จุดเด่นผลิตภัณฑ์
เพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจ
ด้วยสินเชื่อเบิกเงินเกินบัญชี (OD)
สะดวก ปลอดภัย
ทั้งเบิกถอนและจ่ายเช็ค
ลดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น
คล่องตัว
ถอนเงินสดด้วยเช็คตามวงเงินที่ธนาคารกำหนด
ง่าย
ถอนเงินได้ผ่านบัตร ATM และ Visa Debit ได้ทุกที่ทุกเวลา
รายละเอียดการให้บริการ
- บริการบัญชีเงินฝากเพื่อประกอบธุรกิจ สามารถใช้ครอบคลุมทุกขนาดธุรกิจ
- สามารถสั่งจ่ายเงินได้สะดวก ใช้เช็คในการเบิกจ่ายเงิน ฝาก-ถอนต่างสาขาได้ โดยคำนวณดอกเบี้ยทุกวัน และตัดบัญชีลูกค้าทุกสิ้นเดือน
- สามารถขอใช้เงินเบิกเกินบัญชีได้ ไม่มีดอกเบี้ยให้บัญชีกระแสรายวัน
คำแนะนำการใช้เช็ค
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเช็คได้ง่ายๆ เช่น สถานะเช็ค, รายการอายัดเช็ค, การอายัดเช็ค ได้ที่ Call Center 02-111-1111 หรือ บริการ Self Service Banking ของธนาคาร
- ควรขีดคร่อมเช็คที่มุมบนด้านซ้ายของเช็คสั่งจ่ายให้ผู้รับเช็คนำเงินไปฝากเข้าบัญชี ไม่สามารถเบิกเป็นเงินสดได้ และควรเขียนข้อความว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” หรือ “A/C Payee Only” ไว้ระหว่างเส้นขนาน 2 เส้นดังกล่าว เพื่อเป็นการเจาะจงให้นำเช็คเข้าบัญชีตามชื่อที่ระบุบนหน้าเช็คเท่านั้น
จำนวนเงินขั้นต่ำในการเปิดบัญชีและรักษาบัญชี
- ทั้งประเภทบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลกำหนดเงินฝากขั้นต่ำครั้งแรก 10,000 บาท
- ต้องฝากไว้อย่างน้อย 1,000 บาท เพื่อไม่ให้เสียค่ารักษาบัญชี
เอกสารประกอบการเปิดบัญชี
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนธุรกิจ ที่นายทะเบียนรับรอง ไม่เกิน 6 เดือน
- รายงานการประชุม หรือหนังสือแจ้งความประสงค์ขอเปิดบัญชี
- หนังสือบริคณห์สนธิ
-
เอกสาร ที่นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
- แบบ บอจ.3 รายการจดทะเบียนจัดตั้ง
- แบบ บอจ.4 รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมและหรือมติพิเศษ (ถ้ามี)
- แบบ บอจ.5/บมจ.006 สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น หรือเอกสารแสดงการถือหุ้น ที่ออกโดยหน่วยราชการ
-
เอกสารแสดงตนของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
-
ผู้ที่ลงนามเปิดบัญชีและผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่าย
- บริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ใช้บัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดเช่นเดียวกับที่กำหนดการเปิดบัญชีบุคคลธรรมดา (กรณีคนต่างด้าวใช้หนังสือเดินทาง
- บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ใช้สำเนาบัตรประชาชน (คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทาง) หากไม่มีให้ใช้สำเนาเอกสารประจำตัวที่หน่วยงานของรัฐ ราชการออกให้ที่มีรูปถ่ายพร้อมระบุหมายเลขประจำตัวประชาชน เช่น บัตรประจำตัว ข้าราชการ ,พนักงานรัฐวิสาหกิจ , พนักงานองค์การของรัฐ หรือ ใบอนุญาตขับรถที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน เป็นต้น
- ผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลทุกราย ผู้มีตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงสุด,ผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง (บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ถือหุ้นในกิจการตั้งแต่ร้อยละ 25 ขึ้นไป หากไม่มี ใช้เอกสารแสดงตนของผู้มีอำนาจควบคุมกิจการหรือ ผู้มีตำแหน่งบริหารระดับสูงสุดของกิจการ) ใช้สำเนาบัตรประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ (คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทาง) และรับรองสำเนา
-
ผู้ที่ลงนามเปิดบัญชีและผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่าย