9 เทคนิคตั้งชื่อบริษัทมงคล ตั้งชื่อร้านให้รวย
ตั้งชื่อร้านมงคลอย่างไรให้ปัง? หากคุณเป็นเจ้าของร้าน เจ้าของบริษัท เตรียมเปิดร้าน เปิดบริษัท ขยายสาขา หรือทำแบรนด์ใหม่ขั้นตอนตั้งชื่อร้าน ตั้งชื่อบริษัทเป็นเรื่องสำคัญ ไม่เพียงแค่ชื่อโดดเด่น สะดุดหู จำง่าย หาเจอเร็วแล้ว ชื่อร้านที่ตั้งต้องเป็นมงคล และต้องตั้งชื่อบริษัทความหมายดี ๆ ด้วย กรุงไทยจึงรวม 9 เทคนิคตั้งชื่อบริษัทมงคล ตั้งชื่อร้านให้รวย ค้าขายรุ่งเรือง ยอดขายปัง ๆ มาฝากทุก ๆ คนกัน
ข้อดีของการมีชื่อบริษัทมงคล
1.บ่งบอกตัวตนหรือธุรกิจ
2.มีผลต่อภาพลักษณ์
3.มีจุดยืนในตลาด
4.แตกต่างจากคู่แข่ง
ความเชื่อเกี่ยวกับชื่อบริษัทมงคล ชื่อร้านร่ำรวยศาสตร์ของตัวอักษร และตัวเลข
การตั้งชื่อร้าน ตั้งชื่อบริษัทมงคล ไม่เพียงแค่ตั้งจากชื่อที่ชอบเท่านั้น เจ้าของธุรกิจหลาย ๆ คนพึ่งศาสตร์ของตัวอักษร และตัวเลข รวมถึงต้องดูฤกษ์ประกอบด้วย เช่น ฤกษ์จดทะเบียนบริษัท ฤกษ์เปิดร้าน เลขศาสตร์แนะนำ เพื่อตั้งชื่อบริษัทความหมายดี ๆ และเป็นมงคลที่สุด และเชื่อว่าหากตั้งชื่อร้านมงคลจะช่วยให้ธุรกิจร่ำรวยและรุ่งเรื่องนั่นเอง
9 หลักการตั้งชื่อบริษัทความหมายดีๆ ชื่อร้านมงคล ให้ค้าขายร่ำรวย
1. ตั้งชื่อร้านโดยเลือกใช้คำที่มีความหมายในเชิงบวก สื่อถึงความก้าวหน้า เช่น มั่งคั่ง ร่ำรวย
การตั้งชื่อบริษัทความหมายดีๆ ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ และดึงดูดให้คนเข้าหา โดยต้องเลือกใช้คำที่เป็นมงคล มีความหมายในเชิงบวกและสื่อถึงความก้าวหน้า สำหรับเจ้าของธุรกิจที่อยากเพิ่มความเก๋โดยใช้ภาษาวัยรุ่นให้ศึกษาที่มาที่ไปและความหมายของคำให้ดี เพราะอาจมีความหมายแฝงในด้านลบได้
2. ตั้งชื่อร้านให้สะกดง่ายและออกเสียงไม่ยาก
เจ้าของธุรกิจทุกคนล้วนอยากให้ชื่อบริษัท ชื่อร้านจดจำง่าย ดังนั้นหลักในการตั้งชื่อร้านหรือบริษัทจึงควรเป็นชื่อที่ออกเสียงง่าย และสะกดง่าย เพื่อให้ผู้บริโภคไม่สับสน เมื่อนึกชื่อร้านค้าแล้วออกเสียงถูก เขียนถูก ทำให้ค้นหาร้านค้าได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์ ที่สำคัญชื่อที่สะกดง่ายจะทำให้การติดต่อราชการหรือดำเนินธุรกิจ เช่น การสัญญาซื้อขาย เช็คสั่งจ่าย รวมไปถึงการจัดทำเว็บไซต์เป็นไปอย่างราบรื่น ลดปัญหาการเขียนเอกสารสำคัญต่างๆ ผิดพลาดในอนาคต
ที่สำคัญการตั้งชื่อบริษัท ที่สะกดง่ายจะทำให้การติดต่อราชการหรือดำเนินธุรกิจ เช่น การสัญญาซื้อขาย เช็คสั่งจ่าย รวมไปถึงการจัดทำเว็บไซต์เป็นไปอย่างราบรื่น ลดปัญหาการเขียนเอกสารสำคัญต่างๆ ผิดพลาดในอนาคต
3.ตั้งชื่อร้านไม่ยาวจนเกินไป เน้นสั้น กระชับ จำง่าย
การตั้งชื่อบริษัท ชื่อร้าน ไม่ควรยาวเกินไป เพื่อให้จดจำง่าย เข้าใจความหมายได้ไม่ยาก และควรสื่อถึงสินค้าของร้าน ให้รู้ว่าร้านค้าเป็นร้านค้าขายสินค้าประเภทใด เกี่ยวกับอะไร เมื่อลูกค้าอยากซื้อสินค้าจะได้นึกถึงชื่อร้านค้าของคุณ
4. ตั้งชื่อร้านให้ง่ายต่อการจดจำตรงกับภาพลักษณ์ของแบรนด์
ถ้าร้านค้ามีภาพลักษณ์หรือคอนเซ็ปต์ร้านที่ชัดเจน สามารถตั้งชื่อร้านค้าโดยเลือกจุดโดดเด่นของร้านมาตั้ง เช่น ร้านค้าที่ขายต้นไม้ หรือตกแต่งด้วยต้นไม้ อาจหยิบคำว่า ร่มรื่น สวน หรือ tree มาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อร้านได้
5. ตั้งชื่อร้านให้เข้ากับประเภทของกิจการ
ตั้งชื่อร้าน ชื่อบริษัทโดยพิจารณาจากประเภทกิจการที่ประกอบ ได้แก่ ลักษณะห้างหุ้นส่วน ลักษณะบริษัทจำกัด บริษัทจำกัดมหาชน เพราะเจ้าของธุรกิจที่เชื่อในศาสตร์ของตัวเลข ค่าของตัวอักษรในคำเหล่านี้ต้องอยู่กับชื่อด้วย
ทำความรู้จัก ห้างหุ้นส่วนคืออะไร รวมทุกสิ่งที่ต้องรู้ก่อนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
6. ตั้งชื่อร้านโดยหลีกเลี่ยงการใช้คำย่อมาตั้งเป็นชื่อร้านค้า
ชื่อย่อช่วยให้คนจดจำ และสามารถสื่อสารทำการตลาดได้ง่าย นิยมใช้กับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ แต่สำหรับธุรกิจ SME ในช่วงเริ่มต้น ควรใช้ชื่อร้านค้าชื่อเต็มเป็นหลัก เพราะหากใช้ชื่อย่ออาจจะซ้ำกับบริษัทอื่นได้ง่าย
7. ไม่ควรตั้งชื่อร้านซ้ำหรือใกล้เคียงบริษัท และร้านค้าอื่นๆ
ตั้งชื่อบริษัทหรือร้านค้าที่ตั้งต้นจากสินค้า หรือคอนเซ้ปต์ร้านค้า ไม่ควรตั้งชื่อซ้ำหรือใกล้เคียงบริษัทและร้านค้าอื่น ๆ เพื่อป้องกันผู้บริโภคเข้าใจผิด และป้องกันการฟ้องร้องจากบริษัทที่มีชื่อเสียง สร้างปัญหาระหว่างเจ้าของธุรกิจ
ดังนั้นควรเช็กให้ชัวร์ว่าชื่อร้านค้าที่ใช้ไม่มีซ้ำ ได้ที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจร้านค้า กระทรวงพาณิชย์ www.dbd.go.th กดเลือกจองชื่อ/ตรวจคำขอจดทะเบียนนิติบุคคล
8. ตั้งชื่อร้านให้มีความแปลกใหม่ น่าสนใจ
ปัจจุบันธุรกิจ SME นิยมตั้งชื่อร้านค้าให้มีความแปลกใหม่และน่าสนใจ โดยใช้วิธีตั้งชื่อร้านผ่านการเล่นคำ การเล่นเสียง การเลียนเสียงธรรมชาติ ภาษาวัยรุ่น หรือการใช้คำไทยผสมภาษาต่างประเทศ ช่วยสร้างสีสันและดึงดูดความน่าสนใจของลูกค้าที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้อย่างดี ซึ่งเป็นวิธีดึงดูดลูกค้าเข้าร้านที่ดีอีกวิธีหนึ่ง
9.ตั้งชื่อร้านให้เผื่อขยายกิจการในอนาคต
หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรย่อและคำย่อ เพราะยากต่อการขยายกิจการสาขา รวมถึงไม่ตั้งชื่อเฉพาะเจาะจง ชื่อร้านตามสถานที่ตั้ง เพราะอาจมีปัญหาเรื่องทำเลในอนาคต หรือการตั้งชื่อตามชื่อบุคคล เพราะไม่สร้างความดึงดูดใจให้ลูกค้า หากลูกค้าไม่รู้จักบุคคลนั้นๆ
ขั้นตอนการจดทะเบียนชื่อบริษัท
1. ค้นหาชื่อในเว็บไซต์ dbd.go.th เพื่อเช็กชื่อซ้ำกับบริษัทที่เคยจดทะเบียนไปแล้วหรือไม่
2. จองชื่อ และยื่นแบบต่อนายทะเบียนด้วยตัวเอง ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
3. จดทะเบียนนิติบุคคลผ่านอิเล็กทรอนิกส์ ได้ที่ https://ereg.dbd.go.th/ERegistMemberWeb/nonmemberpages/home.xhtml
ตรวจสอบสถานะการจองชื่อได้ทางอีเมลที่ใช้จอง และต้องนำชื่อไปจดทะเบียนภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันรับรอง ดูรายละเอียดการจดชื่อนิติบุคคลได้ที่ www.dbd.go.th
สำหรับเจ้าของธุรกิจ SME ที่กำลังเปิดสาขา และได้ทำการจดทะเบียนบริษัทแล้ว กำลังขยายกิจการ หรือมองหาเงินลงทุน กรุงไทยพร้อมเป็นกำลังใจด้วยสินเชื่อ SME และ สินเชื่อเงินด่วนออนไลน์
- สินเชื่อ SME ไซส์เล็ก: สินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดเล็ก แค่ใช้แอปถุงเงิน ไม่ต้องมีหลักประกัน กู้ได้สูงสุด 3 ล้านบาท (บสย.ค้ำประกัน) ผ่อนได้นาน 7 ปี
- กรุงไทยใจป้ำ* : สินเชื่อเงินด่วนอนุมัติเร็ว ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน กู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดาและร้านค้ารายย่อย ผ่อนหมื่นละ 10 บาท โดยกู้ได้สูงสุดถึง 1 ล้านบาท
เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารฯ กำหนด
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
*เงื่อนไขและเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อัตราดอกเบี้ย 20-22%ต่อปี ผ่อนหมื่นละ 10 บาทต่อวัน (คิดจากเงินต้น 10,000 บาท ดอกเบี้ย 20%ต่อปี ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 4,609 บาท ค่างวด 300 บาทต่อเดือน ผ่อน 60 เดือน)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
theluckyname.com
itax.in.th
thairath.co.th
smeleader.com