กองทุนรวมคืออะไร (Mutual Fund) ลงทุนอย่างไรให้ได้โอกาสทำกำไร มือใหม่ต้องอ่าน
รู้หรือไม่ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยมีภารกิจสำคัญในการควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับ 1-3% ต่อปี แต่บางช่วงเวลาอัตราเงินเฟ้อของไทยก็พุ่งไปถึง 7% นั่นหมายความว่า สินค้าราคา 100 บาท จะปรับขึ้นเป็น 107 บาทตามอัตราเงินเฟ้อ (ที่มา: เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย)
หากเราออมเงินในบัญชีออมทรัพย์ ดอกเบี้ย 0.25%ต่อปี เงินเก็บของเราจะไม่งอกเงยตามอัตราเงินเฟ้อ แปลว่ายิ่งเก็บนานยิ่งเสียโอกาส เพราะมูลค่าเงินจะลดลงเรื่อยๆ
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงอย่างหุ้น ก็มีโอกาสที่จะสร้างกำไรชนะเงินเฟ้อ แต่จะทำแบบนี้ได้ เราต้องมีความรู้เรื่องการลงทุนที่ดีพอซะก่อน สำหรับใครที่ไม่มีเวลาติดตามสภาวะตลาด ไม่มีเงินก้อนใหญ่ และไม่มีประสบการณ์ในการลงทุน เราขอแนะนำการลงทุนในกองทุนรวมที่สะดวก ง่าย และมีมืออาชีพคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
กองทุนรวม คืออะไร
ประเภทของกองทุนรวมมีอะไรบ้าง
การลงทุนในกองทุนรวมมีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์และนโยบายของกองทุน โดยแต่ละประเภทก็มักมีความเสี่ยงต่างกันไปด้วย หากอยากรู้ว่ากองทุนรวมมีอะไรบ้าง เราขอแบ่งประเภทของกองทุนรวมตามนโยบายการลงทุนให้เข้าใจดังนี้
1. กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund)
2. กองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund)
3. กองทุนรวมผสม (Mixed Fund)
4. กองทุนรวมตราสารทุน หรือ กองทุนรวมหุ้น (Equity Fund)
5. กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund: FIF)
6. กองทุนรวมที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก (Alternative Investment)
7. กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund: SSF)
8. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF)
ข้อดีของการลงทุนในกองทุนรวม
1. มีมืออาชีพคอยดูแลการลงทุน
นั่นคือ ผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสินทรัพย์ และสามารถวิเคราะห์หาโอกาสทำกำไรได้อย่างมืออาชีพ เราจึงมั่นใจได้ว่าเงินที่เราลงทุนจะอยู่ภายใต้การดูแลอย่างดี
2. มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย
เราสามารถเลือกลงทุนได้ตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หรือกระจายความเสี่ยงได้ในหลายสินทรัพย์ ที่สำคัญบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยังนำเสนอกองทุนรวมใหม่ๆ ตามเทรนด์อยู่เสมอ เช่น กองทุนหุ้นเทคโนโลยี กองทุนหุ้นการแพทย์ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุน
3. เงินไม่มากก็ลงทุนได้
การลงทุนในกองทุนรวมมีเงินเพียงหลักร้อยก็ลงทุนได้แล้ว หรือบางกองทุนก็ให้เราเริ่มต้นลงทุนเพียง 1 บาทเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถทยอยลงทุนแบบ DCA ได้ด้วย
4. ขั้นตอนการลงทุนที่ง่ายดาย
เพราะลงทุนได้ผ่านแอปพลิเคชัน อย่างเช่น Krungthai Next ที่ทำให้การลงทุนเป็นเรื่องง่าย จะเปิดบัญชี ดูพอร์ต หรือ ซื้อ ขาย สับเปลี่ยนกองทุน ก็ทำได้ผ่านแอป สะดวกและรวดเร็ว สามารถดูรายละเอียดกองทุนได้เพิ่มเติมที่นี่ กองทุนรวมกรุงไทยเทคนิคการลงทุนในกองทุนรวม และการซื้อกองทุน
1. รู้เป้าหมายการลงทุน
ว่าจะเน้นลงทุนระยะยาวเพียงใด รับความเสี่ยงได้ในระดับไหน และคาดหวังผลตอบแทนประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ ทั้งหมดนี้จะมีความสัมพันธ์กับการเลือกกองทุนรวม เช่น หากเราลงทุนระยะยาวและรับความเสี่ยงได้สูง ก็ให้เลือกลงทุนในกองทุนรวมหุ้น หรือหากต้องการพักเงินระยะสั้น ไม่คาดหวังผลตอบแทนมาก แต่เน้นรักษาเงินต้น ก็อาจพิจารณาเลือกกองทุนรวมตลาดเงินหรือตราสารหนี้ได้ เป็นต้น
2. รู้จักประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน
จริงอยู่ว่ากองทุนรวมมีผู้จัดการกองทุนมืออาชีพที่ดูแลเงินลงทุนของเรา แต่ผู้ลงทุนควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสินทรัพย์ที่ลงทุนด้วย เพื่อให้จัดพอร์ตการลงทุนได้บาลานซ์ กระจายความเสี่ยงได้หลากหลาย และรู้ว่าสินทรัพย์แต่ละชนิดจะให้โอกาสทำกำไรได้ในสถาการณ์แบบใด เพื่อให้หลีกเลี่ยง หรือสับเปลี่ยนได้ทันท่วงที ใครไม่คุ้นเคยกับคำว่า "ตราสารหนี้" มาทำความเข้าใจได้จากบทความ ตราสารหนี้คืออะไร ต่อได้เลย
3. รู้ข้อมูลเบื้องต้นของกองทุน
ได้แก่ นโยบายการลงทุน การจ่ายปันผล ค่าธรรมเนียมต่างๆ และผลการดำเนินงานในอดีต เหล่านี้จะสะท้อนถึงฝีมือในการบริหารกองทุน และโอกาสทำกำไรแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย เช่น บางกองทุนมีผลการดำเนินงานที่ดี แต่ค่าธรรมเนียมค่อนข้างสูง เราอาจต้องเปรียบเทียบกับกองทุนที่มีนโยบายเดียวกันเพิ่มเติม ซึ่งข้อมูลสำคัญของกองทุนรวมสามารถดูได้จากหนังสือชี้ชวนการลงทุนของกองทุนนั้นๆ
อย่างไรก็ดี แม้เราจะรู้แล้วว่ากองทุนรวมคืออะไร และสร้างโอกาสทำกำไรให้เราได้อย่างไร ทว่าการลงทุนก็ย่อมมีความเสี่ยงและผลการดำเนินงานในอดีต ก็มิอาจยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนจึงต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน หรือหากจะลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีก็ควรศึกษาเงื่อนไขในการเปิดบัญชีกองทุน หรือ ก่อนตัดสินใจลงทุนด้วย