เรียนรู้การเงิน

ป่วยหนักไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล ไม่มีประกันทำไงดี

อัพเดทวันที่ 23 ก.ค. 2566

ป่วยหนักไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล ไม่มีประกันทำไงดี

เรื่องเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่ก็มักจะมาในเวลาคุณที่คุณไม่คาดคิดโดยเฉพาะในเวลาที่คุณจำเป็นจะต้องใช้เงิน การเจ็บป่วยมักมาเยือนคุณโดยที่คุณไม่ทันได้ตั้งแต่ตัว ถ้าโชคดีคุณก็อาจจะมีประกันสุขภาพไว้สักกรมธรรม์ไว้ให้คอยอุ่นใจ เปรียบเสมือนเบาะรองรับความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นประกันกลุ่มของบริษัทที่คุณทำงานอยู่ก็ดีหรือเป็นประกันสุขภาพที่คุณทำไว้เองก็ดี แต่คำถามก็คือ แล้วถ้าคุณไม่ได้เตรียมพร้อมปัจจัยทั้ง 2 อย่างไว้สำหรับรองรับการเจ็บป่วยล่ะ ไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาลและไม่ได้ทำประกันไว้จะเกิดอะไร


เมื่อไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาลและไม่มีประกันจะเป็นอย่างไร

  1. ทางโรงพยาบาลอาจเข้ามาเจรจาไกล่เกลี่ยให้คุณพยายามหาแหล่งเงินเพื่อมาชำระค่ารักษาให้ได้
  2. หากคุณไม่มีจริงๆอาจเจรจาเป็นเงื่อนไขของการผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาลรายเดือนซึ่งอาจจะมีการคิดดอกเบี้ย
  3. ถ้าผ่อนชำระไปแล้วแต่คุณไปต่อไม่ไหวอาจมีเรื่องของการส่งฟ้องศาลเข้ามาเกี่ยวข้อง


ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่คุณไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล


1. ส่งผลกระทบต่อสถานะการเงินครอบครัวและคนรอบข้าง

ลองคิดดูว่าถ้าหากคนที่เจ็บป่วยเป็นคนที่เป็นเสาหลักของครอบครัว สถานะการเงินของบ้านจะสั่นคลอนมาเพียงใด เพราะเมื่อใดที่ก้าวขาเข้าไปรับการรักษาในโรงพยาบาลแล้ว บอกได้เลยว่าค่าใช้จ่ายสำหรับคนที่ไม่ได้เตรียมตัวมาสำหรับเรื่องนี้ อาจะทำให้สถานะการเงินของครอบครัวขาดสภาพคล่องลามไปจนถึงการเป็นหนี้เป็นสินบานปลายใหญ่โตได้เลย


ไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาลรัฐบาล



2. ไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ

ลองนึกดูว่าถ้าคุณหรือคนที่คุณรักตรวจเจอว่าเป็น “มะเร็ง” แม้ว่าจะเป็นเพียงระยะเริ่มต้นแต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที โรคร้ายก็อาจจะลุกลามไปยังอวัยวะที่สำคัญในจุดอื่นๆได้ และถ้าคุณจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษาอย่างทันทีและคาดหวังว่าจะได้รับการรักษาด้วยทีมแพทย์ที่มีเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ด้วยเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย และตัวยาที่ดีที่สุดจากต่างประเทศ คุณก็จำเป็นที่จะต้องมีเงินเพื่อให้เพียงพอต่อการรักษา เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ที่สุด


3. ถูกฟ้องร้องเรียกค่ารักษาพยาบาล

สมมติว่าคุณตัดสินใจเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลรัฐ/เอกชนดีๆสักแห่ง แต่โชคร้ายที่ค่ารักค่าพยาบาลมันเกินงบประมาณที่คุณตั้งไว้ แน่นอนว่าในเบื้องต้นทางโรงพยาบาลหลายๆแห่งคงจะไม่ใจร้ายฟ้องร้องเรียกค่ารักษาพยาบาลในครั้งแรกที่มีการเจรจาประณีประณอมกันเป็นแน่แท้ และยังให้โอกาสคุณในการผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วย แต่ถ้าถึงขั้นที่ว่าเงินจะผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาลคุณก็ยังไม่มี ทีนี้อาจจะมีขั้นตอนทางกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องได้


4. จำเป็นต้องขายทรัพย์สินเพื่อจ่ายค่ารักษาพยาบาล

อายุ 45 ปีกับเงินเก็บทั้งชีวิต 1 ล้านบาทมีบ้านและรถ พร้อมกับภาระผ่อนบ้านที่ยังคงเหลืออยู่อีกหลายปี ซ้ำร้ายมาวันนี้ต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อทำการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก พร้อมทำรังสีรักษา และเคมีบำบัด และทั้งชีวิตไม่เคยคิดที่จะทำประกัน เมื่อจังหวะเวลาและปัจจัยที่กล่าวมามาเจอกันในเวลาเดียวกัน คุณคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นหลังจากที่คุณออกจากโรงพยาบาลพร้อมกับใบเสร็จค่าใช้จ่ายมูลค่า 3 ล้านบาท แน่นอนว่าคุณต้องพิจารณาว่าจะขายทรัพย์สินที่สะสมมาบวกกับเงินสดจำนวน 1 ล้านบาทในบัญชีเงินฝากเพื่อจ่ายไปเป็นค่ารักษาพยายาลและกลับไปเริ่มนับหนึ่งใหม่ในวัย 45 ปี คงไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ๆ


วิธีแก้ไขปัญหาเมื่อมีเงินไม่พอจ่ายค่ารักษาพยาบาล

จะดีกว่าไหมถ้าวันนี้คุณมีตัวช่วยที่ทำให้คลายกังวลจากปัญหาไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล มาดูกันว่าถ้าคุณตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเข้ารับการรักษาทันทีในช่วงเวลานั้น คุณพอจะมีทางออกอะไรให้กับชีวิตบ้าง ไปดูกันเลย


ไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล



1. เช็คสิทธิ์หรือสวัสดิการในการรักษาพยาบาล

ไม่ว่าคุณจะเป็นลูกจ้างหรือพนักงานในหน่วยงานเอกชน เป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือแม้แต่เป็นคนไทยธรรมดาที่มีอาชีพอิสระ คุณจะมีสิทธิ์รักษาขั้นพื้นฐานที่คนไทยทุกคนได้รับมาตั้งแต่เกิดนั่นก็คือ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ ที่คุณรู้จักกันในชื่อของสิทธิ์บัตรทองนั่นเอง

ส่วนใครที่ทำอาชีพอิสระก็สามารถจ่ายเงินสมทบประกันตนเองได้โดยจะอยู่ในข่ายมาตรา40 ส่วนพนักงานในหน่วยงานเอกชนก็มักจะได้รับสิทธิ์การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานอยู่แล้วนั่นก็คือสิทธิ์การรักษาจากประกันสังคม มาตรา 33 และประกันสุขภาพแบบประกันกลุ่ม ทางด้านข้าราชการประจำ ก็จะมีสิทธิ์รักษาติดตัวอยู่แล้ว ดังนั้นถ้าใครที่กำลังเผชิญสถานการณ์ที่ยากลำบากกำลังเจ็บป่วยขอให้ตั้งสติและตรวจสอบสิทธิ์รักษาขั้นพื้นฐานของตนเองก่อน


2. วางแผนทำประกันสุขภาพล่วงหน้า

คุณคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “มีไว้ไม่ได้ใช้ ดีกว่าเวลาจะใช้แล้วไม่มี” มาก่อนอย่างแน่นอนคำนี้เป็นคำกล่าวที่ตัวแทนประกันมักจะบอกกล่าวกับคุณเสมอ ในช่วงเริ่มต้นการทำงานของชีวิตในวัย 22 ปี คุณยังหนุ่มยังสาว โรคภัยไข้เจ็บยังไม่ถามหา แต่เมื่อใดที่อายุย่างเข้าเลข 3 ถ้าใครไม่รักษาสุขภาพให้ดี โรคภัยไข้เจ็บจะมาเยือนแน่นอน ลองจินตนาการคุณในวัยเลข 3 หรือเลข 4 ที่ไม่ได้วางแผนป้องกันความเสี่ยงให้กับชีวิตใดๆเลย แล้วไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาลราคาเฉียดล้านบาท คุณคงล้มทั้งยืน

ดังนั้นการทำประกันไว้โดยเริ่มทำตั้งแต่อายุยังน้อยข้อดีคือคุณจะจ่ายเบี้ยประกันไม่สูงมากและให้ความคุ้มครองที่ยาวนาน(ถ้าคุณเลือกที่ความคุ้มครองที่เหมาะกับตัวคุณ) แต่ถ้าคุณไปทำตอนอายุ 40 ปีขึ้นไปบริษัทประกันจะมองว่าช่วงอายุประมาณนี้เริ่มมีความเสี่ยงด้านสุขภาพที่มากกว่าคนอายุหลัก 20 ปี คุณจะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันในราคาที่สูงกว่าที่คุณเริ่มคิดจะทำตอนอายุ 20 กว่าแน่ๆ ดังนั้น “มีไว้ไม่ได้ใช้ ดีกว่าเวลาจะใช้แล้วไม่มี”


3. วางแผนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลล่วงหน้า

เดี๋ยวนี้ตามเว็บไซต์ของโรงพยาบาลต่างๆจะมีเปิดเผยข้อมูลด้านค่ารักษาพยาบาล อาทิ ค่าแพทย์ ค่าห้อง ค่าบริการในส่วนของการใช้เครื่องมือทางการแพทย์และค่าหัตถการ ให้คุณสามารถเข้าไปศึกษาและเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจว่าจะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลไหนถึงจะเหมาะสมกับเงินในกระเป๋าของคุณมากที่สุด และสิ่งนี้เป็นสิ่งที่แนะนำให้ทำหากไม่ได้เจ็บป่วยกระทันหันก็นับว่าการวางแผนล่วงหน้าก็เป็นการปิดความเสี่ยงที่จะทำให้สถานะทางการเงินของคุณสะดุดไปได้


ผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาลรัฐ



4. มองหาสินเชื่อเงินด่วนคู่ใจ

ถ้าคุณจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน หรือคุณศึกษามาแล้วว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคร้ายที่คุณหรือคนที่คุณรักกำลังเผชิญอยู่อยู่ที่โรงพยาบาลแห่งใด และด้วยปัจจัยเครื่องมือและความพร้อมทางด้านการรักษาที่ดีและเหมาะกับคุณ แต่ติดที่ไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลแห่งนั้น

การเลือกใช้บริการสินเชื่อจากธนาคารกรุงไทยก็เป็นทางเลือกที่ดีที่ควรพิจารณา สินเชื่อกรุงไทยใจป้ำ* สินเชื่อที่จะเข้ามาคลายความกังวลด้านค่ารักษาพยาบาลด้วยวงเงินกู้ฉุกเฉินสูงสุด 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน สูงสุดถึง 1 ล้านบาท มีรายได้ 15,000 บาท/เดือนขึ้นไปก็กู้ได้ โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือคนค้ำประกัน และสามารถขอกู้ได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชั่น Krungthai NEXT

อีกผลิตภัณฑ์ที่อยากจะแนะนำคือ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ** เพียงคุณมีบัญชีเงินเดือนผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย และทำงานในบริษัทเอกชนที่มีสวัสดิการร่วมกับธนาคารกรุงไทย โดยมีรายได้เริ่มต้นเพียง 18,000 บาทก็ขอกู้ได้ในวงเงินสูงสุดถึง 15 เท่าของเงินเดือน และสินเชื่อตัวสุดท้ายที่เหมาะกับพนักงานที่รับเงินเดือนผ่านบัญชีกรุงไทยมากๆ ด้วยจุดเด่นที่วงเงินกู้สูงสุดได้ถึง 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน ดอกเบี้ยต่ำและกู้ง่ายผ่าน แอป Krungthai NEXT ที่สำคัญผ่อนจ่ายแค่หมื่นละ 8 บาทต่อวันเท่านั้น (คิดจากอัตราดอกเบี้ย MRR+7% = 14.32% ต่อปี ระยะเวลา 60 เดือน) กับ สินเชื่อกรุงไทยเปย์เดะ***

ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลจะมากแค่ไหน ขอแค่คุณมีการวางแผนค่ารักษาพยาบาลและวางแผนเรื่องแหล่งเงินทุนที่จะนำมาชำระ/ผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาล เพียงเท่านี้ทุกความกังวลก็จะหมดไป แล้วมาติดตามบทความดีๆทางด้านการเงิน การลงทุนอื่นๆ ได้ที่ https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial



กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว

เงื่อนไขและเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อัตราดอกเบี้ย 20-22%ต่อปี ผ่อนหมื่นละ 10 บาทต่อวัน (คิดจากเงินต้น 10,000 บาท ดอกเบี้ย 20%ต่อปี ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 4,609 บาท ค่างวด 300 บาทต่อเดือน ผ่อน 60 เดือน)

** อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง MRR +3.50% ต่อปี ถึง MRR +9.00% ต่อปี | อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง MRR = 7.57% ต่อปี (ณ วันที่ 20 พ.ย. 66) | อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ | วงเงินสูงสุด 15 เท่า สำหรับกรณีที่หน่วยงานต้นสังกัดทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคาร (MOU) | เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

*** เงื่อนไขและเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อัตราดอกเบี้ย MRR+7%ต่อปี (MRR=7.57%ต่อปี ณ 1 ม.ค.67) อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ผ่อนหมื่นละ 8 ขอแก้ไขเป็น 17 บาทต่อวัน (คิดจากเงินต้น 15,000 บาท ดอกเบี้ย MRR=14.57%ต่อปี (MRR=7.57%ต่อปี ณ 1 ม.ค.67) ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 3,697 บาท ค่างวด 500 บาทต่อเดือน ผ่อน 48 เดือน)