เรียนรู้การเงิน

ปรับโครงสร้างหนี้และพักหนี้บัตรเครดิต ทางออกปัญหาหนี้ท่วม เลี่ยงการผิดนัดชำระ

อัพเดทวันที่ 22 ก.ค. 2566

ปรับโครงสร้างหนี้และพักหนี้บัตรเครดิต ทางออกปัญหาหนี้ท่วม เลี่ยงการผิดนัดชำระ

ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ทางออกที่บางคนเลือกใช้เมื่อมีหนี้ท่วมจนเข้าขั้นวิกฤต ซึ่งส่วนมากมักเกิดจากรายรับที่ลดลง รายจ่ายที่มากขึ้น รวมทั้งการหมุนเงินไม่ทันจนทำให้หนี้สินสะสม แต่อย่างไรก็ดี การผิดนัดชำระหนี้ไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้อง ทางแก้ที่ดีที่สุดคือการติดต่อสถาบันการเงิน หรือบริษัทที่เป็นเจ้าหนี้เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ที่มีอยู่ โดยสามารถทำได้ทั้งการปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิต ไปจนถึงการพักหนี้บัตรเครดิต ปรับโครงสร้างหนี้บ้าน หนี้รถยนต์ หรือหนี้สินเชื่ออื่น ๆ

การปรับโครงสร้างหนี้ คือการขอปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการชำระหนี้ใหม่ ให้เหมาะกับความสามารถในการชำระหนี้ ช่วยให้จ่ายหนี้ได้ไหวตามกำลัง และไม่ทำให้เกิดหนี้เสีย (Non-Performing Loan : NPL) ซึ่งหากปล่อยไว้อาจส่งผลทางคดีความ เช่น ถูกฟ้องร้องหรือยึดทรัพย์ นั่นเอง

ก่อนที่เราจะเริ่มดำเนินการขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้บ้านหรือการพักหนี้บัตรเครดิต ควรพิจารณาจากสถานการณ์ทางการเงินของตัวเองก่อนว่ารายได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่อเดือนของเราเป็นเท่าไหร่ รายรับที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างไร และสามารถจ่ายหนี้ได้มากน้อยแค่ไหน ในระยะเวลาเท่าใด เนื่องจากระยะเวลาในการผ่อนชำระ จะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน จากนั้นค่อยศึกษาความคุ้มค่าของเงื่อนไขในการปรับโครงสร้างหนี้อย่างละเอียด และพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสมต่อไป


ปรับโครงสร้างหนี้ ควรทำเมื่อไหร่

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือการพักหนี้บัตรเครดิต ควรเริ่มทำทันทีเมื่อสังเกตพบว่าความสามารถในการชำระหนี้ของเราเริ่มไม่เหมือนเดิม หรือเมื่อได้รับผลกระทบจากรายได้ที่ลดลง และรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิตที่มีอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง การรีบติดต่อสถาบันการเงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้จะทำให้เราไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับการขอสินเชื่อ หรือขอรับบริการทางการเงินอื่น ๆ ในอนาคต


การปรับโครงสร้างหนี้และพักหนี้บัตรเครดิต ควรเริ่มทำเมื่อรู้สึกว่าจ่ายไม่ไหว



วิธีปรับโครงสร้างหนี้

การปรับโครงสร้างหนี้บ้านหรือบัตรแครดิตมีทางเลือกที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้แต่ละราย แบ่งได้ดังนี้


1. การขยายเวลาชำระหนี้

วิธีปรับโครงสร้างหนี้ยอดนิยมที่ช่วยให้ภาระการผ่อนต่อเดือนน้อยลง เป็นการยืดระยะเวลาผ่อนหนี้ที่เหลือออกไป เช่น จากเดิมมีระยะเวลาผ่อนชำระ 5 ปี ผ่อนมาแล้ว 2 ปี และเริ่มผ่อนในอัตราเดิมไม่ไหว ระยะเวลาอีก 3 ปีที่เหลือก็สามารถยืดระยะเวลาผ่อนชำระออกไปได้ ทั้งนี้ สถาบันการเงินจะพิจารณาอายุของผู้กู้ประกอบด้วย โดยค่าเฉลี่ยที่ผ่านมาจะอยู่ที่ประมาณ 8 ปี


2. การพักชำระเงินต้น

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าค่างวดที่ผ่อนชำระนั้นจะประกอบด้วยเงินต้นและดอกเบี้ย การพักชำระเงินต้นจะทำให้ช่วงเดือนที่เราพักชำระ เราจะจ่ายค่างวดเฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเท่านั้น ยกตัวอย่างค่าผ่อนชำระเดือนละ 10,000 บาท อาจประกอบด้วยเงินต้น 4,500 บาท และดอกเบี้ยอีก 5,500 บาท เมื่อเราพักชำระเงินต้นก็จะจ่ายค่างวดเหลือเพียง 5,500 บาท ข้อควรรู้ของการพักชำระเงินต้น คือเงินต้นจะไม่ลดลงในช่วงที่พักชำระ ทำให้ต้องจ่ายหนี้ก้อนใหญ่ขึ้นในช่วงท้ายสัญญา เรียกว่าการผ่อนแบบ Balloon หรืออาจทำให้ต้องผ่อนนานขึ้น จ่ายดอกเบี้ยรวมเยอะขึ้น ทั้งนี้ ยังมีทางเลือกในการโปะหนี้ หรือการนำเงินก้อนมาจ่ายเพื่อลดหนี้ก่อนครบกำหนดตามสัญญา วิธีนี้ก็จะช่วยให้ภาระดอกเบี้ยลดลง และปลดหนี้ได้ไวขึ้น


3. การลดอัตราดอกเบี้ย

เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ค่างวดในแต่ละเดือนก็จะแบ่งไปลดเงินต้นได้มากขึ้น ส่งผลให้ภาระดอกเบี้ยโดยรวมลดลงได้อีก วิธีการนี้ต้องขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินจะพิจารณา โดยมีหลายปัจจัย เช่น ประวัติการผ่อนชำระของลูกหนี้ หลักประกัน และประเภทของสินเชื่อ เป็นต้น


4. การผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้

สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยปรับบนฐานของงวดที่ผิดนัดชำระเท่านั้น ยกตัวอย่างการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระของสินเชื่อบ้าน* จากธนาคารแห่งประเทศไทย กรณีลูกหนี้ขอสินเชื่อ 5,000,000 บาท ดอกเบี้ย 8% ต่อปี มีค่างวด 42,000 บาท ประกอบด้วย เงินต้น 10,000 บาท และดอกเบี้ย 32,000 บาท หากผิดนัดชำระหนี้จะคิดดอกเบี้ยสูงสุด 20% ต่อปี เมื่อลูกหนี้ผ่อนชำระไปแล้ว 20 งวดและผิดนัดชำระในงวดที่ 21 จะคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนค่างวดส่วนที่เป็นเงินต้นจำนวน 10,000 บาทเท่านั้น


5. การเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital: WC)

ตัวช่วยปรับโครงสร้างหนี้สำหรับเจ้าของกิจการ เพื่อพยุงธุรกิจให้สามารถฟื้นตัวได้ในช่วงที่เผชิญกับความไม่แน่นอน โดยให้ผู้กู้ประมาณการรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า พร้อมเหตุผลในการขอเพิ่มวงเงินให้สถาบันการเงินพิจารณาวงเงินที่จะสามารถกู้ได้


6. การปิดหนี้ด้วยเงินก้อน

เมื่อเราสามารถหาเงินก้อนใหญ่ได้จำนวนหนึ่ง แม้จะไม่มากเท่ากับยอดหนี้ที่มีอยู่ แต่ก็สามารถเจรจากับสถาบันการเงินเพื่อขอส่วนลดสำหรับปิดหนี้ได้ โดยสถาบันการเงินอาจพิจารณากำหนดระยะเวลาชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในเวลาอันสั้น หรือเพียง 1-2 งวดเท่านั้น ทั้งนี้ หากเรามีหลักประกันมูลค่าสูงกว่ายอดหนี้ที่มีอยู่ อาจทำให้การเจรจาขอส่วนลดทำได้ค่อนข้างยาก


7. รีไฟแนนซ์ (Refinance)

การปรับโครงสร้างหนี้นี้ลักษณะคล้ายการเปลี่ยนเจ้าหนี้ใหม่ โดยการขอสินเชื่อจากเจ้าหนี้ใหม่ที่มีข้อเสนอดีกว่า มาปิดหนี้จากเจ้าหนี้เดิม ส่วนมากนิยมใช้กับสินเชื่อบ้าน* และสินเชื่อธุรกิจที่มีหลักประกัน


8. การเปลี่ยนประเภทหนี้

จากหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยแพงมาเป็นหนี้ประเภทที่จ่ายดอกเบี้ยถูกลง อย่างเช่น การปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิตมาเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล เพื่อให้ลูกหนี้นำเงินก้อนไปปิดหนี้บัตรเครดิตที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง แล้วมาผ่อนชำระผ่านสินเชื่อส่วนบุคคลแทน


แนะนำสินเชื่อส่วนบุคคล เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้

สินเชื่อกรุงไทยใจป้ำ** สินเชื่อเงินก้อนอนุมัติไว ให้วงเงินกู้สูงสุด 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท ไม่ต้องมีหลักทรัพย์​หรือผู้ค้ำประกัน กู้ง่าย ๆ ผ่าน แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT

สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ*** สินเชื่อสำหรับคนที่รับเงินเดือนผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย ให้วงเงินกู้สูงสุดถึง 15 เท่าของเงินเดือน หมดห่วงเรื่องภาระดอกเบี้ย เพราะให้ดอกเบี้ยต่ำ คำนวณตามจำนวนเงินใช้จริง

สินเชื่อกรุงไทยเปย์เดะ**** ดอกเบี้ยพิเศษ สำหรับคนทำงานที่รับเงินเดือนผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย ผ่อนสบายเพียงหมื่นละ 8 บาท/วัน (คิดจากอัตราดอกเบี้ย MRR+7% = 14.32% ต่อปี ระยะเวลา 60 เดือน) ให้วงเงินกู้สูงสุด 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท


ควรเลือกการปรับโครงสร้างหนี้และพักหนี้บัตรเครดิตที่เหมาะสมแต่ละบุคคล



การปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะกับแต่ละบุคคล

สิ่งสำคัญในการเลือกวิธีการปรับโครงสร้างหนี้ก็คือ จำนวนเงิน ระยะเวลาในการผ่อนชำระ และเงื่อนไขของสถานการณ์ทางการเงินที่แตกต่างกัน โดยแบ่งเป็น 4 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ

  • มีความสามารถในการผ่อนจ่าย แต่ต้องการลดภาระดอกเบี้ย เหมาะกับการปรับโครงสร้างหนี้ ด้วยการเปลี่ยนประเภทหนี้ ไปเป็นหนี้ที่มีดอกเบี้ยผ่อนชำระน้อยลง และการ รีไฟแนนซ์ (Refinance) สามารถทำได้ทั้งสินเชื่อบ้าน* หนี้บัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสด อย่างไรก็ดี การรีไฟแนนซ์อาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จากการเปลี่ยนเจ้าหนี้ด้วย เช่น ค่าปรับจากการจ่ายคืนหนี้ทั้งจำนวนก่อนครบกำหนดเวลาที่ระบุในสัญญากับเจ้าหนี้เดิม ค่าจดจำนองหลักประกัน ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน ค่าทำประกันใหม่ เป็นต้น
  • สามารถจ่ายหนี้ไหวแค่บางส่วน เนื่องจากมีปัญหาที่กระทบกับรายรับ อาจเลือกวิธีปรับโครงสร้างหนี้โดยการ ลดอัตราดอกเบี้ย การ พักชำระเงินต้น ทางเลือกเหล่านี้เหมาะกับผู้ที่มีรายได้ลดลงในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หรือการขยายเวลาชำระหนี้ ก็จะทำให้ยอดหนี้ที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือนลดลงจากเดิม
  • มีเงินก้อนแต่ไม่พอสำหรับปิดหนี้ทั้งหมด สามารถเลือกใช้วิธีเจรจาปิดหนี้ด้วยเงินก้อน แม้จะมีจำนวนเงินไม่มากพอก็สามารถขอส่วนลดจากเจ้าหนี้ได้ โดยเจ้าหนี้จะมีกำหนดระยะเวลาใช้หนี้ให้เร็วขึ้นเพื่อปิดจบหนี้
  • ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ อาจเกิดจากการต้องแบกรับภาระหนี้จำนวนมากเกินไป หรือการขาดรายได้อย่างกะทันหัน แนะนำให้เลือกวิธี "พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย" เพื่อหยุดผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงเวลาหนึ่ง ข้อควรรู้ก็คือ การพักชำระหนี้ในรูปแบบนี้ควรเลือกทำแต่ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพราะต้องไม่ลืมว่าเมื่อครบกำหนดพักชำระหนี้แล้ว ยังต้องจ่ายคืนหนี้ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยในช่วงที่พักชำระไปด้วย

เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตหนี้ท่วม การปรับโครงสร้างหนี้และการพักหนี้บัตรเครดิต คือ ทางออกที่ลูกหนี้ทุกคนสามารถทำได้ และดีกว่าการผิดนัดชำระหนี้ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย ข้อสำคัญคือเราต้องรู้ปัญหา รู้ศักยภาพในการหารายได้และจัดการหนี้สินอย่างถูกวิธี ซึ่งสถาบันการเงินต่าง ๆ ก็ล้วนมีวิธีช่วยเหลือให้ลูกหนี้สามารถปลดหนี้ได้อย่างราบรื่นที่สุด ดังนั้น เมื่อสำรวจพบว่าเรามีปัญหาในการชำระหนี้ อย่ารีรอให้ปัญหาลุกลาม ให้รีบปรึกษากับสถาบันการเงินได้ทันที อย่างเช่นธนาคารกรุงไทย ที่มีสินเชื่อสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ให้เลือกได้อย่างตรงตามความต้องการของทุกคน



กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว

* อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 1.67% ต่อปี ถึง MLR -0.75% ต่อปี | อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) อยู่ระหว่าง 5.29% - 5.47% ต่อปี โดยคำนวณจากวงเงินกู้ 1 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 7,700 บาท/เดือน | MLR = 7.05% ต่อปี (ณ วันที่ 20 พ.ย. 66) | อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ | เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

** เงื่อนไขและเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อัตราดอกเบี้ย 20-22%ต่อปี ผ่อนหมื่นละ 10 บาทต่อวัน (คิดจากเงินต้น 10,000 บาท ดอกเบี้ย 20%ต่อปี ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 4,609 บาท ค่างวด 300 บาทต่อเดือน ผ่อน 60 เดือน)
*** อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง MRR +3.50% ต่อปี ถึง MRR +9.00% ต่อปี | อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง MRR = 7.57% ต่อปี (ณ วันที่ 20 พ.ย. 66) | อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ | วงเงินสูงสุด 15 เท่า สำหรับกรณีที่หน่วยงานต้นสังกัดทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคาร (MOU) | เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

**** เงื่อนไขและเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อัตราดอกเบี้ย MRR+7%ต่อปี (MRR=7.57%ต่อปี ณ 1 ม.ค.67) อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ผ่อนหมื่นละ 8 ขอแก้ไขเป็น 17 บาทต่อวัน (คิดจากเงินต้น 15,000 บาท ดอกเบี้ย MRR=14.57%ต่อปี (MRR=7.57%ต่อปี ณ 1 ม.ค.67) ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 3,697 บาท ค่างวด 500 บาทต่อเดือน ผ่อน 48 เดือน)