ซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ที่ไหนดี ที่ให้ความคุ้มครองที่คุ้มค่า
อุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แถมเวลาที่เกิดเหตุมักจะมาในเวลาที่เราไม่พร้อมในหลายๆเรื่อง โชคดีมากหน่อยเราอาจจะเจอกับอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง เราอาจจะแค่เป็นแผลถลอกนิดหน่อย แต่ถ้าร้ายแรงมากก็อาจถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้เลย โดยเฉพาะประเทศไทยที่คนไทยทุกคนมีโอกาสประสบเหตุได้มากกว่าประเทศอื่นๆในโลกด้วยเป็นประเทศที่มีจำนวนยานพาหนะประเภทรถมอเตอร์ไซค์มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลกด้วยจำนวน X คัน ตามมาด้วยเวียดนามและอินโดนีเซีย นั่นแปลว่า “ความเสี่ยงที่ผู้ขับขี่รถมอร์เตอร์ไซค์ในประเทศไทยจะมีโอกาสเผชิญกับอุบัติเหตุ” ย่อมมากกว่าประเทศใดในโลก
คำถามคือ เราสามารถทำนายได้หรือไม่ว่าเราจะเกิดอุบัติเหตุวันไหนเวลาใด เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้อย่างแน่นอนดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือการปิดความเสี่ยงโดยให้ “ผู้อื่น” มารับความเสี่ยงในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินแทนเรา ซึ่งในที่นี้ก็คือ “ประกันอุบัติเหตุ” นั่นเอง วันนี้เราอยากจะชวนคุณมาทำความรู้จักกับประกันอุบัติเหตุแบบเข้มข้นเจาะลึกถึงประเภทและประโยชน์ว่าทำไมเราถึงจำเป็นที่จะต้องทำประกันอุบัติและเราจะทำประกันอุบัติเหตุกับที่ไหนดี ติดตามได้จากบทความนี้เลยครับ
ประกันอุบัติเหตุคืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง?
ประกันอุบัติเหตุ คือ ประกันที่คุ้มครองผู้เอาประกันภัยเมื่อประสบอุบัติเหตุที่สร้างความเสียหายแก่ร่างกาย เช่น บาดเจ็บ กระดูกหัก สูญเสียอวัยวะ พิการ หรือเสียชีวิต โดยประกันอุบัติเหตุจะมีเบี้ยให้เลือกตั้งแต่หลักร้อยบาท ไปจนถึงหลักพันบาทต่อปี โดยจะออกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้ตามวงเงินประกันภัย รวมถึงจ่ายค่าชดเชยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ ซึ่งประกันอุบัติเหตุแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Assurance หรือ PA ) คือ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่คุ้มครองผู้เอาประกันเพียงคนเดียวเท่านั้น โดยบริษัทจะจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเกิดความสูญเสียทางร่างกาย (บาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ พิการ เสียชีวิต) จากอุบัติเหตุเท่านั้น หากเกิดจากการเจ็บป่วยเป็นโรคจะไม่ได้รับความคุ้มครอง
ประกันอุบัติเหตุแบบกลุ่ม หรือ ประกันกลุ่ม คือ เป็นการรับประกันภัยบุคคลหลายคนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียวซึ่งการประกันภัยแบบกลุ่มนั้นมีทั้งประกันสุขภาพกลุ่ม ประกันชีวิตกลุ่ม และประกันอุบัติเหตุกลุ่ม และความคุ้มครองจะครอบคลุมถึงกลุ่มที่เกิดขึ้นภายใต้องค์กร โดยจะต้องเป็นองค์กรธุรกิจที่ประกอบด้วยจำนวนพนักงานประจำตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หรือหน่วยงานที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เป็นสวัสดิการรูปแบบหนึ่งที่ทางองค์กรแสดงความจริงใจและตั้งใจที่จะมอบให้กับลูกจ้างที่ทำงานเพื่อบริษัทและต้องเผชิญความเสี่ยง
ประกันอุบัติเหตุสำหรับนักเรียน คือ เป็นประกันกลุ่มสำหรับกลุ่มนักเรียนนักศึกษา โดยโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่เป็นรับผิดชอบจัดหาความคุ้มครองให้นักเรียนหรือนักศึกษาภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยเดียวกัน โดยมีวิธีการคิดเบี้ยประกันเป็นแบบเหมา
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลคุ้มครองอะไรบ้าง?
ในกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล และอุบัติเหตุกลุ่ม โดยปกติจะมีแบบให้เลือก 2 แบบด้วยกัน คือ แบบ อบ. 1 และ แบบ อบ. 2 ซึ่งในเงื่อนไขแบบ อบ. 1 จะให้ความคุ้มครองที่น้อยกว่าแบบ อบ. 2 เพื่อให้เห็นภาพเข้าใจง่าย แบบ อบ. 1 จะมีความคุ้มครองให้เลือกซื้อ 4 ความคุ้มครอง ได้แก่
- การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
- การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง
- การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน
- การรักษาพยาบาล
ส่วนแบบ อบ. 2 จะให้ความคุ้มครองเพิ่มจาก อบ. 1 ได้แก่
- การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา และการทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
- การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง
- การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน
- การรักษาพยาบาล
- การสูญเสียนิ้ว การสูญเสียการรับฟังเสียง/การพูดออกเสียง และการทุพพลภาพถาวรบางส่วน
เงื่อนไขประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA ใครบ้างที่ไม่สามารถทำได้
อ่านมาถึงตรงนี้ ผู้อ่านคงเข้าใจแล้วว่าเราทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องเผชิญความเสี่ยงในทุกๆวันที่ตัวเรานั่งอยู่บนเบาะรถมอเตอร์ไซค์อยู่แล้ว แต่มีข้อควรรู้อีกประการหนึ่งที่จะต้องบอกนั่นคือไม่ใช่ทุกคนที่ที่สามารถทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลแบบรายปีได้ เพราะประกันสุขภาพอุบัติเหตุแบบ PA ก็จะมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ซื้อประกันอุบัติระบุเอาไว้อยู่ว่าใครบ้าง ที่สามารถซื้อได้และใครบ้างที่ไม่สามารถซื้อได้ และโดยปกติประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA คนที่ไม่สามารถทำประกันอุบัติเหตุได้ จะมีอยู่ 2 เงื่อนไขด้วยกัน คือ
ทำประกัน PA ไม่ได้ เพราะติดเงื่อนไขเรื่องอายุ
เรื่องของ “อายุ” ถือเป็นหนึ่งในข้อจำกัดที่บริษัทประกันภัยจะระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับอายุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า บุคคลที่จะซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลแบบรายปีต้องอายุมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์(ซึ่งเป็นอายุที่สามารถทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์ได้) และไม่เกิน 60-65 ปี แล้วแต่เงื่อนไขของบริษัทประกันภัยที่รับทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล แต่ละแห่ง
ทำประกัน PA ไม่ได้ เพราะติดเงื่อนไขอาชีพ
อาชีพแต่ละอาชีพมีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญในแต่ละวันแตกต่างกันออกไป ซึ่งก็มีจะผลต่อการทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA ด้วยเช่นกัน เพราะอาชีพอย่างเช่นไรเดอร์ ลูกจ้างก่อสร้าง พนักงานขับรถส่งสินค้า พนักงานดับเพลิง ชาวประมง หรือคนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ก็ย่อมมีความเสี่ยงมากกว่าบุคคลที่เวลาส่วนใหญ่นั่งทำงานในออฟฟิศ ดังนั้นก่อนที่จะซื้อ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล คุณควรศึกษารายละเอียดของกรมธรรม์ก่อนซื้อทุกครั้ง
วิธีการเลือกประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล
เมื่อเราเข้าใจถึงประเภทของประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ข้อจำกัดต่างๆ รวมไปถึงขอบเขตการคุ้มครองของประกันอุบัติเหตุส่วนบุคลแล้ว คำถามที่มักจะเกิดขึ้นในใจของผู้ที่กำลังจะตัดสินใจเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลสักฉบับหนึ่ง เราจะต้องพิจารณาจากปัจจัยอะไรบ้าง
1.เลือกตามประเภทความคุ้มครอง
ก่อนที่เราจะเลือกประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลอยากให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์หลักของของประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลก่อนว่า ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลนั้นมีไว้เพื่อเป็นหลักประกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ และชดเชยความเสียหายกรณีเสียชีวิตหรือได้รับความเสียหายบางอย่างจากอุบัติเหตุ หรือจะเป็นกรณีที่เป็นประกันสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล ในลักษณะนี้ก็จะมีสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลแบบ IPD และ OPD ด้วย ซึ่งก็จะต้องจ่ายเบี้ยเพิ่มเติม ดังนั้นอยู่ที่ว่าเรามีไลฟ์สไตล์แบบไหน หรือต้องเผชิญความเสี่ยงแบบไหนในแต่ละวันก็สามารถเลือกซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่เหมาะกับรูปแบบการใช้ชีวิตของตนเองก้ได้
2.เลือกจากวงเงินคุ้มครองและเบี้ยประกัน
หลักการเลือกวงเงินคุ้มครองที่ดีจะต้องมีจุดเริ่มต้นมาจากการคำนวณเบี้ยประกันที่สอดคล้องกับรายได้ที่เหมาะสม แต่โดยทั่วไปแล้วประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลจะมีการจ่ายเบี้ยประกันต่อเดือนที่ไม่สูงมาก โดยจะมีตั้งแต่ หลักร้อย ไปจนถึงหลักพัน ซึ่งก็จะมีความคุ้มครองที่ครอบคลุมและเงินชดเชยที่สูงขึ้นตามเบี้ยประกันที่เราจ่าย ดังนั้นเราก็ต้องเลือกให้เหมาะกับตัวเรามากที่สุด มิเช่นนั้นจะเป็นการจ่ายเบี้ยประกันทิ้งโดยใช่เหตุและไม่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เราต้องเผชิญ
3.เลือกเงื่อนไขของกรมธรรม์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตัวเอง
รูปแบบการใช้ชีวิตและอาชีพของคนเรานั้นแตกต่างกัน มีตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง หมอ พยาบาล ตำรวจ ทหาร ข้าราชการ พนักงานเอกชน พนักงานขนส่งสินค้า พนักงานส่งขนมวลชน ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าแต่ละอาชีพที่กล่าวมาพบเจอความเสี่ยงที่แตกต่างกัน อย่างเช่น พนักงานขับรถมอเตอร์ไซค์ส่งของ ก็มีโอกาสพบเจอกับอุบัติเหตุบนท้องถนนมากกว่าผู้บริหารที่มีคนขับรถส่วนตัว
ดังนั้นการเลือกกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับความต้องการและความเสี่ยง รวมถึงอาชีพของเราจึงเป็นเรื่องแรกๆที่ต้องนำมาพิจารณา ยกตัวอย่างเช่น ประกันอุบัติเหตุ PA เปย์สบายจาก Krungthai ที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 3,000 บาทต่อครั้ง โดยครอบคลุมถึงอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ด้วย รวมไปถึงการชดเชยรายได้ระหว่างการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ที่มีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุถึง 300 บาทต่อวัน เป็นต้น
ซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่ไหนดี คุ้มค่า ครอบคลุม
หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ที่ออกแบบมาเพื่อประกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้เอาประกันที่เป็นบุคคลที่ต้องมีการสัญจรโดยใช้รถจักรยานยนต์ หรือ ผู้ที่ต้องโดยสารรถจักรยานยนต์อยู่เป็นประจำ (พนักงานออฟฟิศที่โดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้างก็ถือเป็นผู้มีความเสี่ยง) กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คำถามต่อมาคือ แล้วเราจะเลือกซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่ไหนดี ที่ความคุ้มครองจะครอบคลุม และคุ้มค่าเบี้ยประกันที่เราจ่ายไปทุกบาททุกสตางค์
ความคุ้มค่าเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราได้รับผลแห่งประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่เราได้ทุ่มเท หรือใช้จ่ายลงไป ในที่นี้ถ้าเราจ่ายเบี้ยประกันเฉลี่ยเพียงวันละ 1 บาทกับประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA เปย์สบาย รับคุ้มครองจากอุบัติเหตุสูงสุด 150,000 บาท พร้อมทั้งชดเชยรายได้อยู่ที่ 300 บาทต่อวัน ซึ่งจะมาชดเชยรายได้ที่จะหายไปเนื่องจากเราพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและไม่สามารถไปทำงานได้ นอกจากนี้ผู้เอาประกันที่สามารถสมัครประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA เปย์สบาย สามารถสมัครได้ตั้งแต่อายุ 15 ปี ไปจนถึง 60 ปี ครอบคลุมทุกเจเนอเรชัน
และสำหรับคนที่นอกเหนือที่จะอยากมีกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุที่พ่วงเรื่องการรักษาพยาบาลด้วย ผลิตภัณฑ์ ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล Health DIY ที่ให้คุณอุ่นใจเรื่องค่ารักษาพยาบาล ด้วยความคุ้มครองแบบเลือกได้ ไม่ว่าจะเป็นความคุ้มครองแบบผู้ป่วยใน (IPD) ผู้ป่วยนอก (OPD) ค่าชดเชยรายวัน รวมไปถึงความคุ้มครองกรณีที่ตรวจพบโรคร้าย
ด้วยวงเงินความคุ้มครองในกรณีที่เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุสูงสุดถึง 50,000 บาทต่อครั้ง พร้อมทั้งรองรับค่าห้องพักรักษาตัวปกติสูงสุดถึง 4,000 บาทต่อวัน และค่าห้องผู้ป่วยหนัก ICU/CCU สูงสุด 8,000 บาทต่อวัน และถ้าในกรณีตรวจพบโรคร้ายแรงจ่ายทันที 100,000 บาท
อุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอไม่ว่าจะกับใคร ดังนั้นเพื่อไม่ให้สถานะทางการเงินของเราต้องสะดุด การยึดหลักการบริหารความเสี่ยงซึ่งเป็นหนึ่งในฐานของปิรามิดทางการเงินที่ประกอบไปด้วย การวางแผนทางด้านการเงิน(บริหารสภาพคล่อง การถ่ายโอนความเสี่ยง (ผ่านการซื้อกรมธรรม์ประกันภัย) การออม และ การลงทุน ตามลำดับ
จะเห็นว่าถ้าฐานรากของการบริหารจัดการทางการเงินของเราไม่ดีแล้วนั้น เราอาจไม่มีวันไปถึงยอดของปิรามิด นั่นคือการลงทุน เพราะ การเจ็บป่วยและอุบัติเหตุเพียงครั้งเดียวสามารถพรากความมั่งคั่งที่เราสะสมมาให้หายไปได้ทั้งหมด ดังนั้นก่อนที่จะต่อยอดทางการเงินอย่าลืมนึกถึงเรื่องของความเสี่ยงมาก่อนเสมอ และติดตามบทความดีๆ พร้อมสาระน่ารู้เกี่ยวกับการเงินได้ใหม่ที่ www.krungthai.com
ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)