เรียนรู้การเงิน

สำรวจภาระหนี้ มีแค่ไหน ถึงอยู่ในจุดปลอดภัย

อัพเดทวันที่ 22 ก.ค. 2566

ภาระหนี้สิน

ภาระหนี้สิน ได้ยินคำนี้หลายคนคงรู้สึกถึงความหมายในแง่ลบ เพราะการเป็นหนี้เปรียบเสมือนการมีโซ่ตรวนคอยฉุดรั้งไม่ให้เราก้าวไปข้างหน้า แถมยังมีความทุกข์ที่เกิดจากความกังวลใจ โดยที่แต่ละวันหรือแต่ละเดือนที่ผ่านไปต้องบังคับให้ตัวเองหารายได้เพียงพอมาจ่ายหนี้สินแต่ในอีกแง่หนึ่งภาระหนี้สินอาจไม่ใช่สิ่งที่ต้องกังวลถ้าเรามีการบริหารจัดการหนี้สินอย่างเหมาะสม และผ่านการวางแผนก่อนที่จะตัดสินใจเป็นหนี้มาก่อนแล้ว

เมื่อเรารู้แล้วว่าเรามีหนี้สินเกิดขึ้นแล้ว กระบวนการต่อไปในการบริหารจัดการหนี้สินคือการต้องวางแผนอย่างรัดกุมและมีระบบ จำเป็นที่จะต้องรู้รายละเอียดเกี่ยวกับหนี้สินที่เรามีในทุกมิติ ไปดูกันว่าปัจจัยใดบ้างที่เราต้องนำมาพิจารณา


ประเภทของหนี้สิน

ในการสำรวจภาระหนี้สินส่วนตัว เราจำเป็นต้องทราบว่าหนี้ประเภทใดบ้างที่ต้องนำมาคิดคำนวณส่วนสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้เพื่อจำแนกว่าประเภทหนี้สินที่เรามีนั้นเป็นหนี้สินระยะสั้นหรือหนี้สินระยะยาว เนื่องจากหนี้สินแต่ละประเภทก็มีวิธีการและลำดับความสำคัญในการบริหารจัดการ เช่น หนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต หนี้จากสินเชื่อส่วนบุคคล หรือแม้แต่หนี้หนี้นอกระบบ เราก็ต้องนำมาคำนวณด้วย


หลักประกันสินเชื่อ

ในการขอสินเชื่อสำหรับคนภาระหนี้สูงหรือกู้ยืมเงิน โดยปกติแล้วผู้ให้กู้มักจะให้ผู้กู้ต้องมีสินทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักประกันสินเชื่อด้วย ไม่ว่าจะเป็น ที่ดิน บ้าน อาคารพาณิชย์ รถยนต์ สลากออมสิน


ยอดหนี้สินแต่ละรายการและยอดหนี้สินรวม

ให้จำแนกหนี้สินคงเหลือออกเป็นรายการ และคำนวณหนี้สินรวมทุกรายการในบรรทัดสุดท้าย


อัตราดอกเบี้ย

ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เราต้องให้ความสำคัญ เบื้องต้นให้จำแนกประเภทของอัตราดอกเบี้ยของหนี้แต่ละประเภทว่าเป็นดอกเบี้ยประเภทใด เป็นแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) อย่างหนี้บ้าน หรือแบบคิดดอกเบี้ยเงินต้นคงที่ (Flat Rate) อย่างหนี้รถ ซึ่งถ้าเป็นแบบ Flat Rate หลักการที่จะปรับให้เป็นอัตรากับการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ด้วยการนำ 1.8 มาคูณ เช่นดอกเบี้ยที่เกิดจากสินเชื่อรถยนต์อยู่ที่ 4.25% ต่อปี จะได้ว่า 4.25 x 1.8 = 7.65% และเมื่อได้ผลลัพธ์แล้วก็สามารถนำมาเรียงลำดับอัตราดอกเบี้ยจากมากไปน้อยได้ เพื่อให้เห็นภาพว่าหนี้สินใดที่มีความจำเป็นเร่งด่วน


ยอดผ่อนต่อเดือน

ในขั้นตอนสุดท้ายบันทึกจำนวนเงินที่เราต้องใช้ผ่อนชำระหนี้สินแต่ละรายการในแต่ละเดือน พร้อมรวมยอดผ่อนหนี้ทั้งหมดต่อเดือนลงในโปรแกรม Excel เพื่อวางแผนการออมเงิน หรือหารายได้เพิ่มเติมให้เพียงพอต่อการชำระหนี้ทั้งหมด ก็จะทำให้เรามองเห็นภาพรวมของหนี้สินที่เรามีและสามารถวางแผนการชำระหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว


แล้วเราสามารถมีภาระหนี้สินเท่าไรถึงจะไม่กระทบกับสุขภาพการเงิน

การคิดภาระหนี้ของแต่ละธนาคาร

ก่อนที่จะไปต่อเรามาทำความรู้จักกับคำศัพท์คำหนึ่งก่อน นั้นก็คือคำว่า DSR มาจาก Debt Service Ratio หมายถึง อัตราส่วนเงินสำหรับใช้ผ่อนชำระหนี้กับรายได้ในแต่ละเดือน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย แนะนำว่าสุขภาพการเงินที่ดี DSR ไม่ควรเกิน 40%

DSR น้อยกว่า 15% หมายถึง หนี้อยู่ในเกณฑ์ “ดี”
DSR ระหว่าง 15% - 40% หมายถึง หนี้อยู่ในเกณฑ์ “เหมาะสม”
DSR ระหว่าง 40% - 50% หมายถึง หนี้เกินตัว
DSR มากกว่า 50% หมายถึง หนี้เกินตัวขั้นอันตราย

มาที่วิธีการในการคำนวณ DSR ก่อนอื่นให้เรานำภาระหนี้สินทั้งหมดที่เรามีในแต่ละเดือนหารด้วยรายได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน โอที ค่าคอมมิชชั่น เงินได้พิเศษทั้งจากการทำงานและการลงทุน


สูตรการคำนวณก็คือ
DSR = ภาระหนี้สินต่อเดือน / รายได้ต่อเดือน X 100

ยกตัวอย่างเช่น ใน 1 เดือน นายสมชายมีรายได้ทั้งหมด ดังต่อไปนี้

  • รายได้จากงานประจำ 25,000 บาท
  • โอที 3,000 บาท
  • งานเสริม 5,000 บาท
  • ปันผลสหกรณ์เดือนละ 500 บาท ดังนั้นนายสมชายจะมีรายได้รวมอยู่ที่ 33,500 บาท

โดยนายสมชายมีรายการหนี้สินที่ต้องชำระในแต่ละเดือนดังต่อไปนี้

  • ค่าผ่อนรถ 7,000 บาท ระยะเวลา 7 ปี
  • ค่าผ่อนบ้าน 10,000 บาท
  • ค่าผ่อนโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่เดือนละ 2,500 บาท(ผ่อนชำระ 10 เดือน)

ดังนั้นนายสมชายจะมีภาระหนี้สินรวมทั้งสิ้น 19,500 บาท

ดังนั้นนายสมชายจึงมีอัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้รวมเท่ากับ (19,500/33,500)x100 = 58%

แปลว่า นายสมชายมีภาระหนี้สินอยู่ในระดับ “เกินตัวขั้นอันตราย” แต่ถ้าเราดูจากรายการหนี้สินจะเห็นว่ามีรายการสินหนี้ระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) อยู่ 1 รายการนั่นก็คือ การผ่อนโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นถ้านายสมชาย ปลอดภาระหนี้สินในส่วนของการผ่อนโทรศัพท์มือถือ หนี้สินของนายสมชายจะลดลงมาเหลือ 17,000 บาท

ดังนั้น DSR ของนายสมชายจะเท่ากับ (17,000/33,500)x100 = 50.74% ลงมาอยู่ในเกณฑ์ “หนี้เกินตัว” ซึ่งถ้ามองในมุมธนาคารก็ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่สูงอยู่

ทางเลือกของนายสมชายมีอยู่ 3 ทางด้วยกัน

1.เพิ่มรายได้
2.ลดหนี้สิน
3.เพิ่มได้รายและลดหนี้สิน

กล่าวคือนายสมชายอาจจะต้องมองหารายได้เสริมเพิ่มเติมเพื่อทำให้ DSR กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยเราสามารถคำนวณย้อนกลับได้ว่าถ้านายสมชายต้องการทำให้ DSR ลงมาอยู่ที่ 40%

(19,500/รายได้ทั้งเดือน) x 100 = 40%
รายได้ทั้งเดือน = (19,500 x 100)/40
รายได้ทั้งเดือน = 48,750

ดังนั้นนายสมชายต้องหารายได้เพิ่มเป็นจำนวน 48,750 – 33,500 = 15,250 บาท ซึ่งก็ถือว่าเป็นจำนวนตัวเลขที่ไม่น้อยเลย


ทำไมอัตราส่วนภาระหนี้สินต่อรายได้รวมจึงมีความสำคัญ

สินเชื่อสำหรับคนภาระหนี้สูง

จากตัวอย่างที่ยกมาจะเห็นว่าถ้านายสมชายต้องการกู้เงินเพิ่มเติมจากสถาบันการเงินหรือธนาคารอาจจะเพื่อการศึกษาต่อในระดับสูง หรือกู้ยืมเพื่อมาทำธุรกิจ ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ยากและอาจทำให้ฝันของเราสะดุดได้ เพราะโดยปกติแล้วธนาคารจะอนุมัติเงินกู้โดยพิจารณาจากค่า DSR เป็นองค์ประกอบหนึ่งธนาคารจะมองว่าถ้าอนุมัติสินเชื่อแล้วจะไปส่งผลกระทบให้ DSR ของลูกค้าเกิน 40% หรือไม่

ดังนั้นใครที่ต้องการขอสินเชื่อสำหรับคนภาระหนี้สูงก็แนะนำทำการโปะหนี้บางส่วนให้ได้มากที่สุดก่อนการยื่นกู้ เพื่อให้ค่า DSR ลดต่ำลงมาอยู่ในเกณฑ์ที่ทางธนาคารพิจารณาแล้วว่าเราจะไม่มีภาระหนี้สินมากเกินจนไม่สามารถชำระหนี้คืนธนาคารได้ ทั้งนี้การคิดภาระหนี้ของแต่ละธนาคาร และเงื่อนไขประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่ออาจแตกต่างกันได้

แต่ถ้าจะมีสินเชื่อดีๆที่เหมาะกับคนที่มีภาระหนี้สูง เราแนะนำสินเชื่อ กรุงไทยใจป้ำ* ที่ให้วงเงินสูงสุด 5 เท่าของรายได้/เดือน ไม่เกิน 1 ล้านบาท และชำระคืนเพียงหมื่นละ 10 บาทต่อวัน (คิดจากอัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปี ระยะเวลา 60 เดือน) กู้ง่ายผ่านแอป Krungthai NEXT โดยมีเครื่องคำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือน ที่คำนวณมาจากรายได้และวงเงินที่ขอกู้ ให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปลองคำนวณเพื่อนำมาประเมิน DSR เพื่อดูความสามารถในการชำระหนี้คืน ก่อนที่เราจะตัดสินใจยื่นขอกู้

หรือถ้าใครเป็นคนที่รับเงินเดือนผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย ขอแนะนำเป็น สินเชื่อ กรุงไทยเปย์เดะ** มีจุดเด่นที่กู้ง่าย อัตราดอกเบี้ยพิเศษ อนุมัติไว สามารถทำรายการผ่านระบบออนไลน์ผ่านแอป Krungthai NEXT ได้เลย

เราทุกคนมีเหตุผลในการเป็นหนี้ แต่หนี้ที่ดีจะทำให้ไร้ความกังวลทางด้านการเงิน และเรายังสามารถใช้หนี้ดีต่อยอดเพื่อเพิ่มรายได้ในอนาคตอีกด้วย



 กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว

เงื่อนไขและเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อัตราดอกเบี้ย 20-22%ต่อปี ผ่อนหมื่นละ 10 บาทต่อวัน (คิดจากเงินต้น 10,000 บาท ดอกเบี้ย 20%ต่อปี ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 4,609 บาท ค่างวด 300 บาทต่อเดือน ผ่อน 60 เดือน)

** เงื่อนไขและเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อัตราดอกเบี้ย MRR+7%ต่อปี (MRR=7.57%ต่อปี ณ 1 ม.ค.67) อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ผ่อนหมื่นละ 8 ขอแก้ไขเป็น 17 บาทต่อวัน (คิดจากเงินต้น 15,000 บาท ดอกเบี้ย MRR=14.57%ต่อปี (MRR=7.57%ต่อปี ณ 1 ม.ค.67) ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 3,697 บาท ค่างวด 500 บาทต่อเดือน ผ่อน 48 เดือน)

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง