เรียนรู้การเงิน

ลงทุนหุ้นต่างประเทศไม่ยาก พร้อมข้อดีข้อเสียการลงทุนต่างประเทศ

อัพเดทวันที่ 20 ก.ย. 2566

ลงทุนหุ้นต่างประเทศไม่ยาก พร้อมข้อดีข้อเสีย

นักลงทุนย่อมมองหากำไรและต้องรู้จักกระจายความเสี่ยง การลงทุนหุ้นต่างประเทศจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นักลงทุนเริ่มให้ความสนใจ เพราะการซื้อขายหุ้นต่างประเทศ มีอัตราการเติบโตที่สูง มีเทรนด์การลงทุนที่น่าสนใจและหลากหลาย อีกทั้งเป็นทางเลือกในการกระจายความเสี่ยงนอกเหนือจากหุ้นไทย

ปัจจุบันการซื้อขายหุ้นต่างประเทศทำได้ง่ายขึ้น บทความนี้จะพาทุกคนมารู้จักวิธีการลงทุนหุ้นต่างประเทศ พร้อมบอกข้อดีและข้อเสียเพื่อการตัดสินใจในการซื้อหุ้นต่างประเทศ


ข้อดีและข้อเสียของการลงทุนหุ้นต่างประเทศ


ข้อดีของการซื้อหุ้นต่างประเทศ

  1. ช่วยกระจายความเสี่ยง
    การซื้อหุ้นต่างประเทศช่วยกระจายความเสี่ยงได้ เพราะความผันผวนเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เช่น ปัญหาเงินเฟ้อ เป็นต้น หากลงทุนในประเทศเดียว 100% ต้องแบกรับความเสี่ยงมากกว่าคนที่มีการแบ่งไปลงทุนหุ้นต่างประเทศด้วย
  2. มีโอกาสเติบโตสูงจากหุ้นดีๆ 
    หุ้นต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่เน้นไปทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่อย่าง Fintech, E-Commerce, AI, Mobile Applications และ Healthcare เป็นต้น ทำให้นักลงทุนมีโอกาสลงทุนในหุ้นใหม่ ๆ ที่ประเทศไทยยังไม่มี
  3. มีโอกาสได้ผลตอบแทนจากการลงทุนในบริษัทชั้นนำของโลก
    เชื่อว่าทุกคนต้องรู้จัก Apple, Tencent, Tesla หรือ Meta เพราะเป็นชื่อบริษัทดังๆ ที่ทำกำไรได้สูงในตลาดต่างประเทศ ดังนั้นหากซื้อหุ้นต่างประเทศโดยลงทุนในบริษัทชั้นนำเหล่านี้ก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนดีไปด้วย
  4. กำไรจากการขายหุ้นได้รับการยกเว้นภาษี
    โดยปกติแล้วหากเราไปลงทุนหุ้นต่างประเทศโดยตรง นักลงทุนมีโอกาสที่จะต้องเสียภาษีจากกำไรส่วนต่างราคา หรือจากเงินปันผล (Capital gain Tax) ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศนั้นกำหนดไว้ แต่ปัจจุบันเรามีเครื่องมือการลงทุนใหม่ ๆ ที่ทำให้เราลงทุนหุ้นต่างประเทศแบบไม่ต้องกังวลเรื่องภาษีดังกล่าว เช่น ตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (Depositary Receipt) (DR) ที่ทำให้เราลงทุนในหุ้นต่างประเทศผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และไม่ต้องเสียภาษีจากกำไรจากส่วนต่างราคาอีกด้วย
  5. ขายชอร์ต (Short Sell) ได้คล่องตัวกว่าไทย
    การขายชอร์ต (Short Sell) คือ การยืมหุ้นที่คาดว่าจะลงไปขายเพื่อทำกำไร เมื่อยืมครบกำหนดแล้วจะต้องซื้อหุ้นนั้นมาคืนและจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ให้ยืม สำหรับในประเทศไทยการขายชอร์ตจะถูกควบคุมโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ถ้าลงทุนหุ้นต่างประเทศการขายชอร์ตจะทำได้ง่ายกว่า จึงเป็นโอกาสดีที่เราจะสามารถทำเงินจากหุ้นต่างประเทศที่อยู่ในช่วงขาลงได้

ข้อดีของการซื้อหุ้นต่างประเทศ



ข้อเสียของการซื้อหุ้นต่างประเทศ

  1. ต้องยอมรับความเสี่ยงเมื่อค่าเงินผันผวน
    ความเสี่ยงอันดับต้น ๆ ของการลงทุนต่างประเทศที่นักลงทุนจะต้องยอมรับ ไม่ว่าการลงทุนนั้นจะเป็นหุ้น กองทุนรวม หรือพันธบัตร คือค่าเงินที่ผันผวน เช่น ณ ช่วงนั้นได้กำไรจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ แต่ ณ ขณะนั้นคือช่วงที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงมาก ๆ กลับกลายเป็นว่าขาดทุนเมื่อแลกกลับมาเป็นบาท เป็นต้น
  2. มีปัญหาด้านการสื่อสารและข้อมูลที่เป็นภาษาต่างประเทศ
    อยากลงทุนหุ้นต่างประเทศอาจจะต้องฝึกภาษากันสักนิด เพราะการซื้อหุ้นต่างประเทศส่วนใหญ่ต้องสื่อสารและทำความเข้าใจข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ แต่สำหรับคนที่จะลงทุนหุ้นต่างประเทศอย่างหุ้นญี่ปุ่นหรือหุ้นยุโรป บางบริษัทอาจไม่มีข้อมูลภาษาอังกฤษให้ เพราะส่วนใหญ่จะใช้ภาษาประจำถิ่น
  3. ไม่มีการกำหนดราคา “สูงสุด” (Ceiling) “ต่ำสุด” (Floor) ที่สามารถซื้อขายได้ในวันนั้น
    หุ้นต่างประเทศอย่างสหรัฐฯ ไม่มีการกำหนดราคาสูงสุดและต่ำสุด บางคนอาจมองว่าได้เปรียบเพราะมีโอกาสพุ่งทะลุเกิน 100% ซึ่งสามารถกอบโกยกำไรได้อย่างมหาศาล แต่ในทางตรงกันข้ามก็สามารถดิ่งลงไปถึง -80% ได้เช่นกัน ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับคนที่ไม่มีเวลามาดูพอร์ต เพราะอาจ Cut Loss หรือ ขายหุ้นทั้งที่ขาดทุน เพื่อป้องกันไม่ให้ขาดทุนไปมากกว่านี้ไม่ทัน


ลงทุนหุ้นต่างประเทศกับกรุงไทยดีอย่างไร

ธนาคารกรุงไทยได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้เป็นผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า DR และ DRx (Depositary Receipt) โดยธนาคารกรุงไทยจะเป็นผู้ดำเนินการซื้อหลักทรัพย์ต่างประเทศมาเก็บไว้ เพื่อใช้ออกเป็นผลิตภัณฑ์ DR และ DRx โดยจะนำตราสารนี้มาเสนอขายและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และทำหน้าที่ที่สำคัญ เช่น

  • ดูแลและตรวจสอบหลักทรัพย์ต่างประเทศให้มีจำนวนเพียงพอกับตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศอยู่เสมอ
  • ดูแล ติดตาม และส่งผ่านผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกิดจากหลักทรัพย์ต่างประเทศให้แก่ผู้ถือตราสาร เช่น การจ่ายเงินปันผล ซึ่งอาจมีค่าธรรมเนียมในการจัดการหรือนำส่งผลประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
  • ติดตามข้อมูลข่าวสารที่สำคัญของหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีการเปิดเผยเป็นสาธารณะในต่างประเทศ
  • แจ้งข้อมูลข่าวสารให้แก่นักลงทุนผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ของธนาคาร เว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
  • ดูแลสภาพคล่อง (DR Market Maker) ให้ปริมาณผลิตภัณฑ์ DR และ DRx ที่ธนาคารฯ เป็นผู้ออก มีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการซื้อขาย
  • ทำหน้าที่เป็น Market Maker เพื่อตั้ง Bid - offer และรักษา Spread ในช่วงเวลาที่ธนาคารกำหนดด้วย

ธนาคารกรุงไทยได้ออก DR และ DRx มาหลายตัว เช่น Alibaba, BYD, Tencent, Xiaomi, Apple, Tesla, Microsoft เป็นต้น

สำหรับ DR และ DRx (Depositary Receipt) คือ ตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยผู้ออกที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. จะซื้อหลักทรัพย์ต่างประเทศมาและนำมาจดทะเบียนเป็นตราสาร DR ในตลาดหลักทรัพย์ไทยเพื่อให้นักลงทุนสามารถซื้อขายได้เป็นสกุลเงินบาท


จุดเด่นของ DR และ DRx ของกรุงไทย

  • มีเงินน้อยก็ลงทุนได้ (DR: ขั้นต่ำ 1 หน่วย, DRx ขั้นต่ำ 0.0001 หน่วย)
  • สะดวกเพราะซื้อขายเป็นเงินบาท ไม่ต้องเสียเวลาแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ
  • นักลงทุนจะเห็นราคา Real Time บนกระดานหุ้นไทย
  • สามารถซื้อขายได้ตลอดระยะเวลาเปิดทำการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดย DR จะเปิดตามเวลาตลาดหุ้นไทยแบบไม่มีพักกลางวัน ในขณะที่ DRx เปิดให้ซื้อขาย 2 ช่วงเวลาคือ Asia Time zone: 7.00-17.00 น. และ US Time zone: 20.00-04.00 น.
  • เริ่มต้นได้ง่ายและสะดวก เพราะสามารถใช้บัญชีหุ้นซื้อขาย DR ได้ทันที และสามารถกดเปิดบัญชี DRx จากใน App Streaming เพิ่มได้เลย


DR และ DRx เหมาะกับใคร?

  • ผู้ที่ต้องการลงทุนต่างประเทศ ด้วยจำนวนเงินลงทุนไม่มาก
  • ผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยง และลดความผันผวนของพอร์ตลงทุนจากที่ถือหุ้นไทย 100%
  • ผู้ที่ต้องการความง่าย ความสะดวกสบายในการลงทุนต่างประเทศ

 ซื้อหุ้นต่างประเทศกับกรุงไทยดีอย่างไร


ขั้นตอนการลงทุนหุ้นต่างประเทศผ่าน DR

  1. ดาวน์โหลด Krungthai NEXT แอปพลิเคชัน
  2. เลือกเมนู “บริการ” > เลือก “หลักทรัพย์ KTX”
  3. เลือก “เปิดบัญชีหลักทรัพย์”
  4. กรอกข้อมูลส่วนบุคคลและทำแบบประเมินความเสี่ยง
  5. ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดและกดปุ่ม “ยืนยัน”
  6. รอผลอนุมัติ “เปิดบัญชีหลักทรัพย์สำเร็จ”


เริ่มต้นลงทุนหุ้น DRx กับกรุงไทย

สำหรับ DRx หรือ Fractional DR เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ผู้ลงทุนเข้าถึงหลักทรัพย์ชั้นนำในระดับโลกได้สะดวกผ่านตลาดหลักทรัพย์ไทย โดย DRx สามารถลงทุนได้ด้วยเงินน้อย ซื้อขายได้ทั้งเป็นจำนวนบาทหรือในระดับหน่วยทศนิยม

  • ผู้สนใจลงทุนที่มีบัญชีหุ้นอยู่แล้วสามารถเข้าแอปฯ “Streaming by Settrade” เลือก “My Menu” แล้วเลือก “DRx” เพื่อแจ้งความประสงค์ขอเปิดบัญชี DRx (Fractional DR) และสามารถส่งคำสั่งซื้อขาย DRx ที่ต้องการเป็น จำนวนเงินบาท หรือจำนวนหลักทรัพย์ก็ได้ และใช้ PIN เดียวกับบัญชีหุ้นหลัก
  • ผู้ที่ยังไม่มีบัญชีซื้อขายหุ้นสามารถขอเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายหุ้น ผ่านแอปฯ Krungthai NEXT เลือกเมนู “หลักทรัพย์ KTX” และแจ้งความประสงค์ขอเปิดบัญชี DRx บนแอป Streaming

เห็นได้ว่าการซื้อหุ้นต่างประเทศช่วยกระจายความเสี่ยงจากการซื้อหุ้นแค่ในประเทศ ทั้งยังมีโอกาสเติบโตจากหุ้นที่ไม่มีในไทย และได้ผลตอบแทนจากบริษัทชั้นนำของโลก สำหรับกรุงไทยมีหุ้น DR ให้เลือกลงทุน มีตัวอย่างดังนี้

  • BIDU80 หุ้น AI เปลี่ยนโลก ของบริษัท ไป่ตู้ อิงค์ (Baidu, Inc.) ผู้ให้บริการ search engine อันดับหนึ่งในจีน และเป็นผู้ให้กำเนิด AI อย่าง Ernie Bot คู่แข่งของ ChatGPT
  • NETEASE80 โอกาสลงทุนหุ้นเกมของจีน ของบริษัท เน็ตอีส อิงค์ (NetEase, Inc.) บริษัทผู้พัฒนาเกมมือถือและพีซียอดนิยมของจีน เติบโตไปพร้อมกับโอกาสที่มาพร้อมกับการผ่อนปรนมาตรการควบคุมต่างๆ ของจีน
  • BYDCOM80 หุ้นนวัตกรรมแห่งอนาคตของบริษัท บีวายดี จำกัด (BYD Company Limited) บริษัทสัญชาติจีนที่เป็นผู้นำด้านการผลิตรถพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ระดับโลก

สำหรับหุ้น DRx ที่น่าสนใจได้แก่

  • MSFT80X หุ้น AI เปลี่ยนโลก ของบริษัท ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น (Microsoft Corporation) ผู้ปฏิวัติวงการ AI ด้วย ChatGPT และเป็นผู้ผลิต Software รวมถึงให้บริการ Cloud computing รายใหญ่ของโลก
  • GOOG80X หุ้น AI เปลี่ยนโลกของบริษัท อัลฟาเบท อิงค์ (Alphabet Inc.) ผู้เป็นเจ้าของ Search engine อันดับหนึ่งของโลกอย่าง Google รวมถึงระบบปฏิบัติการมือถืออย่างง Android และยังเป็นผู้พัฒนา AI ชื่อ Bard คู่แข่งคนสำคัญของ ChatGPT
  • NVDA80X หุ้น AI เปลี่ยนโลกของบริษัท เอ็นวิเดีย คอร์ปอเรชั่น (NVIDIA Corporation) ผู้ผลิตชิปรายหลักของโลก ซึ่งเป็นผู้ผลิต GPU ที่ให้กำเนิด AI อย่าง ChatGPT ของ Open AI และ Bard ของ Google

สำหรับนักลงทุนที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือ Krungthai Contact Center โทร. 02-111-1111 หรือที่ www.krungthai.com

ลงทุนหุ้นซื้อขายหุ้นต่างประเทศไม่ยาก พร้อมข้อดีและข้อเสีย | ธนาคารกรุงไทย เรียนรู้ข้อดีและข้อเสียของการลงทุนหุ้นต่างประเทศ พร้อมแนะนำขั้นตอนการซื้อขายหุ้นต่างประเทศกับกรุงไทย ต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกัน