เรียนรู้การเงิน

กู้เงินนอกระบบ เสี่ยงแค่ไหน? จ่ายไหวหรือเปล่า?

อัพเดทวันที่ 15 ก.ค. 2565

เงินกู้นอกระบบคืออะไร  อยากปลดหนี้นอกระบบให้หมดไวทำอย่างไรดี


หนี้นอกระบบคือคำสั้นๆ ที่เหมือนเป็นฝันร้ายสำหรับใครหลายคน เพราะนั่นหมายถึงภาระดอกเบี้ยที่งอกเงยขึ้นจนลูกหนี้หลายคนต้องหาเงินมาผ่อนจนท้อใจ บางคนมีความจำเป็น ต้องการตัวช่วย แต่ไม่รู้จะหันหน้าไปปรึกษาใคร ก็เริ่มมองหาวิธีกู้เงินนอกระบบ เอามาต่อยอดให้ชีวิตได้ก้าวต่อไป

หากคุณคือคนหนึ่งที่กำลังลำบากกับการจ่ายหนี้เงินกู้นอกระบบ หรือคิดจะกู้ เราอยากให้คุณสละเวลาสักนิด และลองอ่านบทความนี้ เชื่อว่าจะทำให้คุณเปลี่ยนใจ และมองว่าการปลดหนี้นอกระบบเป็นไปได้

เงินกู้นอกระบบ หรือ หนี้นอกระบบคืออะไร

เงินกู้นอกระบบ คือ เงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่ผ่านระบบของสถาบันการเงิน หรือไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลัง เป็นเงินกู้ที่ไม่มีระเบียบข้อบังคับใช้กับเจ้าหนี้ หรือบางครั้งต้นทางของเงินอาจมาจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่น การพนัน ยาเสพติด หรือการฟอกเงิน เมื่อเรากู้นอกระบบ เงินที่ได้มาก็จะถือเป็นหนี้นอกระบบ

หนี้นอกระบบจะมีทั้งหนี้ระยะสั้น หรือรายวัน โดยเจ้าหนี้จะเก็บดอกเบี้ยรายวัน โดยบวกเข้าไปกับเงินต้นที่ต้องจ่ายแต่ละวัน และหนี้ระยะยาว ซึ่งมักเป็นการปล่อยกู้มากกว่า 1 เดือนขึ้นไป เจ้าหนี้จะเก็บดอกเบี้ยรายเดือนจนกว่าจะมีเงินต้นมาใช้คือ บางรายหากกู้เป็นจำนวนมากก็จะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไว้ด้วย การกู้เงินนอกระบบมีข้อดีเด่นๆ เพียงข้อเดียวคือ ความสะดวก เพราะไม่ต้องผ่านกระบวนการพิจารณาหลายขั้นตอนเหมือนการกู้ผ่านสถาบันการเงิน จึงได้เงินง่ายและไวกว่า

ความเสี่ยงของการกู้หนี้นอกระบบมีอะไรบ้าง

ผู้ที่กู้เงินนอกระบบจะต้องยอมรับความเสี่ยงหลายข้อที่อาจตามมา ดังนี้

1. ดอกเบี้ยมหาโหด

ใครๆ ก็ทราบดีกว่า ดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบนั้นสูงกว่าดอกเบี้ยสินเชื่อธนาคารหลายเท่าตัว และส่วนมากจะเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คือเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปีหรือร้อยละ 1.25 ต่อเดือน เผลอๆ อาจสูงกว่า 30% ต่อปี เรียกว่าสูงจนคาดไม่ถึง และทำให้ผู้ที่กำลังร้อนเงินเป็นเหยื่อโดยไม่ทันระวัง


ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ยแสนแพงจากหนี้นอกระบบ

นายวินัยตกลงกู้เงินนอกระบบ 50,000 บาท โดยมีระยะเวลาผ่อน 1 ปี และมีอัตราดอกเบี้ย 30% ต่อเดือน
วิธีการคำนวณดอกเบี้ยคือ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x ระยะเวลาผ่อน (ปี)
หรือจากตัวอย่างคือ 50,000 x (30% x 12) x 1 = 180,000
ดังนั้นวินัยต้องจ่ายดอกเบี้ยเป็นเงิน 180,000 บาทต่อปี (คิดเป็น 3.6 เท่า ของเงินต้น)

วิธีคิดดอกเบี้ยเงินกู้หนี้นอกระบบ


2. ดอกเบี้ยทบต้นทบดอก

หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้เต็มจำนวนในคราวเดียว ก็จะมีการคิดดอกเบี้ยลอย โดยจะต้องทยอยจ่ายดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ ทำให้ยอดเงินรวมที่ต้องจ่ายถูกสะสมเข้าทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เมื่อเวลาผ่านไป เงินกู้ก้อนเล็กๆ จะกลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่ใช้เท่าไหร่ก็ไม่หมด

3. บั่นทอนสวัสดิภาพ

ธุรกิจเงินกู้นอกระบบบางครั้งก็เป็นธุรกิจสีเทา ที่อาจมีการทวงถามชำระหนี้ที่ไม่เป็นมิตร และอาจเป็นอันตรายต่อลูกหนี้ อาทิ การทำให้อับอาย การข่มขู่ คุกคาม ทำลายทรัพย์สิน หรือทำร้ายร่างกาย

4. ตรวจสอบไม่ได้ กฎหมายไม่คุ้มครอง

สัญญาเงินกู้นอกระบบมักเป็นสัญญาที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ตรวจสอบไม่ได้ และเป็นไปตามความต้องการของเจ้าหนี้ ไม่สามารถต่อรอง หรือร้องขอความคุ้มครองทางกฎหมายได้ นี่เองคือสิ่งที่ต้องแลกกับความง่ายของเงินกู้นอกระบบ

จะเห็นได้ว่า ความสะดวกของการกู้เงินนอกระบบ เทียบไม่ได้เลยกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหลังจากนั้น ยิ่งเดี๋ยวนี้ที่สถาบันการเงินเริ่มมีบริการเงินกู้ในระบบที่ง่ายและรวดเร็ว ก็ยิ่งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกู้นอกระบบอีกต่อไป โดยเฉพาะที่ธนาคารกรุงไทย เรามีบริการกู้เงินด่วน “กรุงไทยใจป้ำ” เป็นสินเชื่อเงินด่วน สำหรับผู้มีรายได้ 15,000 บาทขึ้นไป อนุมัติไว วงเกินกู้ฉุกเฉิน 5 เท่าของรายได้ ไม่เกิน 1 ล้านบาท ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน กู้ง่ายผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ใครที่กำลังมองหาเงินกู้แบบด่วนๆ ลอง คลิก เพื่อดูรายละเอียดได้เลย


ทำอย่างไรดี หากเป็นหนี้นอกระบบ

วางแผนปิดหนี้ให้ไว

มีหนี้ต้องรีบใช้ โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ แก้ปัญหาหนี้นอกระบบโดยเริ่มจากการบริหารรายรับรายจ่ายให้ดี ควบคุมการใช้เงินไม่ให้ฟุ่มเฟือย และหาช่องทางสร้างรายได้เพิ่ม หากจำเป็นเร่งด่วนแนะนำให้รวมทรัพย์สินที่มีไปขายออกเพื่อรวบรวมเงินมาใช้หนี้ก่อน


วิธีช่วยปิดหนี้นอกระบบให้หมดไว


หาเงินกู้ในระบบหรือเงินกู้ถูกกฎหมาย

ลองติดต่อธนาคาร โดยเฉพาะธนาคารของรัฐซึ่งมักจะมีสินเชื่อเงื่อนไขดีๆ มาช่วยลดภาระหนี้นอกระบบ แถมจ่ายดอกเบี้ยเบาๆ ดีกว่าเงินกู้นอกระบบเห็นๆ

     ขอแนะนำสินเชื่อเงินกู้ด่วนทันใจจากธนาคารกรุงไทย ที่ไม่ว่าใครก็กู้ง่าย ไม่ต้องค้ำประกัน

เป็นหนี้นอกระบบปรึกษาใครได้บ้าง

ขอคำปรึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อของเงินกู้นอกระบบ ที่ทั้งให้คำแนะนำ และคุ้มครองลูกหนี้ รวมทั้งช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยให้เกิดความเป็นธรรมต่อทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ อาทิ

  • ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขหนี้สินภาคประชาชน โทร. 1359
  • ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โทร. 0-2575-3344
  • ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย โทร. 1567

สุดท้ายนี้ ไม่ว่าจะกู้เงินจากแหล่งใด สิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นลำดับแรกก็คือ ความมีวินัยในการชำระหนี้ เพื่อให้สามารถหลุดพ้นจากภาระ พร้อมก้าวสู่อิสรภาพทางการเงินในขั้นต่อไป ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่า หากจำเป็นต้องใช้เงินอีกครั้งใด ให้นึกถึงสินเชื่อจากธนาคารกรุงไทยไว้ก่อน เพราะเข้าถึงง่าย ปลอดภัย และไม่มีความเสี่ยงเหมือนกับการกู้เงินนอกระบบ


ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.1213.or.th/th/finfrauds/LoanShark/Pages/LoanShark.aspx



กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว

เงื่อนไขและเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อัตราดอกเบี้ย 20-22%ต่อปี ผ่อนหมื่นละ 10 บาทต่อวัน (คิดจากเงินต้น 10,000 บาท ดอกเบี้ย 20%ต่อปี ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 4,609 บาท ค่างวด 300 บาทต่อเดือน ผ่อน 60 เดือน)

**เงื่อนไขและเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อัตราดอกเบี้ย MRR+7%ต่อปี (MRR=7.57%ต่อปี ณ 1 ม.ค.67) อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ผ่อนหมื่นละ 8 ขอแก้ไขเป็น 17 บาทต่อวัน (คิดจากเงินต้น 15,000 บาท ดอกเบี้ย MRR=14.57%ต่อปี (MRR=7.57%ต่อปี ณ 1 ม.ค.67) ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 3,697 บาท ค่างวด 500 บาทต่อเดือน ผ่อน 48 เดือน)

*** อัตราดอกเบี้ยปกติอยู่ระหว่าง 20% ต่อปี ถึง 24% ต่อปี I เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

เงินกู้นอกระบบคืออะไร อยากปลดหนี้ให้หมดไวทำอย่างไรดี | ธนาคารกรุงไทย ทำความรู้จักกับเงินกู้นอกระบบ และความเสี่ยงของการกู้เงินโดยไม่ผ่านสถาบันการเงิน พร้อมแนวทางช่วยปลดหนี้นอกระบบให้หมดเร็วขึ้น https://cms.krungthai/cmsretheme/Download/generalcontent/MediaFile_12993krungthaibusiness-listing.jpg