-
หากต้องการใช้งาน Krungthai NEXT เวอร์ชันใหม่ ต้องทำอย่างไร
-
สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ติดตั้งแอปฯ ลงบนเครื่อง ให้ทำการดาวน์โหลด แอปฯ Krungthai NEXT โดยมีขั้นตอน ดังนี้
- ค้นหา App Krungthai NEXT บน App Store หรือ Play Store
- Download โดยค้นหา คำว่า Krungthai NEXT
- ติดตั้งแอปฯ Krungthai NEXT
- เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ทำการเปิดแอปฯ จะขึ้นหน้าลงทะเบียน Krungthai NEXT ให้เลือก “เริ่มใช้งาน” (Get Started) และพิสูจน์ตัวตนตามขั้นตอนของการลงทะเบียนเข้าใช้งาน
สำหรับผู้ที่เคยติดตั้งแอปฯ แล้ว สามารถ Update ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด โดยมีขั้นตอนการ Update Krungthai NEXT ดังนี้
- ค้นหา App Krungthai NEXT บน App Store หรือ Play Store
- ค้นหาคำว่า Krungthai NEXT
- เลือก อัปเดต
- เมื่ออัปเดตเสร็จแล้ว ทำการเปิดแอปฯ จะขึ้นเข้าหน้าหลัก (Home) .ให้ใส่ PIN หรือ Biometric ตามการตั้งค่าเดิมที่เคยกำหนดไว้
หมายเหตุ : เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลเครื่องที่ผ่านการ Root หรือ Jailbreak ลูกค้าจะไม่สามารถติดตั้ง Krungthai NEXT ได้ โดยลูกค้าสามารถใช้งานผ่านช่องทาง Website ได้ตามปกติ ที่ www.ktbnetbank.com
-
-
กรณีลูกค้าลืม Password ของ Apple ID จะต้องดำเนินการอย่างไร
-
ใช้ขั้นตอนตาม URL นี้ เพื่อรีเซ็ตรหัสผ่าน และรับการเข้าถึง Apple ID ของคุณอีกครั้ง https://support.apple.com/th-th/HT5787
-
-
หากพบปัญหาไม่สามารถ Download หรือ Update ได้ จะต้องทำอย่างไร
-
ให้ทำการตรวจสอบข้อมูลของโทรศัพท์มือถือที่ใช้งาน ดังนี้
- โทรศัพท์ต้องมีพื้นที่ว่างเหลืออย่างน้อย 300 MB ทั้ง iOS และ Android
- เครือข่าย Internet ต้องพร้อมใช้งาน (ซิมของเบอร์มือถือที่ใช้งานต้องมีอินเตอร์เน็ต)
- ระบบปฏิบัติการรองรับ (iOS version 12 ขึ้นไป, Android version 9 ขึ้นไป)
หมายเหตุ : วิธีการตรวจสอบ Version ของเครื่องสามารถดูได้ที่
iOS : Version 12 ขึ้นไป จึงสามารถ Download ได้
- English: Setting > General > About > Version
- ไทย: การตั้งค่า > ทั่วไป > เกี่ยวกับ > เวอร์ชั่น
Android : Version 9 ขึ้นไป จึงสามารถ Download ได้
- English: Setting > About Device > Software Info >Android Version
- ไทย: การตั้งค่า > เกี่ยวกับโทรศัพท์ > ข้อมูลซอฟแวร์ > เวอร์ชั่นของแอนดรอยด์
-
-
ลูกค้าสามารถเพิ่มรายการโปรดได้กี่รายการ
-
ลูกค้าสามารถเพิ่มรายการโปรดได้สูงสุด 400 รายการ โดยแบ่งประเภทเป็น โอนเงิน จ่ายสินเชื่อ จ่ายบิล และเติมเงิน ประเภทละ 100 รายการ
-
-
การจ่ายบิล มีรูปผลการทำรายการหรือไม่
-
หลังการทำรายการจ่ายบิลสำเร็จผ่านแอปฯ Krungthai NEXT ทุกรายการ จะมี e-slip ให้ทุกรายการ และ e-slip จะถูกบันทึกลงโทรศัพท์มือถืออัตโนมัติในกรณีที่ทางผู้ใช้งานอนุญาตให้แอปฯ เก็บรูปภาพลงโทรศัพท์มือถือได้
Remark : กรณีที่ผู้ใช้งานไม่อนุญาตให้แอปฯ เก็บรูปภาพลงมือถือ หรือแอปฯ ไม่บันทึกสลิปให้ขณะที่ทำรายการ ลูกค้าสามารถเรียกดูรายการย้อนหลัง ในหน้าบัญชีของแต่ละบัญชีที่ใช้ทำรายการ
-
-
การจ่ายบิล สามารถทำได้กี่วิธี
-
สามารถทำได้ 3 วิธี คือ 1. จ่ายผ่าน Com Code 2. จ่ายโดยการสแกน QR Code 3. จ่ายโดยการสแกน Barcode
-
-
ในกรณีที่ไม่ทราบว่าหน่วยงานมี Com Code อะไรสามารถทำได้อย่างไร
-
สามารถไปที่แถบจ่ายบิล แล้วไปที่ช่องค้นหา (Search) แล้วใส่ชื่อหน่วยงานที่ต้องการชำระ ในกรณีที่หน่วยงานมี Com Code สามารถเลือกแล้วชำระได้ตามขั้นตอนทันที
-
-
การจ่ายบิล สามารถเลือกบัญชีที่ใช้ชำระเงินได้หรือไม่
-
ในกรณีที่ผู้ใช้งานมีบัญชีที่ใช้งานหลายบัญชี สามารถเลือกบัญชีที่ต้องการใช้ชำระเงินได้
-
-
การเติมเงิน ถ้าจำเบอร์โทรศัพท์บุคคลอื่นที่จะเติมเงินให้ไม่ได้จะต้องทำอย่างไร
-
ผู้ใช้งานสามารถเลือกสมุดโทรศัพท์ แล้วเลือกบุคคลที่ต้องการเติมเงินให้
-
-
การเติมเงินมือถือ เมื่อเติมเสร็จแล้วเงินจะเข้าทันทีเลยหรือไม่
-
การเติมเงินโทรศัพท์มือถือทุกค่าย เงินจะเข้าทันทีหลังจากที่ทำรายการสำเร็จ
-
-
การเติมเงินสามารถใช้วิธีสแกนด้วย QR CODE หรือ Barcode ได้หรือไม่
-
สามารถทำได้ในกรณีที่หน่วยงานมี QR CODE หรือ Barcode ที่สามารถสแกนเพื่อเติมเงินได้
-
-
e-Donation ชาวต่างชาติสามารถรับใบอนุโมทนาบุญได้หรือไม่
-
ไม่สามารถรับได้ สามารถรับได้เฉพาะคนไทยเท่านั้น
-
-
e-Donation สามารถรับใบอนุโมทนาบุญได้ทางไหน
-
สามารถรับใบอนุโมทนาบุญผ่านทางอีเมลที่ลงทะเบียนไว้กับทางธนาคาร
-
-
ใบอนุโมทนาบุญที่ได้รับผ่านทางอีเมลสามารถเอาไปลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
-
สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
-
-
ลูกค้าสามารถเปลี่ยนเบอร์มือถือสำหรับรับรหัส OTP ของแอปฯ Krungthai NEXT เวอร์ชันใหม่ที่ตู้ ATM ได้หรือไม่
-
ไม่สามารถทำได้ที่ตู้ ATM แต่ลูกค้าสามารถเปลี่ยนแปลงเบอร์มือถือสำหรับรับ OTP ได้ด้วยตนเองบน แอปฯ Krungthai NEXT
หมายเหตุ
- หมายเลขโทรศัพท์ OTP ของแอปฯ Krungthai NEXT และ KTB netbank ไม่จำเป็นต้องเป็นหมายเลขเดียวกัน และการแก้ไขเบอร์มือถือที่รับ OTP ที่ตู้เอทีเอ็มของ KTB netbank ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเบอร์มือถือที่รับ OTP ของแอปฯ Krungthai NEXT
- การเปลี่ยนแปลงเบอร์มือถือสำหรับรับ OTP ที่ตู้ ATM เป็นการตั้งค่าของ Website KTB netbank เท่านั้น
-
-
การแจ้งเตือนเข้าใช้งาน และยืนยันการทำรายการจะมีการแจ้งเตือนการใช้งานหรือไม่
-
มีการแจ้งเตือนทางอีเมล ผู้ใช้งานสามารถเปิดการแจ้งเตือนที่ การตั้งค่า (Settings) > ตั้งค่าทั่วไป (General Settings)
แจ้งเตือนทางอีเมล (Email Notification) ข้อความจะถูกส่งไปยังอีเมลที่ระบุไว้
- แจ้งเตือนเมื่อเข้าสู่ระบบ (Log into Krungthai NEXT)
- แจ้งเตือนเมื่อทำธุรกรรม (make a transactions)
- แจ้งเตือนเมื่อเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า (change settings)
-
-
ขอหนังสือรับรองสินเชื่อดอกเบี้ยบ้านต้องทำอย่างไร
-
ลูกค้าสามารถขอหนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้านปีล่าสุดผ่านแอป Krungthai NEXT โดยจะได้รับผ่านทาง Email ที่ลูกค้าระบุไว้บนแอป Krungthai NEXT
-
-
วิธีการเข้าสมัครใช้งาน Krungthai NEXT สำหรับคนไทยที่ไม่เคยใช้แอปฯ Krungthai NEXT มาก่อน
-
หลังจากติดตั้งแอปฯ Krungthai NEXT ให้ลูกค้าเปิดแอปฯ และทำตามขั้นตอนดังนี้
- เลือก “เริ่มใช้งาน” (Get Started)
- อ่านคำแนะนำการลงทะเบียน เลือก “ยืนยัน”
- ยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไข (T&C) เลือก “ยอมรับ”
- ให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูล (PDPA Consent)
- ให้ความยินยอมพิสูจน์ตัวตน และ E-KYC
- ถ่ายรูปบัตรประชาชน หรือเลือก “ใส่ข้อมูลด้วยตนเอง”
- ตรวจสอบเลขบัตรประชาชน หรือระบุเลขบัตรประชาชน และกดปุ่ม “ยืนยัน”
- เลือก “Allow While Using App” เพื่อเปิดใช้งาน Location Service
- อ่านคำแนะนำการยืนยันใบหน้า เลือก “เริ่มสแกนใบหน้า”
- ทำการสแกนใบหน้า และปฏิบัติตามคำแนะนำ
- ระบุเลขที่บัญชีออมทรัพย์ หรือกระแสรายวัน
- ใส่ข้อมูลตามบัตรประชาชน (เฉพาะลูกค้าที่เบอร์มือถือไม่ตรงกับระบบของธนาคาร หรือไม่สามารถตรวจสอบเบอร์มือถือขณะลงทะเบียนได้) และกดปุ่ม “ยืนยัน”
- ตรวจสอบเบอร์มือถือ ที่ระบบดึงมาแสดง หรือกรอกเบอร์มือถือเพื่อรับรหัส OTP (เฉพาะลูกค้าที่ไม่สามารถตรวจสอบเบอร์มือถือขณะลงทะเบียนได้) และกดปุ่ม “ยืนยัน”
- กรอกรหัส OTP ที่ได้รับจาก SMS และกดปุ่ม “ยืนยัน”
- ตั้งรหัส PIN และยืนยันรหัส PIN
- เลือก “เปิดใช้งาน” Biometric สำหรับการเข้าสู่ระบบครั้งต่อไป
- ทำการสแกนใบหน้า หรือสแกนลายนิ้วมือ หรือสแกนม่านตา
- ดูตัวอย่างหน้าจอสอนการใช้งานแอปฯ Krungthai NEXT เบื้องต้น (Tutorial)
- เข้าสู่หน้าหลัก (Home)
-
-
กรณีที่ลูกค้าเปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์ใหม่ หรือลบแอปฯ Krungthai NEXT และติดตั้งใหม่อีกครั้ง จะเข้าสมัครใช้งาน Krungthai NEXT ใหม่อีกครั้งอย่างไร
-
หลังจากติดตั้งแอปฯ Krungthai NEXT ให้ลูกค้าเปิดแอปฯ และทำตามขั้นตอนดังนี้
- เลือก “เริ่มใช้งาน” (Get Started)
- อ่านคำแนะนำการลงทะเบียน เลือก “ยืนยัน”
- ยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไข (T&C) เลือก “ยอมรับ”
- ให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูล (PDPA Consent)
- ให้ความยินยอมพิสูจน์ตัวตน และ E-KYC
- ถ่ายรูปบัตรประชาชน หรือเลือก “ใส่ข้อมูลด้วยตนเอง”
- ตรวจสอบเลขบัตรประชาชน หรือระบุเลขบัตรประชาชน และกดปุ่ม “ยืนยัน”
- เลือก “Allow While Using App” เพื่อเปิดใช้งาน Location Service
- อ่านคำแนะนำการยืนยันใบหน้า เลือก “เริ่มสแกนใบหน้า”
- ทำการสแกนใบหน้า และปฏิบัติตามคำแนะนำ
- เลือก “เปิดใช้งาน” Biometric สำหรับการเข้าสู่ระบบครั้งต่อไป
- ทำการสแกนใบหน้า หรือสแกนลายนิ้วมือ หรือสแกนม่านตา
- ดูตัวอย่างหน้าจอสอนการใช้งานแอปฯ Krungthai NEXT เบื้องต้น (Tutorial)
- เข้าสู่หน้าหลัก (Home)
-
-
ลูกค้าใช้ User ID (Username) หรือข้อมูลบัตร ATM สมัครใช้งาน Krungthai NEXT ได้หรือไม่
-
ไม่สามารถใช้ได้ เนื่องจากแอปฯ Krungthai NEXT เวอร์ชันใหม่ ได้ทำการยกระดับเรื่องความปลอดภัยสำหรับการใช้งาน จึงได้ทำการยกเลิกการใช้ User Name หรือข้อมูลบัตร ATM ในการสมัคร และเปลี่ยนมาใช้การตรวจสอบใบหน้า, เลขบัตรประชาชน และร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ เพื่อตรวจสอบเบอร์มือถือว่าตรงกันกับข้อมูลของธนาคาร กรณีเป็นลูกค้าใหม่ ระบบจะเพิ่มการตรวจสอบ ด้วยเลขที่บัญชีธนาคาร และพิสูจน์ตัวตนผ่านระบบ DOPA
-
-
ลูกค้าเดิม (Existing Customer) ที่ใช้งาน Krungthai NEXT เวอร์ชันปัจจุบัน ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
-
กรณีที่ลูกค้าเดิม (Existing Customer) ที่ทำการ Uninstalled ไปแล้ว ลูกค้าต้อง Download แอปฯ Krungthai NEXT ใหม่ และทำการสมัครใช้บริการใหม่
กรณีลูกค้าเดิม (Existing Customer) ที่มีแอปฯ Krungthai NEXTอยู่แล้ว หากลูกค้าตั้ง Auto Update จะสามารถ Update เป็นเวอร์ชันใหม่ได้ทันที หากลูกค้าไม่ได้ตั้ง Auto Update ไว้ เมื่อเปิดแอปฯ จะขึ้นข้อความแจ้งเตือนให้ทำการ Update Version
-
-
ในการสมัครใช้งานแอปฯ Krungthai NEXT ซิมที่ใช้งานกับแอปฯ Krungthai NEXT จำเป็นต้องมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือไม่
-
จำเป็น เนื่องจากในการสมัครใช้บริการ Krungthai NEXT ต้องการการเชื่อมต่อกับระบบ และมีการตรวจสอบเบอร์ที่ลูกค้าใช้ว่าตรงกับที่มีในระบบหรือไม่
-
-
กรณีลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์ระบบปฏิบัติการ iOS (ทั้งในไทย และต่างประเทศ) ค้นหาแอปฯ Krungthai NEXT ใน App Store ไม่พบ
-
หากลูกค้าไม่ได้ใช้ App Store ของประเทศไทย จะไม่สามารถ Update และ Download แอปฯ Krungthai NEXT ได้ ให้เข้าไปทำการเปลี่ยนแปลง “ภูมิภาค” ของ App Store เป็นประเทศไทย ดังนี้ เข้าไปที่การตั้งค่า > เลือกที่ Apple ID, iClound, iTunes Store และ App Store > เลือก iTunes & App Store > กดที่ Apple ID ของคุณ > เลือก ดู Apple ID > เลือก ประเทศ/ภูมิภาค > ทำการเปลี่ยนเป็น ประเทศไทย
-
-
กรณีลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์ระบบปฏิบัติการ Android ค้นหาแอปฯ Krungthai NEXT ใน Google Play Store ไม่พบ
-
แนะนำให้ลูกค้าค้นหาแอปฯ จากลิสต์แทนการค้นหา โดยเข้าไปที่ Google Play Store > ตรงแถบเมนูด้านล่าง เลือก แอป > ตรงแถบด้านบน เลือก อันดับสูงสุด > เลื่อนปุ่ม แสดงแอปที่ติดตั้งไว้ ไปทางขวา > แอปฯ Krungthai NEXT จะปรากฏขึ้น แล้วกดเพื่อดาวน์โหลด หรืออัปเดต
-
-
วิธีการตรวจสอบกรณี Slip ไม่บันทึกอัตโนมัติที่อัลบัมรูปภาพในโทรศัพท์ของท่าน
-
สำหรับ iOS ให้ไปที่ ตั้งค่า > หาแอปฯ NEXT > กดแอปฯ NEXT > คลิกที่ รูปภาพ > เลือก อ่านและเขียน ให้มีเครื่องหมายถูกขึ้นด้
านขวามือ สำหรับ Android ให้ไปที่ การตั้งค่า > เลือกที่เมนู แอพ > หาแอปฯ NEXT > เลือก การอนุญาต โดยต้องทำการ อนุญาต 2 ที่ คือ
- เลือก ที่จัดเก็บข้อมูล > เลือก อนุญาต
- เลือก กล่องถ่ายรูป > เลือก อนุญาต
-
-
ถ้าต้องการเปลี่ยนเบอร์มือถือที่ใช้รับ OTP เองบนแอปฯ Krungthai NEXT ต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง
-
สแกนใบหน้า, ใส่ PIN, ระบุเบอร์มือถือใหม่ และรหัส OTP ของเบอร์มือถือใหม่ หลังจากเปลี่ยนเบอร์มือถือสำเร็จ ระบบจะส่ง SMS แจ้งผลการเปลี่ยนเบอร์มือถือสำเร็จไปยังเบอร์มือถือเดิม และผู้ใช้ได้รับ Email Notification ถ้าเปิดการแจ้งเตือนอีเมลไว้
-
-
กรณีผู้ใช้ไปเปลี่ยนเบอร์มือถือที่สาขา เบอร์มือถือที่ใช้รับ OTP บนแอปฯ จะเปลี่ยนเป็นเบอร์ใหม่ หรือไม่
-
เปลี่ยนเป็นเบอร์ใหม่ทันที สามารถเข้าไปดูใน ตั้งค่า (Settings) > ตั้งค่าความปลอดภัย (Security Settings) > เปลี่ยนเบอร์มือถือที่รับรหัส OTP (Change OTP mobile No.)
-
-
การตั้งค่าวงเงินต่อวันบนแอปฯ Krungthai NEXT แตกต่างจากของเดิมอะไรบ้าง
-
เปลี่ยนการตั้งค่าวงเงินต่อวัน
- สำหรับโอนเงิน, จ่ายบิล, เติมเงิน, จ่ายสินเชื่อ และบริการอื่นๆ จากระดับ Account Level เป็น Customer Level
- กรณีเปิดการแจ้งเตือนไว้ ผู้ใช้ได้รับ Email Notification หลังการเปลี่ยนวงเงินสำเร็จ
- เปลี่ยนแปลงวงเงินด้วยตนเอง สูงสุดต่อวัน 2 ล้านบาท หรือ 5 ล้านบาท
- การเพิ่มวงเงิน ลูกค้าต้องระบุ OTP เพื่อยืนยัน แต่ส่วนของการลดวงเงินสามารถทำได้ทันทีจะไม่มี OTP
- วงเงินสูงสุดสำหรับผู้ใช้ Gold, Silver, VIP, Normal เปลี่ยนเป็น 2 ล้านบาทต่อวัน
- ผู้ใช้เดิมที่ใช้งาน Krungthai NEXT เมื่อ Update เป็น Krungthai NEXT เวอร์ชันใหม่ จะใช้วงเงินต่อวันที่เคยตั้งไว้ต่ำสุด และวงเงินสูงสุดต่อวันที่ 2 ล้านบาท (วงเงินสูงสุด 5 ล้านบาท เฉพาะผู้ใช้ที่เป็นกลุ่ม Platinum)
- ผู้ใช้สถานะ e-KYC จะถูกจำกัดวงเงิน สามารถตั้งวงเงินได้สูงสุด 100,000 บาท
-
-
หากต้องการเพิ่มวงเงินต่อวัน ต้องใส่ OTP หรือไม่
-
ผู้ใช้ต้องกรอกรหัส OTP กรณีต้องการเพิ่มวงเงิน ในส่วนของการลดวงเงินสามารถทำได้ทันที แต่ยอดระบุต้องมากกว่า 0 บาท
-
-
วงเงินต่อวัน ใช้สำหรับการทำธุรกรรมใดบ้าง
-
วงเงินต่อวันใช้สำหรับการโอนให้บัญชีบุคคลอื่น, เติมเงิน และจ่ายบิล
-
-
สามารถกำหนดวงเงินต่อวัน หน่วยเป็นทศนิยม ได้หรือไม่
-
ไม่สามารถทำได้ ต้องเป็นจำนวนเต็มเท่านั้น
-
-
ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงวงเงินสูงสุดต่อวันจาก 2 ล้านบาท เป็น 5 ล้านบาท หรือ 5 ล้านบาท เป็น 2 ล้านบาท ต้องทำอย่างไร
-
ติดต่อสาขาธนาคารกรุงไทย
-
-
จำกัดจำนวนครั้งในการปรับวงเงินหรือไม่
-
ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และหลังจากปรับวงเงินเสร็จแล้ว มีผลใช้ได้ทันที
-
-
กรณีที่บัญชีไม่แสดงในแอปฯ Krungthai NEXT เพราะอะไร และต้องทำอย่างไร
-
เพราะผู้ใช้ได้ตั้งค่าการซ่อนบัญชี (Hide Account) ดังกล่าวเอาไว้ โดยสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่ การตั้งค่า (Settings) > การตั้งค่าบัญชี (Account Settings) > ตั้งค่าการซ่อนบัญชี (Hide and Unhide Accounts)
-
-
บัญชีประเภทใดบ้างที่ไม่สามารถทำการซ่อนบัญชี (Hide Account) ได้
-
ผู้ใช้ไม่สามารถซ่อนบัญชีหลัก (Main account) และบัญชีที่เคยตั้งทำรายการล่วงหน้า (Schedule transaction) ได้
-
-
หากซ่อนบัญชีแล้วจะไม่แสดงบัญชีดังกล่าวใช่หรือไม่
-
ใช่ บัญชีที่ถูกช่อนไว้ จะไม่แสดงบนแอปฯ เช่น Source of fund ทุกรายการ หรือหากเลือกซ่อนบัตรหลัก (Main Card) บัตร (Supplementary Card) จะถูกซ่อนไปด้วย
-
-
หากต้องการแสดงบัญชี (Unhide Account) ต้องทำอย่างไร
-
ผู้ใช้ต้องกรอกเลขบัญชีที่หายไปให้ครบ หากใส่เลขบัญชีผิดเกิน 5 ครั้ง ระบบจะระงับไม่ให้เลือกแสดงบัญชี 3 ชั่วโมง
- Format บัญชี 10 digits: ใส่ 6 หลัก ตั้งแต่ 4-9 เป็น 123-_-_ _ _ _ _- 0
- Format บัญชี 12 digits: ใส่ 6 หลัก ตั้งแต่ 6-11 เป็น 123-4-5_ _ _ _ -_ _0
- Format (e-Wallet) บัญชี 15 digits: ใส่ 10 หลัก ตั้งแต่ 5-14 เป็น 006-1-_ _ _ _ _ _ _ _ _ _-1)
หมายเหตุ กรณีเปิดการแจ้งเตือนไว้ ผู้ใช้ได้รับ Email Notification หลังการซ่อน หรือแสดงบัญชีสำเร็จ
-
-
กรณีลูกค้ามีหลายบัญชี บัญชีที่แสดงในแอปฯ Krungthai NEXT จะเป็นอย่างไร
-
กรณีเป็นลูกค้าที่เคยใช้งานแอปฯ Krungthai NEXT เวอร์ชันก่อนหน้า และ Login เข้าใช้งานเป็นครั้งแรก จะสามารถดูบัญชีที่เคยเพิ่มไว้ก่อนหน้านี้ได้ แต่บัญชีที่ไม่เคยเพิ่มในเวอร์ชันก่อนหน้า จะถูกซ่อนบัญชีไว้ โดยลูกค้าจะต้อง Unhide บัญชีที่การตั้งค่า (Settings) > การตั้งค่าบัญชี (Account Settings) > ตั้งค่าการซ่อนบัญชี (Hide and Unhide Accounts)
เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา ระบบจะเรียงลำดับประเภทบัญชี, ภาษาอังกฤษ (A-Z), ภาษาไทย (ก-ฮ), และเลขที่บัญชีตามลำดับ ดังนี้
- บัญชีหลัก
- บัญชีเงินฝาก (Deposit) = Main Account, Savings Account, Current Account, Next money/ e-money wallet, FDA
- บัญชีสินเชื่อ (Loan) = Housing Loan สามารถแสดงบัญชีที่มีการกู้ร่วม (7001), Personal Term สามารถแสดงบัญชีที่มีผู้ค้ำประกัน (7002), Term Loan (8001), Agricultural Loan (8002)
- บัตร Debit/ ATM (บัตรจะถูกจัดเรียงลำดับมาจากระบบ CCMS)
- Krungthai Travel Card = Prepaid/ Debit, VISA/ UPI
- บัตร KTC = บัตรเครดิต KTC บัตรหลัก (Primary) และบัตรเสริม (Supplementary), บัตรกดเงินสด KTC PROUD
-
-
สามารถเปลี่ยนรูป Profile เป็นรูปของตนเองได้หรือไม่
-
สามารถเปลี่ยนได้ วิธีการทำ คือ กดไปที่รูปโปรไฟล์ ด้านบนซ้ายของหน้าจอ โดยสามารถเลือกถ่ายรูปใหม่ หรือเลือกรูปจากอัลบั้มรูปในมือถือของตนเองก็ได้
-
-
เมนูเช็กยอดเงินด่วน (Quick Balance) ยังมีอยู่หรือไม่
-
ยังมีอยู่ โดยลูกค้าจะต้องตั้งค่าเปิดเอง สำหรับวิธีการดูเช็กยอดเงินด่วน (Quick Balance) สามารถทำได้โดยกดลากลงที่หน้าจอบริเวณใดก็ได้ แล้ว Quick Balance ที่ถูกซ่อนอยู่ด้านบนจะแสดงออกมา
-
-
เมนูการตั้งค่าหน้าหลัก (Home Settings) สามารถจัดการรายการอะไรได้บ้าง
-
สามารถจัดการเมนูลัดหน้าหลัก (Quick Menu on Home) ได้สูงสุด 4 เมนู/ จัดการรายการโปรดหน้าหลัก (Favorites on home) ได้สูงสุด 12 รายการ และสามารถ เปิด/ ปิด การใช้งานรายการรู้ใจ (Smart Transaction) ได้
-
-
รายการโปรดที่เคยมีบนหน้าหลัก (Home Settings) บน Krungthai NEXT เวอร์ชันเดิม เมื่ออัปเดตเป็น Krungthai NEXT เวอร์ชันใหม่ รายการโปรดที่เคยบันทึกไว้จะตามมาด้วยหรือไม่
-
รายการโปรดที่เคยบันทึกไว้ใน Krungthai NEXT เวอร์ชันเดิมจะตามมา แต่ยังไม่แสดงบนหน้าหลัก ผู้ใช้งานต้องทำการเพิ่มใหม่อีกครั้ง
-
-
การขอหนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้าน บน Krungthai NEXT
-
สามารถขอหนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้านผ่าน เมนู “ขอหนังสือรับรอง” บน Krungthai NEXT ได้
-
-
การแสดงบัญชีสินเชื่อบ้าน
-
บัญชีสินเชื่อบ้านที่มีผู้กู้ร่วมจะแสดงบน Krungthai NEXT โดยอัตโนมัติ (แสดงทั้งผู้กู้หลัก และผู้กู้ร่วม)
-
-
การแสดงบัญชีสินเชื่ออเนกประสงค์
-
บัญชีสินเชื่อบ้านที่มีผู้ค้ำประกันจะแสดงบน Krungthai NEXT โดยอัตโนมัติ (แสดงเฉพาะผู้กู้เท่านั้น)
-
-
การปิดบัญชีสินเชื่อ
-
ลูกค้าสามารถชำระเงินเพื่อปิดบัญชีสินเชื่อโดยสามารถตรวจสอบยอดจ่ายเพื่อปิดบัญชี จากที่เมนู “รายละเอียดบัญชี” หลังจากชำระเพื่อปิดบัญชีเสร็จสิ้น บัญชีสินเชื่อจะไม่แสดงบน Krungthai NEXT
-
-
ประกัน PA Plus เป็นประกันประเภทใด
-
ประกัน PA Plus เป็นประกันอุบัติเหตุ (จัดอยู่ในประเภทประกันวินาศภัย)
-
-
ค่าเบี้ยประกันสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
-
สามารถลดหย่อนภาษีได้
-
-
ซื้อประกัน PA ได้กี่กรมธรรม์
-
สามารถซื้อได้มากกว่า 1 กรมธรรม์ โดยความคุ้มครองสูงสุดรวมไม่เกิน 3 ล้านบาท
-
-
ขอกรมธรรม์แบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ไหม
-
สามารถขอได้ที่เมนู “กรมธรรม์ของฉัน”
-
-
ประกันวันละบาท (PA365) เป็นประกันประเภทใด
-
ประกันวันละบาท เป็นประกันอุบัติเหตุ (จัดอยู่ในประเภทประกันวินาศภัย)
-
-
สามารถลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
-
สามารถลดหย่อนภาษีได้
-
-
ชำระเบี้ยประกันแบบใด
-
การชำระเบี้ยงวดแรกตอนซื้อ และจะทำการหักเบี้ยงวดถัดไปเป็นรายเดือนผ่านช่องทาง Direct Debit
-
-
ซื้อประกันวันละบาทได้กี่กรมธรรม์
-
สามารถซื้อได้เพียงคนละ 1 กรมธรรม์เท่านั้น
-
-
ใครสามารถสมัครใช้บริการได้บ้าง
-
- ลูกค้าที่ยังไม่มีบัญชีกองทุน สามารถเปิดบัญชีกองทุนและทำรายการซื้อ ขาย สับเปลี่ยนกองทุนของ KTAM ผ่าน Krungthai NEXT ได้
- ลูกค้าที่มีบัญชีกองทุน KTAM ที่สมัครทางช่องทาง Krungthai NEXT หรือสาขาธนาคารอยู่แล้ว สามารถทำรายการซื้อ ขาย สับเปลี่ยนกองทุนของ KTAM ผ่าน Krungthai NEXT ได้
-
-
สามารถซื้อ/สับเปลี่ยนกองทุนซับซ้อน ผ่าน Krungthai NEXT ได้หรือไม่
-
สามารถทำรายการได้ แต่ต้องทำการซื้อครั้งแรกที่สาขาก่อน
-
-
สามารถยกเลิกรายการได้ไหม
-
ยกเลิกรายการได้ก่อนเวลารับคำสั่งซื้อ ขาย สับเปลี่ยนกองทุน (Cut off time) ของกองทุนนั้นๆ (เฉพาะรายการที่ทำผ่าน Krungthai NEXT)
-
-
ตรวจสอบได้อย่างไรว่าทำรายการสำเร็จหรือไม่
-
มีการส่งแจ้งข้อความแจ้งเตือนของกองทุนรวม สำหรับการเปิดหน่วยลงทุน ส่งคำสั่งซื้อ ขาย สับเปลี่ยน และยกเลิกการทำรายการ ผ่าน Push Notification, Inbox notification และ Email
-
-
สามารถตรวจสอบประวัติการทำรายการย้อนหลังได้หรือไม่
-
สามารถตรวจสอบได้จากเมนู “รายการย้อนหลัง” ได้ 20 รายการล่าสุด ภายใน 3 เดือน
-
-
หากลูกค้าต้องการประเมินความเสี่ยงใหม่ สามารถทำได้หรือไม่
-
สามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงได้ ผ่าน Krungthai NEXT ได้ตลอดเวลาและข้อมูลจะอัปเดตทันที
-
-
ระบบจะตัดเงินเพื่อซื้อกองทุนลูกค้าเมื่อใด
-
ตัดเงินทันทีหลังทำรายการ
-
-
ลูกค้าจะได้รับสลิปการส่งคำสั่งซื้อ/ขาย/สับเปลี่ยนกองทุน หรือยกเลิกรายการคำสั่ง หรือไม่
-
ลูกค้าสามารถดูและบันทึกสลิปรายการซื้อ ขาย สับเปลี่ยน และยกเลิกรายการได้ผ่านเมนู Inbox
-
-
รายการกองทุนที่ทำผ่านสาขาและ KTB Netbank จะแสดงบน Krungthai NEXT หรือไม่
-
ใช่
-
-
การรับรายงานเครดิตบูโรผ่าน Krungthai NEXT สามารถรับรายงานในช่องทางใดได้บ้าง
-
การรับรายงานเครดิตบูโร สามารถรับรายงานผ่านทางอีเมล หรือจัดส่งรายงานทางไปรษณีย์ไปยังที่อยู่ที่เลือกไว้
-
-
การรับรายงานเครดิตบูโรผ่านทางอีเมลและที่อยู่ที่เลือกไว้ใช้ระยะเวลาเท่าไร
-
การรับรายงานผ่านอีเมล จะได้รับรายงานเครดิตบูโรไม่เกิน 3 วันทำการ
การรับรายงานผ่านที่อยู่ จะได้รับรายงานเครดิตบูโรไม่เกิน 7 วันทำการ
-
-
การขอข้อมูลเครดิตบูโรผ่าน Krungthai NEXT สามารถขอได้ทั้งบุคคลธรรมดา,คณะบุคคลและนิติบุคคลหรือไม่
-
การขอข้อมูลเครดิตบูโรสามารถขอได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น
-
-
การขอข้อมูลเครดิตบูโรในหนึ่งวันสามารถขอได้กี่ครั้ง
-
การขอข้อมูลเครดิตบูโรในหนึ่งวันสามารถขอรับรายงานผ่านทางอีเมลได้ 1 ครั้ง และ ขอรับรายงานผ่านที่อยู่ได้ 1 ครั้ง
-
-
สามารถให้บุคคลอื่นขอข้อมูลเครดิตบูโรแทนได้หรือไม่
-
ไม่สามารถทำได้
-
-
ปัจจุบันการขอข้อมูลเครดิตบูโรผ่านธนาคารกรุงไทยสามารถขอที่ไหนได้บ้าง
-
สามารถขอข้อมูลเครดิตบูโรผ่าน Krungthai NEXT, ตู้เอทีเอ็มธนาคารกรุงไทย และสาขาของธนาคารกรุงไทย
-
-
กรณีที่ไม่ได้รับข้อมูลรายงานภายในเวลาที่กำหนดต้องทำอย่างไร
-
สามารถติดต่อที่บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เพื่อทำการตรวจสอบได้ที่ โทร. 02-643-1250 หรือ Email: consumer@ncb.co.th
-
-
สินเชื่อกรุงไทยธนวัฎ-ผ่อนภาษี (Thanawat Tax) คืออะไร
-
การชำระภาษีด้วยวงเงินธนวัฎโดยแบ่งจ่ายรายเดือน
-
-
สามารถผ่อนชำระสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎ-ผ่อนภาษี ได้กี่เดือน
-
ขึ้นอยู่กับแผนการผ่อนที่ลูกค้าเลือก โดยสามารถเลือกสูงสุดได้ไม่เกิน 12 เดือน
-
-
กรณีที่ลูกค้าไม่จ่ายค่างวดของการผ่อนสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎ
-
เงินค่างวดจะถูกนำไปคำนวณดอกเบี้ยตามที่ธนาคารกำหนด
-
-
ลูกค้าจ่ายสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎ-ผ่อนภาษี ให้คนอื่นได้หรือไม่
-
ไม่ได้ วงเงินสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎไม่สามารถผ่อนจ่ายภาษีให้ผู้อื่นได้
-
-
ใช้วงเงินสินเชื่อกรุงไทยจ่ายภาษีแบบไม่ครบจำนวนเต็มได้หรือไม่
-
ไม่ได้ ยอดที่ชำระต้องตรงกับใบเสร็จของกรมสรรพากร
-
-
กรณีที่ยอดวงเงินสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎไม่เพียงพอกับยอดจ่ายภาษี สามารถทำได้หรือไม่
-
ไม่สามารถทำได้
-
-
สามารถเข้าไปดูรายละเอียดการผ่อนชำระของสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎ-ผ่อนภาษีได้อย่างไร
-
เข้าไปที่บัญชีเงินฝากที่ผูกกับสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎ และกดไปเลือกที่เมนูอื่นๆ เลือกเมนูดูรายละเอียดสินเชื่อธนวัฎ
-
-
ลูกค้าจะทราบได้อย่างไรว่าการตั้งทำรายการสินเชื่อธนวัฎ-ผ่อนภาษีสำเร็จ
-
ลูกค้าจะได้รับ Push Notification หรือสามารถเข้าไปดูที่ Inbox Notification เพื่อดู Slip ว่าทำรายการสำเร็จหรือไม่
-
-
หากตั้งรายการสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎ-ผ่อนภาษีไม่สำเร็จ จะต้องทำอย่างไร
-
ลองทำใหม่อีกครั้ง หรือติดต่อ Krungthai Contact Center โทร 02-111-1111
-
-
การทำรายการผ่อนภาษีโดยใช้วงเงินสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎ สามารถทำได้กี่ครั้งต่อปี
-
สามารถทำได้ 1ครั้ง/ปี เท่านั้น
-
-
การผ่อนภาษีของสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎ สามารถใช้ได้กับภาษีทุกประเภทหรือไม่
-
ไม่ทุกประเภท สามารถใช้ได้เฉพาะการชำระภาษีรายได้ของบุคคลธรรมดาเท่านั้น
-
-
ลูกค้าสามารถชำระหนี้ผ่อนจ่ายธนวัฎล่วงหน้าได้หรือไม่
-
ไม่ได้ ต้องเป็นไปตามรอบของวงเงินสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎ
-
-
จ่ายภาษีวงเงินสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎ หลังกรมสรรพากรกำหนดได้หรือไม่
-
ไม่ได้ ต้องภายในระยะเวลาที่กรมสรรพากรกำหนดเท่านั้น
-
-
ลูกค้าสามารถใช้วงเงิน CASA ในการผ่อนภาษีได้หรือไม่
-
ไม่ได้
-
-
ถ้าลูกค้าไม่มีบัญชีสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎ สามารถผ่อนจ่ายภาษีได้หรือไม่
-
ไม่ได้ ลูกค้าต้องมีวงเงินบัญชีสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎเท่านั้น
-
-
จำนวนเงินขั้นต่ำในการผ่อนชำระภาษีของวงเงินสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎ
-
จำนวนเงินขั้นต่ำ 1,000 บาท
-
-
สินเชื่อกรุงไทยธนวัฎ-ผ่อนภาษี (Thanawat Tax) เสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
-
ปัจจุบันค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับแผนการผ่อนที่ลูกค้าเลือก
-
-
การใช้วงเงินสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎจะมีการตัดค่าธรรมเนียมเมื่อไหร่ และตัดกี่ครั้ง
-
เพียงครั้งแรก ครั้งเดียวที่ทำรายการสำเร็จ
-
-
ทุกคนสามารถซื้อประกัน Covid-19 ได้ใช่หรือไม่
-
ไม่ใช่ สามารถซื้อได้เฉพาะคนไทย ที่มีอายุ15 - 99 ปีเท่านั้น
-
-
สามารถซื้อประกัน Covid-19 ได้กี่ฉบับ
-
สามารถซื้อได้มากกว่า 1 ฉบับ แต่ความคุ้มครองสูงสุดรวมกันไม่เกิน 1 ล้านบาท กรณีเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่า และไม่เกิน 1 แสนบาท สำหรับค่ารักษาพยาบาล
-
-
ประกัน Covid-19 สามารถลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
-
สามารถนำไปลดหย่อนได้
-
-
Krungthai FUN Card คืออะไร
-
บัตร Virtual Debit สำหรับใช้จ่ายออนไลน์
-
-
สามารถสร้างบัตร Krungthai FUN ผ่านแอป Krungthai NEXT ได้สูงสุดกี่ใบ
-
10 ใบ
-
-
บัญชีที่สามารถผูกกับบัตรเพื่อเป็นบัญชีในการตัดเงินในขั้นตอนการสร้างบัตรคือบัญชีประเภทใด
-
บัญชีเงินออมทรัพย์ และบัญชีกระแสรายวัน
-
-
ขั้นตอนการเรียกดูรายละเอียดหน้าบัตร Krungthai FUN ผ่านแอป Krungthai NEXT ต้องดำเนินการอย่างไร
-
กดที่รูปบัตร Krungthai FUN แล้วใส่ PIN ที่ถูกต้อง หลังจากนั้นจะแสดงข้อมูลหน้าบัตรเป็นเวลา 4 นาที เพื่อความปลอดภัยในข้อมูลของลูกค้า
-
-
สามารถขอ Statement ของบัตร Krungthai FUN ผ่านแอป Krungthai NEXT ได้หรือไม่ และได้มากสุดจำนวนกี่เดือน
-
สามารถขอ Statement บัตร Krungthai FUN ผ่านแอป Krungthai NEXT ได้ โดบขอได้สูงสุดถึง 6 เดือน
-
-
เมื่อมีการนำบัตร Krungthai FUN ทำรายการซื้อของออนไลน์ จะสามารถตรวจสอบรายการบนแอป Krungthai NEXT ได้อย่างไร
-
เมื่อทำรายการซื้อของออนไลน์เรียบร้อยแล้ว แอป Krungthai NEXT จะมีการส่ง Push/ Inbox Notification เพื่อแจ้งรายการชำระสินค้าพร้อมจำนวนเงิน ทั้งนี้ยังสามารถตรวจสอบได้จากหน้าประวัติการทำรายการ และการขอ Statement ย้อนหลังได้อีกด้วย
-
-
Inter wallet คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง และใช้งานอย่างไร
-
บริการที่จะเพิ่มความสามารถในการใช้งานบัตร High Value Debit card และ Krungthai Travel Card ของท่าน
- สามารถใช้แลกเปลี่ยนสกุลเงินผ่าน Krungthai NEXT ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- รองรับการใช้จ่ายผ่านบัตรด้วยสกุลเงินต่างประเทศที่แลกไว้
- ครอบคลุมบริการโอนเงินในต่างประเทศโดยสามารถเลือก Source of fund ที่เป็นสกุลเงินที่แลกเก็บไว้ใน Inter Wallet ได้
สำหรับลูกค้า High Value Debit Card และ Krungthai Travel Card หากต้องการใช้งานในส่วนของ Inter Wallet ก็สามารถเปิดใช้บริการเพื่อเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานของบัตร Travel Card ได้ หรือเปิดใช้งานง่ายเพียงแค่มีบัตร Debit อยู่แล้ว ท่านสามารถ Upgrade บัตรเพื่อรองรับการใช้จ่ายด้วยสกุลเงินต่างประเทศผ่านแอป Krungthai NEXT
-
-
Inter Wallet สามารถผูกใช้งานได้กับบัตรประเภทใดบ้าง
-
สามารถใช้ได้กับบัตรทั้งหมด 5 ประเภท คือ
High Value Debit Card ประกอบด้วย
1. Krungthai Palladium Debit Card
2. Krungthai Blue Diamond Xtra Debit Card
3. Krungthai Pearl Debit CardKrungthai Travel Card ประกอบด้วย
4. Krungthai Travel Platinum Card
5. Krungthai Travel UnionPay Debit Card
-
-
Inter Wallet ใช้กับสกุลเงินต่างประเทศใดได้บ้าง
-
รองรับการแลกเปลี่ยน 19 สกุลเงิน ได้แก่ AUD, CAD, CHF, CNY, DKK, EUR, GBP, HKD, INR, JPY, KRW, MYR , NOK, NZD, RUB, SEK, SGD, TWD และ USD (ไม่รองรับการใช้บัตรด้วยสกุล CNY)
-
-
หากต้องการออกบัตร High Value Debit Card ใหม่ สามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร
-
สามารถทำได้ผ่านแอป Krungthai NEXT โดยเข้าไปที่บัตร High Value Debit Card เลือกอื่นๆ จากนั้นกดเลือกเมนู “ออกบัตรใหม่ทดแทน”
-
-
“เครดิตสกอริ่ง” หรือ “คะแนนเครดิต” คืออะไร
-
เครื่องหมาย หรือตัวเลข ที่เป็นผลรวมจากการประเมินข้อมูลทางสถิติของลูกค้ารายใดรายหนึ่ง ว่ามีโอกาสที่จะไม่ผิดนัดชำระหนี้ที่ก่อไว้ โดยคำนวณจากประวัติการก่อหนี้ และพฤติกรรมการชำระหนี้ในอดีตของคนๆ นั้น สินเชื่อ เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์เครดิตของตัวเองให้ลึกที่สุด
-
-
การขอข้อมูลเครดิตบูโร และคะแนนเครดิตในหนึ่งวันสามารถขอได้กี่ครั้ง
-
การขอข้อมูลเครดิตบูโรในหนึ่งวันสามารถขอรับรายงานผ่านทางอีเมลได้ 1 ครั้ง และ ขอรับรายงานผ่านที่อยู่ได้ 1 ครั้ง
-
-
ไม่ได้รับข้อมูลรายงานการขอข้อมูลเครดิตบูโรและ/หรือคะแนนเครดิตภายในเวลาที่กำหนด
-
สามารถติดต่อ บ.เครดิตแห่งชาติ เพื่อตรวจสอบได้ที่ โทร. 02-643-1250 หรือ email : consumer@ncb.co.th
-
-
NEXT Onboarding คืออะไร
-
ลูกค้าใหม่สามารถยืนยันตัวตนผ่านตู้ ATM (สีเทา) และสาขาของธนาคารกรุงไทย เพื่อเปิดบัญชีออนไลน์ ผ่าน Krungthai NEXT และลูกค้าปัจจุบันสามารถใช้ในการยืนยันตัวตน เพื่อสมัครเข้าใช้บริการ Krungthai NEXT
-
-
สามารถสมัครใช้บริการ Krungthai NEXT ได้ตลอด 24 ชม. หรือไม่
-
ถ้าเป็นลูกค้ากรุงไทยอยู่แล้ว สามารถสมัครใช้บริการ Krungthai NEXT ได้ตลอด 24 ชม. แต่ถ้าไม่ใช่ลูกค้ากรุงไทยจะสมัครใช้งานไม่ได้ในช่วงเวลา 23:00 – 03:00 น. เนื่องจากต้องมีกระบวนการเปิดบัญชีด้วย
-
-
บริการโอนเงินต่างประเทศ (Inter Transfer) สามารถเลือกโอนจากบัญชีประเภทใดบ้าง
-
สามารถทำรายการได้จากบัญชีออมทรัพย์/ กระแสรายวัน สกุลบาท และสกุลต่างประเทศ, Inter wallet
-
-
บริการโอนเงินต่างประเทศ (Inter Transfer) มีให้บริการโอนเงินสกุลใดบ้าง
-
มีให้บริการ 13 สกุล คือ USD, EUR, JPY, GBP, AUD, CAD, CHF, DKK, HKD, NOK, NZD, SEK และ SGD
-
-
บริการโอนเงินต่างประเทศ (Inter Transfer) มีวงเงินการโอนเท่าไหร่
-
บัญชี ออมทรัพย์/กระแสรายวัน (สกุลเงินบาท) โอนได้สูงสุด 1.5 ล้านบาท/รายการ และ Inter Wallet (สกุลเงินต่างประเทศ) โอนได้สูงสุด 0.5 ล้านบาท/รายการ แต่วงเงินการโอนจะไม่เกิน วงเงินทำรายการต่อวัน ตามที่ลูกค้ากำหนด หรือวงเงินสูงสุดของ NEXT (2 หรือ 5 ล้านบาท)
-
-
บริการโอนเงินต่างประเทศ (Inter Transfer) ใช้ระยะเวลากี่วัน ทางปลายทางจึงได้รับเงิน
-
ระบบการโอนเงิน จะเลือกช่องทางการโอนที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้งาน หากทำรายการผ่าน SWIFT จะประมาณ 1-3 วันทำการ ส่วนผ่าน DBS จะมีการแจ้งวันที่ปลายทางได้รับให้ทราบใน Slip
-
-
สามารถตรวจสอบ ข้อมูลคำขอโอนเงินต่างประเทศ ได้จากที่ใดบ้าง
-
ผู้ใช้งาน สามารถตรวจสอบข้อมูลคำขอโอนเงินต่างประเทศได้ดังนี้
- การแจ้งเตือนบนแอป Krungthai NEXT หรืออีเมล (ลูกค้าจะต้องเปิดการแจ้งเตือน ข้อความแจ้งเตือน หรือ อีเมล)
- Slip ที่ Save ในโทรศัพท์ หรือ
- หน้าแสดงรายการเดินบัญชี
-
-
BillAlert คืออะไร
-
เป็นบริการที่ให้ผู้รับเงินที่ลงทะเบียน PromptPay Biller (Payee/ Request Sender) สามารถส่งรายละเอียดรายการชำระเงิน ไปยังผู้จ่ายเงิน (Payer/Request Receiver) เพื่อยืนยันทำรายการชำระเงิน โดย Payee ต้องสมัคร PromptPay Biller กับธนาคารกรุงไทย และ Payer ต้องสมัคร PromptPay กับธนาคารที่ต้องการใช้บริการ
-
-
ลูกค้าที่สมัครใช้บริการมีค่าใช้จ่ายหรือไม่
-
ค่าธรรมเนียมในการทำรายการ ยึดตาม Bill Payment Fee (PromptPay) ซึ่งปัจจุบันได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมอยู่
-
-
ลูกค้าสามารถแจ้งยกเลิกรายการ BillAlert ของ Biller ได้อย่างไร
-
ลูกค้าผู้รับสามารถแจ้งยกเลิกรายการ BillAlert ของ Biller ผ่าน Mobile Banking ที่สมัคร PromptPay ไว้ได้
-
-
BillAlert มีข้อดีอย่างไร
-
เป็นบริการที่แจ้งเตือนจ่ายบิล โดยจะมีการแจ้งเตือนถึงบิลครบกำหนดชำระ วันเวลาที่ครบกำหนดชำระ รวมถึงสามารถที่จะจ่ายบิลที่ได้รับการแจ้งเตือนได้
-
-
ลูกค้าสามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์ผ่าน Krungthai NEXT ได้หรือไม่
-
สามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์กับแอปฯ Krungthai NEXT ได้ โดยปัจจุบันการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารกรุงไทยสามารถทำได้ 3 ช่องทางคือแอปฯ Krungthai NEXT , ตู้เอทีเอ็มธนาคารกรุงไทย และ สาขาของธนาคาร
-
-
ถ้า BillAlert เตือนจ่ายบิล หมดอายุแล้วสามารถทำการจ่ายบิลได้หรือไม่
-
ไม่สามารถทำได้
-
-
ต้องการจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ผ่าน Krungthai NEXT ต้องทำอย่างไร
-
สมัครแอปฯ Krungthai NEXT และจองซื้อได้ทันที
-
-
รับสมุดพันธบัตรได้ที่ไหน
-
ติดต่อเพื่อขอรับสมุดพันธบัตรได้ทุกสาขา
-
-
เมื่อจองซื้อแล้วจะอัปเดตรายการในสมุดพันธบัตรได้เมื่อไหร่ และที่ไหน
-
อัปเดตได้ที่สาขาของธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หลังจากจองซื้อ 15 วันทำการ
-
-
จองซื้อแล้วสามารถยกเลิกได้หรือไม่
-
ไม่สามารถยกเลิกการจองซื้อได้ ทุกกรณี
-
-
จองซื้อแล้วสามารถขายคืนได้หรือไม่
-
สามารถขายคืน หรือโอนกรรมสิทธิ์ได้หลังจาก 6 เดือน หรือหลังจากได้รับดอกเบี้ยงวดแรกแล้ว
-
-
จองซื้อพันธบัตรผ่านแอปฯ Krungthai NEXT จะได้รับอะไรเป็นหลักฐาน
-
สลิปการทำรายการ และ E-mail ยืนยันการทำรายการ
-
-
เมื่อครบกำหนดไถ่ถอนผู้ถือกรรมสิทธิ์ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
-
ธปท. จะจ่ายคืนเงินต้นพันธบัตร โดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตามรายชื่อที่ได้รับจาก TSD ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน 30 วัน
-
-
Money Connect คืออะไร
-
Money Connect คือบริการจองซื้อหลักทรัพย์ออนไลน์จากธนาคารกรุงไทยที่เปิดให้นักลงทุนสามารถจองหุ้นกู้ พันธบัตร กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หน่วยลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ผ่านระบบออนไลน์ได้ด้วยตนเอง
-
-
การเข้าสู่ระบบ Money Connect ผ่านแอปฯ Krungthai NEXT ได้ทางไหนบ้าง
-
เลือกเมนู Money Connect จากหน้าผลิตภัณฑ์และบริการ, เลือกแบนเนอร์ Money Connect จาก Smart Banner หน้าหน้าจอหลัก,เลือกโปรโมชัน Money Connect จาก Smart Promo หน้าหน้าจอหลัก, เลือกข้อความแจ้งเตือน Money Connect, เลือกกล่องข้อความแจ้งเตือน Money Connect
-
-
การล็อคอิน Money Connect ผ่าน Krungthai NEXT โดยเข้าจาก Mobile/Tablet Money Connect Web Browse ทำได้หรือไม่
-
สามารถทำได้โดยเลือกปุ่ม เข้าสู่ระบบด้วย Krungthai NEXT บนเว็บไซต์ของ Money Connect
-
-
วิธีการเติมเงิน G-Wallet ผ่าน App to App คืออะไร
-
การเติมเงิน กดที่ Banner เพื่อเชื่อมต่อไปแอปฯ Krungthai NEXT โดยใช้ Pin แอปฯ Krungthai NEXT
-
-
เงินจะเข้า G-Wallet ทันทีหรือไม่
-
เงินจะเข้า G-Wallet ทันที
-
-
กรณีลูกค้าไม่มีแอปฯ Krungthai NEXT จะใช้ วิธีการเติมเงิน G-Wallet ผ่าน App to App ได้หรือไม่
-
ลูกค้าต้องทำการดาวน์โหลด และลงทะเบียนแอปฯ Krungthai NEXT จึงจะสามารถใช้ได้
-
-
ข้อดีของการเติมเงิน G-Wallet ผ่าน App to App คืออะไร
-
ลูกค้าสามารถเติมเงินโดยไม่กรอก หรือ คัดลอก (Copy) หมายเลข G-Wallet ในแอปฯ Krungthai NEXT
-
-
บริการส่งและรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์ (PromptPay International) คืออะไร
-
บริการส่งและรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์ เป็นบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้ารายย่อยที่ต้องการส่งและรับเงินโอนระหว่างประเทศให้มีช่องทางที่สะดวก รวดเร็ว ค่าบริการไม่แพง และปลอดภัย ผ่านบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนกรุงไทยพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขโทรศัพท์มือถือ โดยมีขั้นตอนดังนี้
- การส่งเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์: ผู้ส่งเงินสามารถทำรายการโอนเงินผ่านแอปฯ Krungthai NEXT (Mobile Application) โดยระบุหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้รับเงินปลายทาง หลังจากที่ผู้ส่งเงินตรวจสอบชื่อผู้รับและยืนยันรายการโอนเงินแล้ว ธนาคารจะส่งคำสั่งการโอนเงินไปยังบัญชีผู้รับที่ธนาคารปลายทางในต่างประเทศ และแจ้งผลการโอนเงินให้ผู้ส่งเงินทราบ
- การรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์: ธนาคารจะส่งการแจ้งเตือนให้ผู้รับเงินทราบหลังจากที่ได้รับคำสั่งการโอนเงินจากต่างประเทศผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้รับเงินที่ผูกบัญชีกรุงไทยพร้อมเพย์ โดยผู้รับเงินสามารถตรวจสอบยอดเงินโอนได้จากข้อความแจ้งเตือนหรือจากช่องทางแสดงรายการธุรกรรมผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ธนาคารกำหนด
-
-
สามารถส่งและรับเงินโอนไปยังประเทศใดได้บ้าง
-
สามารถส่งและรับเงินโอนระหว่างประเทศไทยและสิงคโปร์ได้ โดยจะขยายประเทศให้บริการเพิ่มเติมในอนาคต
-
-
ใครสามารถใช้บริการส่งและรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์ได้บ้าง
-
บริการส่งและรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์ รองรับการใช้บริการจากประชาชนทั่วไป ตามเงื่อนไขการให้บริการของธนาคาร โดยผู้ส่งเงินโอนระหว่างประเทศต้องใช้แอปฯ Krungthai NEXT โดยมีข้อจำกัดว่า ผู้โอนเงินที่มีสัญชาติไทยไม่สามารถโอนเงินจากประเทศไทยเข้าบัญชีตนเองในต่างประเทศได้ และผู้รับเงินโอนระหว่างประเทศต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขโทรศัพท์มือถือและผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารที่เปิดให้บริการ
-
-
ต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ หรือไม่
-
ผู้ส่งเงินโอนไปต่างประเทศไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์
ผู้รับเงินโอนจากต่างประเทศต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขโทรศัพท์มือถือ และผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารที่เปิดให้บริการ
-