รวมหนี้เป็นก้อนเดียว เคล็ดลับจ่ายดอกเบี้ยถูกลง พร้อมแนะนำสินเชื่อรวมหนี้
ชักหน้าไม่ถึงหลัง ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินที่หลายคนต้องเผชิญ ยิ่งในช่วงที่ต้องฟันฝ่าสภาวะทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน การกู้ยืมเงินหรือโอกาสในการเป็นหนี้เพิ่มก็มากขึ้นตามไปด้วย บางคนแบกภาระหนี้สินหนักจนเกินรับไหว กลายเป็นหนี้เสียที่ต้องเจอกับดอกเบี้ยผิดนัดชำระที่สูงกว่าเดิม เรียกได้ว่ายิ่งเลี่ยงก็ยิ่งจนมุม
“รวมหนี้เป็นก้อนเดียว” คืออะไร
รวมหนี้เป็นก้อนเดียว คือการรวมหนี้ที่มีในมือไว้เป็นก้อนเดียวกัน เช่น การรวมหนี้บัตรเครดิต โดยทำการขออนุมัติกับสถาบันการเงินเพื่อนำเงินมาปิดหนี้ทั้งหมด แล้วค่อยผ่อนจ่ายเป็นหนี้ก้อนเดียวกับธนาคาร สามารถเลือกจำนวนงวดและเงินผ่อนได้ตามกำลัง วิธีการรวมหนี้นี้จะทำให้จ่ายดอกเบี้ยถูกลง และช่วยให้บริหารเงินได้ง่ายขึ้น แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสินเชื่อของสถาบันนั้น ๆ ด้วย
ข้อดีของการรวมหนี้
- อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงจากข้อเสนอสินเชื่อที่คุ้มค่า โดยเฉพาะเมื่อเปลี่ยนจากหนี้หลายก้อนเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลที่เป็นเงินกู้ฉุกเฉินดอกเบี้ยต่ำ หรือรวมหนี้เป็นก้อนเดียวกับสินเชื่อบ้าน เมื่อจ่ายหนี้แต่ละเดือนเงินต้นก็จะลดลงตามไปด้วย
- การรวมหนี้ทำให้บริหารจัดการเงินในกระเป๋าได้ง่ายขึ้น สามารถวางแผนใช้เงินได้มีประสิทธิภาพจากระยะเวลาการผ่อนชำระที่แน่นอน ยอดผ่อนที่น้อยลง รวมทั้งได้ผ่อนชำระในอัตราที่สามารถจ่ายไหว จึงปิดหนี้ได้ตามกำหนดเวลาแบบสบาย ๆ
- การรวมหนี้เป็นการรักษาประวัติข้อมูลเครดิต เพราะขอสินเชื่อรวมหนี้ได้สำเร็จ ก่อนที่หนี้เหล่านั้นจะกลายเป็นหนี้เสีย
- การรวมหนี้ ทำให้เราสามารถวางแผนการชำระหนี้ได้ง่าย และชัดเจนยิ่งขึ้น เนื่องจากจะรู้ว่า สามารถปิดหนี้ได้เมื่อไหร่ ซึ่งเป็นส่วนช่วยสร้างแรงจูงใจในการชําระหนี้อย่างต่อเนื่อง
- การรวมหนี้เป็นก้อนเดียว จะช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับการจัดการหนี้สินลงได้ เพราะเราสามารถวางแผนชำระหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รูปแบบของการรวมหนี้
-
แบ่งเป็น 3 รูปแบบคือ
- การรวมหนี้ในสถาบันการเงินเดียวกัน
- การรวมหนี้ระหว่างสถาบันการเงิน มักเป็นการโอนหนี้ย่อย ๆ จากหนี้ธนาคารหนึ่ง ไปรวมกับหนี้ของอีกธนาคารหนึ่ง
- การโอนหนี้ไปรวมไว้ที่สถาบันการเงินแห่งใหม่ ทั้งหนี้บ้านหรือหนี้อื่น ๆ
ขั้นตอนการรวมหนี้
หากอยากรวมหนี้เป็นก้อนเดียว สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การรวบรวม และสรุปข้อมูลหนี้ทุกรายการอย่างละเอียด เพื่อให้เห็นภาพรวม แล้วจึงเริ่มขั้นตอนการรวมหนี้เป็นก้อนเดียว ดังต่อไปนี้
1.ศึกษาข้อมูลสถาบันการเงินที่ให้บริการรวมหนี้
ศึกษาข้อมูล โดยการเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร พร้อมพิจารณาข้อเสนอที่เหมาะกับเรามากที่สุด2.เลือกสินเชื่อรวมหนี้ที่เหมาะสม
พิจารณาสินเชื่อที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด และมีระยะเวลาการชำระที่เหมาะกับความสามารถในการชำระเงินของตนเอง3.เตรียมเอกสารประกอบการสมัคร
รวบรวมเอกสารที่ต้องใช้ในการสมัคร เช่น บัตรประชาชน สลิปเงินเดือน และเอกสารแสดงรายได้4.ยื่นคําขอสินเชื่อรวมหนี้ และรอการพิจารณาอนุมัติ
ติดต่อธนาคาร และยื่นเอกสารประกอบการสมัคร ธนาคารจะตรวจสอบข้อมูล และพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ5.ดําเนินการรวมหนี้
เมื่อได้รับอนุมัติ ใช้เงินกู้ที่ได้รับไปชําระหนี้เดิมทั้งหมด และเริ่มผ่อนชําระหนี้ก้อนใหม่กับธนาคารที่ให้สินเชื่อรวมหนี้เป็นก้อนเดียวข้อควรระวังในการรวมหนี้
แม้ว่าการรวมหนี้เป็นก้อนเดียวจะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็มีข้อควรระวังที่ควรตระหนักถึง ได้แก่-
ดอกเบี้ยรวมอาจสูงขึ้นในระยะยาว
หากระยะเวลาการผ่อนชำระนานเกินไป แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะต่ำลง แต่ดอกเบี้ยรวมที่ต้องจ่ายตลอดอายุสัญญาอาจสูงขึ้นได้ -
ความเสี่ยงในการสร้างหนี้เพิ่ม
การรวมหนี้อาจทำให้มีวงเงินสินเชื่อเหลือ ซึ่งอาจนำไปสู่การก่อหนี้เพิ่มหากขาดวินัยทางการเงิน -
ผลกระทบต่อคะแนนเครดิต
การรวมหนี้เป็นก้อนเดียว ด้วยการปิดบัตรเครดิตหลายใบในคราวเดียว อาจส่งผลกระทบต่อคะแนนเครดิตในระยะสั้น แต่หลังจากรวมหนี้แล้ว สามารถชำระหนี้ได้ตรงเวลาจะส่งผลดีต่อประวัติเครดิต ช่วยปรับปรุงคะแนนเครดิตให้ดีขึ้นได้
วิธีบริหารหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เราหลุดพ้นจากการเป็นหนี้คือการวางแผนจัดการเงินอย่างดี อุดรอยรั่วในการใช้จ่าย ควบคู่ไปกับการบริหารหนี้อย่างชาญฉลาด ซึ่งสามารถทำตามได้จากเทคนิคดังต่อไปนี้
- รวบรวมหนี้ทั้งหมดจากทุกช่องทาง เพื่อให้รู้จำนวนหนี้ที่ต้องจ่าย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยในแต่ละเดือน ทำให้ทราบว่าหากต้องการกู้รวมหนี้เป็นก้อนเดียว จะต้องการวงเงินเท่าไหร่ และสินเชื่อรวมหนี้ที่ไหนที่ตอบโจทย์
- ประเมินความสามารถในการผ่อนชำระ ด้วยการนำรายได้ทั้งหมดที่ได้รับในแต่ละเดือน หักค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เพื่อดูว่าเราเหลือเงินสำหรับชำระหนี้เดือนละเท่าไหร่
-
มองหาสินเชื่อรวมหนี้ที่เงื่อนไขดี คุ้มค่า และเหมาะกับความสามารถในการผ่อนชำระ ซึ่งทางเลือกในการรวมหนี้เป็นก้อนเดียวนั้นมีหลายทาง เช่น หากเรามีบ้านหรือรถ สามารถนำไปขอสินเชื่อบ้านหรือรถแลกเงินได้ หรือจะเลือกใช้สินเชื่อบุคคลก็ได้เช่นกัน
สำหรับใครที่อยากรวมหนี้เป็นก้อนเดียว โดยใช้สินเชื่อส่วนบุคคลในการกู้รวมหนี้ ธนาคารกรุงไทยก็มีตัวเลือกที่น่าสนใจและเหมาะกับคนทำงานหลากหลายรูปแบบ ทั้งผู้ประกอบการและมนุษย์เงินเดือนทั่วไป
สินเชื่อกรุงไทยใจป้ำ* สินเชื่อเงินก้อนอนุมัติไว ให้วงเงินกู้สูงสุด 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท ไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือผู้ค้ำประกัน เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่มีอายุกิจการมากกว่า 1 ปีขึ้นไป
สินเชื่อกรุงไทยเปย์เดะ** สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับพนักงานที่รับเงินเดือนผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย ให้วงเงินกู้สูงสุด 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท ผ่อนสบายเพียงหมื่นละ 8 บาท/วัน (คิดจากอัตราดอกเบี้ย MRR+7% = 14.32% ต่อปี ระยะเวลา 60 เดือน)
สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ*** สินเชื่อกู้ง่ายสำหรับคนที่มีบัญชีเงินเดือนกับธนาคารกรุงไทย วงเงินกู้สูงสุดถึง 15 เท่าของเงินเดือนตาม MOU ที่หน่วยงานทำไว้กับธนาคาร ดอกเบี้ยต่ำคำนวณตามจำนวนเงินใช้จริง หรือจะเป็นสินเชื่อ
สำหรับคนที่มีภาระหนี้สินเกินแบกรับ และอยากรวมหนี้เป็นก้อนเดียว แน่นอนว่าสินเชื่อรวมหนี้คือทางออกของปัญหา ที่ช่วยให้เราปิดหนี้ได้ง่ายและเป็นไปตามแผนได้มากที่สุด แต่ต้องไม่ลืมว่านอกจากการกู้รวมหนี้แล้ว ความมีวินัยทางการเงินก็เป็นอีกสิ่งที่ต้องมีอยู่เสมอระหว่างผ่อนชำระ เพราะต่อให้สินเชื่อจะมีข้อเสนอที่ดีอย่างไร แต่หากเราขาดวินัย ใช้จ่ายเกินความจำเป็นโอกาสเป็นหนี้ที่เพิ่มมากกว่าเดิมก็ย่อมต้องตามมาอีกแน่นอน
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
* เงื่อนไขและเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อัตราดอกเบี้ย 20-22%ต่อปี ผ่อนหมื่นละ 10 บาทต่อวัน (คิดจากเงินต้น 10,000 บาท ดอกเบี้ย 20%ต่อปี ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 4,609 บาท ค่างวด 300 บาทต่อเดือน ผ่อน 60 เดือน)
** เงื่อนไขและเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อัตราดอกเบี้ย MRR+7%ต่อปี (MRR=7.57%ต่อปี ณ 1 ม.ค.67) อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ผ่อนหมื่นละ 8 ขอแก้ไขเป็น 17 บาทต่อวัน (คิดจากเงินต้น 15,000 บาท ดอกเบี้ย MRR=14.57%ต่อปี (MRR=7.57%ต่อปี ณ 1 ม.ค.67) ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 3,697 บาท ค่างวด 500 บาทต่อเดือน ผ่อน 48 เดือน)
*** อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 10.845% - 16.345% ต่อปี* (ณ วันที่ 3 มี.ค. 68)
สมมติฐานการคำนวณมาจากอัตราดอกเบี้ย MRR +3.50% - MRR +9.00% ต่อปี | MRR = 7.345% ต่อปี (ณ วันที่ 3 มี.ค. 68) | อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ | วงเงินสูงสุด 15 เท่าของเงินเดือน สำหรับกรณีที่หน่วยงานต้นสังกัดทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคาร (MOU) | เงื่อนไขและหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด