม่ที่ขอมักจะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าทำให้สามารถประหยัดเงินได้ในระยะยาว อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการขอรีไฟแนนซ์บ้านก็คือต้องเปรียบเทียบข้อเสนอจากหลายธนาคารและ พิจารณาค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการรีไฟแนนซ์ก่อนตัดสินใจ


รีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงินคืออะไร

การรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน(Cash-Out Refinance) คือ การรีไฟแนนซ์บ้านพร้อมกับการได้รับสิทธิ์ในการกู้เงินอเนกประสงค์เพิ่มเติมจากมูลค่าบ้าน ซึ่งเงินสดนี้สามารถใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้ เช่น การปรับปรุงบ้าน ชำระหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือใช้เพื่อบริหารสภาพคล่องได้ตามที่ผู้กู้ต้องการ

การรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงินจะมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะในเรื่องวงเงินกู้เพิ่มเติมที่ผู้ขอกู้มักจะได้รับการเสนออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าสินเชื่อส่วนบุคคลทำให้สามารถนำเงินกู้ส่วนเกินไปบริหารต่อได้โดยมีต้นทุนที่ต่ำกว่า

อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ การเปรียบเทียบข้อเสนอจากหลายธนาคารรวมถึงพิจารณาค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการรีไฟแนนซ์ก่อนตัดสินใจ


ตัวอย่างการรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน

คุณสมชาย กู้ซื้อบ้านมาในวงเงิน 3,000,000 บาท กับธนาคาร A ผ่านไป 3 ปี คุณสมชายมียอดหนี้คงค้าง 2,500,000 บาทคุณสมชายมองเห็นว่าหลังจาก 3 ปีไปแล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านจะปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว เขาจึงอยากจะลดภาระดอกเบี้ยบ้าน เลยตัดสินใจทำเรื่องขอรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคาร B

ซึ่งธนาคาร B ให้ราคาประเมินบ้านอยู่ที่ 3,000,000 บาทเท่ากับที่ซื้อมาในตอนแรก โดยธนาคาร B ได้ประเมินและให้วงกู้สูงสุดที่ 90% ของราคาประเมินบ้าน (3 ล้านบาท)

ดังนั้นคุณสมชายสามารถกู้จากธนาคารใหม่ได้อยู่ที่ 2,700,000 บาท เนื่องจากคุณสมชายอยากนำเงินส่วนหนึ่งไปปิดหนี้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดที่เป็นหนี้อยู่100,000 บาท

ประกอบกับคุณสมชายอยากจะเก็บเงินไว้เพื่อบริหารสภาพคล่องและค่าใช้จ่ายของตนเอง จึงขอกู้เงิน 2,700,000 บาท โดยนำ 2,500,000 บาท ไปปิดยอดสินเชื่อบ้านของธนาคาร A และนำอีก 100,000 บาท ซึ่งเป็นสินเชื่ออเนกประสงค์ ไปปิดหนี้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด และเก็บไว้บริหารสภาพคล่องอีก 100,000 บาท

โดยทางธนาคาร B จะทำสัญญาเงินกู้แยกออกเป็น 2 สัญญา ได้แก่

1. สัญญาเงินกู้สำหรับการรีไฟแนนซ์บ้านวงเงิน 2,500,000 บาท
2. สัญญาเงินกู้อเนกประสงค์วงเงิน 200,000 บาท

ส่วนในเรื่องของระยะเวลาในการผ่อนชำระและอัตราดอกเบี้ย การรีไฟแนนซ์บ้านขอเพิ่มวงเงิน จะมีอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกันในแต่ละธนาคารขึ้นอยู่กับวิธีการคิดดอกเบี้ยจองธนาคารนั้นๆ ธนาคารบางแห่งอาจคิดดอกเบี้ยส่วนของวงเงินกู้เพิ่มมากกว่าดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้าน 1-3% ต่อปี ซึ่งโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 4-7% ต่อปี

แต่ธนาคารบางแห่งก็คิดอัตราดอกเบี้ยของวงเงินกู้เพิ่มเท่ากับดอกเบี้ยที่ขอรีไฟแนนซ์บ้าน หรือสูงกว่าเล็กน้อย โดยเฉลี่ยรวมประมาณ 3-4% ต่อปีทั้งในส่วนของสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน*และสินเชื่ออเนกประสงค์ (เงินกู้ส่วนเพิ่ม)

ยกตัวอย่างเช่น สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์**จากธนาคารกรุงไทยที่ให้ดอกเบี้ยคงที่ 2.50% ผ่อนเพียงล้านละ 3,500 บาท นาน 6 เดือน วงเงินกู้ไม่เกินยอดหนี้คงเหลือจากสถาบันการเงินเดิม ทั้งนี้วงเงินกู้รวมแล้วสูงสุดไม่เกิน 100% ของราคาประเมินทรัพย์สิน นานสุด 40 ปี ฟรีทั้งค่าธรรมเนียมยื่นกู้และค่าประเมินราคาทรัพย์สิน

พิเศษสำหรับใครที่ต้องการขอวงเงินเพิ่มเติมจากวงเงินกู้รีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านจากธนาคารกรุงไทยเพื่อนำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น ๆ ก็สามารถใช้สิทธิ์ขอกู้สินเชื่อ Home for Cash (Top Up)**สินเชื่อเงินกู้อเนกประสงค์ ที่กู้ง่ายได้ทั้งลูกค้าสินเชื่อบ้านรายเก่าและรายใหม่ (ผู้ขอสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์)*ของธนาคารกรุงไทย ด้วยวงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 100% ของราคาประเมินทรัพย์สิน (ใช้วงเงินเดียวกันกับราคาประเมินทรัพย์สิน) สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท ระยะเวลาการกู้ยืมสูงสุด 30 ปี (อายุผู้กู้ร่วมระยะเวลากู้ยืมไม่เกิน 65 ปี) ผ่อนชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย แบบลดต้นลดดอก เรียกได้ว่าสะดวก ง่ายและตอบโจทย์กับผู้ที่กำลังมองหาสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงินแบบสุด ๆ


ดอกเบี้ยของวงเงินกู้เพิ่มอยู่ที่เท่าไหร่

คำถามที่หลายคนอยากรู้ก็คือ ‘ดอกเบี้ยของวงเงินกู้เพิ่มอยู่ที่เท่าไหร่’ ในที่นี้จะขออ้างอิงถึงดอกเบี้ยวงเงินกู้เพิ่มสินเชื่อ Home for Cash*** โดยอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาในการผ่อนชำระของสินเชื่อ Home for Cash**
จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท


1.เงินกู้แบบกำหนดระยะเวลา (Term Loan)

  • ระยะเวลาผ่อนชำระบ้าน น้อยกว่า 2 ปี อัตราดอกเบี้ย = MRR* = 7.32% ต่อปี
  • ระยะเวลาผ่อนชำระบ้าน ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป อัตราดอกเบี้ย = MRR* - 0.50% = 6.82% ต่อปี

2.เงินกู้แบบหมุนเวียน (Revolving Loan)

  • อัตราดอกเบี้ย = MRR*+1.00% = 8.32% ต่อปี
    *อัตราดอกเบี้ย MRR = 7.32% ต่อปี (ณ วันที่ 25 ก.ค. 66)


รีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน ดีไหม

การรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงินเป็นคำถามที่ใครหลายคนกำลังค้นหาคำตอบอยู่อย่างแน่นอน ก็ต้องบอกว่าคำว่าดีของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน แต่ถ้าถามว่า ‘เหมาะ’ หรือไม่ ก็ต้องบอกว่า สินเชื่อที่ให้วงเงินเพิ่มจากสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน*เหมาะอย่างแน่นอนสำหรับคนที่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน

อย่างคนที่เป็นหนี้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสด อัตราดอกเบี้ยในระดับ 16-25% ถือว่าหนักพอสมควร การกู้เงินวงเงินใหม่เพื่อไปผ่อนกับธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่าโดยมีข้อได้เปรียบที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอยู่ถือว่าตอบโจทย์ตรงนี้พอสมควร และนี่คือข้อดีที่จะได้รับจากการกู้เงินรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน

  1. สามารถนำไปปิดหนี้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด


    อย่างที่กล่าวไปว่าอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดนั้นสูงได้ถึง 16-25% ต่อปี การใช้วงเงินกู้อเนกประสงค์จากสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน *เพิ่มวงเงินเพื่อมาปิดหนี้บัตรเครดิตถือว่าเป็นแนวทางที่ดี
  2. ใช้บริหารสภาพคล่อง


    ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อใดชีวิตจำเป็นต้องใช้เงิน บางครั้งเจ้าของธุรกิจต้องการบริหารสภาพคล่อง การไปกู้หนี้ยืมสินจากสินเชื่อส่วนบุคคล อัตราดอกเบี้ยก็จะสูงอยู่และแน่นอนว่าต้องมีอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ได้ ซึ่งก็จะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงเป็นอย่างมาก ส่วนบุคคลทั่วไปที่ถึงจังหวะเวลาที่ต้องรีไฟแนนซ์พอดีและต้องการเงินสดเอาไว้บริหารสภาพคล่องส่วนบุคคลก็สามารถใช้ประโยชน์จากสัญญารีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงินซึ่งถือเป็นสัญญาเงินกู้หลักได้
  3. ใช้ต่อเติมและซ่อมแซมบ้าน


    ปัจจุบันคนที่ฝันอยากมีบ้านก็เกิดจากการได้เห็นตัวอย่างบ้านตามโฆษณา หรือ โซเชียลมีเดียต่าง ๆ หรือได้เห็นจากสถานที่จริง เมื่อเห็นแล้วก็มีแนวคิดที่อยากจะตกแต่งหรือต่อเติมให้ได้สวยอย่างที่โฆษณา

ดังนั้นถ้าใครที่ต้องการตกแต่งต่อเติมบ้านหรือซ่อมแซมบ้านเมื่อครบ 3 ปีก็อาจจะเป็นจังหวะที่เหมาะสมที่จะได้ทั้งรีไฟแนนซ์ดอกเบี้ยบ้านให้ถูกลงพร้อมกับได้เงินสดซักก้อนไว้ใช้ตกแต่งต่อเติมบ้านหรือซ่อมแซมบ้านก็ได้


 รีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงินสามารถใช้ชำระหนี้บัตรเครดิตได้


รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมได้มั้ย

คุณสามารถรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมได้แต่ปกติการขอรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมจะเรียกว่า ‘การขอลดดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารเดิม หรือ การรีเทนชั่น (Retention)

โดยปกติเมื่อคุณขอรีเทนชั่นบ้านกับธนาคารเดิม คุณจะต้องติดต่อธนาคารและขอสินเชื่อใหม่ โดยธนาคารจะประเมินสถานการณ์ประวัติการชำระสินเชื่อบ้านและเสนออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ลดลงให้คุณ หากคุณยอมรับข้อเสนอของธนาคาร คุณจะต้องทำเอกสารและชำระค่าธรรมเนียมการขอสินเชื่อ

เราเชื่อว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยและสามารถเป็นข้อมูลให้ผู้ที่กำลังตัดสินใจจะทำรีไฟแนนซ์บ้านได้ไปทำการบ้านเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจยื่นกู้จริง ทั้งนี้ท่านใดที่ชื่นชอบบทความทางด้านการเงินและการลงทุนดี ๆ แบบนี้ สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.krungthai.com


กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว

อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 1.67% ต่อปี ถึง MLR -0.75% ต่อปี | อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) อยู่ระหว่าง 5.29% - 5.47% ต่อปี โดยคำนวณจากวงเงินกู้ 1 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 7,700 บาท/เดือน | MLR = 7.05% ต่อปี (ณ วันที่ 20 พ.ย. 66) | อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ | เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

**อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 1.67% ต่อปี ถึง MLR -0.75% ต่อปี | อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) อยู่ระหว่าง 5.12% - 5.47% ต่อปี โดยคำนวณจากวงเงินกู้ 1 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 7,700 บาท/เดือน | MLR = 7.05% ต่อปี (ณ วันที่ 20 พ.ย. 66) | อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ | เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

***อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง MLR -1.00% ต่อปี ถึง MLR +1.50% ต่อปี | อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) อยู่ระหว่าง 6.80% - 8.55% ต่อปี โดยคำนวณจากวงเงินกู้ 1 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 8,100 - 9,100 บาท/เดือน | MLR = 7.05% ต่อปี (ณ วันที่ 20 พ.ย. 66) | อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ | เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

เทคนิครีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน สำหรับคนอยากลดดอกเบี้ยบ้าน | ธนาคารกรุงไทย การรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน ตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องการลดภาระดอกเบี้ย นอกจากนี้ยังสามารถขอวงเงินกู้เพิ่มจากการรีไฟแนนซ์บ้านได้ด้วย