เรียนรู้การเงิน

หนี้เสียคืออะไร แก้ไขยังไง ก่อนเป็นหนี้ท่วมตัว

อัปเดตวันที่ 24 ก.ค. 2566

หนี้เสียคืออะไร แก้ยังไงก่อนเป็นหนี้ท่วมตัว

ไม่มีใครที่อยากเป็นหนี้ แต่ในบางครั้งเมื่อเงินไม่พอใช้ ก็ต้องยอมสร้างหนี้ขึ้นมา การขอสินเชื่อ หรือ กดเงินสดผ่านบัตรเครดิต จึงกลายเป็นทางออกที่ช่วยเสริมสภาพคล่อง แต่ก็ต้องระวังไว้ว่า ถ้าหากใช้เงินเกินตัวก็อาจจะทำให้เกิดหนี้สินแบบไม่ทันตั้งตัวได้ หนี้สินนั้นมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น หนี้เสีย หนี้ดี ซึ่งไม่ว่าจะเป็นหนี้แบบไหนก็ควรพิจารณาถึงความจำเป็น อย่าให้หนี้ที่คุณมี สร้างความเดือนร้อนให้คุณได้ในภายหลัง เรามาทำความรู้จักหนี้แต่ละประเภทเพื่อรับมือกับภาระหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพ

หนี้เสีย คืออะไร

หนี้เสีย หรือ NPL (Non-performing Loan) คือหนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน หรือไม่ได้ชำระคืนตามข้อกำหนดตกลงกันตามสัญญา หนี้เสียอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การกู้ยืมเงินจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงินที่ไม่สามารถชำระคืนได้ในระยะเวลาที่กำหนด การใช้บัตรเครดิตโดยไม่คำนึงถึงความสามารถในการชำระเงิน กล่าวคือ "จ่ายไม่ไหว" แน่นอนว่าทำให้กลุ่มคนที่ติดสถานะ NPL หรือมีหนี้เสียนั้น มีเหตุส่งผลให้เกิดการฟ้องร้อง ยึดทรัพย์ เสียเครดิต ติดบัญชีดำของธนาคาร การขอสินเชื่อมีโอกาสถูกปฏิเสธ หรือได้รับสินเชื่อยากขึ้นสำหรับการขอสินเชื่อครั้งต่อ ๆ ไป


หนี้ดี คืออะไร

ถ้าหนี้เสียคือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ แน่นอนว่าตรงกันข้ามกับหนี้เสีย หนี้ดี หมายถึงหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นหนี้จากการกู้เงินมาเพื่อการประกอบอาชีพ หนี้เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อทำการปล่อยเช่า หรือขายต่อ เป็นต้น


โทษของหนี้เสียคืออะไร

การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ถ้าคุณมีหนี้สินหรือกำลังจะเข้าสู่สภาวะหนี้สิน ก็ควรรู้จักการบริหารจัดการที่ถูกต้อง แต่ถ้าคุณผิดนัดชำระหนี้ ไม่สามารถจ่ายตามกำหนดเวลาชำระได้ ทำให้เกิดความเครียดรวมถึงรู้สึกกดดัน เนื่องจากต้องหาวิธีในการจัดการกับหนี้เสียที่เป็นปัญหารบกวนใจ แล้วโทษของหนี้เสียคืออะไร มีวิธีแก้ไขไม่ให้เกิดหนี้เสียอย่างไรบ้าง


บริหารเงินให้ไม่เกิด NPL หรือ หนี้เสีย



1. หนี้เสีย ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่าย

การมีหนี้เสีย ส่งผลกระทบอย่างมากทั้งด้านการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็น อาทิ ค่ากิน ค่าที่พัก ค่าเดินทาง หรือแม้แต่การผ่อนจ่ายหนี้สินที่เรามี เพราะถ้าขาดการจัดการที่ดี ก็อาจจะทำให้เราเสียวินัยในการจัดการทางการเงิน

วิธีแก้ไข คือ การกำหนดสัดส่วนของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรเป็นหนี้เกิน 40% ของรายได้แต่ละเดือน เพราะถ้าหากมีหนี้เกินจะทำให้เราไม่มีเงินที่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และถ้าจะให้ดี ก็ควรจัดการงบประมาณการใช้จ่ายในแต่ละเดือนอย่างสม่ำเสมอด้วยนะ


2. หนี้เสีย ทำให้เสียเครดิต

หากคุณเป็นหนี้ แน่นอนว่า สถานบันการเงินส่วนใหญ่จะมีการรายงานข้อมูลการชำระหนี้ไปยังบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หากคุณมีประวัติเสีย จ่ายล่าช้า ผิดนัดชำระ ก็จะส่งผลต่อการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงิน และหากมีการค้างชำระเกิน 90 วัน ก็จะทำให้เสียเครดิต ติดบัญชีดำ และต้องรอถึง 3 ปี กว่าสถานะบัญชีจะกลับมาเป็นปกติ

วิธีแก้ไข คือ หยุดการสร้างหนี้ ไม่สร้างหนี้เพิ่มและระงับค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง เพื่อนำเงินมาชำระหนี้กับเจ้าหนี้ รวมถึงการแบ่งเงินส่วนหนึ่งเพื่อการออม กรณีที่เกิดปัญหาผ่อนชำระหนี้ไม่ไหว และไม่อยากติด Black List สิ่งที่ควรทำมากที่สุดก็คือ เจรจากับสถาบันการเงินเพื่อขอลดหย่อน ผ่อนปรน หรือปรับโครงสร้างหนี้ และเมื่อทั้งสองฝ่ายได้ข้อตกลงแล้ว ควรชำระหนี้ให้ตรงเวลาด้วยนะ


3. หนี้เสีย ทำให้เสียโอกาสดี ๆ ในชีวิต

เพราะการมีหนี้เสีย ทำให้เกิดผลกระทบมากมาย หากขาดการจัดการที่ดี อีกทั้งทำให้คุณอาจจะเสียโอกาสดี ๆ ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการมีเงินก้อนไปเที่ยวต่างประเทศ หรือนำเงินไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างเงินให้งอกเงย แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากยังมีหนี้สินที่ต้องชำระ

วิธีแก้ไข คือ เรียงลำดับความสำคัญของการชำระหนี้ ซึ่งอาจจะเลือกชำระจากหนี้ที่มียอดคงเหลือน้อยที่สุด เพื่อให้จำนวนหนี้ที่มีอยู่ลดลง หรือ เลือกชำระจากหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุด เพื่อประหยัดเงินไว้สำหรับหนี้ก้อนอื่น ๆ เปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางอย่าง ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เพื่อนำเงินไปชำระหนี้

วิธีแก้ไขไม่ให้เกิดหนี้เสีย

การเป็นหนี้อาจส่งผลกระทบด้านลบต่อชีวิตของเราหลายด้าน แต่ปัญหาการเป็นหนี้นั้นก็ใช่ว่าจะหาทางออกไม่ได้สะทีเดียว หนึ่งในช่องทางการชำระหนี้ที่หลายคนเลือกใช้คือการกู้สินเชื่อจากธนาคารหากจำเป็นต้องใช้เงินยามฉุกเฉิน กรุงไทยขอแนะนำ สินเชื่อกรุงไทยใจป้ำ * กู้ฉุกเฉินสูงสุด 1 ล้านบาท เพียงคุณมีรายได้ต่อเดือน 15,000 บาท ขึ้นไป ไม่ต้องมีหลักประกัน หรือคนค้ำประกัน ไม่มีบัญชีเงินเดือนกับกรุงไทยก็กู้เงินก้อนทันใจได้ หรือถ้าคุณเป็นพนักงานประจำที่รับเงินเดือนผ่านบัญชีกรุงไทย เราขอแนะนำ สินเชื่อกรุงไทยเปย์เดะ ** สินเชื่อพร้อมใช้ ผ่อนสบายเพียงหมื่นละ 8 บาท/วัน (คิดจากอัตราดอกเบี้ย MRR+7% = 14.32% ต่อปี ระยะเวลา 60 เดือน) ได้รับวงเงินสูงสุด 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน หรือจะเป็น สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ *** สินเชื่อบุคคลดอกเบี้ยต่ำ วงเงินกู้สูงสุดถึง 15 เท่าของเงินเดือน คิดดอกเบี้ยตามจำนวนเงินใช้จริง สมัครง่าย ๆ ผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT

จากที่กล่าวมาทั้งหมด คงจะเห็นแล้วว่า การมีหนี้เสีย ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง อย่างที่กล่าวไปว่า การมีหนี้ ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ถ้าไม่ชำระตามกำหนด ผิดนัดชำระ หรือมีหนี้สินท่วมตัวจนไม่สามารถจ่ายไหว ก็อาจจะส่งผลกระทบมากมายกับตัวคุณได้ การวางแผนทางการเงินที่ดีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ



กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว


เงื่อนไขและเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อัตราดอกเบี้ย 20-22%ต่อปี ผ่อนหมื่นละ 10 บาทต่อวัน (คิดจากเงินต้น 10,000 บาท ดอกเบี้ย 20%ต่อปี ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 4,609 บาท ค่างวด 300 บาทต่อเดือน ผ่อน 60 เดือน)

** เงื่อนไขและเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อัตราดอกเบี้ย MRR+7%ต่อปี (MRR=7.57%ต่อปี ณ 1 ม.ค.67) อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ผ่อนหมื่นละ 8 ขอแก้ไขเป็น 17 บาทต่อวัน (คิดจากเงินต้น 15,000 บาท ดอกเบี้ย MRR=14.57%ต่อปี (MRR=7.57%ต่อปี ณ 1 ม.ค.67) ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 3,697 บาท ค่างวด 500 บาทต่อเดือน ผ่อน 48 เดือน)

*** อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง MRR +3.50% ต่อปี ถึง MRR +9.00% ต่อปี | อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง MRR = 7.57% ต่อปี (ณ วันที่ 20 พ.ย. 66) | อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ | วงเงินสูงสุด 15 เท่า สำหรับกรณีที่หน่วยงานต้นสังกัดทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคาร (MOU) | เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด


เช็กสุขภาพการเงิน
พร้อมคอร์สเรียนที่เหมาะกับคุณ


NPL คืออะไร แก้ไขยังไงก่อนเป็นหนี้ท่วมตัว Krungthaiหนี้เสีย หรือ NPL คืออะไร เกิดจากอะไร และทำไมเราถึงควรรีบแก้ไขก่อนเป็นหนี้ท่วมตัว พร้อมแนะนำวิธีจัดการหนี้เสียที่ทำได้จริง

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง