หาเงินกู้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน มีแหล่งเงินก้อนที่น่าเชื่อถือที่ไหนบ้าง
เงินกู้สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ทางออกสำหรับหลายคนที่ต้องการเงินก้อน เมื่อเริ่มเจอปัญหาหมุนเงินไม่ทัน ขาดสภาพคล่อง หรือมีเรื่องต้องใช้จ่ายจำเป็น การกู้ยืมเงินจากคนรู้จัก หรือแหล่งเงินกู้ที่ไม่น่าเชื่อถืออาจไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก ที่สำคัญยังต้องระวังเรื่องดอกเบี้ยที่สูงกว่าปกติ หรือดอกเบี้ยมหาโหดเมื่อผิดนัดชำระ
ถ้าเช่นนั้น จะดีกว่าไหม หากเรารู้จักแหล่งเงินกู้และเงินก้อนที่เชื่อถือได้ เอาไว้พึ่งพิงในยามที่ต้องการ หรือเพื่อเป็นเงินกู้สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน
แหล่งเงินก้อน และทางเลือกสำหรับเงินกู้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
1.เงินเก็บสำรองฉุกเฉิน
เงินก้อนนี้คือเงินที่เราเก็บออมไว้ใช้เฉพาะยามจำเป็น หรือใช้แทนการกู้เงินสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน บางคนเก็บไว้สำหรับกรณีเจ็บป่วย บางคนก็สำรองไว้เผื่อขาดรายได้ หรือเมื่อต้องการเงินก้อน เงินเก็บสำรองก้อนนี้ถือเป็นแหล่งเงินก้อนที่ปลอดภัยและไม่สร้างภาระผูกพัน เพราะเป็นทรัพย์สินที่เราสะสมไว้ ซึ่งโดยปกติแล้วเงินก้อนนี้ควรมีไม่ต่ำกว่า 3 - 6 เท่าของรายจ่ายในแต่ละเดือน หรือจะให้ดีควรมีมากถึง 12 เท่าของรายจ่ายแต่ละเดือน เพื่อเซฟสภาพคล่องทางการเงิน
2.เงินเก็บสำรองฉุกเฉิน
ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยต่อลมหายใจ แหล่งเงินกู้ใช้แทนเงินในอนาคตให้กับใครหลายคน โดยมีเงื่อนไขในการชำระเงินเมื่อครบกำหนดรอบบิล ทว่าหากไม่สามารถชำระค่าใช้จ่ายได้ ก็จะมีดอกเบี้ยติดตามมาในอัตราสูงสุด 20% ต่อปีของยอดหนี้ นับตั้งแต่วันที่ใช้รูดบัตร อีกทั้งยังใช้เบิกถอนเงินสดออกจากบัตรมาใช้จ่ายล่วงหน้าได้ด้วย ซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีดอกเบี้ยเช่นกัน ซึ่งมาในรูปแบบของค่าธรรมเนียมการกดเงินสด ที่มักอยู่ในอัตรา 3% ของจำนวนเงินสดที่เบิกถอนไปนับตั้งแต่วันที่กดเงินสดออกมา ผู้ใช้ควรต้องศึกษาเงื่อนไขให้ดี และใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น คำแนะนำสำหรับการใช้บัตรเครดิตก็คือ ให้ใช้เพื่อรูดใช้จ่ายล่วงหน้าเป็นหลัก และชำระค่าใช้จ่ายให้ตรงเวลา เพื่อให้ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ส่วนการกดเงินสดควรใช้เมื่อจำเป็นจริง ๆ หรือมองหาสินเชื่ออื่น ๆ แทน เพราะการกดเงินสดจากบัตรเครดิตดอกเบี้ยจะเริ่มคิดทันทีที่กดเงินออกมา
3.บัตรกดเงินสด
บัตรกดเงินสด ไม่เฉพาะบัตรเครดิตที่สามารถกดเงินสดออกมาใช้ก่อนได้ เพราะยังมีบัตรกดเงินสดที่ตอบโจทย์คนที่ต้องการเงินก้อนเหมือนกัน โดยสถาบันการเงินจะออกบัตรกดเงินให้นำไปใช้ได้ที่ตู้ ATM ข้อดีของบัตรกดเงินสดคือสามารถกดเงินออกมาใช้เท่าใดก็ได้ ไม่จำกัดจำนวนครั้งภายใต้วงเงินที่ได้รับการอนุมัติ ไม่จำเป็นต้องมีหลักประกันใด ๆ แต่มีข้อควรระวังคือ เป็นแหล่งเงินกู้ที่อัตราดอกเบี้ยที่มักอยู่ที่ราว 20% ขึ้นไป หรือสูงสุดได้ถึง 28% ซึ่งมากที่สุดในบรรดาดอกเบี้ยสินเชื่อทุกประเภท
4.สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล
เป็นสินเชื่อที่รองรับทุกความต้องการใช้เงิน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ต้องการเงินกู้สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน สินเชื่อประเภทนี้ไม่ต้องการหลักประกันหรือคนค้ำประกันใด ๆ สามารถสมัครสินเชื่อออนไลน์หรือติดต่อธนาคารเพื่อขอสินเชื่อได้ โดยธนาคารจะกำหนดวงเงินสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยมาให้ ปัจจุบันการขอสินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคลทำได้ไม่ยาก และปลอดภัย เชื่อถือได้ ที่สำคัญคืออัตราดอกเบี้ยที่น้อยกว่าการกู้นอกระบบ มีระยะเวลาผ่อนชำระที่ยืดหยุ่นตั้งแต่ 12 – 60 เดือน เป็นแหล่งเงินกู้หนึ่งที่น่าสนใจ
ข้อควรรู้ก่อนมองหาเงินกู้สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน
ธนาคารกรุงไทยขอนำเสนอ สินเชื่อส่วนบุคคล “กรุงไทยใจป้ำ” แหล่งเงินกู้ที่มอบวงเงินกู้สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินให้สูงสุด 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน ไม่เกิน 1 ล้านบาท สำหรับผู้มีรายได้ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป โดยไม่ต้องมีหลักประกัน อนุมัติง่าย ในรูปแบบของการกู้ผ่าน แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT สินเชื่อกรุงไทยใจป้ำ* ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก
สรุปทางเลือก สำหรับผู้ที่ต้องการเงินกู้ฉุกเฉิน
เงินสำรองฉุกเฉิน |
บัตรเครดิต |
บัตรกดเงินสด |
สินเชื่อส่วนบุคคล |
|
จุดเด่น |
เป็นเงินเก็บของตัวเอง นำมาใช้ได้โดยไม่มีข้อผูกมัด ไม่มีดอกเบี้ย |
|
|
|
วงเงิน |
ไม่มีวงเงิน ขึ้นอยู่กับการเก็บออม |
พิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ หรือรายได้ |
พิจารณาจากรายได้ ส่วนใหญ่มากกว่าวงเงินบัตรเครดิต |
วงเงินสูงสุด 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน |
การชำระขั้นต่ำ |
ไม่มียอดชำระขั้นต่ำ |
10% ของยอดหนี้ต่อเดือน |
ประมาณ 3 - 5% ของยอดชำระต่อเดือน |
ชำระเต็มจำนวนตามกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระ |
ข้อควรระวัง |
ควรออมเงินในจำนวนที่มากพอ และออมเพิ่มหลังจากนำเงินออกไปใช้ |
|
|
อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับวงเงิน ยิ่งวงเงินกู้สูง อัตราดอกเบี้ยจะน้อย
ทั้งนี้ควรขอสินเชื่อมาใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น |
ข้อควรรู้ก่อนมองหาเงินกู้ฉุกเฉิน
เมื่อเรารู้แล้วว่าแหล่งเงินก้อน หรือเงินกู้สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ไหนที่สามารถช่วยเสริมสภาพคล่องให้เราได้ ก่อนตัดสินใจอย่าลืมพิจารณารายละเอียดอื่น ๆ ของแหล่งเงินกู้ที่จำเป็นเพิ่มเติม ได้แก่
-
อัตราดอกเบี้ย เป็นข้อที่สำคัญที่สุด เพราะเงินก้อนบางรูปแบบแม้สะดวกและง่าย แต่ก็ต้องแลกมาด้วยดอกเบี้ยที่แสนแพง ก่อนจะมองหาเงินกู้สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงต้องทราบอัตราดอกเบี้ยต่อปี วิธีคำนวณดอกเบี้ย และดอกเบี้ยเพิ่มเติมในกรณีผิดนัดชำระหนี้
-
ค่าธรรมเนียม บางครั้งในการทำธุรกรรมทางการเงิน จะมีค่าธรรมเนียมที่ผู้กู้ต้องจ่ายเพิ่ม อาทิ ค่าธรรมเนียมจากการกดเงินสดจากบัตรเครดิต ค่าติดตามทวงถามหนี้ เป็นต้น
-
กำหนดการชำระเงินคืน เมื่อรับเงินกู้สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินมาแล้ว ต้องรู้ว่ามีกำหนดชำระอย่างไร เพื่อวางแผนใช้จ่าย และหลีกเลี่ยงการเสียดอกเบี้ยเพิ่มหากผิดนัดชำระ
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
*เงื่อนไขและเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อัตราดอกเบี้ย 20-22%ต่อปี ผ่อนหมื่นละ 10 บาทต่อวัน (คิดจากเงินต้น 10,000 บาท ดอกเบี้ย 20%ต่อปี ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 4,609 บาท ค่างวด 300 บาทต่อเดือน ผ่อน 60 เดือน)