หมุนเงินไม่ทันทำไงดี? 7 วิธีบริหารเงินให้ธุรกิจได้ไปต่อ
ปัญหาการเงินขาดสภาพคล่อง หมุนเงินไม่ทัน จัดเป็นปัญหาที่พบได้มากสำหรับพ่อค้าแม่ค้า และผู้ประกอบการรายย่อย เพราะการทำธุรกิจบางครั้งก็มีรายได้เข้ามาไม่แน่นอน แต่รายจ่ายนี่สิ แน่นอนที่สุด โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น การแข่งขันในตลาดสูง ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น ก็ย่อมส่งผลกระทบกับยอดขายและรายรับของธุรกิจ
หากคุณเป็นแม่ค้าที่หมุนเงินไม่ทัน หรือเจ้าของธุรกิจ SME ที่มองหาวิธีหมุนเงินขายของ วิธีการเหล่านี้ อาจช่วยคุณได้
1. ทำบัญชีรายรับ รายจ่ายของธุรกิจ
วิธีนี้ช่วยให้หลายคนจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพมานักต่อนัก เพราะทำให้เรามองเห็นภาพรวมของค่าใช้จ่าย ขณะเดียวกันก็มองเห็นรอยรั่วที่ต้องปิดเพื่อประหยัดเงินให้มากขึ้น เริ่มต้นทำบัญชีง่ายๆ ด้วยการจดบันทึกรายรับและรายจ่ายทุกอย่างที่เกี่ยวกับธุรกิจในแต่ละเดือน ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าตึก ค่าเช่าแผง ค่าจ้างพนักงาน ฯลฯ แล้วลองดูว่ารายรับรายจ่ายที่เข้ามาแต่ละเดือนเป็นอย่างไร ก็จะช่วยให้เราจัดการเงินได้ดีขึ้น
2. ทำบัญชีกระแสเงินสดล่วงหน้า
ต่อเนื่องจากการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ก็คือการนำข้อมูลเหล่านั้นมาคาดการณ์ว่าธุรกิจจะมีกระแสเงินสดอย่างไร เพียงนำรายการที่เป็นกระแสเงินสดรับทั้งหมดของเดือนต่อไป หักลบกับรายการกระแสเงินสดจ่ายของเดือนหน้า ก็จะรู้ว่าเงินสดคงเหลือของเดือนหน้าเป็นเท่าไร หากมียอดเงินสดเหลือก็ยกไปเดือนถัดไป ลองคำนวณแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะได้เห็นล่วงหน้าว่ามีเดือนไหนที่ติดลบ เพื่อเตรียมรับมือได้ทัน
3. ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
บางครั้งปัญหาหมุนเงินไม่ทัน ก็มาจากการบริหารค่าใช้จ่ายไม่ถูกวิธี ธุรกิจมีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเยอะเกินไป การตรวจสอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดอย่างละเอียดช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ได้ เมื่อเราพบว่าค่าใช้จ่ายไหนสามารถตัดออก ยกเลิก หรือลดต้นทุนได้ ก็ให้รีบทำทันที
4. เพิ่มกระแสเงินสดให้ธุรกิจ
ลองคิดหาวิธีที่จะทำให้มีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ แม้จะไม่ใช่เงินก้อนใหญ่ แต่ก็ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจได้ หากใครทำธุรกิจที่เป็นโปรเจ็กต์ใหญ่ ๆ ซึ่งต้องรอระยะเวลารับเงินก้อนค่อนข้างนาน อาจเจรจากับลูกค้าขอค่ามัดจำ ช่วยลดความเสี่ยง และทำให้มีรายได้เข้ามาหมุนเวียน
นอกจากนี้ควรปรับรูปแบบการทำธุรกิจให้มีรายได้หลายรูปแบบ เช่น โปรเจกต์เล็ก ๆ ที่เก็บเงินเป็นรายเดือน หรือแคมเปญพิเศษในช่วงเวลาสั้น ๆ จะช่วยเพิ่มกระแสเงินสดเข้ามาได้เช่นกัน
5. ตรวจสอบโครงสร้างราคาสินค้าและบริการธุรกิจ
บางครั้งการที่ธุรกิจขาดกระแสเงินสด ก็อาจมาจากต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้แม้จะขายสินค้าได้เท่าเดิม แต่กำไรก็ลดลง การขึ้นราคาจึงสามารถทำได้ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่สมเหตุสมผล สอดคล้องกับต้นทุน และอยู่ในช่วงราคาที่แข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้ ผู้ขายต้องมีกลยุทธ์ในการปรับราคา ไม่ทำให้ลูกค้าไม่พอใจหรือรู้สึกไม่คุ้มค่าจนหันไปหาคู่แข่งแทน
6. ขอเลื่อนการชำระเงิน
เมื่อสถาณการณ์ตึงมือขั้นสุด การขอเลื่อนชำระเงินดูจะเป็นทางออกที่ดีไม่แพ้วิธีอื่น ๆ ลองเจรจากับผู้ขายและซัพพลายเออร์ ก็อาจเลื่อนระยะเวลาการจ่ายเงินออกไปได้ในช่วงสั้น ๆ โดยเฉพาะหากที่ผ่านมาเรามีเครดิตดี ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ ก็มีโอกาสได้รับการพิจารณา หรือถ้ามองว่าปัญหาหมุนเงินไม่ทันจะต้องใช้เวลานานกว่าจะคืนสภาพคล่องดังเดิม แนะนำให้เจรจาปรับเปลี่ยนวิธีการชำระเงินใหม่ เช่น เปลี่ยนจากกำหนดชำระภายใน 30 วัน ก็อาจขอเปลี่ยนเป็น 45 วันแทนได้
7. ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน
หากคุณเป็นแม่ค้าที่หมุนเงินไม่ทัน ต้องการเงินกู้ด่วนนี่ก็เป็นอีกวิธีหมุนเงินขายของที่ควรพิจารณา เพราะช่วยเพิ่มกระแสเงินสดให้กับธุรกิจได้รวดเร็ว ปลอดภัย โดยเราไม่เสียเครดิตกับผู้ขายหรือซัพพลายเออร์ที่ทำธุรกิจด้วย
เราขอแนะนำเงินกู้ด่วน และสินเชื่อสำหรับ SME รายเล็กจากธนาคารกรุงไทย สินเชื่อใจใหญ่ที่จะทำให้ธุรกิจเดินต่อได้แบบไม่มีสะดุด
- กรุงไทยใจป้ำ สินเชื่อเงินด่วนอนุมัติเร็ว ให้วงเงินกู้สูงสุด 5 เท่าของรายได้ ไม่เกิน 1 ล้านบาท แค่มีรายได้/เดือน 15,000 บาทขึ้นไป กู้ง่าย อนุมัติไว ผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือคนค้ำประกัน
- สินเชื่อ SME วงเงินสูง x3 สินเชื่อหมุนเวียนธุรกิจขนาดเล็ก ช่วยเสริมสภาพคล่อง ตอบโจทย์การลงทุนเพื่อขยายธุรกิจ หรือผู้ประกอบการที่ต้องการขยายสาขาใหม่ ให้วงเงินสูงสุดถึง 3 เท่าของมูลค่าหลักประกัน วงเงินรวมสูงสุด 20 ล้านบาท <<ข้อมูลเพิ่มเติม>>
- สินเชื่อ SME ไซส์เล็ก สินเชื่อธุรกิจ SME ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เหมาะสำหรับธุรกิจรายเล็ก ที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ แค่ใช้แอปพลิเคชันถุงเงิน หรือเครื่อง EDC กรุงไทย หรือขายของบนระบบ POS หรือจะขายออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม เช่น Lazada, Shopee ก็กู้ได้สูงสุด 3 ล้านบาท ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน โดย บสย. ค้ำประกันให้เต็มวงเงิน