เรียนรู้การเงิน

หนี้เยอะมาก สำรวจพฤติกรรมก่อให้เกิดหนี้ พร้อมแก้ปัญหาให้ถูกจุด

อัพเดทวันที่ 23 ก.ค. 2566

หนี้เยอะมาก สำรวจพฤติกรรมก่อหนี้ พร้อมแก้ปัญหาให้ถูกจุด

เป็นหนี้เยอะมากทำไงดี? เมื่อเงินเดือนเข้าก็ออกไปรวดเร็วราวกับสายน้ำไหล หามาเท่าไหร่ก็ใช้หนี้ จนหมด เมื่อหนี้ท่วมหัวจนหาทางออกไม่เจอ นอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพทางการเงินแล้ว ความเครียดจาก หนี้เยอะก็ทำให้สุขภาพจิตแย่ตามไปด้วย กรุงไทยจึงอยากชวนทุกคนมาสำรวจพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดหนี้ พร้อมแก้ปัญหาให้ถูกจุด


อาการของคนมีหนี้ท่วมหัว

การมีหนี้เยอะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน เพราะจะเอาแต่คิดวนไปวนมาในหัวว่าจะใช้หนี้ยังไงดี โดยอาการที่พบบ่อยของคนที่มีหนี้ท่วมหัว ได้แก่

  • กินไม่ได้ นอนไม่หลับ มีแต่ความวิตกกังวล ยิ่งใกล้ถึงวันที่ต้องจ่ายหนี้ ยิ่งอยู่ไม่สุข เพราะคิดไม่ออกว่าจะหาเงินที่ไหนมาใช้หนี้
  • ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว เริ่มไม่อยากพูดคุยกับใคร เพราะกลัวว่าจะเก็บความเครียดจากหนี้เยอะ ไว้ไม่มิด และหากเจอคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินอาจทำให้คิดมากกว่าเดิม
  • เริ่มจ่ายหนี้ช้า เมื่อเริ่มชักหน้าไม่ถึงหลัง ครบกำหนดการชำระหนี้ก็ไม่มีเงินมาจ่าย เป็นสัญญาณที่บอกว่ากำลังมีหนี้ท่วมหัว
  • ยอดหนี้ไม่ลด แม้จะพยายามสะสางหนี้อยู่ตลอดเวลา แต่กลับจ่ายไปแค่ดอกเบี้ย มีผลให้ยอดหนี้ ไม่ลด แถมจะสูงขึ้น เพราะอาจก่อหนี้ใหม่ เพื่อมาใช้หนี้เก่านั่นเอง


สาเหตุของการเกิดหนี้

การมีหนี้เยอะอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้ที่ทำให้เกิดหนี้ได้ง่าย อาทิ

  • ​​ติดปาร์ตี้ กินหรู อยู่สบาย ทุกวันต้องมีคอนเทนต์ ว่างเมื่อไหร่ขอไปคาเฟ่ บาร์ หรือร้านอาหารหรูหรา เพื่อมีภาพลงโซเชียล โดยไม่คำนึงเรื่องจำนวนเงินที่ต้องจ่าย
  • ชอบผ่อน 0% ไม่ประเมินรายได้และรายจ่ายของตัวเอง ที่สำคัญขาดวินัยในการผ่อนชำระตามเงื่อนไขที่กำหนด ทำให้มีหนี้สะสมจนสะสางไม่ทัน
  • ทันทุกเทรนด์ เมื่อของมันต้องมีไปเสียทุกอย่าง ทุกครั้งที่มีสินค้าที่กำลังเป็นกระแสหรือเป็นที่นิยมก็ต้องมีกับเขาบ้าง แม้จะต้องอดข้าวก็ยอม
  • อยากร่ำรวยทางลัด เล่นหวยทุกงวด เล่นการพนัน โดยเฉพาะการพนันออนไลน์เพราะเชื่อว่าจะสามารถร่ำรวยได้ แต่สุดท้ายก็เป็นหนี้ท่วมหัว

ติดปาร์ตี้ กินหรู อยู่สบาย เป็นสาเหตุของการเป็นหนี้เยอะ



วิธีแก้ปัญหาด้านจิตใจ

เมื่อยังมองหาทางออกไม่เจอ ภาวะเครียดสะสมย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา การตั้งสติและดูแลจิตใจให้แข็งแรงคือสิ่งสำคัญที่ต้องทำ ลองค่อย ๆ ปรับตามนี้

  • ปรับ mindset ลองปรับวิธีคิดกับเรื่องพื้นฐานของชีวิต ท่องไว้ว่าเราต้องกินให้อิ่ม นอนให้หลับ เพื่อให้มีเรี่ยวแรงในการเผชิญปัญหาต่าง ๆ
  • ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เพราะร่างกายและจิตใจเป็นส่วนที่สัมพันธ์กัน หากร่างกายแข็งแรงจิตใจก็แจ่มใสไปด้วย
  • มีความสุขกับเรื่องเล็ก ๆ อย่าลืมอนุญาตให้ตัวเองมีความสุข โดยเฉพาะกับเรื่องเล็ก ๆ เช่น มีใครสักคนยิ้มให้ หรือได้ฟังเพลงโปรดแล้วร้องตาม เรื่องเล็ก ๆ เหล่านี้จะช่วยเพิ่มมุมมองบวกให้ชีวิต
  • ถอยห่างจากโซเชียล เลือกคอนเทต์ในโซเชียลที่จะดู เลี่ยงการติดตามไลฟ์โค้ชหรือไล่ตามดูคนที่ประสบความสำเร็จ เพื่อลดการกดดันตัวเอง และเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น
  • พูดคุยกับคนที่ไว้ใจ การระบายออกเป็นสิ่งที่ดี เลือกคนที่เป็นเซฟโซน อาจจะบอกเขาว่าไม่ต้องออกความคิดเห็นหรือหาวิธีช่วย เพียงแค่รับฟังก็พอ ซึ่งจะทำให้ความรู้สึกของเรามั่นคงขึ้น
  • ตั้งเป้าหมายใหม่ หาจุดโฟกัสให้ชีวิต เช่น การตั้งเป้าหมายลดค่าใช้จ่ายในระยะสั้น ๆ และค่อย ๆ ไล่ระดับไปจนถึงการปลดหนี้สินในระยะยาว เพื่อให้รู้สึกว่าประสบความสำเร็จเป็นช่วง ๆ จะได้ไม่ย่อท้อ
  • หากรู้สึกว่าหนี้เยอะ เครียดมาก ต้องการปรับจูนสภาพจิตใจ สามารถปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาตามโรงพยาบาลในเครือกรมสุขภาพจิตและโรงพยาบาลทั่วประเทศ หรือสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง


วิธีแก้ปัญหาด้านการเงิน


จัดลำดับการจ่ายหนี้  เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้เยอะสะสม


เป็นหนี้เยอะมากทำไงดี? กรุงไทยรวบรวมวิธีแก้ปัญหาด้านการเงิน ทางออกของการเป็นหนี้มาฝากกัน

  • สำรวจรายรับ รายจ่ายของตัวเอง ทำบันทึกการเงินในแต่ละเดือนว่ามีรายรับเท่าไหร่ รายจ่ายเท่าไหร่ เพราะเมื่อเห็นตัวเลขทั้งหมดจะทำให้รู้ว่าต้องบริหารจัดการเงินอย่างไร
  • ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ประหยัดรายจ่ายด้วยการลดมื้อบุฟเฟ่ต์ ลดการให้รางวัลตัวเองบ่อย ๆ อดใจกับสินค้าในช่วงโปรโมชั่น หากต้องซื้อของสักชิ้นให้คิดให้เยอะว่าเป็นของที่จำเป็น และซื้อมาแล้วคุ้มค่า
  • จัดลำดับการจ่ายหนี้ จดหนี้ทั้งหมดแล้วจัดลำดับการจ่ายหนี้ด้วยการจ่ายหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน แล้วไล่ระดับลงมา ไม่ว่าจะเป็นหนี้นอกระบบ หนี้บัตรกดเงินสด หนี้บัตรเครดิต เป็นต้น
  • มองหารายได้เสริม เพิ่มรายรับเพื่อมาใช้จ่ายและใช้หนี้ โดยเริ่มมองรายได้เสริมที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนสูง ไม่กระทบกับงานหลัก เช่น ขายของออนไลน์ งานฟรีแลนซ์ เมื่อหาเงินได้หลายทางก็จะมีรายรับมากขึ้น ความเครียดและหนี้ท่วมหัวของเราก็น้อยลงไปด้วย
  • รวมหนี้ หากเริ่มมีปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินจากการชำระหนี้ หรือมีภาระผ่อนชำระหนี้มากเกินไป การรวมหนี้จะทำให้สามารถปิดหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงให้หมดไว ๆ ได้ ด้วยการนำหนี้สินทั้งหมดรวมทั้งหนี้ดอกเบี้ยสูงมารวมกัน โดยกรุงไทยเปิดให้ทุกคนรวมหนี้ได้ เพื่อขอสินเชื่อมาปิดหนี้ต่าง ๆ กับสินเชื่อส่วนบุคคลที่สามารถกู้ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ได้แก่

    สินเชื่อกรุงไทยใจป้ำ* ​​สินเชื่อเงินด่วนอนุมัติเร็ว กู้หลักแสน ผ่อนหลักสิบ (คิดจากเงินต้น 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปี ระยะเวลา 60 เดือน) อาชีพไหนก็กู้ได้ แค่มีรายได้ต่อเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือคนค้ำประกัน

    สินเชื่อกรุงไทยเปย์เดะ** วงเงินสูงสุด 5 เท่าของรายได้/เดือน แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เงินกู้ออนไลน์สำหรับพนักงานประจำบริษัทเอกชนที่รับเงินเดือนผ่านบัญชีกรุงไทย

    สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ***เงินสดสำรองพร้อมใช้ วงเงินกู้สูงสุดถึง 15 เท่าของเงินเดือน (ขึ้นอยู่กับ MOU ที่ลูกค้าทำไว้กับธนาคาร) มีหรือไม่มีผู้ค้ำประกันก็ทำได้ คิดดอกเบี้ยตามจำนวนเงินใช้จริง

ทุกปัญหามีทางออกเสมอ เมื่อเริ่มเคลียร์หนี้ได้แล้ว กรุงไทยขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนสร้างวินัยทางการเงินใหม่ และปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้เหมาะกับรายรับจะได้ไม่ต้องเครียดเพราะหนี้เยอะอีกต่อไป


 กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว 

*เงื่อนไขและเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อัตราดอกเบี้ย 20-22%ต่อปี ผ่อนหมื่นละ 10 บาทต่อวัน (คิดจากเงินต้น 10,000 บาท ดอกเบี้ย 20%ต่อปี ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 4,609 บาท ค่างวด 300 บาทต่อเดือน ผ่อน 60 เดือน)

**เงื่อนไขและเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อัตราดอกเบี้ย MRR+7%ต่อปี (MRR=7.57%ต่อปี ณ 1 ม.ค.67) อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ผ่อนหมื่นละ 8 ขอแก้ไขเป็น 17 บาทต่อวัน (คิดจากเงินต้น 15,000 บาท ดอกเบี้ย MRR=14.57%ต่อปี (MRR=7.57%ต่อปี ณ 1 ม.ค.67) ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 3,697 บาท ค่างวด 500 บาทต่อเดือน ผ่อน 48 เดือน)

***อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง MRR +3.50% ต่อปี ถึง MRR +9.00% ต่อปี | อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง MRR = 7.57% ต่อปี (ณ วันที่ 20 พ.ย. 66) | อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ | วงเงินสูงสุด 15 เท่า สำหรับกรณีที่หน่วยงานต้นสังกัดทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคาร (MOU) | เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

หนี้เยอะมาก สำรวจพฤติกรรมก่อหนี้ พร้อมแก้ปัญหาให้ถูกจุด | ธนาคารกรุงไทย เป็นหนี้เยอะมากทําไงดี เป็นคำถามที่หลายคนสงสัย เรามาสำรวจพฤติกรรมก่อให้เกิดหนี้ท่วมหัว พร้อมแก้ปัญหาให้ถูกจุดกันดีกว่า